พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็น: พิจารณาความเหมาะสมของเส้นทางและหน้าที่ชดใช้ค่าเสียหาย
ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินของบุคคลอื่นล้อมอยู่ ทางออกสู่ทางสาธารณะอีก 3 ทาง มีลักษณะคดเคี้ยว ระยะทางไกลกว่าทางพิพาทต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นหลายแปลง และต้องผ่านที่นามีน้ำเจิ่ง เต็มทางพิพาทมีความเหมาะสมกว่า ทั้งยังความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุด โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะได้ ป.พ.พ. มาตรา 1349 มิได้บังคับว่าผู้ร้องขอใช้ทางจำเป็นต่อศาลจะต้องเสนอขอจ่ายค่าทดแทนความเสียหายให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่มาพร้อมกับคำขอด้วย เพียงแต่ระบุให้ผู้ร้องมีหน้าที่ต้องใช้ค่าทดแทนเท่านั้น แม้โจทก์จะไม่ได้ขอจ่ายค่าทดแทนมาในฟ้องแต่โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธที่จะจ่าย จำเลยยังคงมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าทดแทนดังกล่าวจากโจทก์ได้อยู่ จึงไม่เป็นเหตุที่จะบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์เรื่องการลงโทษ จำเลยไม่ชดใช้ค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 2 กรรมต่างวาระกัน รวมจำคุก 7 ปีและปรับ 1,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยบทหนักกรรมเดียว จำคุก 1 ปี 6 เดือน เช่นนี้ เป็นเพียงการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี คู่ความต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 โจทก์ฎีกาว่าจำเลยไม่ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ร่วมโดยรู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น หากแต่จำเลยพยายามบ่ายเบี่ยงหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับผิดมาแต่ต้นขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของโจทก์เป็นการคัดค้านดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดโทษจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2688/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิดำเนินคดีอาญา vs. กรรโชก: การเสนอให้ชดใช้ค่าเสียหายเพื่อเลิกคดีไม่ใช่การข่มขืนใจ
จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าผู้เสียหายได้ลักเอาสติกเกอร์ของห้างซึ่งจำเลยมีหน้าที่ช่วยดูแลกิจการอยู่ไป การที่จำเลยบอกให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับให้ห้าง 30 บาท ถ้าไม่ยอมจะส่งตัวให้เจ้าพนักงานตำรวจนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นการข่มขืนใจหรือขู่เข็ญผู้เสียหายให้ยอมให้เงิน 30 บาท เพราะจำเลยมีหน้าที่ดูแลกิจการของห้างชอบที่จะใช้สิทธิตามกฎหมายดำเนินคดี แก่ผู้เสียหายทางอาญาในความผิดฐานลักทรัพย์ได้ การที่จำเลยให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับเท่ากับเสนอให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นข้อแลกเปลี่ยนเพื่อตกลงเลิกคดีกัน จำเลยไม่มีความผิดฐานกรรโชก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการบำรุงรักษาสะพาน ทำให้ผู้ขับขี่ได้รับความเสียหาย
น.ขับรถบรรทุกของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างบรรทุกลังคอนเทนเนอร์ของบริษัท ช. ซึ่งรวมกับความสูงของรถบรรทุกแล้ว สูง 4.90 เมตร มาตามถนนราชปรารถมุ่งหน้าไปรังสิต เมื่อจะลอดใต้สะพานลอยสำหรับให้คนข้ามถนนที่จำเลยสร้างขึ้นและติดป้ายแสดงความสูงว่า 5 เมตร แต่ความจริงส่วนที่ใกล้เกาะกลางถนนมีความสูงจากพื้นถนน 4.90 เมตร น. ให้ ท. คนท้ายรถลงจากรถไปคอยดูว่ารถจะแล่นลอดใต้สะพานไปได้หรือไม่แล้ว น.ขับรถไปช้า ๆ ตามคำสั่งของ ท.เมื่อ ท.บอกให้หยุด น.ได้เหยียบห้ามล้อหยุดรถทันที แต่แรงเฉื่อยของสินค้าที่บรรทุกหนักทำให้รถแล่นไปอีกและส่วนสูงสุดของสินค้าเฉี่ยวชนคานสะพานลอยสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาเสียหาย การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ความระมัดระวังแล้ว การที่จำเลยได้ทำการเสริมถนนให้เป็นหลังเต่าสูงขึ้นกว่าเดิมเพื่อป้องกันน้ำท่วมทำให้ความสูงของสะพานลอยน้อยกว่า 5 เมตร และจำเลยไม่ได้เปลี่ยนป้ายบอกความสูงของสะพานที่เกิดเหตุให้ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ น.เชื่อว่าสะพานนั้นมีความสูง 5 เมตร ตามที่ปิดป้ายบอกไว้ เช่น สะพานลอย 6 สะพานที่ น.ขับลอดผ่านมาแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นการประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ข.
