พบผลลัพธ์ทั้งหมด 405 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าคอนเดนเซอร์ และข้อยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 30
สินค้าในพิกัดประเภทที่ 84.15 เป็นสินค้าประเภทที่ใช้เพื่อความสะดวกสบายหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยอัตราอากรจึงได้ กำหนดไว้สูงถึงร้อยละ 80 ส่วนสินค้าในพิกัดประเภทที่ 84.17 นั้น เป็นสินค้าที่นำมาใช้เพื่อประโยชน์ในการผลิตหรือเป็นสินค้าประเภทที่นำมาใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการ ผลิตผลงานอย่างอื่น จึงได้กำหนดพิกัดอัตราอากรไว้ต่ำลงมาเพียงร้อยละ 30 คำว่า"เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ" ในพิกัดประเภทที่ 84.15ข. จึงหมายถึงเครื่องปรับอากาศหรือส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศที่ใช้เพื่อความสะดวกสบาย ส่วนคำว่า"ที่ใช้กับเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ" ในพิกัดประเภทที่84.17ก. นั้น หมายถึงเครื่องที่จะระบายความร้อนให้กับเครื่องจักรขณะที่เครื่องจักรทำงาน ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรสินค้าคอนเดนเซอร์ที่โจทก์นำเข้ามา เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ อันเป็นเครื่องปรับอากาศชนิดให้ความสะดวกสบายและไม่อาจใช้ผลิตหรือเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าอื่นอันจะถือเป็นเครื่องจักรได้ จึงเป็นสินค้าที่อยู่ในประเภทพิกัดที่ 84.15ข.
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529แล้ว ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรณีพิพาท เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรสำหรับเงินได้หรือรายรับที่มีอยู่ก่อนในปีภาษี พ.ศ. 2527 และมิใช่ภาษีอากรในประเภทที่มิให้นำบทบัญญัติในมาตรา 30 ใช้บังคับจำเลยที่ 1 จึงได้รับประโยชน์จากบทกฎหมายดังกล่าว.
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529แล้ว ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรณีพิพาท เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรสำหรับเงินได้หรือรายรับที่มีอยู่ก่อนในปีภาษี พ.ศ. 2527 และมิใช่ภาษีอากรในประเภทที่มิให้นำบทบัญญัติในมาตรา 30 ใช้บังคับจำเลยที่ 1 จึงได้รับประโยชน์จากบทกฎหมายดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากร และข้อยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 30
สินค้าในพิกัดประเภทที่ 84.15 เป็นสินค้าประเภทที่ใช้เพื่อความสะดวกสบายหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยอัตราอากรจึงได้กำหนดไว้สูงถึงร้อยละ 80 ส่วนสินค้าในพิกัดประเภทที่ 84.17 นั้น เป็นสินค้าที่นำมาใช้เพื่อประโยชน์ในการผลิตหรือเป็นสินค้าประเภทที่นำมาใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการผลิตผลงานอย่างอื่น จึงได้กำหนดพิกัดอัตราอากรไว้ต่ำลงมาเพียงร้อยละ 30 คำว่า"เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ" ในพิกัดประเภทที่ 84.15ข. จึงหมายถึงเครื่องปรับอากาศหรือส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศที่ใช้เพื่อความสะดวกสบาย ส่วนคำว่า"ที่ใช้กับเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ" ในพิกัดประเภทที่84.17ก. นั้น หมายถึงเครื่องที่จะระบายความร้อนให้กับเครื่องจักรขณะที่เครื่องจักรทำงาน ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรสินค้าคอนเดนเซอร์ที่โจทก์นำเข้ามา เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ อันเป็นเครื่องปรับอากาศชนิดให้ความสะดวกสบายและไม่อาจใช้ผลิตหรือเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าอื่นอันจะถือเป็นเครื่องจักรได้ จึงเป็นสินค้าที่อยู่ในประเภทพิกัดที่ 84.15ข. จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529แล้ว ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรณีพิพาท เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรสำหรับเงินได้หรือรายรับที่มีอยู่ก่อนในปีภาษี พ.ศ. 2527 และมิใช่ภาษีอากรในประเภทที่มิให้นำบทบัญญัติในมาตรา 30 ใช้บังคับจำเลยที่ 1 จึงได้รับประโยชน์จากบทกฎหมายดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์บ้านบนที่ดินที่ยังไม่ได้โอน: กรณีข้อยกเว้นส่วนควบตาม ป.พ.พ. มาตรา 109
ผู้ร้องได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 3 ตามสัญญาจะซื้อขายระบุด้วยว่าหลังจากทำสัญญาแล้ว ผู้จะขายยินยอมอนุญาตให้ผู้จะซื้อเข้าไปในที่ดินเพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารที่อยุ่อาศัยหรือเข้าทำประโยชน์ในที่ดินตามสัญญานี้ได้ ต่อมาผู้ร้องได้ปลูกบ้านพิพาทลงบนที่ดินแล้วเข้าครอบครอง ดังนี้ แม้ผู้ร้องจะยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบ ผู้ร้องก็เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินของจำเลยที่ 3 ในอันที่จะปลูกบ้านพิพาท กรณีเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 109 ไม่ถือว่าบ้านพิพาทเป็นส่วนควบกับที่ดินของจำเลยที่ 3 จึงมิได้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3271/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้น พ.ร.บ.ขนส่งทางบก: รถยนต์ส่วนบุคคลน้ำหนักไม่เกิน 1.6 ตัน ไม่ต้องขออนุญาตประกอบการขนส่ง
พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 5 ซึ่งแก้ไขโดย(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523 มาตรา 4 กำหนดให้รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม ไม่ต้องถูกควบคุมตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ เมื่อรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่จำเลยใช้บรรทุกขนส่งคนโดยสารมีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม จึงเป็นรถที่ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. ดังกล่าว แม้จำเลยจะนำรถคันนั้นมาประกอบการขนส่งประจำทางบรรทุกคนโดยสารเพื่อสินจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบกฯ มาตรา 23 ประกอบด้วยมาตรา 126.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นลูกจ้างทำงานบ้าน: งานบ้านเป็นสวัสดิการส่วนหนึ่งของธุรกิจ ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
ข้อความที่ว่า "ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน" ตามบทนิยามคำว่า "ลูกจ้าง" ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ นั้น เป็นข้อยกเว้น ต้องตีความโดยเคร่งครัด ดังนั้น ข้อความดังกล่าวจึงหมายถึงลูกจ้างที่ทำงานเฉพาะที่เป็นงานบ้านอย่างเดียวเท่านั้น โดยงานบ้านนั้นจะต้องมิได้มีลักษณะการประกอบธุรกิจอื่นใดรวมอยู่ด้วย
จำเลยเป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการรับทำกรอบรูปส่งขายต่างประเทศมีลูกจ้างประมาณ 100 คน และ ล. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลย จำเลยได้จ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่งแม่บ้าน มีหน้าที่ซักรีด ทำอาหาร และทำความสะอาดในบ้านพักของ ล. ดังนี้แม้สภาพงานที่โจทก์ทำจะเป็นงานบ้านก็ตาม แต่งานบ้านดังกล่าวจำเลยได้จัดเป็นสวัสดิการให้แก่ ล. ซึ่ง เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลยเอง งานบ้านที่โจทก์ทำจึงมีลักษณะการประกอบธุรกิจของจำเลยรวมอยู่ด้วย ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ค่าจ้างส่วนที่จำเลยจ่ายต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรวมทั้งดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม
จำเลยเป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการรับทำกรอบรูปส่งขายต่างประเทศมีลูกจ้างประมาณ 100 คน และ ล. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลย จำเลยได้จ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่งแม่บ้าน มีหน้าที่ซักรีด ทำอาหาร และทำความสะอาดในบ้านพักของ ล. ดังนี้แม้สภาพงานที่โจทก์ทำจะเป็นงานบ้านก็ตาม แต่งานบ้านดังกล่าวจำเลยได้จัดเป็นสวัสดิการให้แก่ ล. ซึ่ง เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลยเอง งานบ้านที่โจทก์ทำจึงมีลักษณะการประกอบธุรกิจของจำเลยรวมอยู่ด้วย ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ค่าจ้างส่วนที่จำเลยจ่ายต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรวมทั้งดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นลูกจ้างทำงานบ้าน: งานบ้านที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของนายจ้างได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
ข้อความในบทนิยามคำว่า "ลูกจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำที่ว่า "ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน" เป็นข้อยกเว้นต้องตีความโดยเคร่งครัดหมายถึงลูกจ้างที่ทำงานเฉพาะที่เป็นงานบ้านอย่างเดียวเท่านั้น โดยจะต้องมิได้มีลักษณะการประกอบธุรกิจอื่นใดรวมอยู่ด้วย เมื่อจำเลยเป็นบริษัทจำกัดประกอบกิจการรับทำกรอบรูปส่งขายต่างประเทศ มีลูกจ้างประมาณ 100คน โดยมี ล. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลย จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างตำแหน่งแม่บ้านมีหน้าที่ซักรีด และทำความสะอาดในบ้านพักของ ล. ซึ่งสภาพงานที่ทำแม้จะเป็นงานบ้านก็ตาม แต่จำเลยได้จัดเป็นสวัสดิการให้แก่ ล. งานบ้านที่โจทก์ทำดังกล่าวจึงมีลักษณะการประกอบธุรกิจของจำเลยรวมอยู่ด้วย กรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้างต้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยค่าจ้างที่ขาดหายไป รวมทั้งดอกเบี้ยและเงินเพิ่มได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นลูกจ้างงานบ้าน: งานบ้านที่รวมกับการประกอบธุรกิจของนายจ้าง ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
ข้อความที่ว่า "ไม่รวมถึง ลูกจ้างซึ่ง ทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน"ตาม บทนิยามคำว่า "ลูกจ้าง" ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานและประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ นั้น เป็นข้อยกเว้น ต้องตี ความโดย เคร่งครัดดังนั้น ข้อความดังกล่าวจึงหมายถึง ลูกจ้างที่ทำงานเฉพาะ ที่เป็นงานบ้านอย่างเดียวเท่านั้น โดย งานบ้านนั้นจะต้อง มิได้มีลักษณะการประกอบธุรกิจอื่นใด รวมอยู่ด้วย จำเลยเป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการรับทำกรอบรูปส่งขายต่าง ประเทศ มีลูกจ้างประมาณ 100 คน และ ล. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลย จำเลยได้จ้าง โจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่ง แม่บ้านมีหน้าที่ซักรีด ทำอาหาร และทำความสะอาดในบ้านพักของ ล. ดังนี้แม้สภาพงานที่โจทก์ทำจะเป็นงานบ้านก็ตาม แต่ งานบ้านดังกล่าวจำเลยได้ จัดเป็นสวัสดิการให้แก่ ล. ซึ่ง เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลยเอง งานบ้านที่โจทก์ทำจึงมีลักษณะการประกอบธุรกิจของจำเลยรวมอยู่ด้วย ถือ ไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่ง ทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน โจทก์จึงได้ รับความคุ้มครองตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ค่าจ้างส่วนที่จำเลยจ่ายต่ำ กว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรวมทั้งดอกเบี้ย และเงินเพิ่ม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องเป็นไปตามข้อยกเว้นใน พรบ.แรงงานสัมพันธ์ นายจ้างต้องปรับปรุงแก้ไขก่อนเลิกจ้าง
เหตุเลิกจ้างที่นายจ้างอ้างว่าลูกจ้างลากิจลาป่วยเป็นจำนวนมาก มิใช่เหตุจำเป็นนอกเหนือจากข้อยกเว้น 5 ประการ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 การที่ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานขาดสมรรถภาพในการทำงานเพราะลากิจลาป่วยหรือขาดงานบ่อย ๆ นั้น นายจ้างจะต้องหาวิธีปรับปรุงแก้ไขด้วยหลักการบริหารงานบุคคลหรือตักเตือนให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนหาก่อให้เกิดสิทธิแก่นายจ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518มาตรา 123(1) ถึง (5) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้น พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลน้ำหนักไม่เกิน 1,600 กก. และการใช้รถไม่ตรงตามประเภท
พ.ร.บ. การขนส่งทางบกฯ มาตรา 4 ไม่ใช้ บังคับแก่ การขนส่งโดย รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 1,600 กิโลกรัมรถยนต์บรรทุกของจำเลยมีน้ำหนัก 1,050 กิโลกรัม จึงไม่เป็นรถที่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. การขนส่งทางบกฯ ดังนี้จำเลยนำรถคันนั้นมาใช้ รับจ้างบรรทุกขนส่งคนโดยสาร ก็ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบกฯ มาตรา 23 ประกอบด้วย มาตรา 126.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดในคดีพนัน: จำเลยปฏิเสธ โจทก์ต้องพิสูจน์ได้เอง และข้อยกเว้นสถานที่ไม่ถือว่าเข้าเล่นพนัน
จำเลยอยู่ในวงการพนันไฮโลว์แต่วงการพนันไฮโลว์ที่เกิดเหตุอยู่ที่เพิงขายอาหารซึ่งตั้งอยู่บนทางสาธารณะหน้าอู่รถโดยสารประจำทางซึ่งประชาชนทั่วไปมีความชอบธรรมจะเข้าไปได้ที่เกิดเหตุจึงเป็นสาธารณสถานต้องด้วยข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 6 ที่มิให้สันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้เข้าเล่นการพนันด้วย เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องเมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง