พบผลลัพธ์ทั้งหมด 610 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7809/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีล้มละลาย ผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
ระหว่างพิจารณาคดีนี้จำเลยที่ 1 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองคดีนี้เฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1 จำนวน 2,528,918.34 บาทกรณีย่อมต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 27,95 และ 96 โจทก์ซึ่งอ้างว่าได้ฟ้องจำเลยทั้งสามร่วมกับบริษัทจึงย่อมปฏิบัติการขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีดังกล่าวได้ดุลกันโจทก์ไม่มีอำนาจนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในส่วนของจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไปชำระหนี้ในคดีที่โจทก์ประสงค์โดยไม่ได้ปฏิบัติการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อโจทก์คดีนี้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ในส่วนของจำเลยที่ 1เป็นเงิน 2,528,918.34 บาท แล้วก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ในคดีนี้แล้วบางส่วนจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในส่วนของจำเลยที่ 1 จากการที่จำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์ฉะนั้น จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้จำเลยที่ 1จึงย่อมได้รับประโยชน์ในผลของการชำระหนี้นั้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7294/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ 650,000 บาท โดยมีจำเลยที่ 2ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์โดยมีใจความสำคัญว่า ผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 แก่โจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ดังนี้ จำเลยที่ 2จึงเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ส่วนข้อตกลงอื่น ๆ ที่ระบุว่าเมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนลูกหนี้จนครบแล้ว เจ้าหนี้จะดำเนินการถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาให้แก่ลูกหนี้ต่อไปเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้ำประกันและไม่ใช่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องชำระหนี้แทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7022/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้รายเดียวกัน การปิดอากรแสตมป์ถูกต้อง และความรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วม
จำเลยที่2และที่3เป็นผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อรถยนต์ของจำเลยที่1ต่อโจทก์สัญญาค้ำประกันดังกล่าวทำขึ้นเป็นฉบับเดียวเมื่อบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรหมวด6ข้อ17เรื่องค้ำประกันมิได้กำหนดไว้ว่าจะต้องปิดอากรแสตมป์คนละ10บาทแม้ตามสัญญาค้ำประกันจะมีจำเลยที่2และที่3เป็นผู้ลงลายมือชื่อค้ำประกัน2คนแต่ก็เป็นการค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันสัญญาฉบับเดียวกันการที่ปิดอากรแสตมป์ไว้ในสัญญาค้ำประกันดังกล่าว10บาทเป็นการถูกต้องครบถ้วนจึงรับฟังสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6955/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้างและสัญญาค้ำประกัน: การตีความสัญญาและขอบเขตความรับผิด
การจ้างก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังรวมอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันรวมราคาค่าก่อสร้างเบ็ดเสร็จเป็นเงิน 14,700,000 บาท โดยไม่ได้จำแนกหรือระบุเฉพาะเจาะจงว่าอาคารแต่ละหลังราคาเท่าใด การก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 22 มีนาคม 2531 ในสัญญาตกลงว่า ถ้าจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยยอมให้ปรับเป็นรายวันวันละ 10,000 บาทและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายวันวันละ 200 บาท โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าปรับหรือค่าควบคุมงานของอาคารหลังใด ประการสำคัญหากโจทก์กับจำเลยประสงค์จะให้มีการปรับและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายหลังต่อวันก็น่าจะตกลงไว้ในสัญญาให้ชัดแจ้งเมื่อไม่มีการตกลงกันเช่นนี้และกรณีมีข้อสงสัย จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นคือจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11จำเลยคงต้องรับผิดในค่าปรับและค่าควบคุมงานเป็นรายวันโดยรวมอาคารทั้งสามหลัง
สัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยเท่านั้น มิใช่มัดจำตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 ที่โจทก์จะใช้สิทธิริบจำนวนเงินในสัญญาค้ำประกันในฐานะเป็นมัดจำได้ ฉะนั้น แม้สัญญาค้ำประกันจะเป็นเอกสารปลอม โจทก์ก็จะอ้างเป็นเหตุให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามจำนวนในสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์ไม่ได้ หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปลอมและใช้สัญญาค้ำประกันปลอมอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้กระทำความผิดนั้นต่อไป
สัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยเท่านั้น มิใช่มัดจำตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 ที่โจทก์จะใช้สิทธิริบจำนวนเงินในสัญญาค้ำประกันในฐานะเป็นมัดจำได้ ฉะนั้น แม้สัญญาค้ำประกันจะเป็นเอกสารปลอม โจทก์ก็จะอ้างเป็นเหตุให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามจำนวนในสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์ไม่ได้ หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปลอมและใช้สัญญาค้ำประกันปลอมอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้กระทำความผิดนั้นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระชัดเจน ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 700 การที่เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันจะมีผลให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้นต้องเป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลาอันมีกำหนดแน่นอน แต่การที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ว่าหากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเสียหายจำเลยที่ 2 ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์นั้น มิได้เป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลา อันมีกำหนดแน่นอน จำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันค่าเสียหาย: การผ่อนเวลาชำระหนี้ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้น หากเป็นการค้ำประกันค่าเสียหาย ไม่ใช่หนี้ที่มีกำหนดเวลา
