พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,111 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5230/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยพยานหลักฐานและการพิสูจน์ความเสียหายในคดีอาญา ศาลใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานได้
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยพยานหลักฐานโจทก์ว่า สัญญาซื้อขายหุ้นทำระหว่าง ว. กับจำเลยโดยโจทก์ไม่เกี่ยวข้อง ทั้งโจทก์มิได้นำสืบตัวโจทก์ในชั้นไต่สวนและในชั้นพิจารณากับข้อเท็จจริงคงได้จากพยานหลักฐานว่า ว. ให้โจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีแทน โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบจึงไม่เป็นผู้เสียหาย แม้คำวินิจฉัยจะมิได้กล่าวไปถึงคำเบิกความของ ว. ที่ว่า ว. นำเช็คพิพาทไปแบ่งให้แก่โจทก์ เพราะเดิมโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามสัญญาซื้อขายหุ้นเอกสารหมาย จ. 2 จะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม แต่คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าโจทก์มิได้เกี่ยวข้องกับสัญญาขายหุ้นทั้งโจทก์มิได้นำสืบตัวโจทก์ ดังนี้เท่ากับแสดงว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักคำเบิกความของ ว. ดังกล่าวแล้วว่าไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้นั่นเอง ดังนั้นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงในคดีนี้จนครบถ้วนเท่ากับยังไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นโดยประสงค์ให้ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงไปตามคำเบิกความทั้งหมดของพยานโจทก์คือตัว ว. เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาที่โจทก์อ้างเป็นข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นผู้เสียหาย อันถือว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5230/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความเสียหายในคดีอาญา และการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยพยานหลักฐานโจทก์ว่า สัญญาซื้อขายหุ้นทำระหว่าง ว. กับจำเลยโดยโจทก์ไม่เกี่ยวข้องทั้งโจทก์มิได้นำสืบตัวโจทก์ในชั้นไต่สวนและในชั้นพิจารณากับข้อเท็จจริงคงได้จากพยานหลักฐานว่า ว. ให้โจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีแทน โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบจึงไม่เป็นผู้เสียหาย แม้คำวินิจฉัยจะมิได้กล่าวไปถึงคำเบิกความของ ว. ที่ว่า ว. นำเช็คพิพาทไปแบ่งให้แก่โจทก์ เพราะเดิมโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามสัญญาซื้อขายหุ้นเอกสารหมาย จ.2 จะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม แต่คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าโจทก์มิได้เกี่ยวข้องกับสัญญาขายหุ้นทั้งโจทก์มิได้นำสืบตัวโจทก์ ดังนี้เท่ากับแสดงว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักคำเบิกความของ ว. ดังกล่าว แล้วว่าไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้นั่นเอง ดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงในคดีนี้จนครบถ้วนเท่ากับยังไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นโดยประสงค์ให้ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงไปตามคำเบิกความทั้งหมดของพยานโจทก์คือตัว ว. เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาที่โจทก์อ้างเป็นข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายอันถือว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้อง
อายุความฟ้องคดีอาญา ตาม ป.อ.มาตรา 95 ต้องถือตามอัตราโทษที่พิจารณาได้ความและกำหนดไว้ในมาตราที่ศาลยกขึ้นปรับ เมื่อได้ความว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฯ มาตรา 65 ทั้งสองวรรค การพิจารณาอายุความจึงต้องใช้อัตราโทษในวรรคหนึ่งซึ่งมีโทษหนักที่สุดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ซึ่งมาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 95 (4) และคดีนี้เหตุเกิดวันที่ 9 มิถุนายน 2540 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 จึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้ครอบครองและดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร ซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรม โรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำความผิดในฐานะผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฯ มาตรา 69
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฯ มาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยมิได้ปรับบทมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองปรับบทมาตราถูกต้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย มาตรา 246 , 247
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้ครอบครองและดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร ซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรม โรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำความผิดในฐานะผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฯ มาตรา 69
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฯ มาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยมิได้ปรับบทมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองปรับบทมาตราถูกต้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย มาตรา 246 , 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายอื่นหรือเป็นผู้เสียหายเอง มิฉะนั้นขาดอำนาจฟ้อง
โจทก์ซึ่งได้รับอันตรายสาหัสฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291,300 และ 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4)และ 157 แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายอื่นที่เป็นผู้เยาว์หรือเป็นผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือสามีผู้เสียหายอื่นซึ่งถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายสาหัส หรือได้รับอันตรายแก่กาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเหล่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1) และ (2) โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,300 และ 390 ซึ่งบุคคลอื่นเป็นผู้เสียหาย และโดยที่โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4) และ 157 เพราะความผิดดังกล่าวเป็นความผิดต่อรัฐ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดตามมาตรา 43(4) และ 157 ด้วย ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 และ 390 และพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43(4) และ 157
