พบผลลัพธ์ทั้งหมด 307 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2142/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ สิทธิในการใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของผู้อื่น
ตามแผนที่วิวาทมีเหมืองน้ำสาธารณประโยชน์ด้านทิศเหนือเลียบที่ดินของโจทก์และจำเลยตลอดแนว แม้ลำเหมืองดังกล่าวปัจจุบันมีสภาพตื้นเขินและสามารถใช้เป็นทางเดินได้ แต่ปรากฏว่าทางราชการมีโครงการขุดลอกลำเหมืองดังกล่าว และได้เริ่มขุดลอกทางตอนใต้บางตอนแล้ว ดังนี้ เมื่อทางราชการมีโครงการจะขุดลอกลำเหมืองแล้วลำเหมืองนี้ก็ไม่ใช่ลำเหมืองที่มีลักษณะตื้นเขินที่โจทก์จะใช้เป็นทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะได้ ที่ดินโจทก์จึงตกอยู่ในที่ล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิผ่านที่ดินของจำเลยคือทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นออกสู่ถนนสาธารณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอเปิดทางจำเป็นเมื่อที่ดินไม่มีทางออกสู่สาธารณะ และผลกระทบต่อทางภาระจำยอม
ที่ดินโจทก์จำเลยเดิมเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน เมื่อแบ่งแยกแล้วที่ดินโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เปิดทางจำเป็นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน และเมื่อฟังว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว ก็ไม่เป็นทางภาระจำยอมอีก ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความจะไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกแบ่งแยกและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทน
ที่ดินโจทก์จำเลยเดิมเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน เมื่อแบ่งแยกแล้วที่ดินโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เปิดทางจำเป็นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน และเมื่อฟังว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้วก็ไม่เป็นทางภาระจำยอมอีก ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของผู้อื่น เมื่อที่ดินถูกล้อมรอบและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ
โจทก์ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินที่โจทก์ครอบครอง ที่ดินแปลงดังกล่าวมีที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่ทุกด้านรวมทั้งที่ดินของจำเลยด้านทิศใต้ซึ่งอยู่ติดกับทางสาธารณะโจทก์ใช้ทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะมาแล้ว 30 ปีเศษ แม้จะปรากฏว่าโจทก์ใช้ทางเดินตามแนวคันนาด้านทิศตะวันออกผ่านที่ดินของบุคคลอื่นบ้าง ก็ต้องถือว่ามีที่ดินแปลงอื่นล้อมที่ดินของโจทก์อยู่ โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5361/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: การกำหนดทางออกที่ดินเมื่อไม่มีทางเข้าออกสู่สาธารณะ และการครอบครองปรปักษ์
คลองโพธิ์หักใช้เป็นทางไปมาไม่ได้เป็นเวลานานแล้ว จึงมิใช่ทางสาธารณะ ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองโพธิ์หัก จึงไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4763/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อมจนไม่มีทางออกสู่สาธารณะ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมที่ดินของโจทก์และของจำเลยที่ 1เป็นที่ดินแปลงเดียวกัน ต่อมามีการแบ่งแยกเป็นแปลงย่อย ทำให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะทั้ง ๆ ที่โจทก์และบริวารได้ใช้ทางพิพาทตลอดแนวที่ดินของจำเลยที่ 1 ด้านทิศตะวันออกเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะดังกล่าวโดยความสงบและโดยเปิดเผยมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว โจทก์ถือว่าทางพิพาทเป็นทางภาระ-จำยอมหรือทางจำเป็นแก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนและรื้อรั้วเฉพาะส่วนที่ปิดกั้นทางพิพาท ข้อความที่ว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือทาง-จำเป็น เป็นเพียงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่าความจริงทางดังกล่าวเป็นทางประเภทใดกันแน่ คำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
เมื่อปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นซึ่งแบ่งแยกออกมาจากที่ดินแปลงเดิมกับที่ดินของโจทก์ล้อมอยู่จนไม่มีทางออกทางสาธารณะได้ แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 1 ได้แบ่งยกที่ดินทางทิศตะวันตกให้เป็นทางสาธารณะอีกทางหนึ่งแต่หากโจทก์ใช้ทางดังกล่าวจะต้องผ่านที่ดินแปลงอื่นอีกสามแปลงและสามเจ้าของซึ่งผิดกับทางพิพาทที่โจทก์ผ่านเข้าออกที่ดินของจำเลยที่ 1 ด้านทิศตะวันตกและมีทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่ก่อนแล้ว มีระยะทางสั้นกว่าประมาณ 15 เมตร เท่านั้นการใช้ทางพิพาทจึงสะดวกกว่าการไปใช้ทางอื่น ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์
เมื่อปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นซึ่งแบ่งแยกออกมาจากที่ดินแปลงเดิมกับที่ดินของโจทก์ล้อมอยู่จนไม่มีทางออกทางสาธารณะได้ แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 1 ได้แบ่งยกที่ดินทางทิศตะวันตกให้เป็นทางสาธารณะอีกทางหนึ่งแต่หากโจทก์ใช้ทางดังกล่าวจะต้องผ่านที่ดินแปลงอื่นอีกสามแปลงและสามเจ้าของซึ่งผิดกับทางพิพาทที่โจทก์ผ่านเข้าออกที่ดินของจำเลยที่ 1 ด้านทิศตะวันตกและมีทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่ก่อนแล้ว มีระยะทางสั้นกว่าประมาณ 15 เมตร เท่านั้นการใช้ทางพิพาทจึงสะดวกกว่าการไปใช้ทางอื่น ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4763/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: การเข้าถึงทางสาธารณะเมื่อที่ดินถูกล้อมรอบ และการพิจารณาความสะดวกในการใช้ทาง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมที่ดินของโจทก์และของจำเลยที่ 1เป็นที่ดินแปลงเดียวกัน ต่อมามีการแบ่งแยกเป็นแปลงย่อย ทำให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะทั้ง ๆ ที่โจทก์และบริวารได้ใช้ทางพิพาทตลอดแนวที่ดินของจำเลยที่ 1 ด้านทิศตะวันออกเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะดังกล่าวโดยความสงบและโดยเปิดเผยมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว โจทก์ถือว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือทางจำเป็นแก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนและรื้อรั้วเฉพาะส่วนที่ปิดกั้นทางพิพาท ข้อความที่ว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือทางจำเป็น เป็นเพียงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่าความจริงทางดังกล่าวเป็นทางประเภทใดกันแน่ คำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม เมื่อปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นซึ่งแบ่งแยกออกมาจากที่ดินแปลงเดิมกับที่ดินของโจทก์ล้อมอยู่จนไม่มีทางออกทางสาธารณะได้ แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 1 ได้แบ่งยกที่ดินทางทิศตะวันตกให้เป็นทางสาธารณะอีกทางหนึ่ง แต่หากโจทก์ใช้ทางดังกล่าวจะต้องผ่านที่ดินแปลงอื่นอีกสามแปลงและสามเจ้าของซึ่งผิดกับทางพิพาทที่โจทก์ผ่านเข้าออกที่ดินของจำเลยที่ 1 ด้านทิศตะวันตกและมีทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่ก่อนแล้ว มีระยะทางสั้นกว่าประมาณ15 เมตร เท่านั้น การใช้ทางพิพาทจึงสะดวกกว่าการไปใช้ทางอื่นทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นและการเปลี่ยนแปลงประเด็นข้อพิพาท ศาลฎีกาพิจารณาตามประเด็นเดิมได้
ป.พ.พ. มาตรา 1349, 1387ป.วิ.พ. มาตรา 142, 182, 183, 243 (1)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินโจทก์อยู่ในที่ปิดล้อม ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์ใช้เส้นทางผ่านที่ดินของบุคคลอื่นหลายราย และผ่านที่ดินน.ส.3 ของจำเลยเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ตามเส้นทางที่ระบุว่า "ทางชักลากไม้"ตั้งแต่ปี 2508 ถึง เดือนมิถุนายน 2526 โดยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดเข้าเกี่ยวข้องคัดค้านตามคำบรรยายฟ้องแสดงให้เห็นว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า ฯลฯ 2.โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ 3.ทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.ล.1 เป็นทางจำเป็นและหรือทางภาระจำยอมหรือไม่ ฯลฯ โดยมิได้กำหนดว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ไว้ด้วยแต่ครั้นเมื่อทำคำพิพากษา ศาลชั้นต้นให้เพิกถอนประเด็นข้อ 2 ข้อ 3 เสียแล้วกำหนดประเด็นสองข้อนี้เสียใหม่เป็นว่า โจทก์มีอำนาจให้จำเลยเปิดทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่เอกสารหมาย จ.