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 การที่เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันจะมีผลให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้นต้องเป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลาอันมีกำหนดแน่นอน แต่การที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ว่าหากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเสียหายจำเลยที่ 2 ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์นั้น มิได้เป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลา อันมีกำหนดแน่นอนจำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้: การผ่อนเวลาชำระหนี้ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้น หากเป็นการค้ำประกันค่าเสียหาย ไม่ใช่หนี้ตามกำหนด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา700การที่เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันจะมีผลให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้นต้องเป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระณเวลาอันมีกำหนดแน่นอนแต่การที่จำเลยที่2ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์ว่าหากจำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเสียหายจำเลยที่2ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์นั้นมิได้เป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระณเวลาอันมีกำหนดแน่นอนจำเลยที่2จึงไม่หลุดพ้นจากการรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันค่าเสียหายจากลูกจ้าง: การผ่อนเวลาชำระหนี้ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้น หากไม่ใช่หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระแน่นอน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา700การที่เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันจะมีผลให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้นต้องเป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระณเวลาอันมีกำหนดแน่นอนแต่การที่จำเลยที่2ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์ว่าหากจำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเสียหายจำเลยที่2ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์นั้นมิได้เป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระณเวลาอันมีกำหนดแน่นอนจำเลยที่2จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเหตุแก้ต่างนอกคำให้การในคดีค้ำประกัน ศาลจำกัดเฉพาะข้อต่อสู้ที่ยกขึ้นในชั้นต้น
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันบริษัทซ.ลูกหนี้ชั้นต้นของโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้ให้แก่โจทก์โดยบรรยายถึงจำนวนหนี้พร้อมทั้งหลักฐานการเป็นหนี้ส่งไปยังจำเลยจำเลยรับแจ้งการเป็นหนี้ของลูกหนี้ที่จำเลยค้ำประกันไว้แต่ปฏิเสธที่จะชำระหนี้ส่วนหนึ่งขอให้พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้โจทก์ในจำนวนหนี้ที่แจ้งไปตามสัญญาค้ำประกันจำเลยให้การยอมรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์อ้างจริงแต่ไม่ต้องรับผิดในหนี้บางจำนวนกล่าวคือใบส่งของบางฉบับไม่ระบุวันที่รับสินค้าใบส่งของบางฉบับไม่ระบุหลักฐานการลงนามรับสินค้าและวันที่รับสินค้าและหนี้บางรายการไม่ปรากฏใบส่งของจำเลยจึงแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะชำระหนี้เฉพาะที่มีหลักฐานถูกต้องครบถ้วนเท่านั้นจะเห็นได้ว่าคำให้การได้ยกเหตุแห่งการปฏิเสธหนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ชัดแจ้งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา177วรรคสองแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อที่2ว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันหรือไม่เพียงใดแต่การวินิจฉัยคดีในประเด็นดังกล่าวก็จำกัดอยู่แต่ในข้อต่อสู้ของจำเลยเท่านั้นหากนำเหตุอื่นมาวินิจฉัยคดีก็จะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นซึ่งไม่อาจกระทำได้ดังนั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่อ้างเหตุว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพราะมีสินค้าบางส่วนที่โจทก์ได้รับคืนไปแล้วและบางส่วนโจทก์ได้รับชดใช้ราคาไปแล้วก็ดีกับข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบฟังได้ว่าโจทก์ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้นแล้วทำให้หนี้สินระงับไปจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดก็ดีล้วนแต่เป็นข้อทีมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์จึงรับวินิจฉัยให้ไม่ได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความบัญญัติขึ้นเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลเป็นไปโดยเรียบร้อยและเป็นธรรมแก่คู่กรณีทุกฝ่ายมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเอาเปรียบในเชิงคดีข้อที่จำเลยอ้างมาในฎีกาว่าขณะที่จำเลยยื่นคำให้การจำเลยพิจารณาเฉพาะพยานหลักฐานที่โจทก์ส่งไปให้จำเลยเพิ่งจะทราบข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดเพราะเมื่อมีการคืนสินค้าบางส่วนชำระราคาและปลดหนี้ให้แล้วโจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากจำเลยอีกและพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยยกเหตุไม่ต้องรับผิดดังกล่าวขึ้นกล่าวในคำให้การเพราะจำเลยเพิ่งทราบภายหลังนั้นไม่ถูกต้องเพราะกฎหมายได้ให้โอกาสที่จำเลยจะสืบหาข้อเท็จจริงเพื่อเป็นแนวทางต่อสู้คดีก่อนที่จำเลยจะยื่นคำให้การแล้วทั้งปัญหาว่าลูกหนี้ชั้นต้นเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เพียงใดก็มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยไม่ได้ยกข้ออ้างเหตุนี้ปฏิเสธหนี้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและมิใช่กรณีที่มีพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5911/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีผู้ค้ำประกันชำระหนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ ไม่ขาดอายุความ 10 ปี ศาลอนุญาตแก้ไขคำฟ้องได้
ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ แม้โจทก์กล่าวถึงสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ทำกับโจทก์ก็เป็นเพียงการเท้าความให้เห็นถึงความเป็นมาของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อเท่านั้น การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่เกี่ยวกับสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตออกจึงไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีและความรับผิดของจำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องจึงชอบแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ที่ทำกับโจทก์มีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ และกล่าวถึงรายละเอียดของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อตลอดจนภาระหนี้สินที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.และจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมกันรับผิดไว้ครบถ้วน คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนรายละเอียดว่าเล็ตเตอร์ออฟเครดิตแต่ละฉบับเลขที่เท่าใด จำนวนเงินเท่าใด และสัญญารับมอบสินค้าเชื่อแต่ละฉบับเกี่ยวกับเล็ตเตอร์ออฟเครดิตฉบับใดนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ผู้ขายส่งสินค้ามาประเทศไทยพร้อมกับส่งตั๋วแลกเงินและเอกสารกำกับสินค้าให้แก่ธนาคารตัวแทนของโจทก์ในต่างประเทศเพื่อส่งมาให้โจทก์เรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ไม่มีเงินชำระค่าสินค้า จึงทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทไว้แก่โจทก์เพื่อขอให้โจทก์มอบเอกสารต่าง ๆ ให้จะได้นำไปออกสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปจำหน่ายและนำเงินค่าสินค้ามาชำระให้โจทก์ โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์คงเป็นเจ้าของสินค้า และห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.จะทำการขายสินค้าในฐานะตัวแทนโจทก์สัญญารับมอบสินค้าเชื่อดังกล่าวจึงเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปเป็นของโจทก์เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของสินค้า การครอบครองสินค้าของโจทก์จึงไม่ใช่การครอบครองในลักษณะจำนำ การที่โจทก์มอบเอกสารกำกับสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.เพื่อนำไปออกสินค้าจึงไม่ทำให้หนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อระงับไป
สัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทเป็นธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำได้ ไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์มาตรา 9 ทวิ
โจทก์ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. เมื่อปี 2523โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินค้าซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่26 พฤษภาคม 2532 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ที่ทำกับโจทก์มีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ และกล่าวถึงรายละเอียดของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อตลอดจนภาระหนี้สินที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.และจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมกันรับผิดไว้ครบถ้วน คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนรายละเอียดว่าเล็ตเตอร์ออฟเครดิตแต่ละฉบับเลขที่เท่าใด จำนวนเงินเท่าใด และสัญญารับมอบสินค้าเชื่อแต่ละฉบับเกี่ยวกับเล็ตเตอร์ออฟเครดิตฉบับใดนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ผู้ขายส่งสินค้ามาประเทศไทยพร้อมกับส่งตั๋วแลกเงินและเอกสารกำกับสินค้าให้แก่ธนาคารตัวแทนของโจทก์ในต่างประเทศเพื่อส่งมาให้โจทก์เรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ไม่มีเงินชำระค่าสินค้า จึงทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทไว้แก่โจทก์เพื่อขอให้โจทก์มอบเอกสารต่าง ๆ ให้จะได้นำไปออกสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปจำหน่ายและนำเงินค่าสินค้ามาชำระให้โจทก์ โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์คงเป็นเจ้าของสินค้า และห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.จะทำการขายสินค้าในฐานะตัวแทนโจทก์สัญญารับมอบสินค้าเชื่อดังกล่าวจึงเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปเป็นของโจทก์เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของสินค้า การครอบครองสินค้าของโจทก์จึงไม่ใช่การครอบครองในลักษณะจำนำ การที่โจทก์มอบเอกสารกำกับสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.เพื่อนำไปออกสินค้าจึงไม่ทำให้หนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อระงับไป
สัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทเป็นธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำได้ ไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์มาตรา 9 ทวิ
โจทก์ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. เมื่อปี 2523โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินค้าซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่26 พฤษภาคม 2532 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