คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่างประเทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีตัวแทนจำหน่ายสินค้าต่างประเทศ และการจำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศ
แม้จำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารที่ระบุเพิ่มเติมให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่ศาลชั้นต้นก็อนุญาตให้โจทก์เลื่อนการถามค้านพยานบุคคลของจำเลยไปเพื่อให้โจทก์ได้ตรวจสอบเอกสารที่จำเลยระบุเพิ่มเติมก่อน จึงไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใดทั้งเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87 (2) การที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์เป็นผู้แนะนำรายชื่อบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทย และได้รับค่านายหน้าจากบริษัทต่างประเทศเป็นการตอบแทนทุกครั้งที่มีการซื้อขายแม้ลูกค้าจะติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้แก่บริษัทต่างประเทศโดยตรงโดยโจทก์ไม่มีส่วนรับผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการชำระค่าสินค้า ก็เห็นได้ว่าการที่บริษัทต่างประเทศสามารถขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยได้เนื่องจากโจทก์เป็นตัวเชื่อมให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเกี่ยวกับการขายสินค้า เมื่อบริษัทต่างประเทศได้รับชำระค่าสินค้าย่อมมีเงินได้หรือผลกำไรรวมอยู่ด้วย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ
ประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน แล้วจึงจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลได้นั้น มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้
ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่าโจทก์เป็นผู้แนะนำบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยที่ต้องการซื้อสินค้า จากนั้นลูกค้าจะติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้บริษัทต่างประเทศโดยตรง แม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วย แต่โจทก์ก็มิได้เกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้า ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากหน้าที่เป็นตัวแทน/นายหน้าต่างประเทศ และข้อยกเว้นตามข้อตกลงภาษีซ้อน
แม้จำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารที่ระบุเพิ่มเติมให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90แต่ศาลชั้นต้นก็อนุญาตให้โจทก์เลื่อนการถามค้านพยานบุคคลของจำเลยไปเพื่อให้โจทก์ได้ตรวจสอบเอกสารที่จำเลยระบุเพิ่มเติมก่อน จึงไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใดทั้งเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2) การที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์เป็นผู้แนะนำรายชื่อบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทย และได้รับค่านายหน้าจากบริษัทต่างประเทศเป็นการตอบแทนทุกครั้งที่มีการซื้อขายแม้ลูกค้าจะติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้แก่บริษัทต่างประเทศโดยตรงโดยโจทก์ไม่มีส่วนรับผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการชำระค่าสินค้า ก็เห็นได้ว่าการที่บริษัทต่างประเทศสามารถขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยได้เนื่องจากโจทก์เป็นตัวเชื่อมให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเกี่ยวกับการขายสินค้า เมื่อบริษัทต่างประเทศได้รับชำระค่าสินค้าย่อมมีเงินได้หรือผลกำไรรวมอยู่ด้วย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ
ประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน แล้วจึงจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลได้นั้น มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้
ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่าโจทก์เป็นผู้แนะนำบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยที่ต้องการซื้อสินค้า จากนั้นลูกค้าจะติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้บริษัทต่างประเทศโดยตรง แม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วย แต่โจทก์ก็มิได้เกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้า ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: การฟ้องหย่า จำเลยมีภูมิลำเนาต่างประเทศ ศาลไทยไม่มีอำนาจพิจารณา
โจทก์ฟ้องหย่าจำเลย แต่จำเลยมีเชื้อชาติและสัญชาติฝรั่งเศสและมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ศาลไทยจึงไม่มีอำนาจรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาได้ แม้มูลคดีจะเกิดในเขตศาลไทย แต่จำเลยก็ไม่ได้เข้ามาในประเทศไทย กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(3) และเมื่อศาลยังไม่ได้ สั่งรับคำฟ้องจะใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 34 บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายสำหรับเจ้าหนี้ต่างประเทศ: อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และการพิจารณาเหตุสมควร
การที่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรได้ยื่นคำร้องขอขยายกำหนดเวลามาพร้อมกับคำขอรับชำระหนี้ แม้จะเกินกำหนด 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ก็ยังอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะพิจารณาขยายกำหนดเวลาให้ได้ตาม มาตรา 91 ไม่ต้องยื่นก่อนครบ 2 เดือน ไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 การที่ผู้รับมอบอำนาจของผู้ขอรับชำระหนี้ได้มีหนังสือติดต่อขอความเห็นจากเจ้าหนี้เสียก่อนว่าจะอนุมัติให้ดำเนินคดีต่อไปหรือไม่ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่เจ้าหนี้ และผู้รับมอบอำนาจหากจะพึงมีก่อนที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ ซึ่งเป็นการสมควร เหตุที่ล่าช้าไปบ้างเพราะการติดต่อกับเจ้าหนี้ซึ่งอยู่ต่างประเทศต้องใช้เวลานานกว่าปกติธรรมดา แต่ก็ยังอยู่ในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกำหนดเวลาให้ได้ ทั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็เชื่อว่า ลูกหนี้ได้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาแก่เจ้าหนี้รายนี้อยู่จริง จึงมีเหตุสมควรที่จะขยายกำหนดเวลาให้ได้ตามขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฉบับต่างประเทศที่มีคำแปลไทย และการปิดอากรแสตมป์ที่ถูกต้อง
