คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คุณสมบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3177/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมัครรับเลือกตั้งโดยขาดคุณสมบัติเป็นเหตุให้มีความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามบทบัญญัติ
ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ให้ลงโทษปรับจำเลย ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
เมื่อจำเลยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดเพราะขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ สมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากเป็นกรรมการสุขาภิบาลแต่บังอาจ ไปยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งจึงถือได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตั้งแต่วันที่จำเลยได้ยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งนั้นแล้ว
การสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดแปดปี เป็นการสั่งไปตามบทกฎหมายที่กำหนดไว้เช่นนั้น ไม่อาจจะใช้ดุลพินิจลดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 317-324/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุ: การเลิกจ้างเนื่องจากกฎหมาย หรือการกำหนดคุณสมบัติ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างโดยนายจ้าง
รัฐวิสาหกิจเลิกจ้างพนักงานซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ แม้ต้องเลิกจ้างเพราะมีกฎหมายบังคับ ไม่อาจจะจ้างต่อไปถึงหากจะมีความประสงค์จะจ้างต่อ ก็ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้าง
การที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีอายุไม่เกิน60 ปีบริบูรณ์ก็ดี หรือมีระเบียบข้อบังคับของนายจ้างว่าให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างออกจากงานได้ เมื่อลูกจ้างครบเกษียณอายุก็ดี ไม่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง หากแต่เป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติของลูกจ้างไว้เป็นการทั่วไป ไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฯ ฉบับที่ 2 ข้อ 1 และประกาศฯ ฉบับที่ 6 ข้อ2
ข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 และระเบียบว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้างของการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 มีหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการจ่ายเงินสงเคราะห์และเงินบำเหน็จหรือบำนาญแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามบทนิยามของคำว่า 'ค่าชดเชย' ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องถือว่าเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แม้ว่าจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าค่าชดเชย นายจ้างก็ยังมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างอยู่อีก
การจ่ายค่าครองชีพให้เป็นประจำทุกเดือนโดยมีจำนวนแน่นอนทำนองเดียวกับเงินเดือนนั้น นับได้ว่าค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจลงโทษทางวินัยของลูกจ้างผู้บังคับบัญชาทำให้ขาดคุณสมบัติเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน
ประกาศคณะกรรมการกำหนดระเบียบวินัยพนักงานของนายจ้างโจทก์ได้กำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดวางโทษตามข้อ 2 ว่า 2.1 โทษสถานเบา ก.ตักเตือนด้วยวาจา ข.มีหนังสือตำหนิโทษโจทก์เป็นพนักงานที่มีอำนาจลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชา คือ ก.ตักเตือนด้วยวาจา ข.ทำหนังสือตำหนิโทษ โจทก์จึงเป็นลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชามีอำนาจในการลงโทษตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 95 วรรคสอง ต้องห้ามมิให้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างอื่นจัดตั้งขึ้นก็เป็นการขาดคุณสมบัติในการเป็นกรรมการสหภาพแรงงานจำเลยจึงชอบที่จะไม่จดทะเบียนกรรมการให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117-1118/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานต่างด้าวเนื่องจากขาดคุณสมบัติ ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน สิทธิได้รับค่าชดเชยและอายุความ
สิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยเป็นสิทธิที่ได้กำหนดไว้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานแต่ก็มิได้กำหนดอายุความสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไว้เป็นพิเศษ ต้องถืออายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46แก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 2 ข้อ 1 ที่ว่า 'การเลิกจ้างตามข้อนี้หมายความว่า การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงาน โดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 ฯลฯ' นั้น หมายถึงการที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่ากรณีใดๆ โดยมิได้ยกเว้นไว้ว่า การให้ออกจากงานเพราะขาดคุณสมบัติไม่เป็นการเลิกจ้าง การที่โจทก์ให้จำเลยออกจากงานเพราะจำเลยขาดคุณสมบัติ จึงถือว่าเป็นการเลิกจ้างจำเลยตามประกาศดังกล่าว
