คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฉ้อโกง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฉ้อโกงและยักยอก: ความครบถ้วนของคำฟ้องและการระบุวันเวลาเบียดบังทรัพย์
ตามคำฟ้องแยกข้อหาฉ้อโกงไว้ข้อก. ข. และง. และข้อหายักยอกไว้ข้อค. เมื่อพิเคราะห์คำฟ้องข้อก. ข. และง. แล้วมีความหมายพอเข้าใจได้ว่าประกาศกระทรวงได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้งโดยหลอกลวงโจทก์ร่วมในฟ้องข้อก.ว่าโจทก์ร่วมต้องเสียภาษีต่อกรมสรรพากรเป็นจำนวน147,053บาทและในฟ้องข้อข. และง. ว่าโจทก์ร่วมต้องเสียภาษีต่อกรมสรรพากรเป็นจำนวน60,813.58บาทและ71,999.20บาทซึ่งเป็นความเท็จส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องตอนต่อมาในข้อก.ว่าจำเลยกลับไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่อกรมสรรพากรเพียง122,543.65บาทและในข. และง. ว่าจำเลยกลับทำแบบแสดงรายการภาษีโดยไม่ต้องชำระภาษีต่อกรมสรรพากรนั้นเท่ากับโจทก์ได้บรรยายว่าความจริงแล้วโจทก์ต้องเสียภาษีในฟ้องข้อก. เพียงใดหรือไม่หรือเสียภาษีในฟ้องข้อข. และง.เลยจนโจทก์ร่วมหลงเชื่อได้จ่ายเงินให้จำเลยไปตามที่จำเลยขอเบิกแล้วจำเลยได้เอาเงินส่วนที่เบิกเกินไปตามข้อก. และส่วนที่ไม่ได้ชำระภาษีเลยตามข้อข. และง. ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวจึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดในข้อหาฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341แล้ว การบรรยายคำฟ้องในการกระทำผิดข้อหายักยอกนั้นต้องระบุถึงวันเวลาที่จำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ซึ่งเป็นวันกระทำผิดมาในฟ้องด้วยส่วนวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์ไม่ใช่วันกระทำผิดเพราะผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นไว้แต่ไม่ได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริตผู้นั้นย่อมไม่มีความผิดข้อหายักยอกตามคำฟ้องข้อค. ที่กล่าวแต่เพียงวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์ที่โจทก์แต่ไม่มีข้อความแสดงว่าจำเลยได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนวันเวลาใดจะถือเอาวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์เป็นวันที่จำเลยกระทำผิดหาได้ไม่เพราะไม่มีข้อความตอนใดที่จะให้เข้าใจได้เช่นนั้นจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนด้วยการหลอกลวงรับสมัครงานและกู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยสูง
บริษัทมีเจตนาเพียงจะเรียกเก็บเงินประกันการทำงานจากประชาชนผู้มาสมัครงาน โดยมีเจตนาแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตัวกรรมการของบริษัทเอง หรือเพื่อบริษัทอันเป็นการกระทำโดยทุจริตโดยประกาศหลอกลวงให้ประชาชนมาสมัครงานด้วยแสดงข้อความเท็จว่าให้สมัครเข้ามาทำงาน แต่บริษัทหามีงานให้ทำไม่ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะกรรมการบริหารงานของบริษัทย่อมจะต้องทราบดีอยู่แล้วว่าบริษัทไม่มีงานให้ทำ แต่ก็ยังร่วมดำเนินการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานตลอดมาเป็นการปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งแกประชาชนและในการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานดังกล่าวเป็นเหตุทำให้บริษัทกับกรรมการของบริษัทได้ไปซึ่งเงินประกันการทำงานจากผู้สมัคร การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 341, 343 วรรคแรก