ล.1 ได้หรือไม่เพียงใดตามประเด็นใหม่ครอบคลุมประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่เข้าไปด้วย ซึ่งประเด็นข้อนี้เดิมศาลไม่ได้กำหนดไว้ คู่ความมิได้โต้แย้งคัดค้านถือว่าคู่ความสละไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นนำประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ มาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว ประกอบกับคู่ความได้นำสืบพยานหลักฐานตามประเด็นที่ศาลกำหนดไว้ตอนแรกครบถ้วนแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทาง-สาธารณะได้ โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทหรือทางชักลากไม้ที่ปรากฏใน น.ส.3 ผ่านเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ปี 2508 จนถึงเดือนมิถุนายนปี 2526 แม้จะมีทางอื่นเข้าออกได้อีกทางหนึ่ง แต่ก็เป็นทางเดินขึ้นเขามีลักษณะลาดชัน ไม่อาจใช้รถยนต์วิ่งผ่านได้และไกลกว่าทางพิพาท ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็น
สภาพทางพิพาทเป็นทางที่ชาวบ้านลากไม้ กว้างประมาณ1 เมตรเศษ นอกจากร่องรอยทางเดินเท้าแล้ว ไม่มีร่องรอยทางรถยนต์ ปรากฏตามรายงานการเผชิญสืบของศาลว่าทางพิพาทก็กว้าง 1.50 เมตร ศาลชั้นต้นกำหนดความกว้างของทางพิพาทให้ 1.50 เมตร เป็นการสมควรแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินโจทก์อยู่ในที่ปิดล้อม ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์ใช้เส้นทางผ่านที่ดินของบุคคลอื่นหลายราย และผ่านที่ดินน.ส.3 ของจำเลยเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ตามเส้นทางที่ระบุว่า "ทางชักลากไม้"ตั้งแต่ปี 2508 ถึง เดือนมิถุนายน 2526 โดยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดเข้าเกี่ยวข้องคัดค้านตามคำบรรยายฟ้องแสดงให้เห็นว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า ฯลฯ 2.โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ 3.ทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.ล.1 เป็นทางจำเป็นและหรือทางภาระจำยอมหรือไม่ ฯลฯ โดยมิได้กำหนดว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ไว้ด้วยแต่ครั้นเมื่อทำคำพิพากษา ศาลชั้นต้นให้เพิกถอนประเด็นข้อ 2 ข้อ 3 เสียแล้วกำหนดประเด็นสองข้อนี้เสียใหม่เป็นว่า โจทก์มีอำนาจให้จำเลยเปิดทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่เอกสารหมาย จ.ล.1 ได้หรือไม่เพียงใดตามประเด็นใหม่ครอบคลุมประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่เข้าไปด้วย ซึ่งประเด็นข้อนี้เดิมศาลไม่ได้กำหนดไว้ คู่ความมิได้โต้แย้งคัดค้านถือว่าคู่ความสละไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นนำประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ มาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว ประกอบกับคู่ความได้นำสืบพยานหลักฐานตามประเด็นที่ศาลกำหนดไว้ตอนแรกครบถ้วนแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทาง-สาธารณะได้ โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทหรือทางชักลากไม้ที่ปรากฏใน น.ส.3 ผ่านเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ปี 2508 จนถึงเดือนมิถุนายนปี 2526 แม้จะมีทางอื่นเข้าออกได้อีกทางหนึ่ง แต่ก็เป็นทางเดินขึ้นเขามีลักษณะลาดชัน ไม่อาจใช้รถยนต์วิ่งผ่านได้และไกลกว่าทางพิพาท ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็น
สภาพทางพิพาทเป็นทางที่ชาวบ้านลากไม้ กว้างประมาณ1 เมตรเศษ นอกจากร่องรอยทางเดินเท้าแล้ว ไม่มีร่องรอยทางรถยนต์ ปรากฏตามรายงานการเผชิญสืบของศาลว่าทางพิพาทก็กว้าง 1.50 เมตร ศาลชั้นต้นกำหนดความกว้างของทางพิพาทให้ 1.50 เมตร เป็นการสมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น ทางสาธารณะ และการวินิจฉัยนอกประเด็นของศาล: การเปิดทางพิพาทที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินโจทก์อยู่ในที่ปิดล้อม ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์ใช้เส้นทางผ่านที่ดินของบุคคลอื่นหลายรายและผ่านที่ดิน น.ส.3 ของจำเลยเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ตามเส้นทางที่ระบุว่า "ทางชักลากไม้" ตั้งแต่ปี 2508 ถึง เดือนมิถุนายน 2526โดยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดเข้าเกี่ยวข้องคัดค้านตามคำบรรยายฟ้องแสดงให้เห็นว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าฯลฯ 2. โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ 3. ทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.