พบผลลัพธ์ทั้งหมด 429 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและผลผูกพันต่อจำเลย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า ส. ทนายจำเลยทั้งสามร่วมกับฝ่ายโจทก์คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยทั้งสาม การที่ ส. ทนายจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยทั้งสามมิได้รู้เห็นยินยอมหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสามจะต้องไปว่ากล่าวกับ ส.เอง เมื่อจำเลยทั้งสามตั้ง ส. เป็นทนาย-ความดำเนินคดีแทนโดยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ตราบใดที่จำเลยทั้งสามยังมิได้ขอถอน ส. จากการเป็นทนายความของตน การกระทำของ ส.ในฐานะทนายความของจำเลยทั้งสามย่อมจะต้องผูกพันจำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความผูกพันจำเลย: สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทนายทำไป จำเลยต้องรับผิดชอบหากไม่ได้ถอนทนาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า ส. ทนายจำเลยทั้งสามร่วมกับฝ่ายโจทก์คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยทั้งสาม การที่ ส. ทนายจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยทั้งสามมิได้รู้เห็นยินยอมหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสามจะต้องไปว่ากล่าวกับ ส. เองเมื่อจำเลยทั้งสามตั้ง ส. เป็นทนายความดำเนินคดีแทนโดยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ตราบใดที่จำเลยทั้งสามยังมิได้ขอถอน ส.จากการเป็นทนายความของตนการกระทำของส. ในฐานะทนายความของจำเลยทั้งสามย่อมจะต้องผูกพันจำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5786/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานอัยการและทนายความในการดำเนินคดี, ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย, และอายุความ
ป.เป็นพนักงานอัยการมีอำนาจที่จะรับว่าต่างคดีให้องค์การโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาได้ตามพระราชบัญญัติ พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(5) และ ป.ได้รับเป็นทนายความว่าต่างให้โจทก์แล้วตามใบแต่งทนายความในสำนวน ป. จึงมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆรวมทั้งการเรียงคำฟ้องแทนโจทก์ได้โดยไม่จำต้องระบุถึงฐานะเช่นนั้นในช่องผู้เรียงคำฟ้องอีก จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าฉางและค่ากรรมกรขนข้าวเปลือกจากโจทก์มากกว่าจำนวนที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง หรือขอให้ใช้ราคาทรัพย์และค่าเสียหายเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่ส่งมอบมิใช่เป็นการอ้างอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671ที่จำเลยฎีกาว่า คดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 671 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความหลังคู่ความถึงแก่กรรม: ปกปักรักษาประโยชน์จนกว่าจะมีผู้สืบสิทธิ
การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 นั้น เป็นการแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทนเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่กรรม สัญญาตัวแทนย่อมระงับไปทนายโจทก์คงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของโจทก์จะอาจเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ อำนาจทนายโจทก์หาได้หมดสิ้นไปทันทีเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมไม่ ทนายโจทก์มีอำนาจลงนามเป็นผู้ฎีกาแทนโจทก์ได้ แต่เมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ปรากฎต่อศาลว่าโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความหลังตัวความถึงแก่กรรม: ปกปักรักษาประโยชน์จนกว่าจะมีผู้แทน
การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 นั้นเป็นการแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 15ว่าด้วยตัวแทน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่กรรม สัญญาตัวแทนย่อมระงับไปทนายโจทก์คงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของโจทก์จะอาจเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ อำนาจทนายโจทก์หาได้หมดสิ้นไปทันทีเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมไม่ ทนายโจทก์มีอำนาจลงนามเป็นผู้ฎีกาแทนโจทก์ได้แต่เมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ปรากฏต่อศาลว่าโจทก์ถึงแก่กรรมแล้ว ไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2908/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความขาดคุณสมบัติ ผู้รับแต่งตั้งว่าต่างคดี กระบวนพิจารณาไม่ชอบ ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