การที่บริษัทได้รับผู้เสียหายเข้าทำงานแล้วได้ให้ผู้เสียหายซื้อหุ้นคนละ 30 หุ้น เป็นเงิน 3,000 บาท มีลักษณเป็นการรับเข้าร่วมลงทุนและได้มีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้เสียหายโดยให้เงินปันผลหรือเงินค่าครองชีพเดือนละ 135 บาท จึงเข้าลักษณะการกู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 3 เมื่อบริษัทจัดให้มีผู้รับเงินในการรับสมัครงานที่มิชอบ หรือจ่ายหรือตกลงจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดดังกล่าว และในการกู้เงินดังกล่าวได้มีการให้ผลประโยชน์ตอบแทนเดือนละ 135 บาท หรือคิดเป็นอัตราถึงร้อยละ 54 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายให้จึงเข้ากรณีเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ร่วมรับเงินที่ผู้เสียหายได้นำมาเข้าร่วมลงทุนเพื่อให้ผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าว จึงมีความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 5
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 344 ผู้หลอกลวงต้องประสงค์ต่อผลคือการทำงานของผู้ถูกหลอกลวงให้ประกอบการงานให้แก่ตนหรือบุคคลที่สาม โดยจะไม่ใช้ค่าแรงงาน หรือโดยจะใช้ค่าแรงงานต่ำกว่าที่ตกลงกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ได้กระทำในนามบริษัท โดยอ้างว่ามีงานให้ทำก็ดี การรับผู้เสียหายเข้าทำงานก็ดี การคืนเงินประกันการทำงานเมื่อครบกำหนด 6 เดือนแล้วก็ดี ล้วนเป็นอุบายทุจริตคิดตั้งเรื่องขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อและมอบเงินให้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 หลอกลวงผู้เสียหายให้ส่งมอบเงินแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น มิได้มีเจตนาหลอกลวงเพื่อให้มาทำงาน เพราะความจริงแล้วไม่มีงานให้ทำ ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2จัดให้มีการทำงานในช่วงแรก ๆ และจ่ายเงินเดือนให้ก็เป็นวิธีการในการหลอกลวงอย่างหนึ่ง ซึ่งต่อมาภายหลังก็ไม่มีงานให้ทำและไม่จ่ายเงินเดือนให้ กรณีจึงมิใช่เป็นการกระทำเพื่อประสงค์ต่อผลตาม ป.อ. มาตรา 344 ไม่มีความผิดตามมาตรานี้
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษโดยรวมโทษทุกกระทงแล้วปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ทั้งที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดคือความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึง 20 ปี นั้นไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) รวมจำคุกคนละ 50 ปี แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งห้า ควรแก้ไขให้ถูกต้องได้เฉพาะปรับบทให้ถูกต้องเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน: คำคาดการณ์อนาคตที่ไม่แน่นอน ไม่ถือเป็นหลอกลวง
จำเลยชวนโจทก์ร่วมซื้อคอนโดมิเนียม ตึกแถว และที่ดินโดยยืนยันว่าอีก 4 เดือน จะมีผู้ซื้อต่อ และจำเลยให้ผู้เสียหายทำพิธีเสริมดวงและเรียกค่าครู โดยยืนยันว่าจะทำให้ดวงดีขายตึกแถวที่ดินได้ หรือบุตรจะมีบุญบารมีสูงกว่าบิดามารดา ผู้เสียหายกับสามีจะไม่ต้องหย่ากัน ล้วนเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนทั้งสิ้น ไม่ใช่คำหลอกลวงแต่เป็นคำคาดการณ์ แม้โจทก์ร่วมและผู้เสียหายเข้าทำพิธีตามคำแนะนำและเสียค่าใช้จ่ายให้จำเลย จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน: คำคาดการณ์อนาคตที่ไม่แน่นอน ไม่ถือเป็นหลอกลวงหากผู้เสียหายเข้าทำพิธีโดยสมัครใจ
ความผิดฐานฉ้อโกงผู้กระทำความผิดต้องกระทำโดยการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงดังกล่าวนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามการที่จำเลยชวนโจทก์ร่วมซื้อคอนโดมิเนียมตึกแถวและที่ดินโดยยืนยันว่าอีก4เดือนจะมีผู้ซื้อต่อการที่จำเลยให้ผู้เสียหายทำพิธีเสริมดวงและเรียกค่าครูโดยยืนยันว่าจะทำให้ดวงดีขายตึกแถวที่ดินได้หรือบุตรจะมีบุญบารมีสูงกว่าบิดามารดาผู้เสียหายกับสามีจะไม่ต้องหย่ากันล้วนเป็นคำยืนยันเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนทั้งสิ้นคำยืนยันดังกล่าวไม่ใช่คำหลอกลวงแต่เป็นคำคาดการณ์ที่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายเข้าทำพิธีตามคำแนะนำและเสียค่าใช้จ่ายจึงมิได้เป็นผลจากการหลอกลวงการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกเช็คและฉ้อโกงเป็นกรรมเดียวกัน หากมีคำพิพากษาเด็ดขาดในความผิดฐานออกเช็คแล้ว สิทธิฟ้องร้องในความผิดฐานฉ้อโกงย่อมระงับ
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 และโจทก์ในคดีนี้ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าวสำหรับเช็คฉบับเดียวกัน ความผิดที่ได้ฟ้องในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้จึงเป็นความผิดอันเกิดจากการกระทำกรรมเดียวกัน เมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาสืบพยานฟังข้อเท็จจริง และพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ไปแล้วว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิด และคดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยคู่ความมิได้อุทธรณ์ดังนี้ โจทก์จะขอให้ศาลพิจารณาข้อเท็จจริงใหม่ในข้อหาความผิดกรรมเดียวกันนั้นอีก จึงเป็นการไม่ชอบที่จะกระทำได้ เพราะสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 2 ของโจทก์สำหรับข้อหาความผิดดังกล่าวในคดีนี้ได้ระงับสิ้นไปแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา39 (4) ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในข้อหาความผิดดังกล่าวอีกและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาส่วนนี้มานั้นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) และ 193 แม้ปัญหานี้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15 เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกเช็คพิพาท และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 ดังที่โจทก์ฟ้องได้ จำเลยที่ 1ย่อมไม่มีความผิดฐานร่วมกันออกเช็คโดยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงโจทก์และร่วมกันออกเช็คโยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค อันเป็นความผิดกรรมเดียวกัน เมื่อสิทธินำคดีอาญาของโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คระงับไปเพราะศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว สิทธินำคดีอาญาของโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดฐานดังกล่าวจึงต้องระงับไปด้วยที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงสำหรับจำเลยที่ 2 อีกและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาส่วนนี้มานั้นจึงไม่ชอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) และ 193 เช่นกัน แม้ปัญหานี้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของปาะชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
การที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ว่าจะนำเงินไปไถ่ถอนจำนองบ้านและที่ดินเพื่อนำบ้านและที่ดินมาขาย แล้วนำเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ได้ให้ภรรยาโจทก์จ่ายเช็คจำนวน 1,230,000บาท มอบให้จำเลยที่ 1 ไปไถ่ถอนจำนองและโจทก์ถอนแจ้งความร้องทุกข์ที่ขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดเกี่ยวกับเช็คดังกล่าว โดยมีจำเลยที่ 2ออกเช็คให้โจทก์เป็นประกันไว้จำนวน 4,570,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามข้อตกลง ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นเพียงจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามข้อที่ได้ตกลงไว้เท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการหลอกลวงฉ้อโกงโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฉ้อโกงและการขาดอายุความในคดีฉ้อโกง การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาและการพิพากษา
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายได้ และจำเลยก็อุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายด้วย ในชั้นอุทธรณ์จึงมิใช่มีอุทธรณ์แต่ในปัญหาข้อกฎหมาย ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงไม่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงแตกต่างกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ย่อมไม่ขัดต่อบทบัญญัติของมาตรา 194 แห่ง ป.วิ.อ.
