คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อต่อสู้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องระบุเหตุเลิกจ้างในหนังสือเลิกจ้าง หากอ้างเหตุภายหลังถือว่าเป็นการยกข้อต่อสู้เพิ่มเติม
จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้างโจทก์เพียงว่าจำเลยมีเหตุผลบางประการของบริษัท มิได้มีข้อความระบุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำความผิดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ฉะนั้นการที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์มาทำงานสาย เป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย อันเป็นความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 นั้น จึงเป็นการยกข้อต่อสู้นอกเหนือจากหนังสือเลิกจ้าง คดีจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีอาญา: การเปลี่ยนแปลงคำให้การ และข้อต่อสู้เรื่องป้องกันตัวที่ไม่สมเหตุสมผล
จำเลยต้องหาว่าพยายามฆ่าผู้อื่น ชั้นพิจารณาจำเลยนำสืบว่าจำเลยถูกผู้เสียหายกับพวกทำร้ายก่อนจึงต้องแทงผู้เสียหายเพื่อป้องกันตัวเมื่อจำเลยมิได้ซักค้านความข้อนี้ไว้ให้ปรากฏในขณะสืบพยานโจทก์ แต่เพิ่งจะมานำสืบเป็นข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นสืบพยานจำเลย ข้อนำสืบจึงเป็นพิรุธ ข้อต่อสู้ที่จำเลยอ้างว่าต้องแทงผู้เสียหายเพื่อป้องกันตัวจึงฟังไม่ขึ้น.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการฎีกา
โจทก์ให้การแก้คำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องว่าแม้ผู้ร้องจะได้ตกลงซื้อสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากจำเลยแต่เมื่อยังมิได้ทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้ แต่ในชั้นอุทธรณ์โจทก์กลับอุทธรณ์ว่า สิทธิการเช่าโทรศัพท์เป็นสิทธิเฉพาะตัวการโอนจะต้องได้รับความยินยอมจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยผู้ให้เช่าซึ่งเป็นคนละประเด็นและมิใช่ประเด็นที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นกับมิใช่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน อุทธรณ์ของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์เรื่องอำนาจฟ้องที่ไม่ยกขึ้นในชั้นต้น และผลของการไม่ยกข้อต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์
จำเลยฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์เรื่องขอขยายเวลาวางเงินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา234เมื่อพิจารณาถึงว่าโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวที่พิพาทจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่ปลูกตึกแถวพิพาททั้งไม่ปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของตึกพิพาทการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่ปลูกตึกแถวพิพาทโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งจำเลยจะยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้อยู่แล้วทั้งอุทธรณ์ข้ออื่นก็เป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามดังนี้แม้ศาลอนุญาตขยายเวลาชำระเงินตามคำพิพากษาหรืออนุญาตให้หาประกันตามคำขอของจำเลยเพื่อให้คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไม่ต้องห้ามตามมาตรา234ก็ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะพึงเกิดแก่คดีของจำเลยเพราะในที่สุดจะไม่ทำให้อุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ต้องห้ามแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 783/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การที่จำเลยไม่ยกข้อต่อสู้เรื่องสิทธิบอกเลิกสัญญาในชั้นศาลชั้นต้น ทำให้ข้อนั้นตัดสิทธิการอุทธรณ์ตามกฎหมาย
จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีในเรื่องโจทก์บอกเลิกสัญญาไม่ชอบ หรือ ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีไว้ชัดแจ้ง และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเพียง 3 ข้อ ซึ่งไม่มีข้อพิพาทในเรื่องดังกล่าว จำเลยก็ไม่ได้โต้แย้ง ต้องถือว่าปัญหาเรื่องโจทก์ยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และปัญหาดังกล่าวไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5105/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาคดีใหม่ต้องแสดงเหตุผลชัดเจนว่าหากมีการพิจารณาใหม่แล้วมีโอกาสชนะคดี มิใช่เพียงกล่าวอ้างลอยๆ
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยอ้างเหตุแต่เพียงว่าที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สืบและฟังพยานโจทก์ฝ่ายเดียวแล้วมีความเห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ จำเลยเห็นว่ายังไม่เป็นธรรมเพราะจำเลยมิได้มีโอกาสต่อสู้คดีตามที่จำเลยได้ยื่นคำให้การไว้แล้ว หากจำเลยได้นำสืบตามข้อต่อสู้จำเลยมีทางชนะโจทก์ได้อย่างแน่นอน ดังนี้เป็นการกล่าวอ้างที่เลื่อนลอยเพราะไม่มีเหตุผลที่จะแสดงให้เห็นว่าหากมีการพิจารณาใหม่แล้วจำเลยอาจชนะคดีได้อย่างไร จึงเป็นคำร้องขอที่มิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของมาตรา 208 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประกันภัยค้ำจุนมีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้เอาประกันภัยได้ หากพิสูจน์ได้ว่าลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการที่จ้าง
ผู้รับประกันภัยค้ำจุนย่อมมีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้เอาประกันภัย ขึ้นต่อสู้กับผู้ซึ่งฟ้องตนให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยได้ (อ้างฎีกาที่ 3631/2528)
