คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดำเนินคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเลยดำเนินคดีของโจทก์ ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ศาลชั้นต้นสั่งเลื่อนการไต่สวนมูลฟ้องจากวันที่ 28 ตุลาคม 2508 โดยให้นัดไต่สวนมูลฟ้องใหม่ในวันที่ 13 ธันวาคม 2508 อันให้เวลาโจทก์ถึง 46 วัน และศาลก็สั่งให้แจ้งวันนัดให้จำเลยทราบถ้าส่งหมายนัดไม่ได้ ก็ให้ปิดหมายซึ่งถ้าโจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้อง ก็น่าจะกระทำได้ก่อนกำหนดไม่ใช่รอให้ถึงวันนัดโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งแล้วมายื่นคำร้องขอแก้ฟ้องเอาในวันนัด เพื่ออาศัยเป็นเหตุที่จะเลื่อนคดีต่อไป เช่นนี้ ย่อมเป็นการละเลยเพิกเฉยในการดำเนินคดี ศาลย่อมสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอาญาแม้โจทก์ถึงแก่กรรม: ศาลฎีกาสามารถพิจารณาพิพากษาต่อไปได้
ราษฎรเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญา ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย จำเลยฎีกาส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ไม่ได้เพราะโจทก์ถึงแก่กรรมไปแล้ว ดังนี้ ศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งทนายความที่สมบูรณ์ แม้ลายมือชื่อไม่ครบถ้วน ศาลอนุญาตให้ดำเนินคดีได้
การที่คู่ความได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ตั้งทนายความแล้วแต่ทนายมิได้ลงลายมือชื่อในฐานะเข้ารับเป็นทนายนั้นเป็นการบกพร่องที่เชื่อได้ว่าเกิดจากการพลั้งเผลอเพียงเล็กน้อย ศาลชั้นต้นได้ยินยอมให้ทนายว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตัวความตลอดมา ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ทนายว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตัวความได้การว่าความและการดำเนินกระบวนพิจาารณาของทนายแทนตัวความจึงเป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีโดยคนอนาถาและผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเกี่ยวกับการวางเงินค่าธรรมเนียม
การที่ศาลไม่อนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ และโจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์สั่งยืน และว่าถ้าจะอุทธรณ์ให้วางเงินค่าธรรมเนียมภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่วางเงินค่าธรรมเนียม กลับฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับเพราะคำสั่งศาลอุทธรณ์ถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 โจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาสั่งว่าคำสั่งศาลอุทธรณ์ถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 โจทก์จึงกลับมาร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้รับฟ้องอุทธรณ์อีก ศาลชั้นต้นให้ยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1549/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเมื่อทายาทโจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีเกิน 1 ปีหลังมรณะ
คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล โจทก์ได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ทายาทของโจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีแทนเมื่อเกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์มรณะเช่นนี้ ศาลก็ต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 42 วรรค 2
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 42 วรรค 2 นั้น เป็นที่เห็นได้ชัดว่ากฎหมายประสงค์ให้ศาลจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความเท่านั้นมิได้ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจที่จะสั่งอนุญาตหรือไม่อนญาตอย่างใด (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 18/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากคู่ความถึงแก่กรรมและไม่มีผู้สืบสิทธิเข้ามาดำเนินคดีแทนภายในกำหนด
โจทก์ฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งรับเป็นฎีกาส่งสำเนาให้จำเลยทนายจำเลยแถลงว่าตัวความตายไปแล้ว ทนายจำเลยจึงหมดสิทธิเป็นทนายและตัวแทน จึงส่งคืนหมายของศาลและสำเนาฎีกาของโจทก์ ศาลสั่งให้ส่งสำเนาให้โจทก์ทราบ โจทก์ได้ทราบแล้ว เวลาผ่านมา 2 ปี ไม่มีผู้ใดเข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลย และโจทก์ไม่ได้มีคำขอเพื่อให้ศาลเรียกทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้มรณะเข้ามาเป็นคู่ความแทน ดังนี้ ถือได้ว่าไม่มีผู้ใดเข้ามาแทนที่คู่ความฝ่ายมรณะภายในกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 42 ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(3)
หมายเหตุ ตามข้อเท็จจริงในคดีนี้ไม่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316-320/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกต้องทำร่วมกัน ผู้จัดการมรดกคนเดียวไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนกองมรดก
ผู้จัดการทรัพย์มรดกต้องจัดการร่วมกัน ผู้จัดการแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อศาลตั้งให้โจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ที่ 2 จะลงชื่อฎีกาแต่ผู้เดียวย่อมไม่ได้ เพราะการดำเนินคดีเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการมรดก
หนังสือมอบอำนาจยึดทรัพย์นั้น รูปลักษณะและความประสงค์มุ่งไปในทางมอบอำนาจจัดการทางธุระการจึงไม่มีผลเป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีที่เกิดข้อพิพาทขึ้นในศาลแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความหลังเลิกบริษัท: ยังมีสิทธิดำเนินคดีได้จนกว่าผู้ชำระบัญชีจะถอนมอบอำนาจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 มีความหมายว่า แม้บริษัทได้เลิกแล้ว แต่กฎหมายก็ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ในระหว่างเวลาที่จำเป็นแก่การชำระบัญชี. ฉะนั้น ทนายความที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทก็ยังคงถือว่าเป็นบริษัทอยู่ในขณะชำระบัญชี และยังคงมีสิทธิดำเนินคดีได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1) เป็นบทให้อำนาจแก่ผู้ชำระบัญชีที่จะว่าต่างแก้ต่างในนามของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท มิใช่เป็นบทระงับสิทธิของทนายความที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทนายที่แต่งตั้งไว้จะหมดอำนาจดำเนินคดีก็ต่อเมื่อผู้ชำระบัญชีถอนการมอบอำนาจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอาญาต่อเมื่อโจทก์ถึงแก่ความตาย: ศาลฎีกาสามารถพิจารณาคดีความผิดอันยอมความได้ต่อไปได้
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แล้วตายลงภายหลังที่ศษลฎีกาได้ส่งคำพิพากษาไปให้ศาลชั้นต้นเพื่อจะอ่านให้คู่ความฟังแล้วนั้น หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้คดีอาญาระงับไปไม่ เมื่อคดีมาถึงศาลฎีกาและโจทก์ตายเมื่อได้ดำเนินคดีมาครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว ศาลฎีกาย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล แม้ไม่มีผู้เห็นเหตุการณ์หรือการร้องทุกข์ ก็ดำเนินคดีได้หากเป็นการประทุษร้าย
จำเลยกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล ซึ่งเป็นความผิดอันไม่อาจยอมความได้นั้น แม้ไม่มีการร้องทุกข์ เจ้าพนักงานก็ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
จำเลยจับนมผู้เสียหายในรถประจำทางซึ่งมีคนโดยสารแน่นนั้น เป็นการกระทำต่อหน้าธารกำนัล แม้มิได้มีพยานรู้เห็นการกระทำของจำเลยมาเบิกความในชั้นศาล
การที่จำเลยจับนมผู้เสียหายโดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้อนุญาตยินยอมนั้น เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายตามมาตรา 278 แล้ว
of 26