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์มีส่วนขับรถยนต์โดยประมาทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย พิพากษายกฟ้อง เมื่อโจทก์เป็นผู้เสียหายเฉพาะในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ไม่ได้มีส่วนประมาท เป็นอุทธรณ์โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของโจทก์และพิพากษามานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อโจทก์ฎีกาเช่นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์อีก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แม้จะมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา ก็ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ซึ่งจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยมาตรา 218,219 และ 220 เท่านั้น มิได้ให้อนุญาตให้ฎีกาในกรณีดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์มีส่วนขับรถยนต์โดยประมาทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย พิพากษายกฟ้อง เมื่อโจทก์เป็นผู้เสียหายเฉพาะในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ไม่ได้มีส่วนประมาท เป็นอุทธรณ์โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของโจทก์และพิพากษามานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อโจทก์ฎีกาเช่นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์อีก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แม้จะมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา ก็ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ซึ่งจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยมาตรา 218,219 และ 220 เท่านั้น มิได้ให้อนุญาตให้ฎีกาในกรณีดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4589/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาเนื่องจากจำเลยถึงแก่ความตาย และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 เรือนจำกลางบางขวางแจ้งว่าจำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตาย แต่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ทราบเพื่อมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (1) การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 4 จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาใหม่ เมื่อจำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4329/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีอาญาซ้ำกับคดีเดิมที่อยู่ระหว่างพิจารณา
การพิจารณาว่าฟ้องคดีหลังเป็นฟ้องซ้อนกับคดีแรกหรือไม่ ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ไม่ใช่พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของศาลและโจทก์เมื่อศาลรับคำฟ้องแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทต่อศาลแขวงไว้แล้ว ระหว่างส่งหมายนัดไต่สวนมูลฟ้องให้แก่จำเลย โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยข้อหาเดียวกันต่อศาลอาญา ฟ้องคดีหลังของโจทก์เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่ติดอากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานในคดีอาญาได้ หากมีหลักฐานหนี้จริง
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 กำหนดให้ตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือส่วนของตราสารเป็นพยานหลักฐานไม่ได้นั้น ใช้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ส่วนในคดีอาญาไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้นำตราสารดังกล่าวมารับฟังเป็นพยานหลักฐานด้วย ดังนั้น เมื่อคดีอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 4 ได้ความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมแก่โจทก์โดยมีสัญญากู้ยืมเงินมาแสดง ก็ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4066/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีทำร้ายร่างกาย บุกรุกเคหสถาน และชิงทรัพย์: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยที่ 1 เปลือยกายถือมีดเข้าไปหาผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งนอนอยู่บนเตียงนอนของผู้เสียหายที่ 1 ในเวลากลางคืน ผู้เสียหายที่ 1 รู้สึกตัวจำเลยที่ 1 พูดขู่มิให้ร้อง ผู้เสียหายที่ 1 ร้องกรี๊ดสุดเสียงจำเลยที่1ชกปากและเอามือซ้ายยัดเข้าไปในปาก ผู้เสียหายที่ 1กัดนิ้วของจำเลยที่ 1 และดิ้นจนตกจากเตียงนอน ผู้เสียหายที่ 1 ถูกมีดของจำเลยที่ 1บาดที่ข้อมือซ้าย ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำการอันไม่สมควรทางเพศโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายและได้ใช้กำลังประทุษร้ายแล้ว จึงเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 และเป็นการบุกรุกเข้าไปในเคหสถานโดยไม่มีเหตุอันควรในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธและใช้กำลังประทุษร้ายอันเป็นความผิดตามมาตรา 365 เมื่อผู้เสียหายที่ 3 เข้ามาที่ห้องนอนของผู้เสียหายที่ 1ก็ถูกจำเลยที่ 1 ทำร้ายและจำเลยที่ 1 หยิบเอากระเป๋าที่มีอาวุธปืนของผู้เสียหายที่ 2 เก็บไว้ ซึ่งผู้เสียหายที่ 3 นำมาด้วยและตกอยู่ที่พื้นไป ก่อนจะหลบหนีจำเลยที่ 1 วิ่งชนผู้เสียหายที่ 3 และใช้มีดฟันผู้เสียหายที่ 3 ได้รับบาดเจ็บ จึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3434/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งคำร้องรื้อฟื้นคดีอาญาเป็นของศาลอุทธรณ์ แม้ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องแต่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาและยกคำร้องได้
พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 10 กำหนดให้อำนาจในการสั่งคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่เป็นของศาลอุทธรณ์ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องดังกล่าวเสียเองจึงไม่ชอบ อย่างไรก็ตามเมื่อคดีได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำความเห็นอีก เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องของผู้ร้องไม่มีมูลจึงพิพากษายกคำร้อง คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 10 วรรคสอง ผู้ร้องไม่มีสิทธิฎีกาได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือพยานและประโยชน์แห่งความสงสัยในคดีอาญา การยกฟ้องเมื่อพยานโจทก์มีพิรุธ
เมื่อพยานโจทก์ที่นำสืบยังเป็นที่สงสัย เห็นควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง และเนื่องจากข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225