พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วม: สิทธิเจ้าหนี้ในการบังคับคดีกับลูกหนี้แต่ละคนตามสัดส่วนหรือทั้งหมดได้ตามกฎหมาย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันชำระหนี้แก่ธนาคารโจทก์ จำเลยทั้งห้าจึงเป็นลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 ดังนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกบังคับให้ลูกหนี้คนใดคนหนึ่งชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วนก็ได้ การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 ออกขายทอดตลาด แต่ต่อมาได้ขอให้ถอนการบังคับคดีเพราะจำเลยที่ 4 ได้ชำระหนี้บางส่วนให้โจทก์แล้ว จึงเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกให้จำเลยที่ 4 ชำระหนี้บางส่วนตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ต่อมาจำเลยที่ 4 จะนำทรัพย์ดังกล่าวไปขายต่อให้ผู้อื่นและทำให้จำเลยที่ 3 ต้องถูกยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ที่เหลือ ก็หาใช่เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตของโจทก์แต่อย่างใดไม่ ส่วนการที่โจทก์ยอมปล่อยทรัพย์ของจำเลยที่ 4 ที่ถูกยึดขายทอดตลาดไปทั้งที่ยังไม่ได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนอันจะมีผลให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดไม่ดังนั้น เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ครบถ้วน โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดชำระหนี้ตามคำพิพากษาที่เหลือได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีและการส่งมอบโฉนดที่ดินเพื่อจดทะเบียนภาระจำยอม แม้ศาลฎีกาไม่ได้สั่งให้ส่งมอบ
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันทำทางพิพาทตามรูปแผนที่วิวาทและให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมทางพิพาทดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสองหากจำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองจึงย่อมมีสิทธิที่จะขอดำเนินการบังคับคดีในลำดับต่อไป โดยถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 แต่เมื่อโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ที่จำเลยที่ 1ทำให้โจทก์ทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทต่อศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดี หาเป็นการบังคับนอกเหนือไปจากคำพิพากษาแต่อย่างใดไม่แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ทั้งสองโดยยังมิได้เรียกคู่ความมาสอบถามให้แน่ชัดเสียก่อนว่าโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 จริงหรือไม่และมีเหตุจำเป็นหรือขัดข้องประการใดที่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง จึงสมควรเรียกคู่ความมาสอบถามให้ได้ความเสียก่อน ไม่ควรรีบด่วนยกคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีและการส่งมอบโฉนดที่ดินเพื่อจดทะเบียนภาระจำยอม
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันทำทางพิพาทตามรูปแผนที่วิวาทและให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมทางพิพาทดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสองหากจำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองจึงย่อมมีสิทธิที่จะขอดำเนินการบังคับคดีในลำดับต่อไป โดยถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 แต่เมื่อโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ที่จำเลยที่ 1ทำให้โจทก์ทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทต่อศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดี หาเป็นการบังคับนอกเหนือไปจากคำพิพากษาแต่อย่างใดไม่แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ทั้งสองโดยยังมิได้เรียกคู่ความมาสอบถามให้แน่ชัดเสียก่อนว่าโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 จริงหรือไม่และมีเหตุจำเป็นหรือขัดข้องประการใดที่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง จึงสมควรเรียกคู่ความมาสอบถามให้ได้ความเสียก่อน ไม่ควรรีบด่วนยกคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดถือโฉนดที่ดินเพื่อประกันหนี้ ไม่ใช่สิทธิยึดหน่วงตามกฎหมาย ทำให้ต้องส่งโฉนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
ผู้ร้องเป็นผู้ครอบครองโฉนดที่ดินโดยจำเลยผู้เป็นลูกหนี้เงินกู้มอบให้ยึดถือเป็นประกันเงินกู้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้คืนโดยอาศัยข้อตกลงในหนังสือสัญญากู้นั้น แต่สิทธิยึดถือโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิบังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญาไม่สามารถใช้ยันแก่บุคคลอื่นได้ส่วนสิทธิยึดหน่วงตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 หมายถึง การที่ผู้ครอบครองได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นและมีหนี้อันเป็นคุณแก่ผู้ครอบครองเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่ครอบครองนั้น หนี้ที่ผู้ร้องมีเป็นเพียงหนี้เงินกู้ที่ผู้ร้องจะได้รับชำระหนี้คืนเท่านั้น หาได้เป็นคุณแก่ผู้ร้องเกี่ยวด้วยที่ดินโฉนดดังกล่าวไม่ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินฉบับพิพาท ผู้ร้องต้องส่งต้นฉบับที่ดินดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อทำการบังคับคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีบังคับคดี: ศาลอุทธรณ์ต้องรับวินิจฉัยเมื่อผู้พิพากษาศาลชั้นต้นรับรองเหตุสมควร
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดซึ่งตีราคาทรัพย์ 20,155 บาท อันถือเป็นทุนทรัพย์คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องขอ ผู้ร้องอุทธรณ์ แม้คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท แต่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้ คดีของผู้ร้องจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าคดีของผู้ร้องต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์ผู้ร้องนั้นเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา 142(5),243(1) ประกอบด้วยมาตรา 246และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสินสมรส, การจัดการมรดก, สัญญาจะซื้อจะขาย, การบังคับคดี: ทายาทผู้จัดการมรดกมีอำนาจทำสัญญาและโอนทรัพย์สินได้
ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ส. ผู้ตาย โดยจดทะเบียนสมรสเมื่อปี 2478 หลังจากนั้นปี 2490 ผู้ร้องและผู้ตายร่วมกันซื้อและจับจองที่ดินพิพาทแล้วใส่ชื่อผู้ตายเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว โดยผู้ร้องมีสินเดิมแต่ผู้ตายไม่มีสินเดิม ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสซึ่งเป็นของผู้ร้องสองในสามส่วน อันเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม มาตรา 1462 วรรคสอง และไม่ปรากฏว่าผู้ร้องกับผู้ตายได้ทำสัญญาก่อนสมรสให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการสินบริคณห์หรือให้จัดการร่วมกับผู้ตาย ที่ดินพิพาทจึงมิใช่สินเดิมของผู้ร้องหรือสินสมรสที่ผู้ร้องได้มาโดยทางยกให้หรือพินัยกรรมและการจำหน่ายที่ดินพิพาทมิใช่เป็นการยกให้โดยเสน่หา ผู้ตายจึงมีอำนาจจัดการจำหน่ายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ได้แต่ผู้เดียวโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ร้องก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม มาตรา 1468 และ 1473 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 ก็ระบุให้กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ดังนั้นเมื่อผู้ตายทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในปี 2515 และผู้ตายถึงแก่ความตายปี 2521 สิทธิในการรับชำระเงินและหน้าที่ในการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินตามสัญญาที่ผู้ตายทำไว้ก่อนตายจึงเป็นกองมรดกของผู้ตาย การที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยอ้างว่าผู้ตายผิดสัญญาไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทและรับค่าที่ดินไปจากโจทก์ จึงเป็นการเรียกร้องสิทธิในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกของผู้ตายเพื่อบังคับต่อทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตายให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามสัญญา และการที่จำเลยต่อสู้คดีแต่ในที่สุดก็ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ก็เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกเพื่อชำระหนี้ของผู้ตายที่มีอยู่ก่อนตาย และเพื่อนำทรัพย์สินที่เหลือมาแบ่งปันแก่ทายาทผู้ตายอันเป็นการจัดการทรัพย์มรดกตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 ซึ่งเมื่อศาลพิพากษาตามยอมแล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามโจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีให้จำเลยดำเนินการโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้ และแม้ผู้ร้องจะมีสิทธิในที่ดินพิพาทสองในสามส่วนก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องเรียกร้องหรือว่ากล่าวแก่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายให้นำค่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ชำระตามคำพิพากษาตามยอมมาแบ่งแก่ผู้ร้องตามสิทธิที่มีอยู่ก่อนการแบ่งปันมรดกแก่ทายาท ผู้ร้องไม่อาจขอกันส่วนในที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินฝากเพื่อบังคับคดีจากสัญญาทำไม้และกองทุนดูแลป่า: ศาลต้องไต่สวนก่อน
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ให้สัมปทานทำไม้แก่จำเลยโดยมีเงื่อนไขว่า จำเลยต้องนำเงินเข้าฝากและถอนเป็นกองทุนเพื่อดูแลและป้องกันไฟป่า ซึ่งจำเลยก็ได้ปฏิบัติตามโดยนำเงินเข้าฝากเป็นกองทุนที่ธนาคาร ท. แม้ต่อมาสัมปทานดังกล่าวจะสิ้นสุดลง โจทก์อ้างว่าจำเลยยังมีความผูกพันที่จะต้องส่งมอบเงินกองทุนดังกล่าวแก่โจทก์ และที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็เพื่อบังคับให้จำเลยส่งมอบเงินกองทุนนั้นให้แก่โจทก์ทั้งตามคำขอให้กำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของโจทก์ก็กล่าวอ้างว่าจำเลยอาจถอนเงินจากบัญชีเงินฝากไปจำหน่ายจ่ายโอนได้ ซึ่งเมื่อโจทก์ชนะคดีจะไม่สามารถบังคับคดีเอาจากเงินฝากและทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้ หากเป็นดังที่โจทก์กล่าวอ้าง คำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินฝากในธนาคาร ท. ย่อมมีมูลที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่โจทก์ขอมาใช้ได้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะไต่สวนคำร้องของโจทก์เสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดก, อายุความ, พินัยกรรมปลอม, และอำนาจบังคับคดี
โจทก์เป็นบุตรของ พ. ซึ่งเป็นพี่สาวของผู้ตาย เมื่อขณะผู้ตายถึงแก่ความตายผู้ตายไม่มีคู่สมรสและบุตร ทั้งบิดามารดาก็ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว มรดกของผู้ตายจึงตกทอดแก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ซึ่งรวมทั้ง พ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(3) เมื่อ พ. ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรและผู้สืบสันดานของ พ. ย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่ พ. โจทก์จึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเฉพาะส่วนแบ่งของ พ. ตามมาตรา 1639
