คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดุลพินิจศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการอนุญาตเลื่อนคดีเด็กและเยาวชน: เหตุผลสมควรและความบกพร่องของโจทก์
แม้ข้อความในตอนต้นของมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 จะได้บัญญัติไว้ว่า การพิจารณาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนให้พยายามทำโดยไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายวิธีพิจารณาโดยเคร่งครัดก็ตาม แต่การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีไปได้หรือไม่ อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะพึงสั่งตามพฤติการณ์ที่เห็นสมควรเป็นราย ๆ ไป เมื่อพฤติการณ์ที่โจทก์แสดงมาไม่มีเหตุสมควรที่จะให้เลื่อนคดีไป ศาลก็ชอบที่จะสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจศาลเกี่ยวกับวิธีการบำบัดฟื้นฟูเด็กแทนการลงโทษ
การที่ศาลพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมณสถานพินิจและคุ้มครองเด็กโดยอาศัยอำนาจตามความในบทบัญญัติมาตรา 75 ประกอบด้วยมาตรา 74 แห่งประมวลกฎหมายอาญา แม้มิใช่การพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่ก็เป็นการสั่งใช้วิธีการที่เบากว่าโทษจำคุกจึงต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 218 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้กำหนดระยะเวลาที่จะให้จำเลยไปอยู่ฝึกและอบรม จำเลยกลับฎีกาอ้างเหตุมาว่า ถูกคุมขังในระหว่างอุทธรณ์มาเกินกำหนดระยะเวลาแล้ว ถือว่าเป็นการลงโทษและจำเลยได้รับโทษตามคำพิพากษาแล้ว ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาว่า ขังมาพอกับโทษและให้ปล่อยตัวไป เช่นนี้เท่ากับจำเลยฎีกาคัดค้านดุลพินิจของศาลและขอให้เปลี่ยนจากใช้วิธีการที่เบากว่าโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มาเป็นการลงโทษและกำหนดโทษใหม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์ดุลพินิจศาลสั่งส่งตัวเด็กไปสถานฝึกอบรม ถือเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้าม
จำเลยอายุไม่เกิน 17 ปี กระทำผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งจำเลยไปฝึกยังสถานฝึกอบรมเด็กและเยาวชนจนกว่าจะมีอายุ 18 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยจะฎีกาคัดค้านดุลพินิจของศาลที่ให้ส่งตัวจำเลยไปยังสถานฝึกอบรมนั้นไม่ได้เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เพราะการที่ศาลสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปยังสถานฝึกอบรมเด็กและเยาวชนนั้นไม่ใช่การลงโทษแต่เป็นวิธีการที่เบากว่าการลงโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041-1046/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวแต่ฟ้องหลายสำนวน, ดุลพินิจศาลรอการลงโทษ, และการแจ้งความเท็จ
จำเลยทำผิดเป็นกรรมเดียว. แต่โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องจำเลยเป็น 5 สำนวน. จึงแยกสำนวนลงโทษจำเลยเรียงไปแต่ละสำนวนมิได้. มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นว่าจำเลยทำผิดเพียงครั้งเดียว. แต่ถูกลงโทษในความผิดอันเดียวกันนั้นซ้ำกันหลายๆครั้งได้.
คดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษ 6 เดือน. และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รอการลงโทษ. โจทก์ฎีกาขอมิให้รอการลงโทษจำเลย. เป็นฎีกาในเรื่องดุลพินิจของศาล. เป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง. จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจของศาลในการลดโทษและรอการลงโทษคดีอาวุธปืน เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่อาจฎีกาได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 1 ปี โดยลดโทษให้กึ่งหนึ่งฐานรับสารภาพ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้รอการลงโทษดังกล่าวไว้มีกำหนด 3 ปี กรณีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจศาลในการลดโทษและรอการลงโทษในคดีอาวุธปืน จำเลยรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 1 ปี โดยลดโทษให้กึ่งหนึ่งฐานรับสารภาพ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้รอการลงโทษดังกล่าวไว้มีกำหนด 3 ปี กรณีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษคดีอาวุธปืน การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโทษเป็นเรื่องต้องห้าม
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 1 ปี โดยลดโทษให้กึ่งหนึ่งฐานรับสารภาพ. ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้รอการลงโทษดังกล่าวไว้มีกำหนด 3 ปี. กรณีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษ โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่ดีของผู้ต้องหาและการกลับตัวเป็นคนดี
ใบรับรองของโรงเรียนที่จำเลยส่งพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์. แม้จะไม่มีพยานบุคคลรับรองความถูกต้องแท้จริง. แต่โจทก์ก็มิได้แก้อุทธรณ์หรือคัดค้านในชั้นนั้น. และแม้จะเป็นการอ้างพยานเอกสารโดยผิดระเบียบ. แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม. ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นนี้ได้ในเมื่อจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2).
การที่จำเลยกำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ นับว่ากำลังอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี. เมื่อเปรียบเทียบการให้จำคุกจำเลยไปทีเดียว. การรอการลงโทษเพื่อให้โอกาสจำเลยกลับไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีเช่นนั้น. จะเป็นผลดีแก่จำเลยในทางกลับตัวได้ยิ่งกว่า. การรอการลงโทษจำเลยไว้จึงเป็นการสมควร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการรับคำคัดค้านหลังเริ่มไต่สวนพยานในคดีผู้จัดการมรดก
การที่ผู้ร้องคัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านในกรณีขอเป็นผู้จัดการมรดก ภายหลังจากศาลได้เริ่มสืบพยานผู้ร้องไปแล้วนั้น ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะเห็นสมควรรับคำร้องคัดค้านหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการรับคำคัดค้านหลังเริ่มไต่สวนพยานในคดีจัดการมรดก
การที่ผู้ร้องคัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านในกรณีขอเป็นผู้จัดการมรดก. ภายหลังจากศาลได้เริ่มสืบพยานผู้ร้องไปแล้วนั้น. ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะเห็นสมควรรับคำร้องคัดค้านหรือไม่.
of 25