คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประกันภัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 702 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยในสัญญาประกันภัยค้ำจุน และอายุความของหนี้ที่เกิดจากสัญญา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยหาได้ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดไม่ความรับผิดของจำเลยตามฟ้องจึงเกิดจากสัญญาประกันภัยค้ำจุนที่จำเลยทำกับผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของผู้ต้องเสียหายเข้าใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ต้องเสียหายซึ่งควรจะได้รับจากจำเลยแล้วย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้ต้องเสียหายฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยโดยตรงในนามของโจทก์เองได้ตามมาตรา880เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนดังกล่าวจึงนำอายุความละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448มาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์ได้ถอนคำฟ้องและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วย่อมถือว่าการถอนคำฟ้องนั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายและผลแห่งการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นและกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยอีกทั้งไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา176ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยให้รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880เมื่อผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยกับโจทก์มีสิทธิได้รับค่าเสียหายตั้งแต่วันทำละเมิดเพราะในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดตามมาตรา206เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยและรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยและเรียกเอาดอกเบี้ยได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามหรือเตือนให้จำเลยชำระหนี้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7159/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างผู้เสียหายกับผู้กระทำละเมิด ไม่กระทบความรับผิดของผู้รับประกันภัย
แม้โจทก์ผู้ได้รับความเสียหายจากการที่คนขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ชนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บและรถยนต์ของโจทก์เสียหายกับจำเลยที่ 1 จะได้ทำบันทึกข้อตกลงในเรื่องค่าสินไหมทดแทนต่อกันอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1ผู้เอาประกันภัยที่มีต่อโจทก์เปลี่ยนแปลงไปเป็นความรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ก็หาทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ก่อนแล้วตามกรมธรรม์ประกันภัยต้องเปลี่ยนแปลงหรือต้องระงับไปด้วยไม่ จำเลยที่ 2 จึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7063/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย: ความเสียหายต่อรถยนต์ของผู้จัดการห้างหุ้นส่วน
กรมธรรม์ประกันภัยระบุเงื่อนไขว่า จำเลยจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย และไม่คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้เก็บรักษา ควบคุมหรือครอบครองทรัพย์สินนั้น แต่รถยนต์คันเกิดเหตุที่จำเลยรับประกันภัยค้ำจุนไว้จากจำเลยร่วมเป็นของจำเลยร่วม แม้ว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยร่วม แต่จำเลยร่วมจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลย่อมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1015ดังนั้น จะถือว่าโจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยด้วยหาได้ไม่ ทั้งรถยนต์คันที่ได้รับความเสียหายเป็นของโจทก์ มิใช่เป็นทรัพย์สินของจำเลยร่วมผู้เอาประกันภัย หรือของบุคคลดังกล่าว กรณีจึงไม่อยู่ในเงื่อนไขเข้าข้อยกเว้นดังกล่าวที่จำเลยจะปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และเป็นเจ้าของรถยนต์คันที่จำเลยรับประกันภัยค้ำจุนชนได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดในสัญญาประกันภัย: ประมาทเลินเล่อร้ายแรงของผู้ปฏิบัติงาน
ตามสำเนาตารางกรมธรรม์ระบุว่า สัญญาประกันภัยรายนี้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เอาประกันภัย และ ป. เป็นผู้รับประโยชน์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้เป็นผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ อันจะทำให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิด หากวินาศภัยได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้างแรงของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 879 และจะแปลความหมายของคำว่า ผู้เอาประกันภัยตามมาตรา 879 วรรคหนึ่ง รวมถึงลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยด้วยก็ขัดกับคำนิยามของคำว่า "ผู้เอาประกันภัย" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 862 อีกทั้งตามตารางกรมธรรม์ดังกล่าวปรากฏว่า มีข้อยกเว้นที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยข้อ 2.3 คือความรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไว้หลายประการ แต่ไม่มีกรณีที่ลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงรวมอยู่ด้วย จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ เพราะเมื่อไม่มีข้อยกเว้นที่จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดทั้งตามบทบัญญัติของกฎหมายและตามสัญญาประกันภัย จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามตารางกรมธรรม์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัย: ลูกจ้างผู้เอาประกันภัยประมาทเลินเล่อ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยไม่ได้เป็นผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 862 และตามตารางกรมธรรม์ประกันภัย อีกทั้งข้อยกเว้นที่จำเลยที่ 3ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย ก็ไม่มีกรณีที่ลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงรวมอยู่ด้วย จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยในสัญญาประกันภัย กรณีลูกจ้างประมาทเลินเล่อ และการกำหนดค่าเสียหาย
ตามสำเนาตารางกรมธรรม์ระบุว่าสัญญาประกันภัยรายนี้จำเลยที่2เป็นผู้เอาประกันภัยและป. เป็นผู้รับประโยชน์จำเลยที่1จึงไม่ได้เป็นผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์อันจะทำให้จำเลยที่3ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดหากวินาศภัยได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้างแรงของจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา879และจะแปลความหมายของคำว่าผู้เอาประกันภัยตามมาตรา879วรรคหนึ่งรวมถึงลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยด้วยก็ขัดกับคำนิยามของคำว่า"ผู้เอาประกันภัย"ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา862อีกทั้งตามตารางกรมธรรม์ดังกล่าวปรากฎว่ามีข้อยกเว้นที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยข้อ2.3คือความรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไว้หลายประการแต่ไม่มีกรณีที่ลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงงานอยู่ด้วยจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่1ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่เพราะเมื่อไม่มีข้อยกเว้นที่จำเลยที่3ไม่ต้องรับผิดทั้งตามบทบัญญัติของกฎหมายและตามสัญญาประกันภัยจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามตารางกรมธรรม์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6617/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยค้ำจุนหลังผู้เอาประกันเสียชีวิต ศาลตัดสินเรื่องความรับผิดของบริษัทประกันภัยและค่าทนายความ
จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้โดยในกรมธรรม์ระบุวันทำสัญญาประกันภัยเป็นวันหลังจากที่ พ.ถึงแก่ความตาย แต่ระบุชื่อผู้เอาประกันคือ พ. หลังจาก พ.ถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.ได้ดำเนินกิจการแทน พ. และได้จ้าง อ.เป็นลูกจ้าง และในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย อ.ได้ขับรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเป็นเหตุให้เกิดการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองแม้ พ.ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนวันที่ทำสัญญาประกันภัยก็ตาม แต่เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้วจำเลยที่ 2 ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับการที่รถยนต์บรรทุกสินค้าที่รับประกันภัยไว้เสียหายตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ให้แก่จำเลยที่ 1 ไป จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.เป็นผู้ทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนกับจำเลยที่ 2 โดยตรงเหตุที่กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า พ.เป็นผู้เอาประกันภัยเป็นเรื่องผิดพลาดไป หรือเป็นการเข้าใจผิดของคู่กรณีเท่านั้น หาได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองมิได้ทำสัญญาประกันภัยต่อกันไม่ ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถที่รับประกันภัยไว้ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ได้
ปัญหาว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ขับรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้หรือไม่ และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเพียงใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 30,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 50,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในส่วนของโจทก์ที่ 1และที่ 2 แต่ละคนจึงไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แม้ศาลฎีกาจะเห็นว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ก็วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.กำหนดอัตราขั้นสูงในศาลชั้นต้นไว้ว่าทุนทรัพย์เกิน 25,000 บาท อัตราค่าทนายความในศาลชั้นต้นขั้นสูงร้อยละ 5 นั้น การกำหนดค่าทนายความดังกล่าวคิดจากทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้อง หาใช่คิดจากจำนวนที่ศาลพิพากษาให้ไม่ เพราะมิฉะนั้นแล้วหากศาลพิพากษายกฟ้องจะกำหนดค่าทนายความให้ไม่ได้เลย เมื่อทุนทรัพย์ตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 จำนวน 40,000 บาท และโจทก์ที่ 2 จำนวน 521,700 บาท การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดจำนวน 25,000 บาทจึงไม่เกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด แต่ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองรวมกันมาโดยไม่ได้แยกว่าให้ใช้แทนโจทก์คนไหนเท่าใดและให้จำเลยที่ 2 ร่วมใช้แทนด้วยทั้งหมดเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6617/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยค้ำจุน แม้ผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรมก่อนทำสัญญา แต่หากจ่ายค่าสินไหมทดแทนแล้ว ถือเป็นสัญญาที่ผูกพัน
จำเลยที่2ทำสัญญารับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้โดยในกรมธรรม์ระบุวันทำสัญญาประกันภัยเป็นวันหลังจากที่พ.ถึงแก่ความตายแต่ระบุชื่อผู้เอาประกันคือพ. หลังจากพ.ถึงแก่กรรมจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกของพ.ได้ดำเนินกิจการแทนพ. และได้จ้างอ.เป็นลูกจ้างและในระหว่างอายุสัญญาประกันภัยอ. ได้ขับรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเป็นเหตุให้เกิดการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองแม้พ. ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนวันที่ทำสัญญาประกันภัยก็ตามแต่เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้วจำเลยที่2ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับการที่รถยนต์บรรทุกสินค้าที่รับประกันภัยไว้เสียหายตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ให้แก่จำเลยที่1ไปจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกของพ. เป็นผู้ทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนกับจำเลยที่2โดยตรงเหตุที่กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่าพ.เป็นผู้เอาประกันภัยเป็นเรื่องผิดพลาดไปหรือเป็นการเข้าใจผิดของคู่กรณีเท่านั้นหาได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองมิได้ทำสัญญาประกันภัยต่อกันไม่ดังนี้เมื่อจำเลยที่2เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุโจทก์ทั้งสองจึงฟ้องให้จำเลยที่2รับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถที่รับประกันภัยไว้ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ได้ ปัญหาว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ขับรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่2รับประกันภัยไว้หรือไม่และจำเลยที่2ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเพียงใดเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่2ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ที่1จำนวน30,000บาทแก่โจทก์ที่2จำนวน50,000บาททุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในส่วนของโจทก์ที่1และที่2แต่ละคนจึงไม่เกิน50,000บาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งแม้ศาลฎีกาจะเห็นว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ก็วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย อัตราค่าทนายความตามตาราง6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกำหนดอัตราขั้นสูงในศาลชั้นต้นไว้ว่าทุนทรัพย์เกิน25,000บาทอัตราค่าทนายความในศาลชั้นต้นขั้นสูงร้อยละ5นั้นการกำหนดค่าทนายความดังกล่าวคิดจากทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องหาใช่คิดจากจำนวนที่ศาลพิพากษาให้ไม่เพราะมิฉะนั้นแล้งหากศาลพิพากษายกฟ้องจะกำหนดค่าทนายความให้ไม่ได้เลยเมื่อทุนทรัพย์ตามฟ้องของโจทก์ที่1จำนวน40,000บาทและโจทก์ที่2จำนวน521,700บาทการที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดจำนวน25,000บาทจึงไม่เกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดแต่ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองรวมกันมาโดยไม่ได้แยกว่าให้ใช้แทนโจทก์คนไหนเท่าใดและให้จำเลยที่2ร่วมใช้แทนด้วยทั้งหมดเป็นการไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6529/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนประกันภัยเกิดขึ้นตั้งแต่เกิดเหตุ แม้ซ่อมเสร็จหลังฟ้อง
รถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เพิ่งซ่อมเสร็จหลังจากโจทก์ที่1ฟ้องคดีแล้วแต่สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ที่1ในฐานะผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวมีต่อจำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยบังเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่วันเกิดเหตุดังนั้นโดยนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคหนึ่งโจทก์ที่1จึงชอบที่จะฟ้องเรียกดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินค่าสินไหมทดแทนเอาแก่จำเลยนับแต่วันฟ้องซึ่งเป็นวันในระหว่างเวลาที่จำเลยผิดนัดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6529/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนทางประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุ แม้ซ่อมรถไม่เสร็จ
รถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เพิ่งซ่อมเสร็จหลังจากโจทก์ที่1ฟ้องคดีแล้วแต่สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ที่1ในฐานะผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวมีต่อจำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยบังเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่วันเกิดเหตุดังนั้นโดยนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคหนึ่งโจทก์ที่1จึงชอบที่จะฟ้องเรียกดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินค่าสินไหมทดแทนเอาแก่จำเลยนับแต่วันฟ้องซึ่งเป็นวันในระหว่างเวลาที่จำเลยผิดนัดได้
of 71