คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บอกเลิกสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,021 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันค่าแรงล่วงหน้า: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาภายในระยะเวลาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า ตามที่บริษัท ย. มีความประสงค์จะทำสัญญาเบิกเงินล่วงหน้าค่าแรงโครงการแมกไม้ซึ่งในการนี้บริษัท ย. จะต้องมีหนังสือรับรองของธนาคารค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 4,400,000 บาท โดยหนังสือฉบับนี้จำเลยที่ 1 ขอรับเป็นผู้ค้ำประกันบริษัท ย. ต่อโจทก์สำหรับการทำสัญญาเบิกเงินล่วงหน้าค่าแรงโครงการแมกไม้คราวนี้ไว้ภายในวงเงินรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 4,400,000 บาทจากข้อความในหนังสือค้ำประกันดังกล่าว จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันแสดงเจตนายินยอมที่จะเป็นผู้ค้ำประกันเงินค่าแรงจ่ายล่วงหน้าจำนวน 4,400,000 บาท ตามข้อกำหนดในสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ย. ตามสัญญาจ้างก่อสร้างสาธารณูปโภคโดยที่ตามสัญญาดังกล่าวโจทก์ได้จ่ายเงินค่าแรงล่วงหน้าจำนวน4,400,000 บาท ให้แก่บริษัท ย. ไปแล้ว ที่หนังสือค้ำประกันระบุไว้ตามสัญญาข้อ 3 ว่าหนังสือค้ำประกันฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่16 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป และสิ้นสุดวันที่ 15 ตุลาคม 2535หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวนี้จำเลยที่ 1 ไม่รับผิดชอบใด ๆทั้งสิ้น หมายความว่าจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันมีเจตนาจะให้หนังสือค้ำประกันมีผลผูกพันและใช้บังคับกันได้ตั้งแต่วันที่16 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป กล่าวคือ หากเกิดกรณีที่บริษัท ย. จะต้องรับผิดชอบชดใช้เงินจำนวน 4,400,000 บาทที่ได้รับไปแล้วคืนแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้รับผิดชดใช้ในจำนวนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามหนังสือค้ำประกันฉบับนี้นับแต่วันดังกล่าว กรณีมิใช่ว่าการรับเงินจำนวน 4,400,000 บาทของบริษัท ย. จากโจทก์จะต้องกระทำขึ้นภายในระยะเวลาดังกล่าวด้วยไม่ แต่ขณะเดียวกันหากเหตุแห่งการที่บริษัท ย.จะต้องรับผิดชอบในเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เกิดขึ้นภายหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยที่ 1 ผู้ออกหนังสือค้ำประกันก็หาจำต้องรับผิดชอบตามหนังสือค้ำประกันด้วยไม่ หนังสือค้ำประกันฉบับพิพาท จำเลยที่ 1 ได้ทำขึ้นเพื่อค้ำประกันเงิน 4,400,000 บาท ที่โจทก์จ่ายค่าแรงล่วงหน้าให้ไว้แก่บริษัท ย.และเมื่อบริษัทย. มิได้กระทำการก่อสร้างสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องบอกเลิกสัญญาแก่บริษัท ย. โดยที่จำเลยที่ 1 มิได้ให้การโต้แย้งคำฟ้องโจทก์ไว้โดยแจ้งชัดว่า บริษัท ย. มิได้กระทำผิดสัญญาอย่างไร จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า บริษัท ย. แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่ามิได้กระทำผิดสัญญาเท่านั้น ในชั้นพิจารณาคดีจำเลยที่ 1 ก็มิได้นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไว้จึงต้องฟังตามข้อนำสืบของโจทก์ว่า บริษัท ย. เป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับบริษัท ย.ขณะที่อยู่ในระยะเวลาตามหนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 1ได้กำหนดระยะเวลารับผิดชอบไว้ จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชอบชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ได้จ่ายค่าแรงหรือค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่บริษัท ย. ไปจากจำเลยผู้ค้ำประกันของบริษัท ย. ไปตามสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 นับแต่วันที่โจทก์บอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7523/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยข้อตกลง, ค่าเสื่อมราคา, และการหักกลบลบหนี้
จำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่ งวดที่ 1 ถึง งวดที่ 9เรียงลำดับมา แม้ทุกงวดจะชำระไม่ตรงเวลา แต่โจทก์ก็รับไปโดยไม่มีข้อโต้แย้งแสดงว่าในทางปฏิบัติคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ จึงไม่ถือว่าการชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงเวลาเป็นการผิดสัญญา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครั้งสุดท้ายงวดที่ 9เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534 แต่โจทก์ไปยึดรถที่เช่าซื้อเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534 ห่างจากวันชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายเพียง 19 วัน เป็นการยึดรถคืนโดยไม่มีสิทธิจะกระทำได้ นอกจากนี้ตามสัญญาเช่าซื้อยังได้ตกลงไว้ว่าในกรณีผู้เช่าไม่ใช้เงินค่าเช่าสองงวดติด ๆ กัน เมื่อโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่ผู้เช่าละเลยไม่ปฏิบัติตามภายในกำหนด 30 วัน ผู้เช่ายอมให้เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกการเช่าและริบเงินที่ได้รับชำระแล้วและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินได้ทันที อีกทั้งโจทก์ก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องมีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายใน30 วัน ก่อนจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่โจทก์มิได้ มีหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติการชำระค่าเช่าซื้อภายใน 30 วัน กลับมีหนังสือบอกเลิกสัญญาทันทีการบอกเลิกสัญญาโดยผิดข้อตกลงเช่นนี้จึงไม่ชอบ การที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 25พฤศจิกายน 2534 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งเสียภายในเวลาอันสมควร จำเลยที่ 1 เพิ่งมาโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มี สิทธิยึดรถหลังจากถูกโจทก์ฟ้องและโจทก์ได้ยึดรถไปแล้ว1 ปีเศษ จึงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1ต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถคืน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับรถคืนแล้วโจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระแล้วแก่จำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองรถที่เช่าซื้อตั้งแต่วันทำสัญญาถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าใช้ทรัพย์แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม รถที่โจทก์ยึดคืนปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นเงิน 220,000 บาท และก่อนทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินดาวน์แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไปแล้ว เป็นเงิน 200,000 บาท ถือได้ว่าเป็นการงาน อันได้กระทำให้ เพราะเมื่อโจทก์ยึดรถคืนมาย่อมเป็นประโยชน์แก่โจทก์กล่าวคือ ตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นส่วนประกอบของรถ ส่วนเงินดาวน์ก็เป็นส่วนหนึ่งของราคารถ โจทก์จึง ต้องใช้คืนแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม แต่การที่จำเลยที่ 1 ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มก็ดี ชำระเงินดาวน์ก็ดี ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 อยู่ด้วยในการที่นำรถไปใช้รับจ้างบรรทุกสิ่งของ เป็นเวลาถึง 15 เดือน ซึ่งรถย่อมมีการเสื่อมสภาพลง จึงต้อง หักค่าเสื่อมราคาของรถออกเสียก่อน ส่วนค่าเสียหายอย่างอื่นที่ต่างฝ่ายต่างเรียกร้องนั้นเมื่อสัญญาเช่าซื้อมิได้เลิกกันเพราะความผิดของฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายจึงต่างไม่มีสิทธิเรียกให้อีกฝ่ายชำระ เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันที่จะต้องชำระหนี้เงินเป็นอย่างเดียวกัน และต่างฟ้องอีกฝ่ายหนึ่งให้รับผิดซึ่งศาลรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันดังนั้น เพื่อความสะดวกในการบังคับคดี ศาลฎีกาจึงให้หักกลบลบหนี้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7497/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการปรับ ค่าเสียหาย และบอกเลิกสัญญาจากความล่าช้าในการก่อสร้าง
ตามสัญญาจ้างกำหนดสิทธิของโจทก์ผู้ว่าจ้างในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาไว้ว่า หากจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดอันเป็นการผิดสัญญาแล้วโจทก์มีสิทธิที่จะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19 (1) นอกจากนั้นแล้วถ้าหากโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายตามสัญญาข้อ 20 จากจำเลยที่ 1 ได้อีกด้วยตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย ซึ่งสิทธิที่จะเรียกเอาค่าปรับรายวันกับสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายดังกล่าว แม้จะเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างข้อเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นสิทธิที่แยกต่างหากจากกันกล่าวคือ เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือกใช้สิทธิดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกรณีเดียว หรือเลือกใช้สิทธิดังกล่าวทุกกรณีก็ได้
เมื่อปรากฏว่า ใกล้จะครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาแต่ละฉบับตามที่ได้ขยายเวลาออกไป โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ให้เร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา พร้อมทั้งแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับไว้ด้วย หลังจากครบกำหนดเวลาตามที่ได้ขยายออกไปแล้ว โจทก์ได้ไปตรวจงานก่อสร้าง ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 หยุดการก่อสร้าง ซึ่งโจทก์เห็นว่างานก่อสร้างไม่คืบหน้าและจำเลยที่ 1 คงจะไม่ทำการก่อสร้างอีกต่อไป โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แล้ว เพราะหลังจากครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 ทันที ยังให้โอกาสแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะทำการก่อสร้างต่อไปอีก จนกระทั่งปรากฏว่างานก่อสร้างไม่คืบหน้าเพราะจำเลยที่ 1 ละทิ้งงานอันถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้ายต่อเนื่องกับสัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่ขัดกับสิทธิในการที่โจทก์จะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แต่อย่างใด เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งมาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1 ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7497/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการปรับ ค่าเสียหาย และบอกเลิกสัญญา กรณีผู้รับจ้างผิดสัญญา โดยสิทธิเหล่านี้สามารถใช้ได้ควบคู่กัน
ตามสัญญาจ้างกำหนดสิทธิของโจทก์ผู้ว่าจ้างในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาไว้ว่า หากจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดอันเป็นการผิดสัญญาแล้วโจทก์มีสิทธิที่จะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19(1) นอกจากนั้นแล้วถ้าหากโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายตามสัญญาข้อ 20 จากจำเลยที่ 1ได้อีกด้วยตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย ซึ่งสิทธิที่จะเรียกเอาค่าปรับรายวันกับสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายดังกล่าวแม้จะเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ตามสัญญาจ้างข้อเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นสิทธิที่แยกต่างหากจากกันกล่าวคือ เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือกใช้สิทธิดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกรณีเดียว หรือเลือกใช้สิทธิดังกล่าวทุกกรณีก็ได้ เมื่อปรากฏว่า ใกล้จะครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาแต่ละฉบับตามที่ได้ขายเวลาออกไป โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ให้เร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาพร้อมทั้งแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับไว้ด้วย หลังจากครบกำหนดเวลาตามที่ได้ขยายออกไปแล้ว โจทก์ได้ไปตรวจงานก่อสร้างปรากฏว่าจำเลยที่ 1 หยุดการก่อสร้าง ซึ่งโจทก์เห็นว่างานก่อสร้างไม่คืบหน้าและจำเลยที่ 1 คงจะไม่ทำการก่อสร้างอีกต่อไปโจทก์จึงมีหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1เช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19(1) แล้ว เพราะหลังจากครบกำหนดเวลาแล้วโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 ทันที ยังให้โอกาสแก่จำเลยที่ 1 ใน อันที่จะทำการก่อสร้างต่อไปอีก จนกระทั่งปรากฏว่างานก่อสร้างไม่คืบหน้าเพราะจำเลยที่ 1 ละทิ้งงานอันถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้ายต่อเนื่องกับสัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่งซึ่งไม่ขัดกับสิทธิในการที่โจทก์จะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19(1) แต่อย่างใด เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งมาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7221/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงกรรมสิทธิ์งานก่อสร้างเมื่อบอกเลิกสัญญา: เบี้ยปรับและการหักกลบลบหนี้
ตามสัญญาจ้างกำหนดว่า โจทก์ต้องดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จทุกรายการในงวดที่ 3 จึงจะมีสิทธิรับค่าจ้าง แต่สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แม้ตามปกติโจทก์มีสิทธิได้รับชดใช้คืนค่าผลงานที่โจทก์ได้ทำการก่อสร้างระบบประปาให้จำเลยแล้วบางส่วนตาม ป.พ.พ.มาตรา391 วรรคสาม ก็ตาม แต่ตามสัญญาข้อ 22 ระบุว่า เมื่อผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วบรรดางานที่ผู้รับจ้างได้ทำขึ้นและสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้นำมาไว้ ณ สถานที่ทำงานจ้างนั้น โดยเฉพาะเพื่องานจ้างดังกล่าวผู้รับจ้างยอมให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างโดยผู้รับจ้างจะเรียกร้องค่าตอบแทนและค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้เลยข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นการที่ผู้รับจ้างให้สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นอันมิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 382 แก่จำเลยผู้ว่าจ้าง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์เป็นเงิน 900,000 บาท เพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้นำหนี้ที่โจทก์ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำนวน 163,200 บาท และจำเลยจะต้องชำระค่าการงานมาหักกลบลบหนี้กัน คงเหลือหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์เป็นเงิน 736,800 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7221/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน การบอกเลิกสัญญา ค่าชดใช้คืนงาน และการหักกลบลบหนี้
ตามสัญญาจ้างกำหนดว่า โจทก์ต้องดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จทุกรายการในงวดที่ 3 จึงจะมีสิทธิรับค่าจ้าง แต่สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แม้ตามปกติโจทก์มีสิทธิได้รับชดใช้คืนค่าผลงานที่โจทก์ได้ทำการก่อสร้างระบบประปาให้จำเลยแล้วบางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม ก็ตาม แต่ตามสัญญา ข้อ 22ระบุว่า เมื่อผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วบรรดางานที่ผู้รับจ้างได้ทำขึ้นและสิ่งของต่าง ๆที่ได้นำมาไว้ ณ สถานที่ทำงานจ้างนั้น โดยเฉพาะเพื่องานจ้างดังกล่าวผู้รับจ้างยอมให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างโดยผู้รับจ้างจะเรียกร้องค่าตอบแทนและค่าเสียหายใด ๆไม่ได้เลยข้อตกลงนี้มีลักษณะ เป็นการที่ผู้รับจ้างให้สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นอันมิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382แก่จำเลยผู้ว่าจ้าง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์เป็นเงิน 900,000 บาทเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้นำหนี้ที่โจทก์ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำนวน 163,200 บาท และจำเลยจะต้องชำระค่าการงานมาหักกลบลบหนี้กัน คงเหลือหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์เป็นเงิน 736,800 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7221/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน การบอกเลิกสัญญา ค่าชดใช้คืนงาน และการหักกลบลบหนี้
ตามสัญญาจ้างกำหนดว่า โจทก์ต้องดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จทุกรายการในงวดที่ 3 จึงจะมีสิทธิรับค่าจ้าง แต่สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แม้ตามปกติโจทก์มีสิทธิได้รับชดใช้คืนค่าผลงานที่โจทก์ได้ทำการก่อสร้างระบบประปาให้จำเลยแล้วบางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม ก็ตาม แต่ตามสัญญา ข้อ 22 ระบุว่า เมื่อผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วบรรดางานที่ผู้รับจ้างได้ทำขึ้นและสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้นำมาไว้ ณ สถานที่ทำงานจ้างนั้น โดยเฉพาะเพื่องานจ้างดังกล่าวผู้รับจ้างยอมให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างโดยผู้รับจ้างจะเรียกร้องค่าตอบแทนและค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้เลยข้อตกลงนี้มีลักษณะ เป็นการที่ผู้รับจ้างให้สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นอันมิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382แก่จำเลยผู้ว่าจ้าง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์เป็นเงิน 900,000 บาทเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้นำหนี้ที่โจทก์ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำนวน 163,200 บาท และจำเลยจะต้องชำระค่าการงานมาหักกลบลบหนี้กัน คงเหลือหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์เป็นเงิน 736,800 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7185/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินเนื่องจากเหตุสุดวิสัยและการเลิกสัญญาโดยความยินยอมของคู่สัญญา
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาสิ้นสุดตามสัญญาแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ทั้งมิได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวแต่อย่างใด จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
เมื่อขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทสามารถโอนกรรมสิทธิ์กันได้ เพียงแต่กรมที่ดินให้มีหมายเหตุไว้ในบัญชีอายัดและกลัดติดไว้ในโฉนดที่ดินว่า"เมื่อมีผู้มาขอจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ ให้แจ้งให้คู่กรณีทราบว่ากองทัพบกอ้างว่าเป็นที่สนามบินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หากเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจริง ผู้รับโอนย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินนี้แต่อย่างใด ถ้าคู่กรณีทราบแล้วประสงค์จะให้จดทะเบียน ก็ให้บันทึกถ้อยคำไว้แล้วดำเนินการจดทะเบียนต่อไปได้" ดังนั้นในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย วัตถุที่ประสงค์ของสัญญามิได้เป็นการพ้นวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ใหม่) จึงมีผลใช้บังคับระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญา
เหตุที่จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้เกิดจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งอายัดที่ดินพิพาทตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83ไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งผลของการแจ้งอายัดนั้น ป.ที่ดิน มาตรา 83 วรรคสองบัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินเมื่อได้สอบสวนหลักฐานที่ผู้ขอได้นำมาแสดงให้ปรากฏแล้วถ้าเห็นสมควรเชื่อถือก็ให้รับอายัดไว้ได้มีกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ขออายัด โดยให้ผู้นั้นไปดำเนินการทางศาล และให้นำหลักฐานการยื่นฟ้องพร้อมสำเนาคำฟ้องในกรณีที่ขออายัดมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับอายัดภายในกำหนดเวลาที่อายัดถ้าผู้ขออายัดมิได้ปฏิบัติดังกล่าวให้ถือว่าการอายัดสิ้นสุดและจะขออายัดซ้ำในกรณีเดียวกันอีกไม่ได้ แต่ถ้าผู้ขออายัดได้แสดงหลักฐานดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่อายัดให้การอายัดมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด เพราะฉะนั้นการแจ้งขออายัดจึงไม่ทำให้ที่ดินพิพาทถูกห้ามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด และไม่ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นการชำระหนี้พ้นวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 219 อีกทั้งหนังสือแจ้งอายัดก็ไม่ใช่เหตุใด ๆ อันจะเกิด จะให้ผลพิบัติ ไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ อันเป็นเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 8 การที่จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสองไม่ได้ตามกำหนดในสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์
ในวันครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญา ฝ่ายโจทก์นำแคชเชียร์เช็คไปพร้อมชำระราคาให้แก่จำเลย โดยโจทก์ไม่ได้ผิดสัญญา แต่ต่อมาหลังจากครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท และไม่สามารถโอนให้ได้แล้วจำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินตามสัญญาภายใน 10 วัน หากพ้นกำหนดถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและให้ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการแจ้งบอกเลิกสัญญาอันเป็นการที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาพร้อมกันนั้นโจทก์ก็ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา ให้จำเลยคืนเงินมัดจำ และราคาที่ได้ชำระแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวมาแสดงว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 จำเลยจึงต้องให้โจทก์ทั้งสองได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6621/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการสืบพยาน, สัญญาซื้อขายอาคารชุด, และผลของการบอกเลิกสัญญาที่มีต่อเช็คพิพาท
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยมาแล้ว 8 นัด แต่จำเลยนำพยานมาสืบเพียง 2 นัด และสืบพยานจำเลยได้เพียง 1 ปาก นอกนั้นจำเลยเป็นฝ่ายขอเลื่อนคดี 3 นัด และคู่ความทั้งสองฝ่ายขอเลื่อนคดีเพื่อเจรจาตกลงกันอีก 3 นัดครั้นถึงวันนัดสืบพยานจำเลยนัดที่ 9 จำเลยขอเลื่อนคดีอีก ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยนัดต่อไป และกำชับให้จำเลยนำพยานมาสืบให้เสร็จภายใน 2 นัดต่อมาเมื่อสืบพยานจำเลยนัดแรกแล้ว ครั้นถึงนัดที่สองเลื่อนไป ทนายโจทก์อ้างเหตุเจ็บป่วยขอเลื่อน ทนายจำเลยไม่ค้านและแถลงว่าจะนำพยานมาสืบให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ศาลชั้นต้นจึงอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยอีก 2 นัด และกำชับให้จำเลยนำพยานมาสืบให้เสร็จตามที่นัดไว้โดยจะไม่ให้เลื่อนคดีอีก ครั้นสืบพยานจำเลยครบ 2 นัดแล้ว จำเลยแถลงจะขอสืบพยานอีก 4 ปาก โดยเฉพาะพยานบางปากจำเลยยังมิได้ระบุบัญชีพยานจำเลยเพิ่มเติม อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามรายงานกระบวนพิจารณาและไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว
จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการให้แก่โจทก์ ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ การที่จำเลยเป็นผู้ซื้ออาคารชุดต่อจาก ศ. ซึ่งข้อตกลงโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายร้านค้าอาคารชุดระหว่างจำเลยและ ศ.ไลต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ เมื่อปรากฎว่า ศ.และจำเลยได้ทำหนังสือโอนสิทธิร้านค้าอาคารชุดและโจทก์ได้บันทึกในหนังสือฉบับนี้อนุมัติให้เปลี่ยนสัญญาได้ จำเลยย่อมถือหนังสือโอนสิทธิร้านค้าอาคารชุดฉบับนี้ต่อเนื่องกับสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิมได้โดยถือว่าจำเลยเป็นคู่สัญญากับโจทก์แทนที่ ศ. โจทก์ไม่จำต้องทำหนังสือสัญญาฉบับใหม่มอบให้จำเลยอีกการที่โจทก์ไม่ยอมทำและมอบหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาส่งเสริมพัฒนาโครงการฉบับใหม่ให้แก่จำเลย กรณีก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและนำอาคารชุดไปขายให้แก่ผู้อื่นได้
สำหรับเช็คพิพาทที่จำเลยได้ชำระเป็นค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการก่อนมีการบอกเลิกสัญญานั้น เช็คดังกล่าวถือได้ว่าเป็นค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการที่โจทก์ได้รับชำระไว้แล้ว แม้ต่อมาโจทก์จะได้บอกเลิกสัญญาแล้วก็ตาม แต่เมื่อตามสัญญาส่งเสริมพัฒนาโครงการได้ให้สิทธิโจทก์ที่จะริบเงินทั้งหมดที่ได้รับชำระไว้แล้วเช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการใช้เงิน จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ปัญหาข้อกฎหมาย, การบอกเลิกสัญญา, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, บัญชีเดินสะพัด
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้วแม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ คู่ความก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา249 วรรคสอง
จำเลยฎีกาอ้างว่า โจทก์คิดยอดหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันไม่ถูกต้อง แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาที่จำเลยฎีกาให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและขอถอนหลักประกันคืน เมื่อ ป.พ.พ.มาตรา 859 บัญญัติให้คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทไม่มีข้อห้ามจำเลยบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด ดังนั้น สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเลิกกันในวันที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาดังกล่าวแล้ว
of 103