เงินบำเหน็จเป็นเงินต่างประเภทจากค่าชดเชย จึงถือไม่ได้ว่าเงินบำเหน็จเป็นค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: สิทธิตามพินัยกรรม, ผลสัญญาประนีประนอม, และคุณสมบัติของผู้จัดการมรดก
เมื่อเจ้ามรดกตาย ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 กับพวก เป็นผู้จัดการมรดกในคดีหนึ่งแล้ว ต่อมา อ. ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้อีกจำเลยที่ 1 กับพวกคัดค้านในที่สุดมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้ อ. เป็นผู้จัดการมรดกโดยศาลพิพากษาให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น การเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 1 กับพวกจึงสิ้นสุดลงตามสัญญาดังกล่าวนั้นแล้วดังนั้นเมื่อ อ. ถึงแก่กรรมโจทก์กับพวกซึ่งตามพินัยกรรมเจ้ามรดกระบุให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับ อ. ย่อมร้องขอต่อศาลให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกในคดีนี้ได้ไม่เป็นร้องซ้ำ
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมฉบับแรกระบุให้โจทก์กับพวกเป็นผู้จัดการมรดกต่อมาได้ทำพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่งซึ่งมิได้กล่าวถึงการเป็นผู้จัดการมรดกและไม่ได้ระบุไว้ให้ยกเลิกหรือเพิกถอนพินัยกรรมฉบับที่ทำขึ้นก่อนแต่ประการใด ฉะนั้นโจทก์จึงยังมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรก
แม้โจทก์เคยสละสิทธิเพื่อให้ อ. เป็นผู้จัดการมรดกแต่เมื่อ อ. ถึงแก่กรรมแล้ว โจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิขอเป็นผู้จัดการมรดกได้เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วน ทั้งไม่ปรากฏว่าเป็นผู้ที่ไม่เหมาะสม ศาลก็ตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ได้ และแม้โจทก์ที่ 1 จะมีส่วนได้รับทรัพย์มรดกน้อยกว่าจำเลยที่ 2 โจทก์ที่ 1 ก็เป็นทายาทและมีส่วนได้เสียส่วนโจทก์ที่ 2 แม้จะไม่ได้เป็นทายาทและไม่มีสิทธิรับมรดกแต่ก็เป็นผู้ที่เจ้ามรดกระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดกด้วยผู้หนึ่ง จึงมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1712 และ มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากขาดคุณสมบัติ อายุเกิน 60 ปี และสิทธิในการได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46, (ฉบับที่ 2) ข้อ 1 อันเป็นประกาศที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ออกจากงาน ไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษ แก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งต้องออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามด้วย การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงาน เพราะเหตุนี้ย่อมตั้งถือว่าเป็นการออกเพราะการเลิกจ้างด้วย
การที่โจทก์เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (2) เพราะมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ แล้วและต้องพ้นจากตำแหน่งนั้น เห็นได้ว่า พระราชบัญญัตินี้มิได้ยกเว้นว่า การพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ถือว่าเป็นการออกจากงานเพราะการเลิกจ้าง และการที่มีการกำหนดคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในรูปของพระราชบัญญัติก็เพราะรัฐต้องการให้รัฐวิสาหกิจทั้งหลายใช้ข้อบังคับในเรื่องนี้ให้เป็นระเบียบเดียวกัน และมุ่งหมายจะให้เป็นข้อบังคับที่มั่นคงถาวรไม่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย มิใช่จะถือว่า มีผลยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไปในตัว นอกจากนี้แม้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะใช้คำว่า พ้นจากตำแหน่ง ผลก็เท่ากับให้รัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นนายจ้างจัดการให้ลูกจ้างออกจากงานอันต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างอยู่นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากขาดคุณสมบัติอายุเกิน 60 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46,(ฉบับที่ 2) ข้อ 1 อันเป็นประกาศที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ออกจากงาน ไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษแก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งต้องออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามด้วย การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุนี้ย่อมต้องถือว่าเป็นการออกเพราะการเลิกจ้างด้วย
