พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้า ศาลมีอำนาจอนุญาตได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานพร้อมด้วยยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดพิจารณา 2 วัน ช้าไปกว่ากำหนดเวลาตามมาตรา 88 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเพียง 1 วัน โดยอ้างเหตุความจำเป็นที่ต้องไปติดตามคนร้ายยักยอกข้าว ดังนี้ เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ก็มีอำนาจสั่งอนุญาตได้ และไม่จำเป็นจะต้องไต่สวนก่อนสั่งอนุญาตเสมอไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบัญชีระบุพยานที่ยื่นหลังนัดสืบพยาน: ศาลใช้ดุลยพินิจเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ในคดีแพ่ง จำเลยเพิ่งขอระบุพยานจำเลยในวันนัดสืบพยานโจทก์ (นัดแรก) โดยอ้างว่าจำเลยป่วยเป็นไข้ไม่สามารถมาระบุพยานตามกำหนดได้ นั้นเมื่อศาลพิจารณาเหตุผลทั่ว ๆ ไปแล้วเห็นว่า มิใช่เรื่องจงใจฝ่าฝืนเพื่อให้โจทก์เสียเปรียบในทางคดี แล้วศาลก็อาศัยอำนาจตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 87 ให้รับบัญชีระบุพยานของจำเลยไว้ดำเนินการต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1830/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้า ศาลมีอำนาจผ่อนผันเพื่อความยุติธรรม แม้ฝ่าฝืนมาตรา 88
จำเลยยื่นระบุพยานก่อนวันเริ่มต้นสืบพยานเพียง 2 วัน ถือว่าการยื่นระบุพยานของจำเลยฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 ซึ่งกำหนดให้ยื่นก่อนวันเริ่มต้นสืบพยาน 3 วันคือ 3 วันเต็ม แต่หากคดีมีเหตุสมควร เพื่อความยุติธรรมศาลก็อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนด และเหตุผลความเผลอเรอ ศาลย่อมไม่รับรอง
คดีแพ่ง จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานในวันสืบพยานโจทก์ และยื่นคำร้องว่าเป็นเพราะความเผอเรอ ศาลย่อมไม่อนุญาต เพราะไม่มีเหตุจำเป็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานนอกกรอบเวลา ศาลมีดุลพินิจอนุญาตได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
โจทยื่นบัญชีระบุพยานไนวันนัดพิจารนาซึ่งเปนการฝ่าฝืนตามประมวนกดหมายวิธีพิจารนาความแพ่ง ม.88, 90 ถ้าเปนไนกรีนีที่สาลเห็นมีเหตุผลอันสมควนและเพื่อประโยชน์แห่งความยุตติธัม สาลย่อมมีอำนาดรับบัญชีระบุพยานได้ตามมาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13666/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีมโนสาเร่และการยื่นบัญชีระบุพยาน ศาลต้องบันทึกพยานหลักฐานเองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 ตรี
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 ตรี บัญญัติให้ศาลสอบถามคู่ความฝ่ายที่จะต้องนำพยานเข้าสืบว่า ประสงค์จะอ้างอิงพยานหลักฐานใดแล้วให้ศาลบันทึกไว้ ย่อมแสดงว่า ในการพิจารณาคดีมโนสาเร่ เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องบันทึกเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่จะนำเข้าสืบได้เองไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา โดยคู่ความไม่จำต้องจัดทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 88 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานฉบับที่สองของโจทก์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 193 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7929/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: การโต้แย้งบัญชีระบุพยานล่าช้าทำให้ไม่อุทธรณ์ได้ และพินัยกรรมที่ทำโดยผู้ป่วยยังสมบูรณ์
การโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาภายในเวลาที่สมควรนั้น ต้องโต้แย้งภายหลังเมื่อศาลออกคำสั่งแล้ว ตามข้อเท็จจริงผู้ร้องเพียงแต่ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ก่อนหรือภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้คัดค้านจึงไม่อาจอ้างตนเอง และหรืออ้างบุคคลอื่นเข้ามาเบิกความเป็นพยานได้ อีกทั้งพยานเอกสารที่ได้อ้างประกอบการถามพยานผู้ร้องที่ศาลแพ่งก็ไม่อาจรับฟังได้เช่นกัน และปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นลงวันที่ 2 ธันวาคม 2553 ว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ อันมีผลเท่ากับให้ถือเอาบัญชีระบุพยานที่นาย ด. เคยยื่นไว้ก่อนถึงแก่ความตายเป็นบัญชีระบุพยานของผู้คัดค้าน และอนุญาตให้ผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ซึ่งคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากผู้ร้องไม่เห็นด้วยก็ต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ แต่หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าว จนกระทั่งถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งเป็นวันอ่านคำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นเวลา 2 เดือนเศษ ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้ จึงเป็นเรื่องไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)
