คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประนีประนอมยอมความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 599 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องจำเลยนายจ้างร่วมรับผิดในละเมิดของลูกจ้าง และผลของการประนีประนอมยอมความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดด้วย อันเป็นการฟ้องจำเลยที่ 2 นายจ้างให้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างตามป.พ.พ. มาตรา 425 คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความหรือไม่ แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ก.อันทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาศาลก็จะพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ร่วมและการโอนสิทธิในที่ดินหลังประนีประนอมยอมความ
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาที่ว่า เมื่อโจทก์ทั้งสองชำระหนี้จำนองแทนจำเลยครึ่งหนึ่งก็ก่อให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิจะรับโอนที่ดินตามข้อตกลง เช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าหนี้ที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระหนี้จำนองครึ่งหนึ่งแทนจำเลยตามข้อตกลงดังกล่าวนั้นโจทก์ทั้งสองจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจะต้องชำระหนี้สิ้นเชิงอันถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 ดังนั้น การที่โจทก์ที่ 1 ชำระหนี้จำนองตามข้อตกลงย่อมมีผลเป็นการชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 2 ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 โดยเหตุนี้ แม้โจทก์ที่ 2 จะถอนคำฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ที่ 1ได้ชำระหนี้ตามข้อตกลงแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิรับโอนที่ดินจากจำเลยตามข้อตกลงได้ทันที
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ทั้งสองและจำเลยยอมรับผิดในหนี้จำนองคนละครึ่ง ฉะนั้นหนี้จำนองทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจำนวนครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นส่วนของโจทก์ทั้งสองที่โจทก์ทั้งสองยอมรับตามสัญญา ณ วันที่ 26 ธันวาคม2531 เป็นต้นไป จึงตกเป็นภาระแก่โจทก์ทั้งสอง ดอกเบี้ยที่เกิดจากยอดเงินในส่วนที่โจทก์ทั้งสองต้องรับผิด จึงตกเป็นภาระหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะต้องร่วมกันชำระจำเลยคงมีภาระที่จะต้องชำระดอกเบี้ยจำนองของยอดเงินในส่วนที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญานับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสองเป็นต้นไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประนีประนอมยอมความเรื่องหนี้จำนอง: การชำระหนี้แทนกันและสิทธิในการรับโอนที่ดิน
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาที่ว่าเมื่อโจทก์ทั้งสองชำระหนี้จำนองแทนจำเลยครึ่งหนึ่งก็ก่อให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิจะรับโอนที่ดินตามข้อตกลงเช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าหนี้ที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระหนี้จำนองครึ่งหนึ่งแทนจำเลยตามข้อตกลงดังกล่าวนั้นโจทก์ทั้งสองจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจะต้องชำระหนี้สิ้นเชิงอันถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา291ดังนั้นการที่โจทก์ที่1ชำระหนี้จำนองตามข้อตกลงย่อมมีผลเป็นการชำระหนี้แทนโจทก์ที่2ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา292โดยเหตุนี้แม้โจทก์ที่2จะถอนคำฟ้องแต่เมื่อโจทก์ที่1ได้ชำระหนี้ตามข้อตกลงแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วโจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิรับโอนที่ดินจากจำเลยตามข้อตกลงได้ทันที ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ทั้งสองและจำเลยยอมรับผิดในหนี้จำนองคนละครึ่งฉะนั้นหนี้จำนองทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจำนวนครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นส่วนของโจทก์ทั้งสองที่โจทก์ทั้งสองยอมรับตามสัญญาณวันที่26ธันวาคม2531เป็นต้นไปจึงตกเป็นภาระแก่โจทก์ทั้งสองดอกเบี้ยที่เกิดจากยอดเงินในส่วนที่โจทก์ทั้งสองต้องรับผิดจึงตกเป็นภาระหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะต้องร่วมกันชำระจำเลยคงมีภาระที่จะต้องชำระดอกเบี้ยจำนองของยอดเงินในส่วนที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญานับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสองเป็นต้นไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4339/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ กรณีจำเลยให้เช่าช่วงที่ดินขัดต่อเจตนารมณ์ของสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลพิพากษาตามยอม แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะมิได้ระบุโดยแจ้งชัดว่าห้ามจำเลยนำที่ดินพิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าช่วง แต่ก็ระบุว่าโจทก์ยอมให้จำเลยในฐานะผู้เช่าเดิมใช้ที่ดินพิพาทต่อไปได้อีกจนถึงวันที่ 1 มีนาคม 2539 ซึ่งหมายความว่าให้จำเลยเป็นผู้ใช้และจะส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์ในวันที่ 2 มีนาคม2539 แต่ก่อนครบกำหนดจำเลยกลับนำไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงใช้ที่ดินพิพาทแทน เป็นการประกอบกรรมอันเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรับภาระเพิ่มขึ้นจากสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยออกจากที่ดินพิพาทนั้นได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4247/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นผลระงับสิทธิเรียกร้องสินสมรส โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์สินอีก
กรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา199วรรคหนึ่งให้โอกาสจำเลยขออนุญาตยื่นคำให้การได้โดยมิได้กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนไว้เพียงแต่กำหนดว่าจำเลยจะต้องมาศาลเมื่อเริ่มต้นสืบพยานหรือแจ้งให้ศาลทราบก่อนเริ่มสืบพยานถึงเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การซึ่งจำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การก่อนวันสืบพยานโจทก์อันเป็นวันเริ่มต้นสืบพยานจำเลยย่อมมีสิทธิทำได้โดยชอบแม้ว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยจะเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายก็ตาม เมื่อจำเลยเพิ่งทราบเรื่องที่ถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่25ตุลาคม2536ประกอบกับจำเลยได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การต่อศาลในวันที่26ตุลาคม2536หลังจากทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเพียง1วันเท่านั้นพฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ในวันนัดชี้สองสถานโจทก์และจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าหลังจากจดทะเบียนหย่าแล้วโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งตรงกับทรัพย์สินที่โจทก์อ้างว่าเป็นสินสมรสตามฟ้องเมื่อข้อแถลงดังกล่าวให้ข้อเท็จจริงซึ่งมีสาระสำคัญเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้แล้วโดยไม่ต้องทำการสืบพยานโจทก์จำเลยอีกศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยได้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงที่เกี่ยวกับเรื่องบุตรและสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยโดยโจทก์จำเลยประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับสินสมรสที่มีอยู่หรือที่จะมีขึ้นต่อไปภายหน้าให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850จึงเป็นสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับสินสมรสซึ่งโจทก์ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปโจทก์คงได้สิทธิใหม่ตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวตามมาตรา852เท่านั้นโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์สินอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-ฟ้องซ้ำ: การพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ละเมิดกฎหมาย และข้อพิพาทไม่ซ้ำกับคดีอื่น
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันศาลชั้นต้นพิพากษาคดีตามยอมแล้วการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าฟ้องคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่600/2537ของศาลชั้นต้นเพราะเป็นมูลคดีพิพาทเดียวกันอันเกิดจากการรับซื้อทรัพย์พิพาททั้งสองคดีเหมือนกันและคดีดังกล่าวโจทก์ได้ฟ้องจำเลยไว้ก่อนคดีนี้และขณะฟ้องคดีนี้คดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นนอกจากนี้พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลอายาธนบุรีเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่813/2536ในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรโดยขอให้ศาลสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์จำนวน360,000บาทแก่โจทก์คดีนี้ด้วยและศาลอาญาธนบุรีอนุญาตให้โจทก์คดีนี้ในฐานะผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าวเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในที่สุดศาลอาญาธนบุรีได้พิพากษายกฟ้องโจทก์จึงถือได้ว่าศาลอาญาธนบุรีได้มีคำพิพากษาชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีในส่วนแพ่งสิ้นสุดเด็ดขาดแล้วฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำนั้นเป็นการอุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนกับคดีอื่นอันเป็นการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลชั้นต้นละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138(2)ซึ่งจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่600/2537ของศาลชั้นต้นโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมยี่ห้อจูกิ12เครื่องจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้ 4เครื่องและเครื่องตัดผ้าอุตสาหกรรม2เครื่องของโจทก์ที่ลูกจ้างของโจทก์นำไปขายให้แก่จำเลยซึ่งพนักงานสอบสวนยังไม่ได้ยึดคืนมาจากจำเลยส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้าของโจทก์อีก2เครื่องที่พนักงานสอบสวนยึดได้จากจำเลยเป็นของกลางแต่จำเลยได้ติดต่อขอรับคืนไปจากพนักงานสอบสวนในคดีอายาหมายเลขแดงที่4052/2536ภายหลังจากศาลอาญาธนบุรีพิพากษายกฟ้องแล้วจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า