คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความจำเป็น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีผู้ถูกข่มเหงถูกไล่ทำร้ายด้วยอาวุธ
โจทก์ไม่มีพะยานรู้เห็นในขณะเกิดเหตุความรู้ ความประพฤติดีของจำเลย ความเกะกะของผู้ร้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลพินิจนายอำเภอในการต่ออายุใบอนุญาตอาวุธปืน พิจารณาจากเหตุผลความจำเป็น
นายอำเภอมีอำนาจที่จะไม่ยอมออกใบอนุญาติต่ออายุปืนได้เมื่อมีเหตุผลสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกณฑ์ทหาร: เจตนาหลีกเลี่ยงและความจำเป็น
ผู้ถูกเกณฑ์ป่วยให้คนไปแทนแต่ผู้แทนไปบอกไม่ทัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8732/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: ศาลยึดหลักความจำเป็นและประโยชน์แห่งความยุติธรรม มิใช่ความผิดพลาดของผู้ฟ้อง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 บัญญัติให้อำนาจศาลแรงงานในการย่นหรือขยายระยะเวลาไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ได้ และตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 ได้วางหลักเกณฑ์ว่าจะกระทำได้เมื่อมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หาได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าจะกระทำได้เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและต้องทำก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยเช่นที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ไม่
ศาลแรงงานภาค 5 อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 แต่โจทก์ซึ่งทราบวันนัดฟังคำพิพากษาโดยชอบแล้วไม่มาศาล และเพิ่งมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 16 มกราคม 2555 โจทก์อ้างว่าดำเนินคดีเองแต่ได้ปรึกษานิติกรศาลแรงงานภาค 5 มาโดยตลอด การที่โจทก์ไม่มาฟังคำพิพากษาและติดตามขอคัดคำพิพากษาหรือตรวจสอบรวมทั้งขอคำปรึกษาจากนิติกรศาลแรงงานภาค 5 ว่าคำพิพากษาศาลแรงงานให้อุทธรณ์ได้เฉพาะข้อกฎหมายไปยังศาลฎีกาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง จึงเป็นความผิดหรือความบกพร่องของโจทก์เอง มิใช่เหตุความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานภาค 5 จะพึงขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์เกินความจำเป็นในการบังคับคดี ถือเป็นความผิดโจทก์ ศาลมีอำนาจเพิกถอนการยึดและสั่งให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียม
คดีนี้ จำเลยยื่นคำร้อง 2 ฉบับ คือคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ฉบับหนึ่ง และคำร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์อีกฉบับหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ และคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด (ที่ถูก คำร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์) จำเลยอุทธรณ์คำสั่งคำร้องทั้งสองฉบับดังกล่าวมาในอุทธรณ์ฉบับเดียวกัน เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไป ผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่นี้เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนคำร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์มาด้วยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
จำเลยเป็นหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์เพียง 35,384.36 บาท ซึ่งเมื่อนำมาเทียบกับราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่โจทก์นำยึดซึ่งมีราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีสูงถึง 6,386,400 บาท นับว่ามีราคาต่างกันมากไม่เหมาะสมกัน โจทก์น่าจะนำยึดทรัพย์สินภายในบ้านอันมีราคาใกล้เคียงกับจำนวนหนี้ของจำเลยจะเป็นการเหมาะสมกว่า การที่โจทก์นำยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยโดยปรากฏจากข้ออ้างของโจทก์เพียงประการเดียวว่า จำเป็นต้องยึดเพราะระยะเวลาในการบังคับคดีใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว โดยไม่เคยร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเข้าไปตรวจสอบทรัพย์สินภายในบ้านของจำเลยว่า จำเลยมีทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่มีราคาใกล้เคียงกับจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ นอกจากจะเป็นข้ออ้างที่ปราศจากเหตุผลแล้ว ยังเป็นการไม่เป็นธรรมแก่จำเลยอีกด้วย จึงเห็นได้ว่าโจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยเกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดี อันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 284 วรรคหนึ่ง กรณีจึงมีเหตุตามกฎหมายที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการยึดทรัพย์นั้นได้ และถือว่าเป็นความผิดของโจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณีที่ยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามมาตรา 284 วรรคสอง โดยให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดแต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดีของจำเลยตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16469/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวมเรียกแบ่งทรัพย์สิน: วัตถุประสงค์ใช้ประโยชน์ร่วมกันไม่ถาวร & เหตุผลความจำเป็น