ต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศและมีคำแปลเป็นภาษาไทยนั้น เป็นเอกสารที่ทำขึ้นและส่งต่อศาลชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 46 แล้ว ถึงแม้จะปิดอากรแสตมป์ที่ต้นฉบับภาษาต่างประเทศเท่านั้นก็เป็นการปิดอากรแสตมป์ที่ต้นฉบับตราสารชอบด้วยมาตรา 118 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว จึงรับฟังเป็นพยานเอกสารได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยกับการส่งมอบสินค้าล่าช้า ผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบหากสินค้าสูญหายระหว่างขนส่งจากต่างประเทศ แต่ต้องรับผิดชอบหากล่าช้าหลังขยายเวลา
โจทก์ตกลงขายอะไหล่ให้จำเลยโดยจะต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศการที่โจทก์ไม่สามารถส่งมอบของให้จำเลยภายในกำหนดระยะเวลาเพราะของสูญหายในระหว่างทางขนส่งมายังประเทศไทย เป็นเรื่องพ้นวิสัยที่โจทก์จะป้องกันได้ ถือว่าเป็นพฤติการณ์อันโจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ โจทก์ยังไม่ได้ชื่อว่าผิดนัด จำเลยจะต้องให้เวลาโจทก์เพื่อปฏิบัติตามสัญญาเป็นเวลาพอสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมใช้เครื่องหมายการค้าต่างประเทศ ไม่ถือเป็นการประกอบกิจการในไทย ต้องเสียภาษีเงินได้ประเภทค่าสิทธิ
บริษัท บ.ตั้งอยู่ต่างประเทศ มิได้เข้ามาตั้งสถานประกอบกิจการในประเทศไทยและไม่มีลูกจ้าง ผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทย การที่บริษัทดังกล่าวได้ประกอบกิจการทำสัญญายอมให้โจทก์ใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าแอสเบสโตลักซ์ เป็นชื่อผลิตภัณฑ์กระเบื้องกระดาษของโจทก์ โดยมี อ.ผู้จัดการบริษัทเข้ามาเจรจาตกลงในประเทศไทยก่อนทำสัญญา ถือไม่ได้ว่าบริษัท บ.ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมี อ.เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ดังนั้น เงินค่าตอบแทนที่โจทก์ชำระเป็นค่าธรรมเนียมในการใช้เครื่องหมายการค้าแก่บริษัท บ. จำนวน 248.600 บาท จึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทค่าแห่งสิทธิอย่างอื่นตามาตรา 40 (3) ซึ่งบริษัท บ.มีหน้าที่เสียภาษี โดยโจทก์ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 15 แล้วนำส่งอำเภอท้องที่ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายตามมาตรา 70 (2), 54 กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 76 ทวิ และ 71 (1) อันจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีจากค่าธรรมเนียมการใช้เครื่องหมายการค้าต่างประเทศ ไม่ถือว่ามีสถานประกอบการในไทย
บริษัท บ.ตั้งอยู่ต่างประเทศ มิได้เข้ามาตั้งสถานประกอบกิจการในประเทศไทยและไม่มีลูกจ้าง ผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทย การที่บริษัทดังกล่าวได้ประกอบกิจการทำสัญญายอมให้โจทก์ใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าแอสเบสโตลักซ์เป็นชื่อผลิตภัณฑ์กระเบื้องกระดาษของโจทก์โดยมี อ.ผู้จัดการบริษัทเข้ามาเจรจาตกลงในประเทศไทยก่อนทำสัญญา ถือไม่ได้ว่าบริษัท บ.ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมี อ.เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ดังนั้นเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ชำระเป็นค่าธรรมเนียมในการใช้เครื่องหมายการค้าแก่บริษัท บ. จำนวน 248,600 บาทจึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทค่าแห่งสิทธิอย่างอื่นตามมาตรา40(3) ซึ่งบริษัท บ.มีหน้าที่เสียภาษี โดยโจทก์ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 15 แล้วนำส่งอำเภอท้องที่ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายตามมาตรา 70(2),54 กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา76 ทวิและ 71(1) อันจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2047/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนค้าต่าง: การซื้อขายสินค้ากับต่างประเทศ และอายุความของคดี
การประกอบกิจการค้าของจำเลย. คือการส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศโดยจำเลยรับสินค้ายางของโจทก์ไปจำหน่ายในนามของจำเลย จำเลยได้ค่าตอบแทนจากโจทก์เป็นบำเหน็จร้อยละ 10เมื่อจำเลยรับเงินจากลูกค้าในต่างประเทศส่งมาตามเลตเตอร์ออฟเครดิต มีการหักค่าบำเหน็จร้อยละ 10 ที่จำเลยมีสิทธิได้จากการขายก่อนกับหักค่าที่จำเลยทดรองจ่ายเป็นค่าระวางเรือ ค่าประกันภัยและอื่น ๆ ออกจากเงินที่ลูกค้าส่งมาแล้วด้วย เหลือเท่าใดเป็นเงินที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์ ดังนี้ จำเลยจึงเป็นตัวแทนค้าต่างของโจทก์กรณีมิใช่จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์ คดีโจทก์หาขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนการพิจารณาคดีเช็คเนื่องจากโจทก์ไม่มาศาลและเดินทางไปต่างประเทศ
คดีความผิดต่อ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนัดแรกตัวโจทก์ไม่มาศาลโดยไม่ทราบเหตุขัดข้องนัดที่ 2 โจทก์ไปสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยคำเชิญเกี่ยวกับธุรกิจยังไม่กลับเป็นเหตุควรต้องเลื่อนการพิจารณาไป
of 23