พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องความเป็นเจ้าของที่ดินและการบุกรุก กรณีที่ดินมีประวัติการซื้อขายและคดีความซับซ้อน
ที่พิพาทรายนี้ยังคงโต้เถียงความเป็นเจ้าของกันอยู่ โจทก์กับบิดาจำเลยต่างก็อ้างว่าซื้อที่พิพาทมาจาก ป. ยิ่งกว่านั้นยังปรากฏตามสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1826/2532 ของศาลชั้นต้นว่า โจทก์ก็ถูก ป.ฟ้องว่าปลอมหนังสือมอบอำนาจและนำไปใช้จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทเป็นของตนโดยไม่ชอบขอให้ลงโทษฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม กับขอให้เพิกถอนนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายที่พิพาททั้งสองแปลงอีกด้วย ป.เพิ่งจะถอนฟ้องและยอมให้ที่พิพาทเป็นของโจทก์เพราะโจทก์ชำระเงินให้จำนวน 50,000 บาท ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เพียง 6 วัน เช่นนี้จึงฟังไม่ได้ความแน่ชัดว่าขณะเกิดเหตุที่พิพาทเป็นของโจทก์ ที่จำเลยเข้าไปไถที่พิพาทก็ปรากฏว่า บิดาจำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อที่พิพาทจาก ป.ให้จำเลยทำ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทแรงงาน: คำพิพากษาศาลแรงงานกลางในคดีระหว่างนายวิชัย วิวิตเสวี, นายอรรถพงษ์ กุลโชครังสรรค์ และสุมาลี พิมพ์
(ประคนธ์ พันธุ์วิชาติกุล - ศรีภูมิ สุวรรณโรจน์- พรชัย สมรรถเวช)ศาลแรงงานกลาง นายวิชัย วิวิตเสวี
นายอรรถพงษ์ กุลโชครังสรรค์ - ย่อ
สุมาลี พิมพ์ (18)
นายอรรถพงษ์ กุลโชครังสรรค์ - ย่อ
สุมาลี พิมพ์ (18)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: การไถ่ถอนจำนองที่เป็นข้อพิพาท ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา หากผู้ขายพยายามไถ่ถอนแล้ว
สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อตกลงว่าเมื่อทางธนาคารให้ไถ่ถอนวันใด ผู้จะขาย (จำเลย) จะไปโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้จะซื้อ (โจทก์) ในวันเดียวกัน หมายถึงการที่ธนาคารยอมให้ไถ่ถอนจำนองในจำนวนหนี้ที่ถูกต้องด้วย เมื่อปรากฏว่าจำนวนหนี้ที่ธนาคารยอมให้จำเลยชำระเพื่อไถ่ถอนจำนองยังมีข้อพิพาทโต้เถียงเป็นคดีความกันอยู่ ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นจำนวนหนี้ที่ถูกต้องหรือไม่จะถือว่าธนาคารยอมให้ไถ่ถอนจำนองแล้วหาได้ไม่ การที่จำเลยได้ดำเนินการเพื่อไถ่ถอนจำนองที่พิพาทแล้ว แต่มีเหตุขัดข้องเนื่องจากมีข้อโต้แย้งกับธนาคารผู้รับจำนองอยู่เช่นนี้ ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อโจทก์อันจะถือเป็นการผิดสัญญา โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3113/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขผ่อนชำระ vs. สัญญาเช่าซื้อ: ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์รถยนต์
ข้อความในสัญญาระบุชัดเจนว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายมีข้อตกลงให้ผ่อนชำระเงินเป็นรายเดือน เมื่อชำระครบแล้วจะโอนรถยนต์ให้ทันที โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าเป็นการเช่าซื้อและไม่มีข้อสัญญาว่าในกรณีผิดนัดสองคราวติด ๆ กัน หรือกระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำคัญให้เจ้าของทรัพย์สินบอกเลิกสัญญาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 574 ป.พ.พ. สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข หาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่ โจทก์ไม่มีใบเสร็จรับเงินงวดที่ 11 มาแสดงเพราะหายไป แต่โจทก์มีใบเสร็จรับเงินงวดหลังจากนั้นมาแสดง ประกอบกับจำเลยใช้บุตรชายไปเก็บเงินงวดที่ 18 จากโจทก์โดยเขียนข้อความและลงลายมือชื่อรับเงินไว้หลังใบเสร็จรับเงินงวดที่ 16จึงฟังได้ว่าโจทก์ชำระราคาให้ครบถ้วนซึ่งรวมทั้งงวดที่ 11 ด้วยแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากรจำกัดเฉพาะคดีภาษี การฟ้องเพิกถอนยึดทรัพย์ไม่ใช่คดีภาษี
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าประกาศยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์โจทก์ของจำเลยโดยใช้อำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12เป็นโมฆะและขอให้เพิกถอนเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ตามอำนาจของจำเลยว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ ดังนี้ ศาลภาษีอากรกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ผู้มีสิทธิ vs. ผู้คัดค้าน กรณีพินัยกรรมเป็นข้อพิพาท