การที่ น.มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้ายซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้ายและช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2522) ข้อ 1 (3) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตร ได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2530 ทั้งสองวรรค)
การที่ น.มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้ายซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้ายและช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2522) ข้อ 1 (3) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตร ได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2530 ทั้งสองวรรค)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการเสริมถนนและไม่แก้ไขป้ายความสูงสะพาน
น. ขับรถบรรทุกของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างบรรทุกลัง คอนเทนเนอร์ของบริษัท ช. ซึ่งรวมกับความสูงของรถบรรทุกแล้ว สูง 4.90 เมตรมาตามถนนราชปรารภมุ่งหน้าไปรังสิต เมื่อจะลอดใต้ สะพานลอยสำหรับให้คนข้ามถนนที่จำเลยสร้างขึ้นและติดป้ายแสดงความสูงว่า 5 เมตรแต่ความจริงส่วนที่ใกล้เกาะกลางถนนมีความสูงจากพื้นถนน 4.90 เมตรน. ให้ ท. คนท้ายรถลงจากรถไปคอยดู ว่ารถจะแล่นลอดใต้ สะพานไปได้หรือไม่ แล้ว น. ขับรถไปช้า ๆ ตามคำสั่งของ ท.เมื่อท.บอกให้หยุด น. ได้เหยียบห้ามล้อหยุดรถทันที แต่แรงเฉื่อย ของสินค้าที่บรรทุกหนักทำให้รถแล่นไปอีกและส่วนสูงสุดของสินค้าเฉี่ยว ชนคานสะพานลอยสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาเสียหาย การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ความระมัดระวังแล้ว การที่จำเลยได้ทำการเสริมถนนให้เป็นหลังเต่า สูงขึ้นกว่าเดิม เพื่อป้องกันน้ำท่วมทำให้ความสูงของสะพานลอยน้อยกว่า 5 เมตร และจำเลยไม่ได้เปลี่ยนป้ายบอกความสูงของสะพานที่เกิดเหตุให้ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ น. เชื่อ ว่าสะพานนั้นมีความสูง 5 เมตร ตามที่ปิดป้ายบอกไว้เช่น สะพานลอย6 สะพานที่ น. ขับลอด ผ่านมาแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นการประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ช. การที่ น. มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้าย ซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้าย และช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 4(พ.ศ. 2522) ข้อ 1(3) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ. จราจรทางบกพ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้ สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตรได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจรและการคืนทรัพย์สิน ผู้เสียหายได้ทรัพย์คืนแล้วไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเพิ่มเติม
จำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์ จำเลยที่ 3 มีความผิดฐานรับของโจรเฉพาะเตารีดไฟฟ้า และจำเลยที่ 4 มีความผิดฐานรับของโจรเฉพาะวิทยุสเตอริโอเท่านั้น เมื่อทรัพย์ทั้งสองสิ่งนี้ผู้เสียหายได้รับคืนไปแล้ว จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยอื่นคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายอีกแม้จำเลยที่ 3 ไม่ได้ฎีกาปัญหานี้ขึ้นมาศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 727/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายสัญญาซื้อขาย: สิ่งของต้องชนิดเดียวกัน ราคาเพิ่มขึ้นจริง จึงมีสิทธิเรียกร้อง
สัญญาซื้อขายกำหนดว่าหากผู้ขายผิดสัญญาจนผู้ซื้อบอกเลิกสัญญาและผู้ซื้อซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่นนี้หากผู้ซื้อทำสัญญาซื้อขายกับบุคคลอื่นและต้องซื้อของนั้นในราคาที่เพิ่มขึ้นผู้ขายก็ต้องรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามสัญญากรณีหาจำต้องรอให้การซื้อขายรายหลังมีการส่งมอบสิ่งของและชำระราคาเสียก่อนไม่แต่สิ่งของที่ซื้อใหม่ต้องเป็นชนิดเดียวกับสิ่งของที่ทำสัญญากับผู้ขาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4758-4760/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของนายจ้างและลูกจ้างจากอุบัติเหตุทางละเมิด แม้มีการชดใช้ค่าเสียหายจากคู่กรณีอื่นแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่เหลือ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ต่างขับรถยนต์เฉี่ยวชนกันโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ศาลอนุญาตไปแล้ว ส่วนคดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด และจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายครึ่งหนึ่ง ของค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ เพราะจำเลยที่ 2 มีความประมาท ไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลยที่ 1 ดังนี้ การที่โจทก์ได้รับค่าเสียหายจากนายจ้างของจำเลยที่ 2 ไปแล้วก็เป็น เรื่องค่าเสียหายเฉพาะส่วนที่จำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ หาได้ครอบคลุมไปถึงจำนวนค่าเสียหายในส่วนที่ จำเลยที่ 1 และที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยไม่ โจทก์ยังคงมีสิทธิ ที่จะเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้จากจำเลยที่ 1 ที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4758-4760/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของนายจ้างและลูกจ้างจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ แม้มีการชดใช้ค่าเสียหายจากฝ่ายอื่นแล้ว
จำเลยที่1ที่2ต่างขับรถยนต์เฉี่ยวชนกันโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายโจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่2ศาลอนุญาตไปแล้วส่วนคดีเกี่ยวกับจำเลยที่1ที่3ศาลพิพากษาให้จำเลยที่1ผู้ทำละเมิดและจำเลยที่3ในฐานะนายจ้างร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายครึ่งหนึ่งของค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์เพราะจำเลยที่2มีความประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลยที่1ดังนี้การที่โจทก์ได้รับค่าเสียหายจากนายจ้างของจำเลยที่2ไปแล้วก็เป็นเรื่องค่าเสียหายเฉพาะส่วนที่จำเลยที่2ทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ครอบคลุมไปถึงจำนวนค่าเสียหายในส่วนที่จำเลยที่1และที่3จะต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยไม่โจทก์ยังคงมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้จากจำเลยที่1ที่3ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายไม่ใช่การยอมความ หากจำเลยไม่ชำระ ผู้เสียหายยังมีสิทธิฟ้องดำเนินคดีอาญา
บันทึกข้อตกลงไม่มีข้อความใดแสดงว่าฝ่ายผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญากับจำเลยในทันที แต่กลับมีเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องปฏิบัติต่อฝ่ายผู้เสียหายเสียก่อน กล่าวคือจำเลยต้องชำระเงินให้แก่ผู้เสียหายตามข้อตกลง เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ชำระเงินให้ฝ่ายผู้เสียหาย ข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันผู้เสียหายให้เลิกคดีอาญา กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39 (2) ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป