คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ถอนฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: อำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวน และผลของการถอนฟ้องคดีอาญาต่อความรับผิดตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหากับพนักงานสอบสวน โดยมีว. พนักงานสอบสวนเป็นผู้รับสัญญาเป็นตัวแทนคู่สัญญากับจำเลยเมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน ช. สารวัตรใหญ่ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามสัญญาประกันได้ จำเลยได้ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของโจทก์และสัญญาว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้โจทก์ตามกำหนดนั้น แม้ต่อมาผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ในคดีนั้นซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก็หาเป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นนายประกันพ้นความรับผิดตามสัญญาประกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจอนุญาตถอนฟ้อง: ศาลพิจารณาจากข้อได้เสียของคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น
แม้จำเลยคัดค้านไม่ยอมให้โจทก์ถอนฟ้องก็ตาม แต่การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล คดีนี้จำเลยต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยไม่ผิดสัญญา แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้จำเลยฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์คืน น.ส.3 ก. ที่โจทก์ยึดไว้และยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องก็ตาม เมื่อคดียังไม่มีการสืบพยานของคู่ความทั้งสองฝ่ายและยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว หากศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนี้ไป ก็หาทำให้จำเลยต้องเสียเปรียบแต่อย่างใดไม่ ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงตกไป ทำให้จำเลยต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความตั้งประเด็นฟ้องเป็นคดีใหม่อีกคดีหนึ่งต่างหากนั้น เห็นว่า การใช้ดุลพินิจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้น ศาลจะคำนึงถึงข้อได้เปรียบเสียเปรียบของคดีในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น ไม่ต้องคำนึงในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องแย้งแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลอนุญาตถอนฟ้อง: คำนึงเฉพาะข้อได้เปรียบเสียเปรียบของคำฟ้องและคำให้การ ไม่ต้องคำนึงถึงฟ้องแย้ง
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาลโดยศาลจะคำนึงถึงข้อได้เปรียบเสียเปรียบของคดีในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น ไม่ต้องคำนึงในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจอนุญาตถอนฟ้อง: ศาลพิจารณาเฉพาะข้อได้เปรียบเสียเปรียบจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ต้องคำนึงถึงฟ้องแย้ง
แม้จำเลยคัดค้านไม่ยอมให้โจทก์ถอนฟ้องก็ตาม แต่การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล คดีนี้จำเลยต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยไม่ผิดสัญญา แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้จำเลยฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์คืน น.ส.3 ก. ที่โจทก์ยึดไว้และยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องก็ตาม เมื่อคดียังไม่มีการสืบพยานของคู่ความทั้งสองฝ่ายและยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวหากศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนี้ไป ก็หาทำให้จำเลยต้องเสียเปรียบแต่อย่างใดไม่ ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงตกไป ทำให้จำเลยต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความตั้งประเด็นฟ้องเป็นคดีใหม่อีกคดีหนึ่งต่างหากนั้น เห็นว่า การใช้ดุลพินิจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้น ศาลจะคำนึงถึงข้อได้เปรียบเสียเปรียบของคดีในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น ไม่ต้องคำนึงในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องแย้งแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้แทนเพื่อแลกกับการถอนฟ้องคดีอาญาเป็นโมฆะ หากมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
จำเลยทำสัญญายอมชำระหนี้ให้โจทก์แทน ส. เป็นการตอบแทนที่จำเลยขอให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง ส.วัถตุประสงค์ของสัญญาเป็นการตกลงให้ระงับคดีอาญาแผ่นดิน ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113(เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้เพื่อแลกกับการถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน เป็นโมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อย
จำเลยทำสัญญายินยอมชำระหนี้แก่โจทก์แทน ส. บุตรจำเลยเป็นการตอบแทนที่ขอให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง ส.ในความผิดฐานแจ้งความเท็จ เบิกความเท็จ และนำสืบพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ ซึ่งเป็นคดีอาญาแผ่นดิน วัตถุประสงค์ของสัญญาดังกล่าวเป็นการตกลงให้ระงับคดีอาญาแผ่นดินขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนสัญญาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของผู้อุปถัมภ์และเจ้าของรถต่อละเมิดของผู้เยาว์ และสิทธิในการถอนฟ้องลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์เป็นบุตรของจำเลยร่วมและเป็นน้องชายของจำเลยที่ 2 จำเลยร่วมต้องย้ายภูมิลำเนาไปประกอบอาชีพในที่ต่าง ๆ หลายแห่งบ่อย ๆ จึงได้ส่งจำเลยที่ 1 ไปอยู่กับจำเลยที่ 2 เพื่อให้เรียนหนังสือตั้งแต่จำเลยที่ 1 ยังมีอายุประมาณ10 ปี ตลอดมาเป็นเวลา 8-9 ปีแล้ว จำเลยร่วมส่งเสียให้เล่าเรียนโดยให้เบิกเงินจากจำเลยที่ 2 ทั้งหลังเกิดเหตุเมื่อมีการตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่สถานีตำรวจก็ได้ระบุในข้อตกลงว่า จำเลยที่ 2เป็นผู้ปกครองของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์โดยจำเลยที่ 2 ไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลจำเลยที่ 1 ตามสมควรจึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วยตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 430 โดยจำเลยที่ 2 หาจำต้องเป็นผู้ปกครองของจำเลยที่ 1 ตามกฎหมายไม่ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชอบจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้คือจากจำเลยคนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 ดังนั้นการที่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยที่ 3 จำนวน 40,000 บาท แล้วได้ถอนฟ้องสำหรับจำเลยที่ 3 นั้น จึงเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้ การที่โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 3 จึงหาใช่โจทก์สละสิทธิเรียกค่าเสียหายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ vs. ปลอมเอกสารทั่วไป และผลของการถอนฟ้องอาญา
ในวันสืบพยานจำเลยแต่ละนัด จำเลยนำพยานเข้าสืบครั้งละ1 ปาก คงมีการสืบพยาน 2 ปากเพียงครั้งเดียว และเลื่อนไปขอสืบพยานประเด็นอีกหลายปาก ซึ่งรวมพยาน 2 ปาก ที่ศาลชั้นต้นงดสืบด้วย ศาลที่รับประเด็นไม่ได้สืบเพราะจำเลยไม่ไปศาล เมื่อส่งประเด็นคืนจำเลยขอเลื่อนคดีและแถลงรับรองว่าถึงวันนัดจำเลยไม่มีพยานมาสืบก็จะไม่ติดใจสืบ พอถึงวันนัดจำเลยไม่สามารถนำตัวพยานมาสืบได้ ศาลชั้นต้นสอบจำเลยแล้วเห็นว่า พยานที่จำเลยจะขอสืบเป็นพยานแวดล้อม ไม่ใช่ประเด็นหลักไม่เสียเปรียบในการต่อสู้คดี จึงถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานทั้งสองปาก ตามเหตุผลดังกล่าวพอถือได้ว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจงดสืบพยาน 2 ปาก ดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิเป็น3 กระทง ตาม ป.อ. มาตรา 265 โดยปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 264 ด้วยนั้นเห็นว่า เมื่อผิดบทเฉพาะตามมาตรา 265 แล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบททั่วไปตามมาตรา264 อีก
เอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1(9) หมายถึงเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ แต่ใบเสนอราคาเป็นเพียงคำเสนอที่จะขายหินให้แก่โจทก์ร่วม ยังไม่แน่ว่าโจทก์ร่วมจะตกลงซื้อหินหรือไม่ ใบเสนอราคาดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อสิทธิ มิใช่เอกสารสิทธิตามความใน ป.อ. มาตรา 1(9) การกระทำของจำเลยซี่งปลอมใบเสนอราคาและใช้เอกสารดังกล่าว จึงไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม คงเป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก,268 วรรคแรกประกอบมาตรา 264 วรรคแรก เท่านั้น
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวน 850,000 บาท แก่โจทก์ร่วม แต่โจทก์ร่วมได้ถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้บังคับจำเลยใช้เงินคืนแก่โจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม, เอกสารสิทธิ, การงดสืบพยาน, และผลกระทบจากการถอนฟ้อง
ในวันสืบพยานจำเลยแต่ละนัด จำเลยนำพยานเข้าสืบครั้งละ1 ปาก คงมีการสืบพยาน 2 ปากเพียงครั้งเดียว และเลื่อนไปขอสืบพยานประเด็นอีกหลายปาก ซึ่งรวมพยาน 2 ปาก ที่ศาลชั้นต้นงดสืบด้วยศาลที่รับประเด็นไม่ได้สืบเพราะจำเลยไม่ไปศาล เมื่อส่งประเด็นคืนจำเลยขอเลื่อนคดีและแถลงรับรองว่าถึงวันนัดจำเลยไม่มีพยานมาสืบก็จะไม่ติดใจสืบ พอถึงวันนัดจำเลยไม่สามารถนำตัวพยานมาสืบได้ศาลชั้นต้นสอบจำเลยแล้วเห็นว่า พยานที่จำเลยจะขอสืบเป็นพยานแวดล้อมไม่ใช่ประเด็นหลักไม่เสียเปรียบในการต่อสู้คดี จึงถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานทั้งสองปาก ตามเหตุผลดังกล่าวพอถือได้ว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจงดสืบพยาน 2 ปากดังกล่าวจึงชอบแล้ว ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิเป็น3 กระทง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 โดยปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 ด้วยนั้นเห็นว่า เมื่อผิดบทเฉพาะตามมาตรา 265 แล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบททั่วไปตามมาตรา 264 อีก เอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) หมายถึงเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ แต่ใบเสนอราคาเป็นเพียงคำเสนอที่จะขายหินให้แก่โจทก์ร่วมยังไม่แน่ว่าโจทก์ร่วมจะตกลงซื้อหินหรือไม่ ใบเสนอราคาดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อสิทธิ มิใช่เอกสารสิทธิตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) การกระทำของจำเลยซึ่งปลอมใบเสนอราคาและใช้เอกสารดังกล่าว จึงไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม คงเป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 วรรคแรก 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 264 วรรคแรก เท่านั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวน 850,000 บาท แก่โจทก์ร่วม แต่โจทก์ร่วมได้ถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้บังคับจำเลยใช้เงินคืนแก่โจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและการพิจารณาความผิดฐานบุกรุกและลักทรัพย์เมื่อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยทั้งสามไม่คัดค้าน ข้อหาทำให้เสียทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358,359 เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ศาลฎีกาจึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์เฉพาะข้อหาทำให้เสียทรัพย์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) แต่สำหรับข้อหาลักทรัพย์และบุกรุกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335,365 มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว และศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาคดีนี้แล้วจึงถอนฟ้องไม่ได้ โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างนำสืบโต้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกันอยู่ ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ความชัดว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์จริงหรือไม่ มูลกรณีจึงเป็นเรื่องคดีแพ่งไม่ใช่คดีอาญา การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ตามที่โจทก์นำสืบหาว่า ร่วมกันเข้าไปในที่ดินพิพาทแล้วตักเอาดินและต้นไม้ไปจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกและลักทรัพย์
of 52