การต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 นั้นคดีก่อนจะต้องได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว เมื่อคดีก่อนโจทก์กับพวกได้ถอนฟ้องซึ่งตามมาตรา 176 อาจยื่นใหม่ได้ ทั้งคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันกับคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 148
โจทก์เป็นทายาทฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทรัพย์มรดกของผู้ตายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 คืนเงิน 40,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกอายุความมรดก1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่เพราะกฎหมายได้บัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามมาตรา 1733 วรรคสอง ซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับตั้งแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมอันจะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและให้คืนเงินสดเพื่อนำมาแบ่งปันแก่ทายาท จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดกตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีที่วัตถุแห่งหนี้ให้กระทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง ดังนั้นเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดิน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 บัญญัติไว้
การต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 นั้นคดีก่อนจะต้องได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว เมื่อคดีก่อนโจทก์กับพวกได้ถอนฟ้องซึ่งตามมาตรา 176 อาจยื่นใหม่ได้ ทั้งคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันกับคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 148
โจทก์เป็นทายาทฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทรัพย์มรดกของผู้ตายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 คืนเงิน 40,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกอายุความมรดก1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่เพราะกฎหมายได้บัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามมาตรา 1733 วรรคสอง ซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับตั้งแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมอันจะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและให้คืนเงินสดเพื่อนำมาแบ่งปันแก่ทายาท จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดกตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีที่วัตถุแห่งหนี้ให้กระทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง ดังนั้นเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดิน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 บัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจำนองและทรัพย์สินอื่นร่วม: การยึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้แม้ทรัพย์จำนองมีราคาน้อยกว่าหนี้
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบ การยึดที่ดินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำนองไว้แต่ยังไม่นำออกขายจนกว่ามีการขายทอดตลาดที่ดินจำนองเสร็จสิ้นและได้เงินไม่พอชำระหนี้จึงจะนำที่ดินนั้นออกขายย่อมไม่เป็นการขัดต่อขั้นตอนการบังคับคดีตามคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: ยึดทรัพย์เพิ่มเติมเพื่อชำระหนี้ แม้ทรัพย์จำนองมีราคาไม่เพียงพอ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยึดทรัพย์เพิ่มเติมได้
หนี้ตามคำพิพากษาคำนวณถึงวันที่โจทก์ขอยึดที่ดินพิพาททั้งต้นและดอกเบี้ยรวมมากกว่า 10,000,000 บาท แต่ทรัพย์จำนองทั้งสามแปลงมีราคาตามราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีรวมไม่ถึง 1,000,000 บาท ที่ดินพิพาทเจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาที่ดิน 98,119,440 บาท แม้ปัจจุบันเป็นชื่อจำเลยที่ 3 ถือกรรมสิทธิ์รวม แต่จำเลยที่ 3 รับมรดกมาจากผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม ที่ดินจึงอยู่ในขอบเขตที่อาจถูกบังคับคดีได้ตามคำพิพากษา แม้การบังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องบังคับเอาแก่ทรัพย์จำนองก่อน หากไม่ครบจำนวนหนี้จึงจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่น แต่การยึดทรัพย์ที่ดินพิพาทสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ยึด หากเพิกถอนการยึดโจทก์ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมการยึดทรัพย์โดยไม่มีการขายอัตราร้อยละ 3.5 ซึ่งจะเป็นเงินค่าธรรมเนียมจำนวนมาก เนื่องจากจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองทั้งสามแปลงยังไม่เสร็จสิ้น ก็ยังไม่ทราบจำนวนหนี้ที่เหลือที่จะบังคับคดีต่อไป และนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณค่าธรรมเนียมได้ และจากสภาพราคาทรัพย์จำนองเป็นที่เห็นได้ว่าไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อขายทรัพย์จำนองเสร็จก็ต้องกลับมายึดที่ดินพิพาทใหม่ การยึดที่ดินพิพาทไว้แต่ยังไม่ต้องนำออกขายจนกว่ามีการขายทอดตลาดจำนองเสร็จสิ้นและได้เงินไม่พอชำระหนี้ จึงค่อยนำที่ดินพิพาทออกขายนั้นไม่ขัดต่อขั้นตอนการบังคับคดีตามคำพิพากษาและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย