คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดอกเบี้ยทบต้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คไม่ขัดมาตรา 653 และข้อตกลงดอกเบี้ยทบต้นขัดมาตรา 655
การชำระหนี้เงินกู้ด้วยเช็ค เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 (อ้างฎีกาที่ 767/2505)
สัญญากู้ที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดที่ให้ชำระรายเดือน ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินทันที และยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเป็นต้นเงินซึ่งจะต้องเสียดอกเบี้ยด้วย เป็นการให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ทันทีที่ ผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 ข้อตกลงนี้เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นต้องเป็นดอกเบี้ยค้างชำระเกิน 1 ปี การคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นโมฆะ
ดอกเบี้ยที่จะเอามาทบเป็นเงินต้นได้ ต้องเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี การที่เอาดอกเบี้ยมาทบต้นตั้งแต่แรกกู้เงินโดยยังไม่ค้างชำระเป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย มาตรา 655 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยยอมชำระดอกเบี้ยล่วงหน้าแก่โจทก์ ถ้าเป็นดอกเบี้ยที่ไม่เกินอัตราตามกฎหมาย โจทก์ก็ย่อมเรียกร้องเอาได้ เพราะข้อตกลงนี้ไม่ขัดต่อกฎหมาย ถ้าเกินอัตราตามกฎหมาย ข้อตกลงเรียกดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชี, ดอกเบี้ยทบต้นผิดสัญญา, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
การที่ลูกหนี้นำเงินเข้าบัญชีและถอนไปในระยะเวลาที่ยังมีการเบิกเงินเกินบัญชีกันอยู่ หาเป็นการชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีแต่อย่างใดไม่
จะนำข้อตกลงในการเบิกเงินเกินบัญชีที่ให้คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกเดือนไปใช้ในกรณีที่มีการผิดนัดไม่ชำระหนี้แล้วไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 597/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้น อายุความหนี้ - การคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนไม่ขาดอายุความ
ผู้รับมอบอำนาจตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง มิใช่เป็นการตั้งตัวแทนช่วง
ผู้กู้จำนองที่ดินไว้กับธนาคารเพื่อประกันหนี้เงินกู้ที่จะขอเบิกเกินบัญชีจากธนาคารโดยผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นตามบัญชีเดินสะพัดอันเป็นธรรมเนียมประเพณีของธนาคารนั้นธนาคารคิดดอกเบี้ยทบต้นจากผู้กู้ได้
ตกลงคิดดอกเบี้ยทบต้นกันเป็นรายเดือน ฉะนั้น ทุกเดือนที่ธนาคารคิดดอกเบี้ยทบต้น ดอกเบี้ยนั้นกลายเป็นต้นเงินของเดือนต่อไป อายุความเริ่มนับตั้งแต่วันรับสภาพหนี้โดยชำระดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายนับได้ 3 ปีเศษ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาจำนอง: ห้ามตามกฎหมายหากไม่มีข้อตกลง
การกู้เงินโดยเอาที่ดินและบ้านมาทำจำนองเป็นประกันหนี้นั้น เมื่อไม่มีข้อตกลงให้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ กรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคแรก ซึ่งห้ามเอาดอกเบี้ยทบเข้ากับต้นเงิน
ประเพณีการค้าของธนาคารที่ให้ธนาคารเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำสืบ เมื่อผู้กล่าวอ้างไม่นำสืบก็รับฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาจำนอง: ห้ามโดยกฎหมายหากไม่มีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร
การกู้เงินโดยเอาที่ดินและบ้านมาทำจำนองเป็นประกันหนี้นั้น เมื่อไม่มีข้อตกลงให้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองคิดดอกเบี้ยทบต้นได้กรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคแรก ซึ่งห้ามเอาดอกเบี้ยทบเข้ากับต้นเงิน
ประเพณีการค้าของธนาคารที่ให้ธนาคารเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้นั้นเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำสืบเมื่อผู้กล่าวอ้างไม่นำสืบก็รับฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นรายเดือนในสัญญากู้: ความสมบูรณ์ตามประเพณีการค้าธนาคาร
ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจในการให้กู้ยืมเงินและมีประเพณีการค้าในการให้กู้เงินด้วยการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนเป็นปกติเสมอมา ทำสัญญาให้กู้ยืมเงินโดยตกลงคิดดอกเบี้ยทบต้นเมื่อผิดนัดเป็นรายเดือน ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 254 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นรายเดือนในสัญญากู้ ธนาคารพาณิชย์ทำตามประเพณีการค้าได้ ไม่เป็นโมฆะ
ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจในการให้กู้เงินด้วยการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนเป็นปกติเสมอมา ทำสัญญาให้กู้ยืมเงินโดยตกลงคิดดอกเบี้ยทบต้นเมื่อผิดนัดเป็นรายเดือนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2463/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จำนองกู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยทบต้นเกินอัตรากฎหมายกำหนด ยอดหนี้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่สามารถแบ่งแยกต้นเงินได้
เมื่อจำเลยยอมรับว่า สัญญาจำนองที่ดินพิพาทเกิดจากการนำมูลหนี้ต่าง ๆ ที่มีก่อนหน้านั้น (หนี้กู้ยืมเงิน) มารวมเป็นยอดหนี้จำนอง ต้องถือว่าหนี้ประธานคือ หนี้กู้ยืมเงินซึ่งถือเอาสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินนั้น สามารถแบ่งแยกดอกเบี้ยออกจากต้นเงินได้ ดังนั้น หนี้ในส่วนต้นเงินในเอกสารหมาย ล.7 ถึง ล.9 ซึ่งมีจำนวน 7,387,884 บาท จึงมิได้ตกเป็นโมฆะไปด้วย เมื่อรวมกับต้นเงินที่จำเลยขอกู้ยืมเงินเพิ่มอีก 610,000 บาท แล้วรวมเป็นต้นเงินจำนวน 7,997,884 บาท ที่จำเลยยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์และโจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงิน 7,997,884 บาท นับแต่ที่ครบกำหนดไถ่ถอนจำนองเป็นต้นไปเป็นเวลา 5 ปี เป็นดอกเบี้ยจำนวน 5,998,413 บาท รวมต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงิน 13,996,297 บาท
เมื่อวินิจฉัยข้างต้นแล้วว่า โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยในการจำนองที่ดินพิพาท ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวม 13,996,297 บาท แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินพิพาทมีราคาประเมินของทางราชการเป็นเงิน 19,645,000 บาท ราคาทรัพย์จำนองจึงสูงกว่าจำนวนหนี้ที่จำเลยค้างชำระ โจทก์จึงไม่อาจเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันหลังการฟื้นฟูกิจการ, การโอนสิทธิเรียกร้อง, และดอกเบี้ยทบต้น
การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจำเลยที่ 1 ก็เพื่อให้จำเลยที่ 1 มีโอกาสฟื้นฟูกิจการหรือปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 กลับคืนสู่สภาพที่สามารถดำเนินกิจการตามปกติต่อไปได้ อันเป็นเรื่องที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 บัญญัติให้เป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้โดยเฉพาะ หาได้มีผลต่อความรับผิดของจำเลยที่ 4 ผู้ค้ำประกันที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องในคดีนี้แต่อย่างใด ทั้งการที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เด็ดขาด ก็มีผลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามามีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับความรับผิดของจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 59 (2) ที่ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีจำเลยที่ 4 ด้วย
การโอนสิทธิเรียกร้องคดีนี้เป็นการโอนอันเนื่องมาจากการรวมกิจการของธนาคารพาณิชย์กับสถาบันการเงิน ระหว่างธนาคาร ส. โจทก์ กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. และบริษัทเงินทุน 12 บริษัท ตามที่กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยได้ร่วมกันแถลงแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน โดยกำหนดให้โจทก์รับโอนกิจการจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทยได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว ดังนี้ กรณีจึงต้องด้วย พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 38 ตรี วรรคสอง ที่บัญญัติยกเว้นไว้ให้ไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่ง ป.พ.พ.
คำสั่งศาลที่เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง การที่โจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวใช้สิทธิขอรับชำระหนี้หรือได้รับชำระหนี้บางส่วนในระหว่างดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ หาได้ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดไม่ คงมีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ลดลงตามจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้ว ซึ่งมีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 4 ลดลงตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น
การฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยเป็นการฟ้องให้ผู้กู้ปฏิบัติตามสัญญา ทั้งนี้โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาก่อน ตามหนังสือขอให้ชำระหนี้นั้นมีเนื้อหาระบุไว้เพียงว่า จำเลยทั้งสี่เป็นหนี้อยู่จำนวนเท่าใดและขอให้จัดการชำระหนี้ทั้งหมด ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการบอกเลิกสัญญา หนังสือดังกล่าวจึงเป็นเพียงแต่การทวงถามหรือเตือนให้ชำระหนี้เท่านั้น ไม่อาจแปลหรือถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญา ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่ตกลงในสัญญาและนำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่า 1 ปี ทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้ตามข้อตกลงแม้ลูกหนี้ผิดนัดแล้วก็ตาม เมื่อโจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 1 ปี มาทบรวมกับยอดเงินต้นแล้วดอกเบี้ยที่ทบนั้นก็กลายเป็นต้นเงินไม่เป็นดอกเบี้ยที่ค้างอีกต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
of 17