พบผลลัพธ์ทั้งหมด 752 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5632/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอบเขตการรวมโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
เครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมตามความในมาตรา 4 และ 6 แห่งพระราชบัญญัติ วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 นั้น หมายถึงเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมที่มีสภาพสามารถใช้งานได้หรือชิ้นส่วนของเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมที่อาจนำมาประกอบเข้ากันแล้วสามารถใช้งานได้ จึงจะมีสภาพเป็นวิทยุคมนาคม และมีความผิดได้ หากเครื่องวิทยุคมนาคมนั้นตามสภาพแล้วชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้ตลอดไปก็ไม่มีสภาพเป็นวิทยุคมนาคมและไม่มีความผิด สำหรับเครื่องรับส่งวิทยุของกลางไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากมีการถอดอุปกรณ์ชิ้นส่วนในเครื่องออกเป็นเหตุขัดข้องชั่วคราว เมื่อประกอบอุปกรณ์ครบถ้วนก็สามารถใช้งานได้ จึงเป็นเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคม ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มาตรา 4 โทษจำคุกเมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วต้องไม่เกินกำหนดตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 บัญญัตินั้น ใช้บังคับในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมเกี่ยวพันกันและศาลพิจารณาพิพากษาเป็นคดีเดียวกัน หรือมีการรวมพิจารณาพิพากษาหลายคดีเข้าด้วยกันหรือมีการนับโทษต่อในกรณีที่จำเลยยังไม่พ้นโทษ จำเลยพ้นโทษคดีก่อนแล้วจึงถูกฟ้องคดีนี้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเรียกรับเงินเพื่อจูงใจเจ้าพนักงาน แม้ผลสำเร็จไม่เกิดขึ้น ก็ยังถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143
การที่จำเลยที่ 1 เรียกและรับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ไปจากผู้เสียหายเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาโดยวิธีอันทุจริต ให้กระทำการในหน้าที่โดยพิพากษาคดีให้เป็นคุณแก่ผู้เสียหายให้ผู้เสียหายชนะคดีในชั้นศาลฎีกานั้นครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แล้ว จำเลยที่ 1 จะได้ไปจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาให้กระทำการในหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ผู้เสียหายหรือไม่ หาใช่องค์ประกอบของความผิดไม่ ดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาไปก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้เรียกและรับเงินจากผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ย่อมไม่สามารถจะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ผู้เสียหายได้ทันก็ตาม ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพูดท้าทายชกต่อยเจ้าพนักงานสรรพสามิต ไม่ถือเป็นการดูหมิ่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 136
หลังจากผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานสรรพสามิตยึดสุราของจำเลยไปแล้ว จำเลยตามไปที่ห้องเปรียบเทียบปรับกรมสรรพสามิต จำเลยพูดกับผู้เสียหายว่าพวกมึงเก่งแต่จับเหล้าไปต่อยกับกูข้างนอกไหมเป็นคำกล่าวที่ไม่สุภาพและไม่สมควรเป็นการพูดเปรยขึ้นมาเพื่อประชดประชันผู้เสียหายโดยเจตนาท้าทายผู้เสียหายให้ออกไปชกต่อยกับจำเลยเท่านั้นหาใช่เป็นการเหยียดหยามดูหมิ่นผู้เสียหายไม่ จึงไม่ผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4290/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลพิจารณาเจตนาในการกระทำเพื่อลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยกับพวกไล่ชกผู้ตายจนถอยหลังตกคลอง เป็นเหตุให้ผู้ตายจมน้ำตาย การตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยกับพวกไล่ชกผู้ตาย การกระทำของจำเลยกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยทำร้ายผู้ตายโดยมิได้มีเจตนาฆ่าศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3852/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มลดโทษทางอาญา: การตีความ 'ส่วนของการเพิ่มและส่วนของการลด' ตามประมวลกฎหมายอาญา
คำว่า "ส่วนของการเพิ่มและส่วนของการลด" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 54 นั้น มิได้หมายถึงจำนวนของโทษที่คิดคำนวณแล้ว แต่เป็นส่วนที่ยังไม่ได้คิดคำนวณกรณีส่วนของการเพิ่มโทษคือกึ่งหนึ่งและส่วนของการลดคือหนึ่งในสาม ดังนี้ส่วนของการเพิ่มจึงมากกว่าส่วนของการลดแต่ศาลเห็นสมควรไม่เพิ่มไม่ลดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุกรุกทำอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายในเวลากลางคืน ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยบุกรุกเข้าไปจับแขน ขา หน้าอก และกอดจูบผู้เสียหายซึ่งนอนอยู่ในมุ้งภายในบ้าน ถือได้ว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายแล้วการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานบุกรุกเข้าไปกระทำอนาจารผู้เสียหายโดยใช้กำลังประทุษร้ายตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 279 วรรคสอง,364,365 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทลงโทษตามมาตรา 279 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยฐานจัดหาผู้กระทำการค้าประเวณี แม้ฟ้องไม่ชัดเจน เพราะความผิดรวมในประมวลกฎหมายอาญา
ความผิดตามพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503มาตรา 8 รวมอยู่ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283ด้วย และตามคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันเป็นธุระจัดหาผู้เสียหายให้ทำการค้าประเวณีโดยยอมรับการกระทำชำเราเพื่อสินจ้างกับชายอื่น อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 ซึ่งมีโทษหนักกว่าความผิดตามพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503มาตรา 8 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณีพ.ศ. 2503 มาตรา 8 ซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสามฐานจัดหาผู้กระทำการค้าประเวณีเพื่อผู้อื่นเป็นปกติธุระได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในกุฏิพระ: กุฏิเป็นเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(8)
คำว่า "กุฏิ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525หมายความว่า "เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่" ดังนั้นกุฏิพระจึงเป็นเพียงที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณรเท่านั้น จึงเป็น"เคหสถาน" ตามนัยมาตรา 1(4) แห่งประมวลกฎหมายอาญา และหาใช่สถานที่บูชาสาธารณะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(9) ด้วยไม่การลักทรัพย์ในบริเวณกุฏิพระ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจเติมข้อความเท็จในบันทึกจับกุมและเบิกความเท็จ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 161
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ทำการจับกุมโจทก์มีหน้าที่ทำและกรอกข้อความในบันทึกการจับกุม ได้ทำและกรอกข้อความลงในบันทึกการจับกุมนั้น โดยลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำบันทึกพร้อมทั้งให้โจทก์ในฐานะผู้ต้องหาลงลายมือชื่อจนเป็นเอกสารที่ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไปเขียนเติมข้อความอีกว่าสอบถามผู้ต้องหาแล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ซึ่งไม่เป็นความจริงจึงเป็นการเติมข้อความในเอกสารที่แท้จริง น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วนโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้นแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจับกุมผู้กระทำความผิดได้จับกุมโจทก์ในข้อหาปลอมเอกสาร แต่กรอกข้อความเพิ่มเติมลงในบันทึกจับกุมว่า สอบถามโจทก์แล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ทั้งที่ทราบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เพราะบันทึกการจับกุมดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ศาลอาจฟังลงโทษโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกความว่า "ข้าพเจ้าเข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานและขอจับกุมโดยแสดงหมายจับให้จำเลยที่ 1ดูด้วย ข้าพเจ้าแจ้งข้อหาจำเลยฐานปลอมเอกสารตามข้อความในหมายจับจำเลยให้การรับสารภาพ" ซึ่งเป็นความเท็จและเป็นข้อสำคัญในคดี โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าข้อที่จำเลยที่ 1 เบิกความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร ฟ้องโจทก์จึงขาดการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดเท่าที่จะทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในข้อหานี้ได้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มิได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตซักค้านพยานอันเป็นการโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างขึ้นมาในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทรัพย์สินราชการชำรุดโดยไม่มีเจตนาทุจริต และนำเงินซื้อทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ราชการ ทำให้ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
จำเลยขายซากเรือที่ชำรุดใช้การไม่ได้แล้วโดยเปิดเผยได้ราคาสูงกว่าราคาที่สำนักงานชลประทานที่ 7 เคยขาย เพียงแต่ไม่ได้ขออนุมัติ และได้รับอนุมัติให้ขายตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเท่านั้น ทั้งเมื่อขายได้เงินแล้ว จำเลยก็นำเงินจำนวนดังกล่าวซื้อรถตัดหญ้าราคาสูงกว่าเงินที่ได้จากการขายเรือให้แก่ทางราชการทันที แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ของทางราชการเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่น ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 จำเลยซื้อรถตัดหญ้ามาให้แก่ทางราชการและนำเรือพอนทูนลำใหม่มาใช้แทนเรือลำเก่าแล้ว กรมชลประทานจึงไม่เสียหายอีกต่อไป จำเลยจึงไม่ต้องคืนหรือใช้ราคาเรือพอนทูนแก่กรมชลประทานอีก