คำร้องของผู้ร้องและของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ต่างก็อ้างเหตุว่าเป็นทายาทโดยธรรม โดยเป็นบุตรของผู้ตายเช่นกัน ประเด็นพิพาทจึงมีเพียงว่าสมควรตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าพินัยกรรมเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ จึงไม่สมควรให้ส่งพินัยกรรมของผู้ร้องไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ เมื่อคำร้องของผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ปรากฏว่า นอกจากที่ดินตาม น.ส.3 ก. อันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกให้ พ. แล้ว ผู้ตายยังมีทรัพย์มรดกอื่นอีกหรือไม่การที่ผู้คัดค้านอ้างว่าพินัยกรรมเป็นเอกสารปลอม เมื่อผู้คัดค้านไม่ใช่ฝ่ายเริ่มคดีขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และศาลไม่ได้ประกาศนัดไต่สวนคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้าน ทำให้ พ.ไม่ได้มาเป็นคู่ความในคดี ซึ่ง พ. อาจมีข้อโต้เถียงว่าพินัยกรรมของผู้ตายไม่ใช่เอกสารปลอม และคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่จะให้ศาลวินิจฉัยว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ จึงไม่มีเหตุสมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน: ศาลต้องปฏิบัติตามข้อตกลงหากฟังข้อเท็จจริงตามที่ตกลงกัน
ผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างท้ากันในศาลแรงงานกลางว่า หากศาลฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านมีหน้าที่ทำเพชรดิบให้เข้ารูปและมีหน้าที่ซ่อมแซมเพชรที่แผนกอื่นทำบกพร่องและไม่สามารถแก้ไขด้วยตนเองได้แล้วให้เข้ารูปอีกครั้งแล้วส่งไปยังแผนกอื่นต่อไป ให้ถือว่าผู้คัดค้านกระทำผิดตามคำร้องทุกประการ ผู้คัดค้านยอมแพ้ และให้ศาลพิพากษาให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้ตามคำร้อง เป็นการที่คู่ความตกลงกันกำหนดประเด็นเสนอศาลเพื่อให้กระบวนพิจารณาคดีเป็นไปโดย รวดเร็วซึ่งศาลแรงงานกลางมีอำนาจกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 138,183 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านมีหน้าที่ตรงตามคำท้าจึงต้องถือตามคำท้าว่าผู้คัดค้านกระทำผิดตามคำร้อง โดย ผู้คัดค้านฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีร้ายแรงและจงใจขัดคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องตามคำร้อง และต้องถือตามคำท้าต่อไปว่าผู้คัดค้านยอมแพ้ ศาลแรงงานกลางต้องพิพากษาอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้อง: เพียงพอต่อการเข้าใจข้อพิพาทและต่อสู้คดีหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดโดยประมาท จุดไฟเผาหญ้าในคอกเลี้ยงโคของจำเลย เป็นเหตุให้ไฟลุกลามไหม้สวนยางพันธุ์ดีของโจทก์เสียหาย คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดีแล้วว่าสวนยางพาราของโจทก์ตั้งอยู่ใกล้คอกโคของจำเลยและโจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่ามีเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์หรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6303/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: ศาลรับแก้ไขคำให้การได้ แม้หลังชี้สองสถาน หากเป็นปัญญาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องและข้อพิพาท
จำเลยขอแก้ไขคำให้การภายหลังจากวันชี้สองสถานว่า โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้นำข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยเสียก่อนตามเงื่อนไขในสัญญาว่าจ้างที่ตกลงกันไว้กับจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้ศาลชอบที่จะรับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4423/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ต้นไผ่: การตัดฟันต้นไผ้ในที่ดินที่มีการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เป็นเรื่องแพ่ง
โจทก์อ้างว่าต้นไผ่ ที่จำเลยตัดไปอยู่ในที่ดิน น.ส.3 ของโจทก์ แต่ปรากฏว่าจำเลยเคยมีปัญหาโต้แย้งเรื่องตัดฟันต้นไผ่กับฝ่ายโจทก์อยู่เสมอโดยต่างฝ่ายต่างอ้างว่า ต้นไผ่เป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในที่ดินของฝ่ายตน จำเลยตัดฟันต้นไผ่โดยเชื่อว่าอยู่ในเขตที่ดินของตน รูปคดีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยต่างโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในต้นไผ่ กันอยู่ มูลกรณีจึงเป็นคดีแพ่งไม่ใช่คดีอาญาการกระทำของจำเลยที่เข้าตัดฟันต้นไผ่พิพาทจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์