พบผลลัพธ์ทั้งหมด 337 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาวางค่าฤชาธรรมเนียมอุทธรณ์: พฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะพิจารณา
จำเลยเตรียมเงินค่าฤชาธรรมเนียมอุทธรณ์มาไม่พอวางศาลทนายจำเลยบอกให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินจากธนาคาร แต่จำเลยที่ 1เบิกเงินไม่ทัน ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมอุทธรณ์และค่าทนายความส่วนที่ขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ค้างจ่ายเกิน 5 ปี ทำให้ตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมาย
โจทก์แถลงขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลสั่งคืน ศาลมีคำสั่งอนุญาต แต่โจทก์ไม่มารับ แสดงว่าเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลสั่งอนุญาตให้คืนแก่โจทก์ยังค้างจ่ายอยู่ในศาล โจทก์มาแถลงขอรับเงินดังกล่าวอีกเมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์รับไป เงินดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดินไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าฤชาธรรมเนียมค้างรับเกิน 5 ปี ตกเป็นของแผ่นดิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้คืนค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์15,000 บาท และได้สั่งอนุญาตให้โจทก์รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวไปตามคำแถลงขอรับเงินของโจทก์ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม2524 แล้ว แต่โจทก์ไม่มารับ แสดงว่าเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้คืนแก่โจทก์ยังค้างจ่ายอยู่ในศาลเมื่อโจทก์เพิ่งมาขอรับเงินดังกล่าวในวันที่ 27 มิถุนายน 2533 ซึ่งพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์รับไป เงินดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ค้างจ่ายเกิน 5 ปี ทำให้ตกเป็นของแผ่นดิน
โจทก์แถลงขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลสั่งคืนตามคำพิพากษาตามยอม ศาลมีคำสั่งอนุญาต แต่โจทก์ไม่มารับ จึงเป็นเงินที่ยังค้างจ่ายอยู่ในศาล โจทก์มาแถลงขอรับอีกครั้งเมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์รับไป เงินดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 323
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าฤชาธรรมเนียมค้างจ่ายเกิน 5 ปี ตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมาย
โจทก์แถลงขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลสั่งคืน ศาลมีคำสั่งอนุญาต แต่โจทก์ไม่มารับ แสดงว่าเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ ศาลสั่งอนุญาตให้คืนแก่โจทก์ยังค้างจ่ายอยู่ในศาล โจทก์มาแถลง ขอรับเงินดังกล่าวอีกเมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาต ให้โจทก์รับไป เงินดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดินไปแล้วตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 323.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5332/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่เป็นโมฆะ: การพิสูจน์เจตนาและสติสัมปชัญญะของผู้ทำพินัยกรรม และการคำนวณค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ อันเป็นการเรียกร้องให้ทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาท จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาเช่าซื้อ, เจ้าของสัญญา, และดุลพินิจค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์เช่าซื้อรถยนต์พิพาทมาจาก ท. แล้วจำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์ยังไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทที่ให้เช่าซื้อแต่ ท. ยอมให้โจทก์นำรถยนต์พิพาทออกให้ผู้อื่นเช่าซื้อได้และโจทก์สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ได้หากจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าเช่าซื้อครบตามสัญญา จำเลยที่ 1ต้องผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อ จะอ้างว่าขณะทำสัญญาโจทก์ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อ จึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่ จำเลยทั้งสองมิได้กล่าวไว้ในอุทธรณ์ว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องอย่างไรบ้าง จึงเป็นการอุทธรณ์ที่มิได้กล่าวไว้ชัดแจ้งในอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์มีอำนาจไม่รับวินิจฉัยได้ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกา ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์พิพาทกับค่าใช้จ่ายในการติดตามรถยนต์พิพาทไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 การที่จะพิจารณาให้คู่ความใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจ ของศาลโดยคำนึงถึงเหตุผลและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ - หน้าที่ศาลในการพิจารณามูลค่าความเสียหายและหลักประกัน
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยยังไม่ได้สั่งเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยไม่วางเงินหรือหาประกันมาวางเพื่อใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและหนี้ตามคำพิพากษา โดยไม่ได้ส่งไปให้ศาลอุทธรณ์สั่งย่อมเป็นการไม่ชอบเพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอุทธรณ์ และถือว่าจำเลยไม่มีเจตนาฝ่าฝืนไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษามาวางศาลหรือหาประกันให้ต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 จึงชอบที่จะสั่งให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเวลาที่ศาลเห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์และการพิจารณาเจตนาชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียม
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยว่าอุทธรณ์ภายในกำหนดรับอุทธรณ์นั้นไม่ชอบ กรณีดังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอุทธรณ์สั่งและการที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้โดยไม่ได้กำหนดให้จำเลยวางเงินหรือหาประกันมาวางศาลใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและหนี้คำพิพากษาถือไม่ได้ว่าจำเลยเจตนาฝ่าฝืนไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษามาวางศาล หรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลบังคับจำนอง: ศาลเรียกเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และความรับผิดค่าฤชาธรรมเนียม
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองได้ยื่นคำร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ถือเสมือนหนึ่งว่าผู้ร้องได้ฟ้องบังคับจำนองจำเลยนั่นเอง ตามข้อ 1(ค) แห่งตาราง 1ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งระบุไว้ว่า ให้เรียกค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละ 1 แต่ไม่ให้เกิน 100,000 บาท ต่อเมื่อจำเลยให้การต่อสู้คดีจึงให้เรียกค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละ 2.5 แต่คดีนี้จำเลยมิได้คัดค้านหรือสู้ คดีแต่อย่างใด การที่โจทก์คัดค้านจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามข้อนี้ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลเกินมา 100,000 บาท เห็นควรคืนให้แก่ผู้ร้อง แม้ผู้ร้องจะมิได้ฎีกาขึ้นมาโดยตรงก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ผู้ร้องร้องขอให้เอาเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้ชำระหนี้ผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้อื่น เสมือนหนึ่งผู้ร้องฟ้องบังคับจำนองต่อจำเลยแล้ว จำเลยก็มีหน้าที่จะต้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้แทนผู้ร้อง หรือนัยหนึ่งให้ไปเรียกเอาจากกองทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดได้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ซึ่งบัญญัติเรื่องความรับผิดชั้นที่สุดในค่าฤชาธรรมเนียมไว้นั้น ก็เป็นดุลพินิจของศาลที่จะให้ใช้ได้.