เมื่อบุคคลที่โจทก์แต่งตั้งเป็นทนายความเข้าว่าต่างคดีให้โจทก์ในศาลชั้นต้น และลงชื่อในอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลนั้น เป็นผู้ที่ขาดจากการเป็นทนายความและต้องห้ามมิให้ว่าความในศาลหรือแต่งคำฟ้อง คำให้การ คำฟ้องอุทธรณ์คำฟ้องฎีกา ฯลฯ ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา44 (3) และ มาตรา 33 มาแต่แรก แม้ภายหลังจากนั้นต่อมาบุคคลดังกล่าวจะได้จดทะเบียนและได้รับอนุญาตให้เป็นทนายความประเภทตลอดชีพก็ตาม แต่ขณะที่ว่าต่างคดีให้โจทก์ได้ขาดจากการเป็นทนายความแล้ว ย่อมไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตั้งแต่วันที่บุคคลดังกล่าวรับแต่งตั้งจากโจทก์ให้เป็นทนายว่าต่างมาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคแรกและมาตรา 62 ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่ ตามป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2908/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความขาดคุณสมบัติ/ใบอนุญาต การดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบ ศาลต้องเริ่มกระบวนการใหม่
เมื่อบุคคลที่โจทก์แต่งตั้งเป็นทนายความเข้าว่าต่างคดีให้โจทก์ในศาลชั้นต้น และลงชื่อในอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลนั้น เป็นผู้ที่ขาดจากการเป็นทนายความและต้องห้ามมิให้ว่าความในศาลหรือแต่งคำฟ้องคำให้การ คำฟ้องอุทธรณ์คำฟ้องฎีกา ฯลฯ ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 44(3) และมาตรา 33 มาแต่แรก แม้ภายหลังจากนั้นต่อมาบุคคลดังกล่าวจะได้จดทะเบียนและได้รับอนุญาตให้เป็นทนายความประเภทตลอดชีพก็ตาม แต่ขณะที่ว่าต่างคดีให้โจทก์ได้ขาดจากการเป็นทนายความแล้ว ย่อมไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตั้งแต่วันที่บุคคลดังกล่าวรับแต่งตั้งจากโจทก์ให้เป็นทนายว่าต่างมาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคแรกและมาตรา 62 ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2908/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความขาดคุณสมบัติ การดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
ขณะที่โจทก์แต่งตั้งให้ ป.เป็นทนายความเข้าว่าต่างคดีให้โจทก์ในศาลชั้นต้นและลงชื่อในอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลนั้นป.เป็นผู้ที่ขาดจากการเป็นทนายความและต้องห้ามมิให้ว่าความในศาลหรือแต่งคำฟ้อง คำให้การ คำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องฎีกา ฯลฯตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 44(3) และมาตรา 33มาแต่แรก แม้ต่อมาภายหลัง ป. จะได้จดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตลอดชีพก็ตาม แต่ขณะที่ว่าต่างคดีให้โจทก์นั้นป. ได้ขาดจากการเป็นทนายความ ย่อมไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตั้งแต่วันที่ ป. รับแต่งตั้งจากโจทก์ให้เป็นทนายว่าต่างมา จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคแรก และมาตรา 62ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความขาดใบอนุญาตดำเนินคดี คำให้การไม่สมบูรณ์ กระบวนการพิจารณาเป็นโมฆะ
ทนายความที่ขาดต่อใบอนุญาตย่อมขาดจากการเป็นทนายความไม่มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงและพิมพ์คำคู่ความที่ยื่นต่อศาลตลอดจนดำเนินคดีในศาล ถ้าฝ่าฝืนย่อมไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) หาใช่กรณีเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถหรือบกพร่องเกี่ยวกับการเขียนคำคู่ความ ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องที่ผิดระเบียบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความขาดใบอนุญาตดำเนินคดี คำให้การไม่สมบูรณ์ กระบวนพิจารณาเป็นโมฆะ
ทนายความที่ขาดต่อใบอนุญาตย่อมขาดจากการเป็นทนายความไม่มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงและพิมพ์คำคู่ความที่ยื่นต่อศาลตลอดจนดำเนินคดีในศาล ถ้าฝ่าฝืนย่อมไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) หาใช่กรณีเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถหรือบกพร่องเกี่ยวกับการเขียนคำคู่ความ ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องที่ผิดระเบียบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27