เมื่อพิจารณาพินัยกรรม เอกสารหมาย ร.3 แล้ว ปรากฏว่ามีลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือซ้ายและหัวแม่มือขวา และมีนาย อ. กับดาบตำรวจ ช. เป็นผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ตายไว้ ซึ่งตามพินัยกรรมระบุข้อความไว้ว่า ผู้ตายได้พิมพ์หัวนิ้วมือซ้ายเป็นสำคัญต่อหน้าพยาน จึงเห็นได้ว่า ลายพิมพ์นิ้วมือขวาของผู้ตายเป็นการพิมพ์ลายนิ้วมือเกินกว่าที่ระบุไว้ในพินัยกรรม แต่ไม่ทำให้พินัยกรรมเสียไปแต่อย่างใด พินัยกรรมดังกล่าวยังมีผลสมบูรณ์
เมื่อพิจารณาพินัยกรรม เอกสารหมาย ร.3 แล้ว ปรากฏว่ามีลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือซ้ายและหัวแม่มือขวา และมีนาย อ. กับดาบตำรวจ ช. เป็นผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ตายไว้ ซึ่งตามพินัยกรรมระบุข้อความไว้ว่า ผู้ตายได้พิมพ์หัวนิ้วมือซ้ายเป็นสำคัญต่อหน้าพยาน จึงเห็นได้ว่า ลายพิมพ์นิ้วมือขวาของผู้ตายเป็นการพิมพ์ลายนิ้วมือเกินกว่าที่ระบุไว้ในพินัยกรรม แต่ไม่ทำให้พินัยกรรมเสียไปแต่อย่างใด พินัยกรรมดังกล่าวยังมีผลสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10328/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นพยานหลักฐานในคดีอาญา: ศาลมีอำนาจรับพยานแม้โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน หากจำเลยไม่ติดใจ
วิธีพิจารณาในข้อที่เกี่ยวกับการยื่นบัญชีระบุพยานในคดีอาญานั้น ป.วิ.อ. ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในมาตรา 173/1, 173/2 และ 240 แล้ว โดยมีเจตนารมณ์ไม่เน้นบังคับให้โจทก์ต้องระบุชื่อเอกสารแต่ละฉบับหรือชื่อวัตถุแต่ละอันที่อยู่ในสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนไว้ในบัญชีระบุพยาน เพราะในคดีอาญาที่จำเลยไม่ให้การหรือให้การปฏิเสธ กฎหมายมีมาตรการให้มีการตรวจพยานหลักฐานโดยให้โจทก์ส่งเอกสารและวัตถุที่โจทก์จะอ้างเป็นพยานให้อีกฝ่ายตรวจสอบตามที่คู่ความร้องขอหรือศาลเห็นสมควรก่อนสืบพยานโจทก์ โดยมีวัตถุประสงค์ให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความรวดเร็วต่อเนื่องและเป็นธรรม ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะกำหนดให้มีวันตรวจพยานหลักฐานก่อนกำหนดวันนัดสืบพยานหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว กรณีจึงไม่จำต้องใช้ ป.วิ.พ. เรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานในคดีแพ่งมาใช้บังคับในคดีอาญานี้ตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 15 ดังนั้น ที่โจทก์อ้างบัญชีระบุพยานโจทก์ซึ่งไม่ใช่พยานบุคคลว่า "สรรพเอกสารและวัตถุพยานของกลางในสำนวนการสอบสวนคดีนี้" ก็เป็นการยื่นบัญชีระบุพยานโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ศาลชั้นต้นให้เลื่อนวันนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การจำเลย ตรวจพยานหลักฐานและกำหนดวันนัดสืบพยานเดิมไปเป็นนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การจำเลยและกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกวันตรวจพยานหลักฐานโดยปริยาย กรณีจึงตกอยู่ในบังคับของ ป.วิ.อ. มาตรา 240 ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลมิได้กำหนดให้มีวันตรวจพยานหลักฐานตามมาตรา 173/1 ซึ่งตามวรรคหนึ่งของมาตราดังกล่าว กำหนดให้คู่ความที่ประสงค์จะอ้างเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของตนเป็นพยานหลักฐาน ให้ยื่นพยานเอกสารนั้นต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสตรวจและขอคัดสำเนาเอกสารได้ก่อนที่จะนำสืบพยานเอกสารนั้นเว้นแต่ "...หรือศาลเห็นสมควรสั่งเป็นอย่างอื่นอันเนื่องจากสภาพและความจำเป็นแห่งเอกสารนั้น" การที่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวโดยจำเลยยอมรับต่อศาลชั้นต้นที่สอบจำเลยว่าไม่ติดใจตรวจสอบเอกสารของโจทก์แล้ว ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป โดยสอบคำให้การจำเลยและให้ฝ่ายจำเลยตรวจดูเอกสารและฝ่ายจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าว แล้วศาลชั้นต้นรับเอกสารไว้ โดยนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยต่อไป และศาลชั้นต้นได้ให้ฝ่ายจำเลยตรวจเอกสารดังกล่าวดูแล้ว โดยจำเลยไม่ต้องการสำเนา การที่ศาลชั้นต้นรับเอกสารดังกล่าวใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนั้น จึงเป็นอำนาจที่ศาลชั้นต้นกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันเนื่องมาจากสภาพและความจำเป็นแห่งเอกสารตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 240 วรรคหนึ่ง แล้ว
