คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฎีกา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,024 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6861/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยฎีกาแต่ไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือเป็นการทิ้งฎีกา คดีจึงถูกจำหน่ายออกจากสารบบ
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกให้จำเลยชำระค่าเสียหาย อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ได้มาจากจำเลยโดยจำเลยขายฝาก จำเลยให้การว่าการขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน ขอให้ยกฟ้อง เท่ากับจำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยไม่เคยขายฝากให้โจทก์ โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท อันเป็นการต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
จำเลยไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาชำระเพิ่มเติมให้ครบถ้วนภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นกรณีที่จำเลยผู้ฎีกาเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด ถือได้ว่าจำเลยทิ้งฎีกา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6828/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เนื่องจากข้อเท็จจริงเรื่องระยะเวลาจำคุกในคดีเดิมเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลล่างวินิจฉัยแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 5 ปี รวม 101 กระทง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงมาว่า จำเลยถูกจำคุกในคดีเดิม 12 คดี รวมกันมีกำหนด 20 ปี ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยถูกจำคุกมา 74 ปี นั้น ปัญหาที่ว่าจำเลยถูกจำคุกในคดีเดิมมาเป็นเวลาเท่าไร จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้อีกหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5259/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาฎีกาต้องมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุพิเศษ และต้องยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลา หากไม่เป็นไปตามนั้น ฎีกาไม่ชอบ
การขอขยายระยะเวลาฎีกาเป็นการขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลมีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2545 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 และวันที่ 5 มิถุนายน 2545 คำร้องทั้งสองฉบับยื่นต่อศาลเมื่อสิ้นระยะเวลาฎีกาแล้ว ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้เฉพาะเมื่อมีเหตุสุดวิสัย คำร้องฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 โจทก์อ้างเหตุว่า โจทก์มอบให้นิติกรเป็นผู้ยื่นคำร้องในวันที่ 22 พฤษภาคม 2545 แต่นิติกรป่วยจึงไม่สามารถยื่นคำร้องได้ อีกทั้งคดีมีข้อเท็จจริงที่ยุ่งยากซับซ้อนและต้องเสนอให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาตามลำดับ ซึ่งคดีมีข้อเท็จจริงยุ่งยากหรือไม่ และโจทก์ต้องเสนอให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาตามลำดับชั้นหรือไม่ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาฎีกาได้ ส่วนการที่นิติกรป่วยนั้น หากจะเป็นจริงโจทก์ก็เป็นผู้มีหน้าที่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลและสามารถกระทำได้ภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเช่นกัน คำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายเวลาฎีกาถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2545 ตามคำร้องของโจทก์ฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 จึงไม่ชอบ และมีผลให้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายเวลาฎีกานับแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2545 ถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2545 ตามคำร้องของโจทก์ฉบับวันที่ 5 มิถุนายน 2545 ไม่ชอบไปด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ปัญหานี้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง , 225 ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 ซึ่งล่วงเลยกำหนดยื่นฎีกาดังกล่าวแล้ว จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามานั้น ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5259/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาฎีกาต้องมีเหตุสุดวิสัย ศาลไม่อาจอนุญาตขยายเวลาหากเหตุผลไม่สมควร
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2545 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 และวันที่ 5 มิถุนายน 2545 คำร้องทั้งสองฉบับยื่นต่อศาลเมื่อสิ้นระยะเวลาฎีกาแล้ว ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้เฉพาะเมื่อมีเหตุสุดวิสัย คำร้องฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 โจทก์อ้างว่า โจทก์มอบให้นิติกรเป็นผู้ยื่นคำร้องในวันที่ 22 พฤษภาคม 2545 แต่นิติกรป่วยจึงไม่สามารถยื่นคำร้องได้ อีกทั้งคดีมีข้อเท็จจริงที่ยุ่งยากซับซ้อนและต้องเสนอให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาตามลำดับ แต่คดีมีข้อเท็จจริงยุ่งยากหรือไม่ และโจทก์ต้องเสนอให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาตามลำดับชั้นหรือไม่ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาฎีกาได้ ส่วนการที่นิติกรป่วยนั้น หากจะเป็นจริง โจทก์ก็เป็นผู้มีหน้าที่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลและสามารถกระทำได้ภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเช่นกัน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายเวลาฎีกาถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2545 ตามคำร้องของโจทก์ฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 จึงไม่ชอบ และมีผลให้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายเวลาฎีกานับแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2545 ถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2545 ตามคำร้องของโจทก์ฉบับวันที่ 5 มิถุนายน 2545 ไม่ชอบไปด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาลิสซิ่งไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์, ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จำเลยฎีกาเกี่ยวกับค่าเสียหายเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ส่วนฎีกาในข้อกฎหมายที่ว่า หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ไม่ครบตามประมวลรัษฎากรฯ จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้นั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง แม้จะมีข้อตกลงให้ผู้เช่ามีสิทธิซื้อทรัพย์สินที่เช่าเมื่อสัญญาเช่าแบบลิสซิ่งสิ้นสุดลงแล้ว ก็เป็นเพียงคำมั่นจะขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้เช่า ถ้าผู้เช่าไม่ใช้สิทธิก็ต้องคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้ให้เช่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่ได้ตกเป็นของผู้เช่าทันทีจึงแตกต่างจากสัญญาเช่าซื้อในสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ซึ่งหากผู้เช่าชำระค่าเช่าซื้อครบตามสัญญา กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมตกเป็นของผู้เช่าซื้อทันที สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งจึงเป็นสัญญาเช่าสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามประมวลรัษฎากรฯ มิได้กำหนดไว้ว่าจะต้องปิดอากรแสตมป์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดในการอุทธรณ์และฎีกา คดีอาญา: การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาและอำนาจฟ้องของโจทก์ร่วม
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ที่โจทก์ร่วมอุทธรณ์ข้อแรกว่า การที่จำเลยเตะบริเวณแก้มของผู้ตายเป็นการกระทำโดยเล็งเห็นผลว่าจะเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ในข้อหาที่โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้อง และเป็นข้อหาที่โจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจะลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยเพียงแต่ใช้กำลังทำร้ายเตะและต่อยผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ส่วนบาดแผลที่เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลย จึงมิใช่กรณีที่ผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้บุพการีของผู้ตายจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (2) และโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ข้อที่สองที่ว่า จำเลยทำร้ายผู้ตายโดยกระทำทารุณโหดร้าย และอุทธรณ์ข้อที่สามที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายในสถานหนัก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อที่สองและข้อที่สามของโจทก์ร่วมดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัย เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโจทก์ร่วม, การอุทธรณ์นอกเหนือฟ้อง, ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงที่ไม่เคยยกขึ้น
ข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยเพียงแต่ใช้กำลังทำร้ายเตะและต่อยผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ส่วนบาดแผลที่เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลย จึงมิใช่กรณีที่ผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุพการีของผู้ตายจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ว่าจำเลยกระทำโดยทารุณโหดร้ายและให้ลงโทษจำเลยสถานหนัก การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จะแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัย เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์-ฎีกา: ข้อหาใหม่/ข้อเท็จจริงไม่เคยยกขึ้นในศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ที่โจทก์ร่วมอุทธรณ์ข้อแรกว่า การที่จำเลยเตะบริเวณแก้มของผู้ตายเป็นการเล็งเห็นผลว่าจะเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ ในข้อหาที่โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้อง และเป็นข้อหาที่โจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจะลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยเพียงแต่ใช้กำลังทำร้ายและต่อยผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ส่วนบาดแผลที่เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลย จึงมิใช่กรณีที่ผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุพการีจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) และโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ข้อที่สองที่ว่า จำเลยทำร้ายผู้ตายโดยกระทำทารุณโหดร้ายและอุทธรณ์ข้อที่สามที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายในสถานหนัก ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อที่สองและข้อที่สามของโจทก์ร่วม จึงไม่ชอบ
โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้บังคับไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกฎีกาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ไม่รับเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริง และการรวมโทษทางอาญา
จำเลยยื่นฎีกาส่งผ่านเรือนจำเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 ต่อมาวันที่ 28 สิงหาคม2545 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งจำเลยอาจฎีกาเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 224 แต่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยทราบ ซึ่งเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบแต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และให้ลงโทษจำคุกจำเลยในแต่ละกระทงความผิดไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาในข้อที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับว่า พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมายังไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามฟ้อง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยและไม่จำเป็นที่ศาลฎีกาจะสั่งให้ส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อแจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยทราบแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตพิจารณาคดีใหม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาถึงที่สุด ไม่มีสิทธิฎีกา
โจทก์ยื่นฟ้องภายหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2543 มีผลใช้บังคับแล้ว คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 199เบญจ มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยมาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ บัญญัติว่า คำสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ให้เป็นที่สุด แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาต ผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
of 303