คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จัดการมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 279 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ศาลไม่จำหน่ายคดีหากผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งให้ฟ้องคดีภายในกำหนด แม้ไม่ฟ้องตามกำหนด
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก และผู้คัดค้านคัดค้านว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก และยังได้คัดค้านว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านอีกด้วยนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้แยกคดีโดยให้ผู้ร้องฟ้องผู้คัดค้านภายใน 1เดือนเฉพาะประเด็นที่ว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องเป็นของฝ่ายใดก็ตาม หากผู้ร้องไม่ฟ้องคดีภายในกำหนด แต่ได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นแทน ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหาได้ไม่ เพราะการเพิกเฉยให้ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2)นั้นหมายถึงการไม่ดำเนินคดีในคดีนั้นๆเอง การฟ้องร้องคดีใดๆ ก็ตามเป็นสิทธิของบุคคลที่จะกระทำได้ภายในอายุความจึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องทิ้งฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิจารณาคดีจัดการมรดก: ประเด็นทายาท vs. Ownership ทรัพย์สิน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก และทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องเป็นของผู้คัดค้านดังนี้ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาคดีโดยไต่สวนคำร้องเฉพาะประเด็นที่ว่าผู้ร้องเป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกหรือไม่ส่วนประเด็นที่ว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องเป็นของผู้คัดค้านหรือไม่ ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านต้องไปดำเนินคดีเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องฟ้องผู้คัดค้านในประเด็นที่ว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องเป็นของฝ่ายใดภายใน 1 เดือนเมื่อผู้ร้องไม่ฟ้องคดีภายในกำหนด แต่ได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหาได้ไม่ เพราะการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) หมายถึงการไม่ดำเนินคดีในคดีนั้น ๆ เอง และการฟ้องร้องคดีใด ๆ เป็นสิทธิของบุคคลที่จะกระทำได้ภายในอายุความ ทั้งผู้ร้องก็ยังติดใจดำเนินคดีนี้ไม่ได้ทิ้งฟ้องแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3357/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกโดยผู้จัดการที่ปกปิดข้อมูลทายาทและทรัพย์สิน ส่อเจตนาไม่สุจริต
ผู้ร้องทราบว่ามารดาของผู้คัดค้านกับผู้คัดค้านเป็นทายาทของผู้ตาย แต่ผู้ร้องได้แสดงบัญชีเครือญาติและนำสืบว่าผู้ตายมีทายาทเพียง 2 คน คือ ผู้ร้องกับมารดาผู้ตาย และในคำร้องขอจัดการมรดกผู้ร้องอ้างว่าผู้ตายมีทรัพย์สินต้องจัดแบ่งปันแก่ทายาทแต่กลับมาอ้างในชั้นร้องขอถอนผู้จัดการมรดกว่าผู้ตายไม่มีทรัพย์สินที่จะต้องแบ่งปัน จึงส่อพฤติการณ์ไม่สุจริตปกปิดข้อเท็จจริงในเรื่องทายาทและทรัพย์มรดกของผู้ตาย ไม่สมควรให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2926/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้จัดการมรดกยังคงมีอยู่จนกว่าการจัดการมรดกจะเสร็จสิ้น แม้จะโอนทรัพย์สินให้ทายาทแล้ว
พินัยกรรมตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก กำหนดให้โจทก์ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินมรดกให้ทายาทผู้ตายโดยให้มีถนนเข้าสู่ที่ดินทุกแปลง เมื่อโจทก์เพียงแต่โอนที่ดินใส่ชื่อทายาทของผู้ตายลงในโฉนด แต่ยังมิได้จัดการแบ่งแยกที่ดินและทำถนนการจัดการมรดกจึงยังไม่เสร็จสิ้น โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินอันเป็นมรดกของผู้ตายได้
เมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาท แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินนั้นติดต่อกันมาเกิน 10 ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกกรณีผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นปฏิปักษ์กัน ศาลเลือกผู้จัดการมรดกที่เหมาะสม
ในกรณีที่มีแต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านเพียงสองคนเท่านั้น ขอเป็นผู้จัดการมรดก และมีพฤติการณ์ว่าคนทั้งสองเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน การจัดการมรดกคงจะไม่อาจถือเอาเสียงข้างมากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 ได้หากให้คนทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันย่อมจะไม่เป็นผลดีแก่กองมรดกและแก่ทายาทของผู้ตาย โดยเหตุนี้ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านคนใดคนหนึ่งเท่านั้นที่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยพิจารณาตั้งผู้ที่มีความเหมาะสมมากกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกกรณีผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นปฏิปักษ์: เลือกผู้จัดการมรดกเหมาะสม
ในกรณีที่มีแต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านเพียงสองคนเท่านั้นขอเป็นผู้จัดการมรดก และมีพฤติการณ์ว่าคนทั้งสองเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน การจัดการมรดกคงจะไม่อาจถือเอาเสียงข้างมากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 ได้หากให้คนทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันย่อมจะไม่เป็นผลดีแก่กองมรดกและแก่ทายาทของผู้ตาย โดยเหตุนี้ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านคนใดคนหนึ่งเท่านั้นที่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยพิจารณาตั้งผู้ที่มีความเหมาะสมมากกว่า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความถูกต้องของสำเนาทะเบียนบ้านเพื่อยืนยันความเป็นทายาท และอำนาจในการจัดการมรดก
ผู้ร้องที่ 2 อ้างสำเนาทะเบียนบ้านซึ่งเป็นเอกสารมหาชนเป็นพยานหลักฐาน มีข้อความระบุว่า ม. เป็นบุตรของ ว. กับ ป. ซึ่งกฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง แต่เมื่อผู้คัดค้านนำสืบรับฟังได้ว่า ม. เป็นบุตรของ ป. ที่เกิดจากสามีเดิมก่อนที่จะมาได้ ว. เป็นสามี ดังนี้จึงเป็นการนำสืบหักล้างสำเนาทะเบียนบ้านได้แล้วว่าไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1685/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: แม้แบ่งไม่ถูกต้อง แต่ยังไม่ถือละเลยหน้าที่ หากทายาทส่วนใหญ่เห็นชอบ
ผู้ร้องมิได้ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกและได้จัดการแบ่งมรดกให้แก่ทายาทแล้ว แม้การแบ่งทรัพย์มรดกจะไม่ถูกต้องตามส่วนที่ทายาทควรจะได้ตามกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันต่างหากเพราะทายาทส่วนมากเห็นว่าผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายมากกว่าผู้คัดค้าน จึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะถอน ผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1685/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: แม้แบ่งไม่ถูกต้องตามส่วน แต่ไม่ถือว่าละเลยหน้าที่ หากทายาทส่วนใหญ่เห็นชอบ
ผู้ร้องมิได้ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกและได้จัดการแบ่งมรดกให้แก่ทายาทแล้ว แม้การแบ่งทรัพย์มรดกจะไม่ถูกต้องตามส่วนที่ทายาทควรจะได้ตามกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันต่างหากเพราะทายาทส่วนมากเห็นว่าผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายมากกว่าผู้คัดค้าน จึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ผู้ครองครองทรัพย์มรดกเหมาะสมเป็นผู้จัดการมรดกมากกว่าบุตรนอกกฎหมายที่ไม่ครอบครอง
ผู้ร้องเป็นภริยาที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แต่เป็นฝ่ายครอบครองทรัพย์มรดก ส่วนผู้คัดค้านเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้ตายได้รับรองแล้วแต่มิได้ครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกับผู้ร้อง ถ้าให้ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันแล้วมีปัญหาขัดแย้งก็จะไม่อาจถือเอาเสียงข้างมากในการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกได้ ดังนั้น การให้ผู้ร้องซึ่งครอบครองทรัพย์มรดกเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงฝ่ายเดียวจึงเหมาะสมกว่า.(ที่มา-เนติ)
of 28