พบผลลัพธ์ทั้งหมด 496 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7072/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม – ข้อที่สละในชั้นพิจารณา – การยกข้อเท็จจริงใหม่ – ประเด็นไม่เป็นสาระ
จำเลยฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมาย โจทก์จะฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่จำเลยไม่ได้ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้แม้จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยก็ได้สละข้อต่อสู้ในประเด็นดังกล่าวไปแล้ว จึงถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ที่จำเลยฎีกาว่า คำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้นั้น เห็นว่า เมื่อจำเลยยอมรับในฎีกาว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญามาตั้งแต่เริ่มแรก แต่อ้างว่าโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลย คำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์ดังกล่าวซึ่งศาลล่างทั้งสองก็ได้รับฟังประกอบดุลพินิจที่ฟังว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งคำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์และในส่วนอื่นอันเกี่ยวเนื่องกัน จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ใช้ค่าแรงงานให้จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 ประกอบมาตรา 1317 นั้นเป็นฎีกาที่จำเลยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในคำให้การจึงเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การ ถือว่าเป็นฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 688/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่ขัดกับคำพิพากษาศาลล่างในคดีอาญา
จำเลยฎีกาอ้างเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองว่า จำเลยยิงปืนในหมู่บ้านและทางสาธารณะในเวลากลางคืน ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ยังไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 เพราะไม่ได้ความว่าปืนที่ใช้ยิงนั้นเป็นปืนซึ่งใช้ดินระเบิดด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376ถือว่า ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงโดยปริยายแล้วว่าจำเลยยิงปืนที่ใช้ดินระเบิด ดังนี้ ฎีกาจำเลยจึงประสงค์จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่าจำเลยยิงปืนซึ่งไม่ได้ใช้ดินระเบิด อันเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยเป็นยุติ ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าวจะครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6863/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: โจทก์ฎีกาขอไม่รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์แก้โทษเป็นรอการลงโทษ ถือเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 จำคุกกระทงละ 1 เดือน รวม 3 กระทง จำคุก 3 เดือนศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ปรับจำเลยกระทงละ 1,000 บาทอีกสถานหนึ่ง รวม 3 กระทง ปรับ 3,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้รอการลงโทษแก่จำเลย เป็นการแก้ไขมาก แต่ก็ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี จึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6772/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: จำเลยมิได้ยกประเด็นป่าสงวนฯ และประเด็นแย่งการครอบครองขึ้นในศาลอุทธรณ์ จึงไม่อาจฎีกาได้
ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณาไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้องและไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกเข้ามาทำกินและปลูกกระท่อมลงในที่ดินของโจทก์บางส่วน จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ก่อสร้างครอบครองทำประโยชน์มานานกว่า 20 ปี ที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยที่ 1 ครอบครอง ดังนี้ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีประเด็นในเรื่องแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 จำเลยทั้งสองจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6667/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง เนื่องจากเป็นข้อโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐาน และมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท
ข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังมา ศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบ มิใช่ศาลวินิจฉัยพยานหลักฐานนอกสำนวน การที่โจทก์ฎีกาต้องการให้ศาลฟังข้อเท็จจริงตามที่ตนต้องการ จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6650/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: จำเลยฎีกาประเด็นใหม่มิได้ยกขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อย
จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยได้กระทำไปในฐานะตัวแทน ว.จำเลยกับโจทก์ทั้งสองไม่มีความเกี่ยวพันกันในส่วนนี้ แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ.มาตรา 225 ศาลอุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยกลับฎีกาแต่เพียงว่าข้อความในสัญญาข้อ 2 ระบุไว้ว่า ผู้ให้สัญญายอมยกเงินที่ขายเกินให้แก่นายหน้าแสดงว่าราคาที่ดินส่วนที่ขายเกินจากไร่ละ 300,000 บาท ต้องเป็นของจำเลยมิใช่เป็นของบุคคลหนึ่งบุคคลใด เพราะเป็นคำมั่นสัญญาเฉพาะระหว่างผู้ทำสัญญากับผู้ให้สัญญาเท่านั้น โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว ดังนี้ ฎีกาของจำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดข้อไหนอย่างไร ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งนอกจากนี้ฎีกาของจำเลยดังกล่าวอ้างเหตุแตกต่างจากอุทธรณ์ของจำเลย จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6650/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง และมาตรา 225 กรณีจำเลยอุทธรณ์และฎีกาในประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยได้กระทำไปในฐานะตัวแทน ว.