จำเลยได้ติดต่อให้โจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี ในวงเงินเอาประกันภัย 100,000 บาทผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยไม่ต้องจ่ายเป็นรายปี และได้รับส่วนลดเป็นพิเศษ โจทก์ร่วมตกลงทำสัญญาประกันชีวิตต่อบริษัท ท.กับจำเลย โดยโจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตตนเอง 1 กรมธรรม์ และทำสัญญาประกันชีวิตให้ ม.อีก 1 กรมธรรม์ โจทก์ร่วมได้ชำระเงินเบี้ยประกันภัยทั้ง 2 กรมธรรม์ ให้แก่จำเลยไปแล้วทั้งหมดรวมเป็นเงิน 179,500 บาท แต่ปรากฏว่าบริษัท ท.ได้รับชำระเบี้ยประกันภัยของโจทก์ร่วมและ ม.เป็นเงินเพียง 10,584 บาท และ 8,659 บาทตามลำดับ ซึ่งเป็นการชำระเบี้ยประกันภัยแบบเอาประกันภัยในระยะเวลาเพียง 1 ปีและโจทก์ร่วมกับ ม.จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี ปีละครั้ง แสดงว่าโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้จำเลยไปโดยหลงเชื่อว่าจำเลยจะจัดให้โจทก์ร่วมและม.ทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยมีระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี แต่จำเลยไม่ได้จัดให้มีการทำสัญญาประกันชีวิตในแบบดังกล่าว กลับนำสืบปฏิเสธว่าจำเลยไม่เคยรับเงินจากโจทก์ร่วม และจำเลยเป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ร่วมและ ม.ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อโกงโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง คดีนี้แม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกโดยโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสาม
เมื่อโจทก์ร่วมรู้ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตไม่ได้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ดังกล่าว จึงทักท้วงต่อจำเลย จำเลยได้ขอเวลาแก้ไขให้ภายใน1 เดือน ในระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ร่วมย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ เพราะการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตอาจมีข้อบกพร่องผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนาก็เป็นได้ ต่อเมื่อโจทก์ร่วมพบกับจำเลยอีกครั้งในวันที่24 กันยายน 2534 และจำเลยได้ปฏิเสธว่า โจทก์ร่วมและ ม.ไม่ได้ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยและจำเลยไม่ได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากบุคคลทั้งสองนับแต่วันนั้นจึงถือได้ว่าโจทก์ร่วมรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด เมื่อโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 9 ธันวาคม 2534 คดีของโจทก์ร่วมจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาแก้โทษจากยักยอกเป็นฉ้อโกง ประเด็นอายุความ และอำนาจศาลในการปรับบท
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยจำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายได้และจำเลยก็อุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายด้วยในชั้นอุทธรณ์จึงมิใช่มีอุทธรณ์แต่ในปัญหาข้อกฎหมายดังนั้นศาลอุทธรณ์จึงไม่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงแตกต่างกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นย่อมไม่ขัดต่อบทบัญญัติของมาตรา194แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำเลยได้ติดต่อให้โจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทท. แบบระยะเวลาเอาประกันภัย21ปีในวงเงินเอาประกันภัย100,000บาทผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยไม่ต้องจ่ายเป็นรายปีและได้รับส่วนลดเป็นพิเศษโจทก์ร่วมตกลงทำสัญญาประกันชีวิตต่อบริษัทท. กับจำเลยโดยโจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตตนเอง1กรมธรรม์และทำสัญญาประกันชีวิตให้ม. อีก1กรมธรรม์โจทก์ร่วมได้ชำระเงินเบี้ยประกันภัยทั้ง2กรมธรรม์ให้แก่จำเลยไปแล้วทั้งหมดรวมเป็นเงิน179,500บาทแต่ปรากฏว่าบริษัทท. ได้รับชำระเบี้ยประกันภัยของโจทก์ร่วมและม. เป็นเงินเพียง10,584บาทและ8,659บาทตามลำดับซึ่งเป็นการชำระเบี้ยประกันภัยแบบเอาประกันภัยในระยะเวลาเพียง1ปีและโจทก์ร่วมกับม. จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปีปีละครั้งแสดงว่าโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้จำเลยไปโดยหลงเชื่อว่าจำเลยจะจัดให้โจทก์ร่วมและม. ทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทท. แบบชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยมีระยะเวลาเอาประกันภัย21ปีแต่จำเลยไม่ได้จัดให้มีการทำสัญญาประกันชีวิตในแบบดังกล่าวกลับนำสืบปฏิเสธว่าจำเลยไม่เคยรับเงินจากโจทก์ร่วมและจำเลยเป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ร่วมและม. ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อโกงโจทก์ร่วมจำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้องคดีนี้แม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกโดยโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสาม เมื่อโจทก์ร่วมรู้ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตไม่ได้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ดังกล่าวจึงทักท้วงต่อจำเลยจำเลยได้ขอเวลาแก้ไขให้ภายใน1เดือนในระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ร่วมย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่เพราะการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตอาจมีข้อบกพร่องผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนาก็เป็นได้ต่อเมื่อโจทก์ร่วมพบกับจำเลยอีกครั้งในวันที่24กันยายน2534และจำเลยได้ปฏิเสธว่าโจทก์ร่วมและม. ไม่ได้ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยและจำเลยไม่ได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากบุคคลทั้งสองนับแต่วันนั้นจึงถือได้ว่าโจทก์ร่วมรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเมื่อโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่9ธันวาคม2534คดีของโจทก์ร่วมจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7923/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีฉ้อโกง: ศาลพิจารณาองค์ประกอบความผิดในคำฟ้องเดิม หากไม่ชัดเจนถือว่ายังไม่มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาด
เหตุที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องโจทก์ในคดีก่อนเนื่องมาจากคำฟ้องไม่ได้บรรยายว่าข้อความเท็จที่จำเลยทั้งสองในคดีนี้แสดงหรือข้อความจริงที่จำเลยทั้งสองในคดีนี้ปกปิดเป็นอย่างไรทั้งไม่ได้บรรยายว่าจำเลยคนใดหลอกลวงโจทก์ให้สั่งจ่ายเช็คภายหลังที่จำเลยทั้งสองได้โอนที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยที่3ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเห็นได้ว่าคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในคดีก่อนยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาการกระทำของจำเลยทั้งสองว่าได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ถือไม่ได้ว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ตามฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4)ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7362/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยร่วมกันหลอกลวงโจทก์ซื้อฝากที่ดินโดยใช้เอกสารปลอม เป็นความผิดฐานฉ้อโกงและใช้เอกสารปลอม
จำเลยที่ 1 ติดต่อบอกขายที่ดินแก่โจทก์ร่วม 2 แปลง และนัดหมายไปดูที่ดินกัน จำเลยที่ 1 และที่ 2 พาโจทก์ร่วมและสามีไปดูที่ดินทั้งสองแปลง แต่โจทก์ร่วมไม่ชอบ จึงได้เสนอขายที่ดินแปลงพิพาทและจำเลยทั้งสองยังได้ร่วมกันพาโจทก์ร่วมไปดู ทั้งยังชี้หลักเขตที่ดินซึ่งเป็นหลักเขตปลอม ทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าเป็นที่ดินแปลงพิพาท จึงรับซื้อฝากไว้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1และที่ 2 เป็นการร่วมกันวางแผนโดยแบ่งหน้าที่กันทำ จึงเป็นตัวการร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอมและร่วมกับจำเลยที่ 3 ฉ้อโกง
การที่จำเลยทั้งสองใช้เอกสารราชการปลอมแสดงต่อโจทก์ร่วมจนโจทก์ร่วมหลงเชื่อยอมรับซื้อฝากที่ดินไว้เป็นการกระทำโดยมีเจตนาฉ้อโกงด้วยแต่การกระทำความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและความผิดฐานฉ้อโกงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องลงโทษบทหนักตามป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7362/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอมหลอกโจทก์ซื้อฝากที่ดิน ทำให้โจทก์เสียหาย
จำเลยที่1ติดต่อบอกขายที่ดินแก่โจทก์ร่วม2แปลงและนัดหมายไปดูที่ดินกันจำเลยที่1และที่2พาโจทก์ร่วมและสามีไปดูที่ดินทั้งสองแปลงแต่โจทก์ร่วมไม่ชอบจึงได้เสนอขายที่ดินแปลงพิพาทและจำเลยทั้งสองยังได้ร่วมกันพาโจทก์ร่วมไปดูทั้งยังชี้หลักเขตที่ดินซึ่งเป็นหลักเขตปลอมทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าเป็นที่ดินแปลงพิพาทจึงรับซื้อฝากไว้พฤติการณ์ของจำเลยที่1และที่2เป็นการร่วมกันวางแผนโดยแบ่งหน้าที่กันทำจึงเป็นตัวการร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอมและร่วมกับจำเลยที่3ฉ้อโกง การที่จำเลยทั้งสองใช้เอกสารราชการปลอมแสดงต่อโจทก์ร่วมจนโจทก์ร่วมหลงเชื่อยอมรับซื้อฝากที่ดินไว้เป็นการกระทำโดยมีเจตนาฉ้อโกงด้วยแต่การกระทำความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและความผิดฐานฉ้อโกงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งต้องลงโทษบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90
of 94