พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8784/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีขับรถประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การหลบหนี และประเด็นการรับรองพยานหลักฐาน
โจทก์ฎีกาขอให้พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่คำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้พิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา โดยผู้ร้องเป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 และค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิตดังกล่าว มิใช่ทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิดในคดีลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอกหรือรับของโจร ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้บังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้อง โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2416/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดทางอาญา ถือเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
บริษัท ร. ประกอบธุรกิจส่งวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้บริการแก่สาธารณะหรือชุมชนโดยไม่ได้รับอนุญาต พ. ทราบว่าตนในฐานะผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท จะต้องถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมาย จึงโอนหุ้นของตนให้แก่จำเลยและจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้จำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจในบริษัท เพื่อหลีกเลี่ยงให้ตนเองพ้นความรับผิดทางอาญาโดยให้จำเลยเป็นผู้รับโทษในทางอาญาแทนตน ต่อมาพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องบริษัท ร. และจำเลยเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้น ฐานร่วมกันส่งวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้บริการแก่สาธารณะหรือชุมชนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย คดีถึงที่สุด นิติกรรมการโอนหุ้นระหว่าง พ. กับจำเลยจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พ. ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานยักยอกซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนคดีนี้และพนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20824/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้จัดการจากเหตุประมาทจากการจัดการสารเคมีอันตรายและการยกเลิกกฎหมายเก่า
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 166 บัญญัติว่า บรรดาประกาศหรือคำสั่งที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ. นี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศที่ออกตาม พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ เมื่อยังไม่มีกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศที่ออกตาม พ.ร.บ. นี้เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างหรือความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายใช้บังคับ หรือมีการยกเลิกมาตรการเพื่อความปลอดภัยในกิจการเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายตามประกาศหรือคำสั่งที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม 2540 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2534 ซึ่งออกตามความใน ข้อ 2 (7) และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 จึงยังคงมีผลใช้บังคับ อย่างไรก็ตาม แม้โจทก์จะนำสืบรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีก๊าซประเภทสารเคมีอันตรายไว้ในครอบครองโดยไม่แจ้งการครอบครองตามแบบที่อธิบดีกรมแรงงานกำหนดต่ออธิบดีกรมแรงงานหรือผู้ว่าราชการจังหวัด และไม่จัดให้ลูกจ้างระดับบริหารเข้ารับการฝึกอบรมและแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารของสถานประกอบกิจการตามฟ้องโจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 103, 148 ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ แต่เป็นความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 2 (7) และข้อ 8 ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้วโดย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 3 ฉะนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานมีก๊าซประเภทสารเคมีอันตรายไว้ในครอบครองโดยไม่แจ้งรายละเอียดต่อเจ้าพนักงานตามกฎหมาย และฐานไม่จัดให้ลูกจ้างระดับบริหารเข้ารับการอบรมและแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารของสถานประกอบกิจการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12204/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความรับผิดทางอาญาและค่าเสียหายจากการบุกรุก ทำร้ายทรัพย์สิน และความถูกต้องของคำร้องขอค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานบุกรุกเคหสถานที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายที่ 3 ใช้ขวดน้ำมัน 3 ขวด ขว้างปาเข้าไปในบ้านพักอันเป็นการทำให้เสียหายซึ่งทรัพย์ของผู้เสียหายที่ 3 เป็นเหตุให้พัดลมตั้งโต๊ะแตกเสียหาย คิดเป็นเงิน 1,200 บาท ระหว่างพิจารณาผู้เสียหายที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอ้างว่า จำเลยยิงปืนเข้าไปในร้านที่เกิดเหตุ ทำให้สิ่งของภายในร้านเสียหาย พัดลมตั้งพื้น 1 ตัว ราคา 1,800 บาท น้ำมันเบนซิน 5 ขวด ราคา 200 บาท และทำให้สิ่งของอื่นในร้านเสียหาย 3,200 บาท ค่ากระทบกระเทือนทางจิตใจ 10,000 บาท นั้น แม้ผู้เสียหายที่ 3 จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่คำร้องดังกล่าวจะมีคำขอประการอื่นที่มิใช่คำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญามิได้ และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคสาม ที่ผู้เสียหายที่ 3 เรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าน้ำมันเบนซิน 5 ขวด ราคา 200 บาท และทำให้สิ่งของอื่นในร้านเสียหาย 3,200 บาท มิใช่เป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายที่ 3 เป็นค่าน้ำมันเบนซิน 5 ขวด ราคา 200 บาท และทรัพย์สินอื่นเป็นเงิน 500 บาท จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4398/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธและใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำความผิด
ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าในการปล้นทรัพย์ผู้กระทำผิดแม้แต่คนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษ..." แสดงให้เห็นเจตนาของกฎหมายว่ามุ่งเอาผิดแก่ผู้ร่วมปล้นทรัพย์ทุกคน เพราะผู้กระทำอาจใช้อาวุธนั้นทำร้ายผู้เสียหายได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าพวกของจำเลยมีอาวุธปืนไปด้วย แม้จำเลยจะรู้หรือไม่รู้ว่าพวกของจำเลยมีอาวุธปืนจำเลยก็ต้องมีความรับผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง
จำเลยกับพวกเดินทางมาที่เกิดเหตุโดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ แม้หลังจากที่ผู้เสียหายใช้อาวุธปืนยิงจำเลย จำเลยกับพวกจะแยกย้ายกันหลบหนีโดยทิ้งรถจักรยานยนต์ไว้ในที่เกิดเหตุก็ตาม แต่การที่จำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์ที่มีการใช้สกอตเทปสีดำติดเปลี่ยนเลขทะเบียนรถอำพรางเลขทะเบียนที่แท้จริงเป็นยานพาหนะเดินทางมายังที่เกิดเหตุ แล้วเข้าไปพยายามปล้นทรัพย์ที่บ้านของผู้เสียหาย ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เดินทางมายังบ้านของผู้เสียหายเพื่อกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ และหากปล้นทรัพย์สำเร็จจำเลยกับพวกย่อมใช้รถจักรยานยนต์คันดังกล่าวพาทรัพย์นั้นไปจากที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
จำเลยกับพวกเดินทางมาที่เกิดเหตุโดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ แม้หลังจากที่ผู้เสียหายใช้อาวุธปืนยิงจำเลย จำเลยกับพวกจะแยกย้ายกันหลบหนีโดยทิ้งรถจักรยานยนต์ไว้ในที่เกิดเหตุก็ตาม แต่การที่จำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์ที่มีการใช้สกอตเทปสีดำติดเปลี่ยนเลขทะเบียนรถอำพรางเลขทะเบียนที่แท้จริงเป็นยานพาหนะเดินทางมายังที่เกิดเหตุ แล้วเข้าไปพยายามปล้นทรัพย์ที่บ้านของผู้เสียหาย ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เดินทางมายังบ้านของผู้เสียหายเพื่อกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ และหากปล้นทรัพย์สำเร็จจำเลยกับพวกย่อมใช้รถจักรยานยนต์คันดังกล่าวพาทรัพย์นั้นไปจากที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของกรรมการบริษัทที่ลงชื่อในเช็คที่ไม่มีเงินเพียงพอ แม้ฟ้องว่าจำเลยร่วมกันกระทำผิด
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันออกเช็คสั่งจ่ายเงินเพื่อมอบให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามทางนำสืบโจทก์ปรากฏว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คที่บริษัท ว. เป็นผู้ออกเพื่อชำระหนี้เงินกู้ที่บริษัทดังกล่าวเป็นผู้กู้จากผู้เสียหาย โดยมีจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท ดังนั้นไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะสั่งจ่ายเช็คพิพาทในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะที่กระทำแทนบริษัท จำเลยที่ 1 ก็คงมีความรับผิดทางอาญาเช่นเดียวกัน เพราะการดำเนินกิจการของบริษัทย่อมแสดงออกโดยทางผู้แทนทั้งหลายของบริษัท เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทลงชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คอันเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ก็ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกับบริษัทออกเช็คโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวได้โดยไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกันกระทำความผิดกับบริษัท ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณากับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง จึงหาใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18281/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉี่ยวชนทางถนน: ความรับผิดทางอาญาแม้ข้อกล่าวหาไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
แม้ข้อเท็จจริงปรากฏในทางพิจารณาว่า จำเลยขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อโดยประมาทเฉี่ยวชนถูกไหล่โจทก์ร่วมที่ 2 เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมที่ 1 ตกจากรถ แล้วรถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมที่ 2 เสียหลักล้มลง แตกต่างจากข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องเนื่องจากโจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อโดยประมาทเฉี่ยวชนถูกโจทก์ร่วมที่ 1 แต่เมื่อผลคือโจทก์ร่วมที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส และโจทก์ร่วมที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กายจากการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นการแตกต่างกันในข้อที่มิใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ จึงลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17866/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ให้ผู้อื่นทำร้ายร่างกายจนได้รับอันตรายสาหัส ผู้ใช้ต้องรับผิดอาญาตามบทกำหนดโทษที่สูงขึ้น
การที่จำเลยสั่งให้ ส. กับพวกทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ด้วยคำพูดของจำเลยที่ว่า "กูจะฆ่ามึง พวกมึงไปจัดการมันเลย" นั้น แม้ตามพฤติการณ์แห่งคดีจะเป็นการพูดด้วยอารมณ์โกรธ และเพียงแต่มีเจตนาใช้ให้ทำร้ายร่างกายเพื่อสั่งสอนเท่านั้น แต่เมื่อการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายตามที่จำเลยใช้ให้กระทำความผิดเกิดผลให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสซึ่งผู้ถูกใช้จะต้องรับผิดทางอาญามีกำหนดโทษสูงขึ้น จำเลยเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดย่อมต้องรับผิดทางอาญาตามความผิดที่มีกำหนดโทษสูงขึ้นนั้นด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 297 (8), 84 ประกอบมาตรา 87 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14071-14072/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาและแพ่งจากการร่วมกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และค่าธรรมเนียมศาล
กรณีที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 นั้น มาตรา 253 วรรคหนึ่ง มิให้เรียกค่าธรรมเนียม ส่วนที่มาตรา 253 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่ง ถ้าศาลยังต้องจัดการอะไรอีกเพื่อการบังคับ ผู้ที่จะได้รับคืนทรัพย์สินหรือราคาหรือค่าสินไหมทดแทน จักต้องเสียค่าธรรมเนียมดังคดีแพ่งสำหรับการต่อไปนั้น หมายถึงค่าธรรมเนียมในชั้นบังคับคดี และที่มาตรา 255 บัญญัติว่า ในคดีดังบัญญัติในมาตรา 253 วรรคสอง และมาตรา 254 ถ้ามีคำขอ ศาลมีอำนาจสั่งให้ฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าธรรมเนียมแทนอีกฝ่ายหนึ่งได้ หมายถึงค่าธรรมเนียมในชั้นบังคับคดีตามมาตรา 253 วรรคสอง หรือค่าธรรมเนียมในคดีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ตามมาตรา 254 และต้องมีคำขอทั้งสองกรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11224/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกสลากถูกรางวัล – การคืนเงินรางวัลและค่าสินไหมทดแทน – ความรับผิดทางอาญาของผู้สนับสนุน
การที่สลากกินแบ่งรัฐบาลถูกรางวัลที่หนึ่งและจำเลยทั้งสองร่วมกันไปรับเงินรางวัลมาแล้ว ย่อมทำให้โจทก์ร่วมหมดโอกาสที่จะได้รับเงินรางวัล เท่ากับว่าโจทก์ร่วมต้องสูญเสียเงินจำนวนนั้นไปเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองโดยตรง โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินหรือใช้เงินเท่ากับจำนวนเงินรางวัลที่หนึ่งให้แก่โจทก์ร่วมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่ได้ความว่าในการขอรับเงินรางวัล จำเลยทั้งสองได้รับเงินมาเพียง 3,980,000 บาท เพราะต้องเสียอากรแสตมป์ 20,000 บาท จำเลยทั้งสองต้องคืนหรือใช้เงินจำนวนเท่าที่ได้รับมาเท่านั้น และโจทก์ร่วมซึ่งได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วม โดยเรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ต้องใช้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 440 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ได้