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้ เว้นแต่จะมีนิติกรรมขัดอยู่ หรือถ้าวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวรก็เรียกให้แบ่งไม่ได้" และวรรคสามบัญญัติว่า "ท่านว่าเจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้" ตามข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ว. โจทก์และจำเลยทั้งสองมีข้อตกลงกันว่าการซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์พิพาทนี้ห้ามแบ่งแยกกัน แม้จะได้ความจาก ว. ที่ตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองว่า ว. ต้องการให้โจทก์มีที่ทำกินในอาคารพาณิชย์พิพาทร่วมกับจำเลยทั้งสองไปเรื่อย ๆ แต่ ว. เป็นเพียงผู้ออกเงินชำระค่าที่ดินมิใช่เจ้าของรวม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นวัตถุประสงค์ของเจ้าของรวมให้ใช้ประโยชน์ร่วมกันอันมีลักษณะเป็นการถาวร การที่จำเลยที่ 2 ยังเป็นผู้เยาว์ก็มิใช่ข้อห้ามแบ่งแยกและไม่ใช่กรณีไม่เป็นโอกาสอันควรแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่อาจทำกิจการค้าต่อไปได้ และการที่จะให้ผู้อื่นเช่าก็เกิดปัญหากับจำเลยทั้งสองถึงขั้นตกลงกันไม่ได้ จะให้จำเลยทั้งสองครอบครองโดยให้ประโยชน์ตอบแทนแก่โจทก์ก็เกิดปัญหาเรื่องจำนวนค่าตอบแทน การถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันต่อไปย่อมไม่เกิดประโยชน์ การที่โจทก์ต้องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงเป็นสิทธิของโจทก์และมีความเหมาะสม โจทก์จึงเรียกให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและอาคารพาณิชย์พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7227/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทเลินเล่อจากการแย่งปืนทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ไม่เข้าข้อยกเว้นความจำเป็น
คำเบิกความและคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยได้ความว่า ผู้ตายชอบเล่นอาวุธปืน บางครั้งเอากระสุนปืนออกจากลูกโม่แล้วมาจ่อยิงที่ศีรษะตนเองหรือผู้อื่นเพื่อล้อเล่น ในวันเกิดเหตุผู้ตายก็เอาอาวุธปืนมาเล่นอีก แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะที่ผู้ตายเอาอาวุธปืนมาจ่อที่ศีรษะตนเองแล้วจำเลยเข้าแย่งเป็นเหตุให้ปืนลั่นนั้น ผู้ตายจะยิงตนเองหรือผู้ตายเมาสุราจนไม่ได้สติแต่อย่างใด ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้หรือไม่ว่าอาวุธปืนดังกล่าวบรรจุกระสุนปืนหรือไม่ ดังนั้น การที่จำเลยเข้าแย่งอาวุธปืนในสถานการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ อันเป็นการกระทำโดยประมาทตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสี่
การที่จะอ้างว่าเป็นการกระทำความผิดด้วยความจำเป็นได้นั้น ต้องเป็นเรื่องการกระทำผิดโดยเจตนา แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดโดยประมาทจึงมิใช่เป็นการกระทำความผิดด้วยความจำเป็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: การเลือกเส้นทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อที่ดินน้อยที่สุด
ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสาม บัญญัติถึงการที่จะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่นั้นต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า หากโจทก์ทั้งสามสามารถออกสู่ทางสาะรณประโยชน์ถนนสายสามค้อ-บางบ่อ ได้จะต้องผ่านที่ดินถึง 7 แปลง แต่ถ้าโจทก์ทั้งสามใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ถนนสายบางบ่อ-ทุ่งสะเดา จะผ่านที่ดินจำเลยเพียงแปลงเดียว ประกอบกับได้ความจากคำเบิกความของ ม. มารดาโจทก์ทั้งสามและจำเลยซึ่งเป็นพยานโจทก์ทั้งสามว่า ขณะที่ ง. และพยานเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 14487 และ 7795 มีทางเข้าออกด้านทิศตะวันออกผ่านที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวยาวตลอดแนวสู่ทางสาธารณะประโยชน์ถนนสายบางบ่อ-ทุ่งสะเดา ตามรูปแผนที่วิวาท แสดงว่า ง. และ ม.เคยใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวมาก่อนแล้ว ทั้งทางพิพาทยังเป็นทางเชื่อมต่อจากทางสาธารณะประโยชน์ที่อยู่ด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์ทั้งสาม ดังนั้น เมื่อคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่เปรียบเทียบกันแล้ว การที่โจทก์ทั้งสามจะผ่านทางพิพาทย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่แต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ตามบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เพราะทางพิพาทผ่านที่ดินจำเลยเพียงแปลงเดียวโจทก์ทั้งสามจึงชอบที่จะขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทในที่ดินจำเลยเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโจทก์ทั้งสามเพื่ออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ถนนสายบางบ่อ-ทุ่งสะเดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ต้องพิจารณาความจำเป็นและประโยชน์แห่งความยุติธรรม มิใช่พฤติการณ์พิเศษ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายระยะเวลาได้ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าจะต้องมีพฤติการณ์พิเศษจึงจะขยายระยะเวลาได้เช่นที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 การที่ทนายจำเลยมีหนังสือขอถอนตัวจากการเป็นทนายความส่งให้แก่ผู้จัดการจำเลย และศาลแรงงานภาค 2 อ่านคำพิพากษาในวันที่ 21 ธันวาคม 2547 จำเลยทราบถึงการขอถอนตัวจากการเป็นทนายความตั้งแต่ก่อนศาลแรงงานภาค 2 อ่านคำพิพากษา จำเลยมีเวลาเพียงพอที่จะจัดหาทนายความคนใหม่ได้เสียแต่เนิ่น ๆ การที่จำเลยไม่รีบดำเนินการจึงเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลยเอง ถือไม่ได้ว่าคดีมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานภาค 2 จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2944/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตทางจำเป็น: การกำหนดความกว้างที่เหมาะสมตามความจำเป็นของผู้ใช้ทางและผลกระทบต่อเจ้าของที่ดิน
โจทก์ใช้รถยนต์บรรทุก รถไถ และรถเกี่ยวข้าวผ่านทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นเพื่อทำนา รถเกี่ยวข้าวกว้างประมาณ 3.50 เมตร และความประสงค์ของจำเลยแต่เดิมยินยอมให้โจทก์และชาวบ้านใช้ทางพิพาทกว้าง 4 เมตร ดังนั้น การให้ใช้ทางพิพาทกว้าง 4 เมตร เพื่อให้ทางเข้าออกเป็นไปโดยสะดวก จึงพอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์กับบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะผ่านและเกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสาม แล้ว
of 17