การที่โจทก์เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจมาตรา 9(2) เพราะมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์แล้วและต้องพ้นจากตำแหน่งนั้น เห็นได้ว่าพระราชบัญญัตินี้มิได้ยกเว้นว่าการพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ถือว่าเป็นการออกจากงานเพราะการเลิกจ้าง และการที่มีการกำหนดคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจในรูปของพระราชบัญญัติก็เพราะรัฐต้องการให้รัฐวิสาหกิจทั้งหลายใช้ข้อบังคับในเรื่องนี้ให้เป็นระเบียบเดียวกัน และมุ่งหมายจะให้เป็นข้อบังคับที่มั่นคงถาวรไม่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายมิใช่จะถือว่ามีผลยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไปในตัวนอกจากนี้แม้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะใช้คำว่า "พ้นจากตำแหน่ง" ผลก็เท่ากับให้รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างจัดการให้ลูกจ้างออกจากงานอันต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างอยู่นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลิตภัณฑ์ชงดื่มกับการยกเว้นภาษี: การพิจารณาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์และความประสงค์ของผู้ผลิต
ใบชาและชาผงที่บริษัทโจทก์ผลิตแล้วขายให้แก่องค์การคลังสินค้า จัดทำผ่านกรรมวิธีมาแล้วหลายขั้นตอนจนสามารถชงดื่มได้ ถือได้ว่าใบชาและชาผงดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ชงดื่มตามบัญชี 1 หมวด 1 (3) ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลกฎหมายรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2509 แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 43) พ.ศ.2516 แม้ใบชาและชาผงของบริษัทโจทก์จะไม่เป็นที่นิยม เพราะไม่ได้ปรุงแต่งรสกลิ่นและความสะอาดไม่ดีนัก ก็ไม่ทำให้ใบชาและชาผงนั้นไม่เป็นผลิตภัณฑ์ชงดื่ม ส่วนที่พ่อค้าซื้อใบชาและชาผงของบริษัทโจทก์ไปจากองค์การคลังสินค้าแล้วนำไปผ่านกรรมวิธีอีกครั้งหนึ่ง ก็เป็นเรื่องที่พ่อค้าประสงค์จะให้ใบชาและชาผงนั้นมีคุณภาพและรสดีเป็นที่นิยมของผู้บริโภคเท่านั้น
การขนส่งใบชาและชาผงจากโรงานของบริษัทโจทก์ที่เชียงใหม่ ถึงองค์การคลังสินค้าที่กรุงเทพใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน แต่ใบชาและชาผงที่บริษัทโจทก์ผลิตแล้วขายให้องค์การคลังสินค้าสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นแรมปี เห็นได้ว่าบริษัทโจทก์ประสงค์จะให้ใบชาและชาผงที่บริษัทโจทก์ผลิตโดยผ่านกรรมวิธีดังกล่าวนั้น มีสภาพคงอยู่ถาวรเพื่อมิให้เสียง่าย มิใช่จัดทำเพียงเพื่อรักษามิให้ใบชาและชาผงเสียเป็นการชั่วคราวระหว่างขนส่งใบชาและชาผง ที่บริษัทโจทก์ผลิตแล้วขายให้องค์การคลังสินค้าจึงไม่ได้รับการยกเว้นภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 ทวิ (2) (ด) แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2513 มาตรา 4 แต่ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1 (3) ตามบัญชีอัตราการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขับไล่: สิทธิของเจ้าของทรัพย์สินในการรื้อถอน และคุณสมบัติผู้มีอำนาจลงนามมอบอำนาจ
ว. เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติโดยธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515 ต่อมามีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบทเฉพาะกาล มาตรา 234 ที่มิให้นำมาตรา102, 103 ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผลจึงมีว่า ว. ย่อมจะดำรงตำแหน่งการเมืองและตำแหน่งหรือหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐได้ในคราวเดียวกัน ว. จึงไม่เป็นผู้ที่ไม่อาจทำงานเต็มเวลาให้แก่การเคหะแห่งชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 22 (3) และ (5) ว. จึงอาจดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติต่อไป และมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ น.ฟ้องคดีแทนได้
แม้โจทก์จะได้โอนขายกรรมสิทธิ์อาคารห้องพิพาทให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว แต่โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องส่งมอบอาคารหลังพิพาทให้แก่ผู้ชื้อเพื่อการรื้อถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 461 เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารที่เช่า โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: การพิจารณาคุณสมบัติของผู้จัดการมรดกและความชอบด้วยวิธีพิจารณา
ผู้ร้องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายซึ่งเป็นบุตร สามีโดยมิชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายร้องคัดค้านว่า ได้จดทะเบียนรับรองบุตรซึ่งเกิดจากผู้ตายแล้ว มรดกของผู้ตายตกได้แก่บุตร ผู้ร้องไม่มีสิทธิเกี่ยวข้อง ขอให้ยกคำร้องของผู้ร้องและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก ดังนี้ การที่จะพิจารณาว่าสมควรจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกนั้น จะต้องทราบรายละเอียดแห่งความสัมพันธ์หรือพฤติการณ์ระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องและผู้คัดค้าน ตลอดจนคุณสมบัติของแต่ละฝ่ายตามสมควร เพื่อจะได้เป็นแนวทางวินิจฉัยว่าผู้ใดเหมาะสมกว่ากันในการเป็นผู้จัดการมรดก การที่ศาลสั่งงดสืบพยานเมื่อสืบตัวผู้ร้องเพียงปากเดียว จึงยังไม่ชอบ
of 21