คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความยินยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดข่มขืนกระทำชำเรา ผู้สนับสนุน และการไม่เข้าข่ายโทรมหญิง
จำเลยทั้งสองผลัดกันกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 กระทำชำเราด้วยความยินยอมของผู้เสียหายจึงไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ส่วนจำเลยที่ 2 กระทำชำเราโดยที่ผู้เสียหายมิได้ยินยอมจึงมีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราแต่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1ไม่เป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราเสียแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการโทรมหญิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา276 วรรคสอง จำเลยที่ 2 คงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276วรรคแรกเท่านั้น จำเลยที่ 1 ได้สมคบร่วมคิดกันมาก่อนกับจำเลยที่ 2 ว่าจะให้จำเลยที่ 2 กระทำชำเราผู้เสียหายด้วยโดยเมื่อจำเลยที่ 1กระทำชำเราผู้เสียหายเสร็จแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ออกจากห้องไป เปิดประตูไว้ให้จำเลยที่ 2 เข้าไปข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 2 ในการกระทำความผิดจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 2 ในการกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับตามข้อตกลงหย่าขาดจากกันโดยความยินยอม และอายุความฟ้องร้อง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อ (1) ว่าโจทก์มีเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้หรือไม่ โดยมิได้ระบุเจาะจงว่าเหตุฟ้องหย่าดังกล่าวคือเหตุตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516เมื่อการฟ้องคดีเพื่อหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยานอกจากเหตุตามมาตรา 1516 แล้วยังมีกรณีตามมาตรา 1515 อีกด้วย ฉะนั้นเมื่อมีการหย่าโดยความยินยอมแล้วแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่า การหย่าโดยความยินยอมดังกล่าวย่อมยังไม่สมบูรณ์ตามนัยมาตรา 1515 อีกฝ่ายหนึ่งจึงมีเหตุฟ้องให้ศาลพิพากษาให้มีผลเป็นการหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันตามหนังสือยินยอมได้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า โจทก์จำเลยทำบันทึกด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายตกลงหย่าและแบ่งทรัพย์สินกันต่อหน้าพยาน 2 คน นอกเหนือไปจากเหตุตามมาตรา 1516 ดังนั้น การที่ศาลยกเอาบันทึกข้อตกลงของโจทก์จำเลยมาวินิจฉัยว่าเป็นหลักฐานการหย่าโดยความยินยอมแล้วพิพากษาให้จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับโจทก์ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 สิทธิฟ้องร้องที่ระงับสิ้นไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีตามมาตรา 1529คือ สิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุตามมาตรา 1516(1)(2)(3) หรือ (6)หรือมาตรา 1523 เป็นคนละกรณีกับการฟ้องขอให้จดทะเบียนการหย่าโดยความยินยอมตามมาตรา 1514 วรรคสองและมาตรา 1515 ซึ่งมีอายุความฟ้องร้องภายในสิบปีนับแต่วันที่ทั้งสองฝ่ายทำบันทึกตกลงการหย่าฉะนั้นเมื่อนับแต่วันดังกล่าวจนถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่เกินสิบปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าซื้อในการเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัย แม้ระบุผู้รับประโยชน์อื่น และความยินยอมการซ่อม
โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อมีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อและดูแลรักษารถยนต์ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย เมื่อรถยนต์เสียหายโจทก์ยังคงต้องรับผิดใช้ค่าเช่าซื้อต่อไปจนครบ โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ต่อจำเลยที่ 2 แม้จะตกลงให้ผู้ให้เช่าซื้อรับผลประโยชน์ เมื่อผู้ให้เช่าซื้อยังมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาประกันภัยโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี โดยใช้อาวุธและไม่ยินยอม ความผิดตามมาตรา 277 วรรคสาม
ผู้เสียหายเป็นบุตรติด จ. แล้ว จ. มาอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลย อำนาจปกครองผู้เสียหายตกแก่ จ.ผู้เป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1568การที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอายุยังไม่เกินสิบสามปีโดยใช้อาวุธและโดยผู้เสียหายไม่ยินยอม จำเลยย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสามเท่านั้น กรณี ไม่ต้องด้วยมาตรา 285

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี โดยใช้อาวุธและไม่ยินยอม ศาลฎีกาแก้ไขโทษตามมาตรา 277 วรรคสาม
ผู้เสียหายเป็นบุตรติดของ จ. จ. มาอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยอำนาจการปกครองผู้เสียหายจึงตกแก่ จ.ผู้เป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1568 การที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคสามเท่านั้น ไม่ต้องด้วยมาตรา 285 อันเป็นบทบัญญัติที่ให้วางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ หนึ่งในสาม ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเองได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเลี้ยงดูเป็นภรรยา ไม่ใช่พรากผู้เยาว์
จำเลยพาผู้เสียหายไปกินอยู่หลับนอนกันที่บ้านจำเลย โดยผู้เสียหายยินยอมระหว่างพักอยู่ร่วมกับจำเลย ผู้เสียหายช่วยทำงานบ้านและได้เงินใช้จ่ายจากจำเลย ทั้งจำเลยไม่มีภรรยา เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยตั้งใจจะเลี้ยงดูผู้เสียหายเป็นภรรยา มิใช่จำเลยพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4914/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของร่วม ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษา
โจทก์ผู้รับจำนองไม่ทราบถึงการที่ผู้ร้องมีส่วนเป็นเจ้าของและไม่ได้ยินยอมให้นำที่พิพาทส่วนของผู้ร้องเข้าร่วมจำนองด้วยเนื่องจาก ป.ผู้จำนองมิได้แจ้งให้ทราบ การจำนองจึงสมบูรณ์และมีผลผูกพันทรัพย์จำนองทั้งหมดทุกส่วน เมื่อจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของป.ถูกโจทก์ฟ้องบังคับจำนองและศาลพิพากษาให้บังคับตามสัญญาจำนองได้แล้วเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ ส่วนการที่ ป.นำทรัพย์ส่วนของผู้ร้องเข้าร่วมจำนอง โดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้ร้องนั้นหากเป็นเหตุให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไร ผู้ร้องก็ชอบที่จะว่ากล่าวเอาแก่ ป. หรือทายาทของป. เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จะมาร้องขอกันส่วนให้บังคับคดีมีผลผิดไปจากคำพิพากษาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4687/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็คหลังเรียกเก็บเงินจากธนาคาร และผลกระทบต่ออายุความฟ้องร้อง
การที่ผู้สั่งจ่ายออกเช็คโดยไม่ลงวันที่ แต่ได้ลงชื่อกำกับไว้ย่อมมีความหมายว่าผู้สั่งจ่ายตกลงยินยอมให้ผู้ทรงโดยสุจริตจดวันที่เอาเองได้โดยถือว่าได้รับความยินยอมจากผู้สั่งจ่ายตามลายมือชื่อที่ลงกำกับไว้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็คซึ่งกระทำหลังจากเช็คนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ โดยปกติผู้ทรงเช็คจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังไม่ใช่ปล่อยให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามความพอใจ เมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันออกเช็คไม่ปรากฎว่ามีการลงลายมือชื่อกำกับไว้อันเป็นการผิดปกติกับที่เคยปฎิบัติ มา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำหรือยินยอมด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเมื่อผู้ทรงนำเช็คมาฟ้องให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดเกิน 1 ปี นับแต่วันเช็คถึงกำหนดครั้งแรกคดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอม และการแบ่งสินสมรสเมื่อคู่สมรสถึงแก่ความตาย
การที่ ง.จัดการสินสมรสโดยยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสี่โดยเสน่หาและมิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ง.ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1473 (เดิม) เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ การให้ดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสส่วนของตนคืนได้
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ง. ตั้งแต่พ.ศ.2465 ก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ.พุทธศักราช 2477 ดังนั้น การแบ่งสินสมรสของโจทก์กับ ง.จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ปรากฏว่าโจทก์กับ ง.ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อ ง.ถึงแก่ความตาย สินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วน เป็นของ ง.สองส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์
การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น เป็นการพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งในสินสมรสมากกว่าส่วนที่โจทก์ควรจะได้รับตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา และการแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
การที่ ง. จัดการสินสมรสโดยยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสี่โดยเสน่หาและมิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ง. ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(เดิม)เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ การให้ดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสส่วนของตนคืนได้ โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ง. ตั้งแต่พ.ศ. 2465 ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5พ.ศ. 2477 ซึ่งตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ดังนั้นการแบ่งสินสมรสของโจทก์กับ ง. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ปรากฎว่าโจทก์กับ ง. ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อ ง. ถึงแก่ความตาย สินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วน เป็นของ ง. สองส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้นเป็นการพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งสินสมรสมากกว่าส่วนที่โจทก์ควรจะได้รับตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกาในปัญหานี้ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
of 57