ศาลชั้นต้นให้เลื่อนวันนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การจำเลย ตรวจพยานหลักฐานและกำหนดวันนัดสืบพยานเดิมไปเป็นนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การจำเลยและกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกวันตรวจพยานหลักฐานโดยปริยาย กรณีจึงตกอยู่ในบังคับของ ป.วิ.อ. มาตรา 240 ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลมิได้กำหนดให้มีวันตรวจพยานหลักฐานตามมาตรา 173/1 ซึ่งตามวรรคหนึ่งของมาตราดังกล่าว กำหนดให้คู่ความที่ประสงค์จะอ้างเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของตนเป็นพยานหลักฐาน ให้ยื่นพยานเอกสารนั้นต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสตรวจและขอคัดสำเนาเอกสารได้ก่อนที่จะนำสืบพยานเอกสารนั้นเว้นแต่ "...หรือศาลเห็นสมควรสั่งเป็นอย่างอื่นอันเนื่องจากสภาพและความจำเป็นแห่งเอกสารนั้น" การที่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวโดยจำเลยยอมรับต่อศาลชั้นต้นที่สอบจำเลยว่าไม่ติดใจตรวจสอบเอกสารของโจทก์แล้ว ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป โดยสอบคำให้การจำเลยและให้ฝ่ายจำเลยตรวจดูเอกสารและฝ่ายจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าว แล้วศาลชั้นต้นรับเอกสารไว้ โดยนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยต่อไป และศาลชั้นต้นได้ให้ฝ่ายจำเลยตรวจเอกสารดังกล่าวดูแล้ว โดยจำเลยไม่ต้องการสำเนา การที่ศาลชั้นต้นรับเอกสารดังกล่าวใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนั้น จึงเป็นอำนาจที่ศาลชั้นต้นกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันเนื่องมาจากสภาพและความจำเป็นแห่งเอกสารตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 240 วรรคหนึ่ง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานโดยไม่ระบุเอกสารเฉพาะเจาะจง และการพิจารณาความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีพรากเด็กและกระทำชำเรา
พนักงานอัยการโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานโดยอันดับ 7 มิได้อ้างเอกสารเป็นแต่ละฉบับ เพียงระบุว่า บรรดาสรรพเอกสาร ซึ่งหมายถึงเอกสารหลายฉบับไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นเอกสารอะไร แต่ก็มีข้อความต่อไปว่า ในสำนวนการสอบสวนคดีนี้ จึงพอถือได้ว่าโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานโดยแสดงสภาพของเอกสารที่จะอ้างแล้ว จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารเป็นความผิดที่จำเลยมีเจตนากระทำต่อมารดาผู้เสียหายที่ 2 ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปี จำเลยมีเจตนากระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ดังนั้น เจตนาในการกระทำความผิดเป็นคนละเจตนาแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน แม้การกระทำของจำเลยไม่สามารถแยกการกระทำแต่ละขั้นตอนออกจากกันโดยเด็ดขาดก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารเป็นความผิดที่จำเลยมีเจตนากระทำต่อมารดาผู้เสียหายที่ 2 ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปี จำเลยมีเจตนากระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ดังนั้น เจตนาในการกระทำความผิดเป็นคนละเจตนาแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน แม้การกระทำของจำเลยไม่สามารถแยกการกระทำแต่ละขั้นตอนออกจากกันโดยเด็ดขาดก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานเอกสารในสำนวนคดี – ศาลรับฟังได้หากจำเลยมีสิทธิซักค้านและหักล้าง
แม้โจทก์จะมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเอกสารเป็นแต่ละฉบับ แต่ยื่นบัญชีระบุพยานระบุว่า บรรดาสรรพเอกสาร ซึ่งหมายถึงเอกสารหลายฉบับ โดยไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นเอกสารอะไรบ้างก็ตาม แต่ก็มีข้อความต่อไปว่า ในสำนวนการสอบสวนคดีนี้ จึงพอถือได้ว่าโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานโดยแสดงสภาพของเอกสารที่จะอ้างแล้ว เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย โดยพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้วตามที่ระบุในคำฟ้อง ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าเอกสารที่โจทก์ประสงค์อ้างส่งตามบัญชีระบุพยานดังกล่าวล้วนเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับการสอบสวนในคดีนี้ทั้งสิ้น โจทก์มีอำนาจนำพยานเอกสารดังกล่าว เข้าสืบได้ เมื่อจำเลยซึ่งถูกอ้างเอกสารดังกล่าวมายันย่อมซักค้านได้ และถ้าเห็นว่าเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไร ย่อมนำพยานที่เกี่ยวข้องมานำสืบหักล้างพยานเอกสารที่โจทก์นำเข้าสืบได้ มิได้ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีแต่อย่างไร การยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารที่โจทก์อ้างส่งตามบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้