จำเลยกับโจทก์ทั้งสองไม่มีความเกี่ยวพันกันในส่วนนี้ แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ศาลอุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยกลับฎีกาแต่เพียงว่าข้อความในสัญญาข้อ 2 ระบุไว้ว่า ผู้ให้สัญญายอมยกเงินที่ขายเกินให้แก่นายหน้าแสดงว่าราคาที่ดินส่วนที่ขายเกินจากไร่ละ300,000 บาท ต้องเป็นของจำเลยมิใช่เป็นของบุคคลหนึ่งบุคคลใด เพราะเป็นคำมั่นสัญญาเฉพาะระหว่างผู้ทำสัญญากับผู้ให้สัญญาเท่านั้น โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว ดังนี้ ฎีกาของจำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดข้อไหนอย่างไร ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง นอกจากนี้ฎีกาของจำเลยดังกล่าวอ้างเหตุแตกต่างจากอุทธรณ์ของจำเลย จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม - ข้อเท็จจริง vs. ข้อกฎหมาย และการลงโทษเจ้าพนักงาน
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาข้อแรกตามฟ้องข้อ ก. นั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มิได้กระทำการตามฟ้องโจทก์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในประเด็นนี้มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า การที่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานปากใดมานำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดตามมาตรา 162 แล้ว จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง ซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้แล้วเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้นเช่นกัน
ส่วนความผิดตามฟ้องข้อ ข. ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มาด้วยนั้น ปรากฏว่าความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า เอกสารหมาย จ.14 ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือการเบิกจ่ายพัสดุและเอกสารหมาย จ.41 ที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะใช้ยันจำเลยที่ 1 ให้ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้หรือไม่ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้มา เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษอย่างเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่นั้น จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำของกรมชลประทานโจทก์ร่วม ซึ่งมิใช่ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะให้ถือเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายเนื่องจากบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 (1) และมาตรา 147,151, 157 เป็นบทบัญญัติที่ลงโทษแก่บุคคลผู้กระทำผิดที่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น แม้จำเลยที่ 2 จะร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดต่อบทบัญญัติดังกล่าวก็จะลงโทษจำเลยที่ 2 อย่างเจ้าพนักงานไม่ได้ คงลงโทษจำเลยที่ 2 ได้แต่เพียงในฐานะผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2ไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ส่วนความผิดตามฟ้องข้อ ข. ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มาด้วยนั้น ปรากฏว่าความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า เอกสารหมาย จ.14 ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือการเบิกจ่ายพัสดุและเอกสารหมาย จ.41 ที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะใช้ยันจำเลยที่ 1 ให้ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้หรือไม่ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้มา เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษอย่างเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่นั้น จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำของกรมชลประทานโจทก์ร่วม ซึ่งมิใช่ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะให้ถือเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายเนื่องจากบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 (1) และมาตรา 147,151, 157 เป็นบทบัญญัติที่ลงโทษแก่บุคคลผู้กระทำผิดที่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น แม้จำเลยที่ 2 จะร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดต่อบทบัญญัติดังกล่าวก็จะลงโทษจำเลยที่ 2 อย่างเจ้าพนักงานไม่ได้ คงลงโทษจำเลยที่ 2 ได้แต่เพียงในฐานะผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2ไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6263/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงเนื่องจากจำนวนทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แม้จำเลยอ้างการโอนสิทธิครอบครอง
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ขายที่ดินตามส.ค.1 และที่ดินที่ปกครองอีกประมาณ 50 ไร่ ให้แก่ ป.ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2531 สิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์ทั้งแปลงรวมทั้งที่ดิน ส.ค.1 ดังกล่าวได้โอนไปยัง ป.แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอีกต่อไปนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แม้ฎีกาของจำเลยจะมีข้อความต่อมาว่า จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2531 ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ฎีกาของจำเลยก็ยังเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม เนื่องจากศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกไม่เกินกระทงละ 5 ปี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิด 3 กระทง เรียงกระทงลงโทษจำคุกกระทงละ 5 ปี รวมจำคุก 15 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามคงจำคุก 10 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินกระทงละ 5 ปี จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว