คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความรับผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,971 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4199/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการต่างประเทศตามมาตรา 824
แม้โดยหลักทั่วไปว่าด้วยความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก เมื่อตัวแทนกระทำการแทนตัวการไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนแล้ว ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายที่ตัวแทนได้ทำไปดังกล่าวนั้น โดยตัวแทนไม่ต้องผูกพันหรือรับผิดต่อบุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 820 ก็ตาม แต่ในกรณีตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศนั้นเป็นกรณีที่มี มาตรา 824 บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ตัวแทนเช่นนี้ต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง ซึ่งหมายความว่า ตัวแทนเช่นว่านี้ต้องมีความรับผิดด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศกับจำเลยที่ 2 ตัวแทนที่ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนจำเลยที่ 1 รวมกันมา และศาลได้พิจารณาเห็นว่า จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อีกคนหนึ่งได้ตาม มาตรา 824
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/46)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4199/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทนที่ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนตัวการต่างประเทศ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824
โจทก์เป็นผู้ขายมีหน้าที่ที่จะต้องส่งสินค้าให้แก่ผู้ซื้อที่ท่าเรือปลายทาง และโจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญารับขนของทางทะเลว่า โจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยทั้งสองให้ดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ แต่สินค้าได้เกิดความเสียหายในระหว่างการขนส่ง ดังนั้นโจทก์ในฐานะผู้ส่งซึ่งเป็นคู่สัญญากับผู้ขนส่งย่อมมีสิทธิจะฟ้องร้องให้ผู้ขนส่งรับผิดต่อโจทก์ได้ตามสัญญารับขนของทางทะเล ทั้งโจทก์ยังไม่ได้โอนใบตราส่งให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้รับตราส่ง โดยโจทก์เพียงแต่ส่งมอบต้นฉบับใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ท่าเรือต้นทางเพื่อให้แจ้งไปยังตัวแทนของผู้ขนส่งที่ท่าเรือปลายทางให้ส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่งที่โจทก์ระบุไว้เท่านั้น แม้ผู้ซื้อจะได้เรียกร้องให้ตัวแทนของผู้ขนส่งที่ท่าเรือปลายทางส่งมอบตู้สินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งแล้ว สิทธิทั้งหลายของโจทก์ในฐานะผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนยังหาได้โอนไปยังผู้รับตราส่งไม่ นอกจากนั้นผู้ซื้อยังไม่ได้ตกลงรับซื้อสินค้า สินค้าจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายจากความเสียหายของสินค้าด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดอยู่ต่างประเทศ จดทะเบียนที่ใต้หวัน ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียน ณสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร โจทก์ได้ว่าจ้างให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้ขนส่งสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบัง ไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อยังเมืองฮ่องกงโดยวิธีขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนส่ง จำเลยที่ 2 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยเกี่ยวกับการจัดเตรียมการขนส่ง รับมอบสินค้าตลอดจนนำสินค้าบรรทุกลงเรือ และเป็นผู้ออกใบตราส่งในนามของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ เป็นคำฟ้องที่ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยได้ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศด้วย การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามสัญญาตัวแทนย่อมไม่เป็นการพิพากษานอกเหนือหรือเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง
การที่ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศเป็นกรณีที่มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ตัวแทนต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเองซึ่งหมายความว่าตัวแทนต้องมีความรับผิดด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศกับจำเลยที่ 2 ตัวแทนในประเทศไทยที่ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนจำเลยที่ 1 รวมกันมาและศาลเห็นว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดทางสัญญา: ศาลพิพากษาเกินขอบเขตคำฟ้องและข้อเท็จจริงที่รับฟัง
คำฟ้องของโจทก์แสดงซึ่งสภาพแห่งข้อหาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 เพียง 2 ข้อว่า ข้อหนึ่งจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ อันเป็นความรับผิดตามสัญญาซื้อขาย และข้อสองจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ค่าสินค้ากับจำเลยที่ 1 เพราะเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (3) เท่านั้น ไม่มีข้อหาว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาเพราะเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว อุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพตามมาตรา 1490 (1) เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมด้วยในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์หรือร่วมด้วยในการประกอบกิจการของร้านธีระพร การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการค้าขายของร้านธีระพรซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในครอบครัวของจำเลยทั้งสองเพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตร ตลอดถึงการรักษาพยาบาลด้วย อันเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันตามมาตรา 1490 (1) แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในเรื่องที่นอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา 249 ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์และในการประกอบกิจการของร้านธีระพร จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขาย ไม่ใช่ละเมิด: การส่งมอบสินค้าชำรุดไม่เข้าข่ายความรับผิดทางละเมิด
โจทก์ตกลงซื้อโต๊ะนักเรียนพร้อมเก้าอี้จากจำเลย การที่จำเลยส่งมอบโต๊ะนักเรียนพร้อมเก้าอี้ชำรุดบกพร่อง เป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาซื้อขาย มิใช่เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมายต่อบุคคลอื่นเป็นเหตุให้เขาเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่ชัดเจนความรับผิดจำเลยที่ 3 คำฟ้องเคลือบคลุม ศาลยกฟ้อง
คำฟ้องบรรยายไว้แต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นนายจ้างลูกจ้าง จำเลยที่ 3 ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัย จำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 โดยขับรถดั๊มโดยประมาท กระบะหลังรถกระแทกถูกหลังคาปั๊มน้ำมันของบริษัท ค. ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ เสียหายเป็นเงิน 312,000 บาท โจทก์ชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว จึงรับช่วงสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสาม ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เกี่ยวข้องกับคดีนี้อย่างไร ร่วมกระทำละเมิด หรือต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดเพราะอะไรล้วนแต่ไม่ปรากฏทั้งสิ้น คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง เป็นฟ้องเคลือบคลุม และแม้จำเลยที่ 3 จะให้การว่ารับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุก็ตาม ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกกลับเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเคลือบคลุม จำเลย 3 ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง แม้มีการรับประกันภัย ก็ไม่อาจทำให้ฟ้องชอบด้วยกฎหมายได้
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นนายจ้างลูกจ้าง จำเลยที่ 3ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัย จำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 โดยขับรถดั๊มโดยประมาทกระบะหลังกระแทกถูกหลังคาปั๊มน้ำมันของบริษัท ค. ที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายเป็นเงิน 312,000 บาท โจทก์ชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว จึงรับช่วงสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสาม ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เกี่ยวข้องกับคดีนี้อย่างไร ร่วมกระทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดเพราะอะไร จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 3 จะให้การว่ารับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุก็ตาม ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกกลับเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนรับขนสินค้าทางทะเล: ความรับผิดในสัญญา และอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลในประเทศไทยในการทำพิธีการรายงานเรือเข้าออกต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้รับแต่งตั้งมอบหมายให้สามารถลงชื่อในใบตราส่งในฐานะตัวแทนแทนนายเรือและเรียกเก็บเงินค่าระวางเพื่อโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการทำสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น มิใช่ผู้ขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญารับขนสินค้าทางทะเลกับโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งแทนจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ แล้วจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนต้องรับผิดสำหรับความเสียหายเนื่องจากการผิดสัญญานั้นต่อโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งและโจทก์ที่ 2 ผู้ทรงใบตราส่งแต่ลำพังตนเอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
ในเรื่องหนี้เงินต่างประเทศ ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิลูกหนี้ชำระหนี้เป็นเงินไทยได้ และในวรรคสอง บัญญัติว่าการเปลี่ยนเงินนี้ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ดังนี้ จำนวนเงินบาทที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระแก่โจทก์จะเป็นจำนวนเท่าใดย่อมต้องคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในเวลาที่มีการชำระหนี้แก่โจทก์จริง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนในวันที่มีคำพิพากษาหรือในวันสุดท้ายที่มีอัตราเช่นว่านั้นก่อนวันมีคำพิพากษา หากในวันดังกล่าวอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทจำนวนมากกว่าอัตราแลกเปลี่ยนในวันชำระหนี้กันจริง ก็จะมีผลให้จำเลยที่ 2 ต้องชำระหนี้มากกว่าจำนวนเงินที่ต้องชำระจริง จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3883/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกป่าเพื่อสร้างวัด: ความรับผิดของวัดและเจ้าอาวาส
ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสอง พระเทพปัญญามุนีไม่ใช่ผู้แทนของวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพระลูกวัดและมีพรรษาอาวุโสสูงสุดของวัดจำเลยที่ 1 จึงต้องทำหน้าที่รักษาการแทนเจ้าอาวาสคำฟ้องโจทก์ที่ระบุว่าฟ้องจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 รักษาการแทนเจ้าอาวาส จึงเป็นคำฟ้องที่ถูกต้อง ทั้งการฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยโดยมิได้ระบุชื่อผู้แทนของนิติบุคคลมาด้วยหรือระบุชื่อผู้แทนนิติบุคคลผิดตัว ก็ไม่ทำให้กลายเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ใช่เป็นการฟ้องจำเลยผิดตัว
ขณะที่วัดจำเลยที่ 1 บุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อสร้างกุฏิ ศาลาและสิ่งปลูกสร้าง ในเขตอุทยานแห่งชาติ อันไม่ใช่เขตพื้นที่ของวัดจำเลยที่ 1 ตามที่ได้รับอนุญาต จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้แทนของวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีส่วนให้ความเห็นชอบหรือเป็นผู้กระทำการดังกล่าว เมื่อเป็นการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรืออำนาจหน้าที่ของวัดจำเลยที่ 1 และก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่กรมป่าไม้โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญากู้เงินไม่สมบูรณ์-ผลบังคับใช้-จำนอง-อัตราดอกเบี้ย-ความรับผิดของผู้กู้
การขอขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญากู้เงิน หรือขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ที่ขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าว โจทก์ชอบที่จะกระทำเสียก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง หรือก่อนที่ศาลชั้นต้นจะตัดสินชี้ขาดคดี การที่โจทก์เพิ่งมายื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลฎีกาหลังจากที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปแล้ว โดยศาลอุทธรณ์ปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าว ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตให้ทำการแก้ไข ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไม่อนุญาต
จำเลยกู้เงินโจทก์โดยทำสัญญาจำนองเป็นประกันไว้ และจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้ที่ดินที่จำนองเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับภริยาและจำเลยทำสัญญาจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาก็ตาม คงมีผลเพียงว่าภริยาจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดสัญญาจำนองยังไม่ถูกศาลเพิกถอน ย่อมยังคงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นผู้อ้างเอกสารหนังสือสัญญากู้เงินเป็นพยาน ย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องดำเนินการให้เอกสารดังกล่าวสมบูรณ์ถูกต้องสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลรัษฎากร มิใช่หน้าที่ของจำเลย
สัญญากู้เงินและสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมคนละประเภทที่สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน และปรากฏว่าสัญญากู้เงินที่ทำขึ้นไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ย่อมไม่อาจนำเอาอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองมาบังคับการกู้เงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3715/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างในฐานะผู้ว่าจ้าง ลูกจ้างกระทำละเมิด และอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดที่ ป. กระทำต่อโจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นนายจ้างของ ป. โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 ว่า ป. เป็นลูกจ้างของจำเลยกระทำไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของจำเลย
จำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดีและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยดังกล่าวแล้ว คดีย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิพากษาคดีนี้ใหม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาใหม่เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว
of 498