การที่จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนได้ให้การต่อสู้ไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุไม่ได้เป็นลูกจ้างปฏิบัติงาน ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัย โดยศาลชั้นต้น กำหนดเป็นประเด็นไว้ และวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว แล้วพิพากษา ให้จำเลยทั้งสามแพ้คดีดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะไม่อุทธรณ์ ก็ไม่ทำให้ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 ตกไป เมื่อจำเลยที่ 3 ยังติดใจ อุทธรณ์ในประเด็นนี้อยู่ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องวินิจฉัยให้
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 มาติดต่อกับพนักงานสอบสวนระบุชื่อ จำเลยที่ 1 ว่าเป็นคนขับรถยนต์คันเกิดเหตุของตน แล้วนำตัวจำเลยที่ 1 มามอบให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับได้มา ทำการตกลงค่าเสียหายกับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเพียงพอ ให้ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับอยู่ในทีแล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดไป ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 นอกจากนี้การขับ รถยนต์บรรทุกสิบล้อ ไม่ใช่งานที่คนธรรมดาซึ่งไม่มีความชำนาญเป็นพิเศษจะพึงทำได้ แต่เป็นงานของผู้มีอาชีพในทางนี้โดยเฉพาะ และไม่อาจคาดหมายได้ว่าเป็นงานที่พึงทำให้เปล่า เมื่อฝ่ายจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างไว้คดีชอบที่จะฟังว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์ไปทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 (อ้างฎีกาที่ 2048/2526)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประกันภัยค้ำจุนมีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้เอาประกันภัยได้ หากพิสูจน์ได้ว่าลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการจ้าง
ผู้รับประกันภัยค้ำจุนย่อมมีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้เอาประกันภัย ขึ้นต่อสู้กับผู้ซึ่งฟ้องตนให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยได้ (อ้างฎีกาที่ 3631/2528) การที่จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนได้ให้การต่อสู้ไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุไม่ได้เป็นลูกจ้างปฏิบัติงาน ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัย โดยศาลชั้นต้น กำหนดเป็นประเด็นไว้ และวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว แล้วพิพากษา ให้จำเลยทั้งสามแพ้คดีดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะไม่อุทธรณ์ ก็ไม่ทำให้ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 ตกไป เมื่อจำเลยที่ 3 ยังติดใจ อุทธรณ์ในประเด็นนี้อยู่ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องวินิจฉัยให้
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 มาติดต่อกับพนักงานสอบสวนระบุ ชื่อ จำเลยที่ 1 ว่าเป็นคนขับรถยนต์คันเกิดเหตุของตนแล้ว นำตัวจำเลยที่ 1 มามอบให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับได้มา ทำการตกลงค่าเสียหายกับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเพียงพอ ให้ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับอยู่ในทีแล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดไป ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2นอกจากนี้การขับ รถยนต์บรรทุกสิบล้อ ไม่ใช่งานที่คนธรรมดาซึ่งไม่มีความชำนาญเป็นพิเศษจะพึงทำได้ แต่เป็นงานของผู้มีอาชีพในทางนี้โดยเฉพาะ และไม่อาจคาดหมายได้ว่า เป็นงานที่พึงทำให้เปล่า. เมื่อฝ่ายจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างไว้คดีชอบที่จะฟังว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์ไปทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 (อ้างฎีกาที่ 2048/2526)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากลักทรัพย์เป็นฉ้อโกงและการพิจารณาข้อต่อสู้ของจำเลย
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้บทลงโทษจำเลยจากลักทรัพย์เป็นฉ้อโกงแต่คงให้ลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี เท่ากับศาลชั้นต้น เป็นการแก้ไขเล็กน้อย คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงมิได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ฟ้องว่าลักทรัพย์ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่าเป็นฉ้อโกง เมื่อจำเลยนำสืบว่ากระบือที่จำเลยรับมาเป็นกระบือของจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยหลงต่อสู้ ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192วรรคสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองเพื่อประกันหนี้ผู้อื่น สัญญาจำนองระบุรับเงินแล้วแต่ไม่มีการจ่ายจริง จำเลยมีสิทธิยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้
แม้ในสัญญาจำนองจะระบุว่าผู้จำนองได้รับเงินเป็นการเสร็จแล้วก็หาอาจฟังเป็นหลักฐานว่ามีการจ่ายเงินกันจริงได้ไม่ การนำสืบของจำเลยที่ว่าไม่มีการมอบเงินกัน เท่ากับเป็นการสืบว่าไม่มีมูลหนี้ เมื่อการนำสืบดังกล่าวรับฟังได้ย่อมไม่มีหนี้ประธาน หนี้ตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงไม่เกิดขึ้นหามีข้อห้ามมิให้นำสืบเช่นนั้นไม่
of 35