ล.1 เป็นทางจำเป็นและหรือทางภารจำยอมหรือไม่ ฯลฯ โดยมิได้กำหนดว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ไว้ด้วย แต่ครั้นเมื่อทำคำพิพากษา ศาลชั้นต้นให้เพิกถอนประเด็นข้อ 2 ข้อ 3 เสียแล้วกำหนดประเด็นสองข้อนี้เสียใหม่เป็นว่าโจทก์มีอำนาจให้จำเลยเปิดทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่เอกสารหมาย จ.ล.1 ได้หรือไม่เพียงใด ตามประเด็นใหม่ครอบคลุมประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่เข้าไปด้วยซึ่งประเด็นข้อนี้เดิมศาลไม่ได้กำหนดไว้ คู่ความมิได้โต้แย้งคัดค้านถือว่าคู่ความสละไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นนำประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ มาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว ประกอบกับคู่ความได้นำสืบพยานหลักฐานตามประเด็นที่ศาลกำหนดไว้ตอนแรกครบถ้วนแล้วศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทหรือทางชักลากไม้ที่ปรากฏในน.ส.3 ผ่านเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ปี 2508 จนถึงเดือนมิถุนายนปี 2526 แม้จะมีทางอื่นเข้าออกได้อีกทางหนึ่ง แต่ก็เป็นทางเดินขึ้นเขามีลักษณะลาดชัน ไม่อาจใช้รถยนต์วิ่งผ่านได้และไกลกว่าทางพิพาท ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็น สภาพทางพิพาทเป็นทางที่ชาวบ้านลากไม้ กว้างประมาณ 1 เมตรเศษนอกจากร่องรอยทางเดินเท้าแล้ว ไม่มีร่องรอยทางรถยนต์ ปรากฏตามรายงานการเผชิญสืบของศาลว่าทางพิพาทก็กว้าง 1.50 เมตร ศาลชั้นต้นกำหนดความกว้างของทางพิพาทให้ 1.50 เมตร เป็นการสมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น-ค่าทดแทน: ศาลยืนตามเดิม สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นและสิทธิเรียกค่าทดแทนเป็นไปตามกฎหมาย
ที่ดินโจทก์ถูกที่ดินของจำเลยและบุคคลอื่นล้อมรอบอยู่แม้จะปรากฏว่าโจทก์เคยใช้ที่ดินของ บ. เดินออกสู่ทางสาธารณะแต่เป็นการขอเดินผ่านเข้าออกในขณะที่จำเลยปิดกั้นทางพิพาท จำเลยเคยฟ้องโจทก์ให้เปิดทางจำเป็นในที่ดินของโจทก์เพื่อให้จำเลยสามารถเดินจากที่ดินของจำเลยแปลงซึ่งอยู่ติดกับที่ดินโจทก์ด้านทิศเหนือเพื่อผ่านไปยังที่ดินของจำเลยอีกแปลงหนึ่งซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของที่ดินโจทก์แล้วออกสู่ทางสาธารณะโดยมิได้ฟ้อง บ. กับบุคคลอื่นที่มีที่ดินติดกับจำเลยให้เปิดทางจำเป็นแก่จำเลย เป็นการยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางที่ออกสู่ทางสาธารณะใกล้ที่สุดและสะดวกมากกว่าทางอื่น จึงฟังได้ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโจทก์จำเลยเคยฟ้องให้โจทก์เปิดทางจำเป็นในที่ดินของโจทก์ให้จำเลยผ่านกว้าง 2 เมตร และเป็นทางแนวเดียวกับทางพิพาทขนาดทางกว้าง2 เมตร เหมาะสมแก่การใช้ประโยชน์ตามสภาพบ้านเมืองในปัจจุบันแล้ว บทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1349 มิได้บังคับให้ผู้มีสิทธิผ่านทางจำเป็นในที่ดินของผู้อื่นนั้นต้องเสนอใช้ค่าทดแทนก่อนจึงจะใช้สิทธิได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกเอาทางจำเป็นโดยไม่ต้องเสนอให้ค่าทดแทนแก่จำเลยก่อน โจทก์ไม่ได้เสนอค่าทดแทนแก่จำเลย และจำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัยในเรื่องค่าทดแทน และปัญหานี้มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวมาจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 และถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249 ปัญหาว่าผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นต้องใช้ค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 หรืออาจไม่ต้องใช้ค่าทดแทนตามมาตรา 1350 ไม่เป็นประเด็นวินิจฉัยในคดีนี้ จึงชอบที่จำเลยจะไปว่ากล่าวในเรื่องค่าทดแทนจากโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหากรูปคดีมีเหตุผลอันสมควรที่ศาลจะระบุในคำพิพากษาให้ชัดเจนว่าไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะไปว่ากล่าวในเรื่องค่าทดแทนจากโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก และคำพิพากษาดังกล่าวไม่ได้บังคับให้โจทก์ต้องใช้ค่าทดแทนแก่จำเลยในคดีนี้ จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอของจำเลย ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142.