ในคดีนี้กับจักรพ้งอุตสาหกรรมในคดีแพ่งหมายเลขดำที่600/2537ของศาลชั้นต้นเป็นทรัพย์ต่างรายกันประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีไม่ใช่ประเด็นเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่600/2537ของศาลชั้นต้น คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ขึ้นใหม่ภายหลังจากที่ศาลอาญาธนบุรีพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่4052/2536แล้วโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า 2เครื่องในคดีนี้ที่พนักงานสอบสวนได้ยึดไว้เป็นของกลางนั้นเป็นของโจทก์แต่จำเลยยังติดต่อขอรับเอาจักรพ้งอุตสาหกรรมดังกล่าวไปจากพนักงานสอบสวนเป็นการกระทำต่างคราวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่4052/2536ของศาลอาญาธนบุรีในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรจักรพ้งอุตสาหกรรมดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10157/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีออกจากสารบบเนื่องจากมีการประนีประนอมยอมความระหว่างคู่ความ
ขณะคดีนี้อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาและจำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเสร็จไปแล้ว ฉะนั้นคดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ ๑ ว่าจะต้องรับคำให้การของจำเลยที่ ๑ หรือไม่ อีกต่อไป ให้จำหน่ายคดีเสียจากสารความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้เช็คสำเร็จเมื่อเงื่อนไขการขายทรัพย์มรดกเป็นไปตามตกลง
โจทก์จำเลยทำ ข้อตกลงกันแม้จะเรียกว่าเป็น หนังสือรับสภาพหนี้ แต่มีข้อสาระสำคัญว่าจำเลยยอมรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์และจะชำระหนี้ให้โจทก์เมื่อศาลตั้งผู้จัดการมรดกของ ถ. และผู้จัดการมรดกได้จำหน่ายทรัพย์มรดกแล้วโดยโจทก์ยอมถอนคำร้องทุกข์ในคดีเช็คพิพาทที่โจทก์ร้องทุกข์ไว้ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นกรณีที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องการระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเข้าลักษณะสัญญา ประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ ส่วนข้อตกลงระบุว่าจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อผู้จัดการมรดกได้จำหน่ายที่ดินทรัพย์มรดกเป็น เงื่อนไขบังคับก่อน แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะสำเร็จหรือไม่มิใช่ขึ้นอยู่กับจำเลยหรือสุดแล้วแต่ใจจำเลยหากแต่ขึ้นอยู่กับ ผู้จัดการมรดก ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นเรื่องวิธีการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวหาตกเป็น โมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา152(เดิม)ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8438/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จากการประนีประนอมยอมความ: การบังคับชำระหนี้จากกองมรดกเมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย
ป.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์มีใจความว่า ข้อ 2. ป.ยินยอมชดใช้เงินจำนวน 40,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ ข้อ 3.ป.จะจ่ายเงินจำนวน 40,000,000 บาทให้แก่โจทก์ เมื่อ ป. สามารถขายที่ดินโฉนดที่ 3837หรือที่ดินโฉนดเลขที่ 4211 ได้และได้รับเงินค่าที่ดินเรียบร้อยแล้ว หนี้ที่ ป.จะต้องชำระแก่โจทก์เกิดขึ้นแล้วตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.ส่วนข้อกำหนดที่ว่าจะชำระหนี้ต่อเมื่อขายที่ดินได้และได้รับเงินค่าที่ดินเรียบร้อยแล้ว เป็นเพียงข้อกำหนดในนิติกรรมอย่างหนึ่งอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรมจึงมิใช่ เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 เดิมและถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้ไว้เมื่อป.ถึงแก่ความตาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้จัดการมรดกของ ป. ให้ชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8438/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จากการประนีประนอมยอมความ แม้มีเงื่อนไข ยังถือเป็นหนี้ที่ทายาทต้องรับผิดชอบ
สัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า "2. ข้าพเจ้า ป.ยินยอมชดใช้เงินจำนวน 40,000,000 บาท ให้แก่ ศ.3.ข้าพเจ้าป. จะจ่ายเงินจำนวน 40,000,000 บาท ให้แก่ ศ. เมื่อข้าพเจ้าสามารถขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3837 พร้อมที่ดินติดต่อกันอันเป็นที่ตั้งของโรงแรม ร. หรือที่ดินโฉนดที่ 4211 ได้และได้รับเงินค่าที่ดินเรียบร้อยแล้ว" แสดงว่าหนี้ที่ ป.จะต้องชำระแก่ ศ. เกิดขึ้นแล้วตามสัญญาข้อ 2 ส่วนข้อกำหนดตามสัญญาข้อ 3 เป็นเพียงข้อกำหนดอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มิใช่เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 เดิม (มาตรา 182 ที่แก้ไขใหม่) หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวถือได้ว่าเป็นหนี้ที่มิได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้ไว้ เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้ฟ้องทายาทของลูกหนี้ให้ชำระหนี้ได้
of 60