พบผลลัพธ์ทั้งหมด 291 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อเมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ก็ยังสามารถให้นับโทษต่อได้
แม้คดีที่โจทก์ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตแล้ว ศาลก็อาจสั่งให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีนั้นอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยและการเรียกผู้เอาประกันภัยเข้าสู่คดี: ผู้รับประกันภัยยังต้องรับผิดแม้ไม่ได้เรียกผู้เอาประกันภัย
การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคสองตอนท้ายบัญญัติว่าในคดีระหว่างบุคคลผู้ต้องเสียหายกับผู้รับประกันภัย ท่านให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วยนั้น ก็เพื่อจะได้พิจารณาความรับผิดของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยไปพร้อมกันถ้าผู้ต้องเสียหายละเลยไม่เรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู่คดีด้วยจะมีผลเพียงทำให้ผู้ต้องเสียหายไม่ อาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้น หาได้มีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหาย และทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยคดีนอกเหนือพยานหลักฐาน: การลงโทษจำเลยฐานไม่ให้สัญญาณแตรเมื่อพยานหลักฐานไม่สนับสนุน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลี้ยวรถโดยไม่ได้ให้สัญญาณเลี้ยวพยานโจทก์เบิกความแต่เพียงว่าไม่เห็นรถคันที่จำเลยขับให้สัญญาณเลี้ยว จำเลยเบิกความว่าขณะเลี้ยวจำเลยได้ให้สัญญาณไฟเลี้ยวแล้ว ศาลชั้นต้นเห็นว่าตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก เมื่อจะเลี้ยวรถจะต้องให้สัญญาณแตรเสียก่อนจึงฟังว่าจำเลยไม่ให้สัญญาณแตรก่อนเลี้ยวรถ ทั้งๆ ที่พยานโจทก์มิได้เบิกความถึงเรื่องสัญญาณแตร และจำเลยก็มิได้เบิกความรับเช่นนั้น ดังนี้ ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือพยานหลักฐานในสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1461/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องขับไล่ซ้ำในประเด็นกรรมสิทธิ์เดียวกันที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี
คดีก่อน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากตึกพิพาทของโจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยเป็นผู้ออกทุนทรัพย์ปลูกสร้างตึกพิพาทในที่ดินของโจทก์และจำเลยยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทให้โจทก์ ตึกพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่ากรรมสิทธิ์ตึกพิพาทตกเป็นของโจทก์แล้วแต่สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่ครบกำหนด โจทก์ยังไม่ครบกำหนด โจทก์ยังไม่มีอำนาจพ้องพิพากษายกฟ้องจำเลยอุทธรณ์ว่ากรรมสิทธิ์ในตึกพิพาทเป็นของจำเลย ขณะที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ก็มาฟ้องคดีใหม่ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารโดยอ้างว่าสัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว จำเลยคงต่อสู้เช่นเดิมว่าตึกพิพาทเป็นของจำเลย ดังนี้ ทั้งสองคดีย่อมมีประเด็นอย่างเดียวกันว่าตึกพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย การที่โจทก์มาฟ้องคดีใหม่จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่ถูกต้อง: ศาลต้องพิจารณาคำร้องของโจทก์ก่อนมีคำสั่งถึงที่สุด แม้มีการเปลี่ยนแปลงคำขอท้ายฟ้อง
ในวันชี้สองสถานศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ภายในเวลาที่กำหนดให้ ในวันนั้นเองโจทก์ยื่นคำร้องขอสละคำขอท้ายฟ้องบางตอน ศาลชั้นต้นมิได้สั่งรับคำร้องนี้ จนกระทั่งพ้นเวลาที่ได้กำหนดไว้นั้นและโจทก์มิได้ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่ม ศาลก็สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี ดังนี้ เป็นการไม่ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามลำดับเมื่อความปรากฏแก่ศาลสูง ๆ ย่อมพิพากษาให้ยกคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีทหารกับพลเรือนประมาทชนกัน
ความผิดเป็นคดีที่ตกอยู่ในกรณีใดกรณีหนึ่งใน 4 ประการดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498ต้องถือว่าเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร อันมีผลตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน
คำว่า 'ด้วยกัน' ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 14(1) ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ทหารกับพลเรือนได้ร่วมกระทำความผิดตามมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเสมอไป
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทหารประจำการ โดยบรรยายคำฟ้องว่า จำเลยกับนายเดช (พลเรือน) ซึ่งยังหลบหนีอยู่ ต่างขับรถคนละคันด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเฉี่ยวชนกัน เป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ เป็นเรื่องที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน เป็นคดีที่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 14(1) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีต่อศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลพลเรือนประทับรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2513)
คำว่า 'ด้วยกัน' ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 14(1) ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ทหารกับพลเรือนได้ร่วมกระทำความผิดตามมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเสมอไป
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทหารประจำการ โดยบรรยายคำฟ้องว่า จำเลยกับนายเดช (พลเรือน) ซึ่งยังหลบหนีอยู่ ต่างขับรถคนละคันด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเฉี่ยวชนกัน เป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ เป็นเรื่องที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน เป็นคดีที่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 14(1) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีต่อศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลพลเรือนประทับรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมทุนทรัพย์ฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเพื่อพิจารณาข้อห้ามฎีกา: ศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องทั้งสองเป็นคนละคดี จึงไม่สามารถรวมทุนทรัพย์กันได้
คดีตามฟ้องโจทก์มีทุนทรัพย์ไม่ถึง 5,000 บาท ส่วนคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยก็มีทุนทรัพย์ไม่ถึง 5,000 บาท ฟ้องเดิมกับฟ้องแย้งเป็นคนละคดีจะถือเอาทุนทรัพย์รวมกันเพื่อพิจารณาว่าฎีกานั้นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 หรือไม่ ย่อมไม่ได้ ฎีกาจำเลยจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาและแพ่ง: การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162 ที่ว่า'ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว..........ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ให้ไต่สวนมูลฟ้องฯลฯ นั้นหมายความว่าเมื่อโจทก์ฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่ยังไม่มีการกระทำแสดงออกให้เป็นการยืนยันหรือสนับสนุนคำฟ้องนั้นจึงให้ศาลทำการไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อน และถ้าศาลเห็นว่าเท่าที่พยานโจทก์เบิกความชั้นไต่สวนมูลฟ้อง จะเป็นพยานกี่คนก็ตาม ทำให้คดีพอวินิจฉัยได้แล้วศาลก็อาจสั่งงดสืบพยานโจทก์ที่เหลืออยู่เสียก็ได้
โจทก์ยื่นฟ้องแล้ว ศาลสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องเมื่อถึงวันนัด โจทก์แถลงต่อศาลศาลจดข้อแถลงรับของโจทก์ไว้แล้วสั่งว่าคดีพอวินิจฉัยได้ ให้งดสืบพยานโจทก์เสียเช่นนี้ก็เท่ากับว่าที่โจทก์แถลงต่อศาล ศาลจดคำแถลงของโจทก์ไว้นั้น เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่ศาลพอจะยกขึ้นวินิจฉัยแล้ว แล้ววินิจฉัยและพิพากษาคดีของโจทก์ไป จึงไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา162(1)
ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6(พ.ศ.2506)ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ข้อ 6 กำหนดไว้ว่า 'ในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราวให้เจ้าอาวาสสั่งแต่งตั้งรองเจ้าอาวาสผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่เห็นสมควร เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส' นั้นหมายถึงกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่. และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราวเท่านั้นถ้าเจ้าอาวาสยังอยู่ประจำที่วัดเจ้าอาวาสก็ไม่มีอำนาจที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสและในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เพราะเหตุใดเหตุหนึ่งตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6ข้อ 5 เป็นอำนาจเจ้าคณะตำบลที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสการที่เจ้าอาวาสตั้งผู้รักษาการแทนเสียเอง จึงไม่ชอบผู้ที่เจ้าอาวาสแต่งตั้งจึงไม่มีสิทธิและอำนาจหรือหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนเจ้าอาวาส
อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลหยิบยกขึ้นพิจารณาเองได้
โจทก์ยื่นฟ้องแล้ว ศาลสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องเมื่อถึงวันนัด โจทก์แถลงต่อศาลศาลจดข้อแถลงรับของโจทก์ไว้แล้วสั่งว่าคดีพอวินิจฉัยได้ ให้งดสืบพยานโจทก์เสียเช่นนี้ก็เท่ากับว่าที่โจทก์แถลงต่อศาล ศาลจดคำแถลงของโจทก์ไว้นั้น เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่ศาลพอจะยกขึ้นวินิจฉัยแล้ว แล้ววินิจฉัยและพิพากษาคดีของโจทก์ไป จึงไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา162(1)
ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6(พ.ศ.2506)ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ข้อ 6 กำหนดไว้ว่า 'ในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราวให้เจ้าอาวาสสั่งแต่งตั้งรองเจ้าอาวาสผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่เห็นสมควร เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส' นั้นหมายถึงกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่. และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราวเท่านั้นถ้าเจ้าอาวาสยังอยู่ประจำที่วัดเจ้าอาวาสก็ไม่มีอำนาจที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสและในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เพราะเหตุใดเหตุหนึ่งตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6ข้อ 5 เป็นอำนาจเจ้าคณะตำบลที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสการที่เจ้าอาวาสตั้งผู้รักษาการแทนเสียเอง จึงไม่ชอบผู้ที่เจ้าอาวาสแต่งตั้งจึงไม่มีสิทธิและอำนาจหรือหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนเจ้าอาวาส
อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลหยิบยกขึ้นพิจารณาเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำเรื่องสิทธิเครื่องหมายการค้าในขณะที่คดีเดิมยังไม่สิ้นสุด ถือเป็นการฟ้องคดีซ้ำที่กฎหมายห้าม
คดีเรื่องก่อน โดยเฉพาะคดีแดงที่ 4475/2506 เป็นเรื่องที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้สินค้าจำพวก 8 คือ เครื่องรับวิทยุ ฯลฯ และได้ฟ้องจำเลยขอให้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนี้ เพราะจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 ซ้ำอีก ครั้นนายทะเบียนไม่รับจด โจทก์ก็มาฟ้องจำเลยเป็นคดีขึ้นอีก เห็นว่าคดีหลังนี้กับคดีแดงที่ 4475/2506 เป็นเรื่องเดียวกัน โดยมีประเด็นข้อพิพาทเป็นอย่างเดียวกันว่า โจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 หรือไม่ ในเมื่อจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันไว้แล้ว ซึ่งต้องพิจารณาเรื่องที่กระทำ ไม่ใช่ครั้งของการกระทำ แม้โจทก์จะประดิษฐ์รูปลักษณะของตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่ตัวอักษรก็ยังเป็นอย่างเดิม และเรียกขานเหมือนเดิม คือ HIPEX ส่วนลวดลายส่วนประกอบโดยรอบตัวอักษร แม้จะมีเพิ่มขึ้นก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญเพราะเป็นเพียงส่วนประกอบของลักษณะบ่งเฉพาะแห่งเครื่องหมายเท่านั้น ไม่ทำให้เครื่องหมาย HIPEX ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนครั้งหลังอันเป็นมูลฟ้องคดีนี้กลายเป็นคนละเครื่องหมาย คนละเรื่องกับเรื่องก่อนไปได้ เมื่อคดีหลังกับคดีก่อนคือคดีแดงที่ 4475/2506 ของศาลชั้นต้นเป็นเรื่องเดียวกัน และขณะโจทก์ฟ้องคดีหลังนี้ คดีแดงที่ 4475/2506 ยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงฟ้องคดีหลังนี้ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2007/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสิ้น ยังคงมีสิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมาย
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่า 'คดีก่อนศาลสั่งจำหน่ายคดีโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ได้อีกไม่เป็นฟ้องซ้ำ ให้ดำเนินคดีสืบพยานโจทก์ไป' นั้น หาทำให้คดีเสร็จสำนวนไม่ เพราะศาลยังต้องทำการสืบพยานและพิพากษาชี้ขาดต่อไป เมื่อมีการอุทธรณ์คำสั่งนี้ จึงเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196