คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล: ประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 624
การที่บริษัทเดินเรือขนสินค้าจากประเทศอินเดียมายังท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นท่าเรือปลายทาง เป็นการรับขนของทางทะเล ซึ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609วรรคท้าย ให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้นปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลของประเทศไทยยังไม่มี ในเรื่องอายุความฟ้องร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าหรือสิ่งของที่ขนส่งทางทะเล ต้องนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา624 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในบรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 ว่าด้วยรับขนของ อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับคดีตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสามเมื่อปรากฏว่าผู้ซื้อสินค้าตามฟ้องหรือผู้รับตราส่งรับสินค้าไปเมื่อ พ.ศ. 2522 และ 2523 โจทก์รับช่วงสิทธิเรียกร้องมาจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับตราส่งมาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายและบุบสลายของสินค้าเมื่อวันที่23 สิงหาคม 2526 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 624.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6021/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข (ผิดนัดชำระค่างวด) ใช้บทบัญญัติทั่วไป 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
สัญญาซื้อขายที่กำหนดชำระราคาเป็นงวด และจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่างวดรวม 2 งวดติดต่อกันอันเป็นผลให้สัญญาสิ้นสุดลงตามเงื่อนไขแห่งสัญญาแล้วนั้น เมื่อโจทก์มาฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายโดยคิดตามจำนวนค่างวดที่จำเลยยังค้างชำระทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่สัญญาเลิกกัน ย่อมเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากการผิดสัญญา ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความการใช้สิทธิเรียกร้องไว้ต่างหาก จึงต้องใช้บทบัญญัติทั่วไปอันมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียกรรมสัญญาจ้างงาน, การคืนสภาพเดิม, ค่าเสียหายจากการทำงานที่กระทำไปแล้ว, และการปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยแจ้งปีเกิดตามหลักฐานที่ผิดโดยมีเจตนาปกปิดความจริงเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในคุณสมบัติของจำเลยตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518ทำให้โจทก์ยอมรับโอนจำเลยเข้าเป็นพนักงานของโจทก์ โดยที่ขณะนั้นจำเลยมีอายุเกินกว่าหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว ต่อมาโจทก์ทราบความจริงจึงเลิกจ้างจำเลย เช่นนี้ แม้การที่จะให้จำเลยคืนเงินค่าจ้างและเงินอื่นแก่โจทก์ ไม่เป็นการพ้นวิสัย แต่การงานที่จำเลยทำให้โจทก์ไปแล้วซึ่งเป็นประโยชน์แก่โจทก์ และโจทก์ยอมรับเอาการงานของจำเลยแล้วก็ต้องกลับคืนไปยังฐานะเดิมด้วยดุจกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคสาม เมื่อการที่จะให้การงานที่ทำไปแล้วกลับคืนยังฐานะเดิมเป็นการพ้นวิสัย โจทก์จึงต้องใช้ค่าเสียหายที่สมควรแก่หน้าที่การงานให้แก่จำเลย โดยถือว่าค่าจ้างและเงินอื่นตามฟ้องที่จำเลยได้รับไปแล้วเป็นค่าเสียหายจำนวนนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2965/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เงินกู้ และการนำสืบหลักฐานการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือ จะนำสืบการใช้เงินต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสอง การที่จำเลยโอนเงินทางโทรเลขเข้าบัญชีของโจทก์ไม่เข้าบทบัญญัติดังกล่าว แต่เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ จึงไม่อาจนำมาจำนำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ทรัพย์สินที่จำนำได้นั้นต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ แต่สิทธิการเช่าอาคารไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 101 จึงไม่อาจจำนำกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1529-1530/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเก็บรักษาสินค้าในโรงพักสินค้า ไม่ถือเป็นการรับฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ และไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายจากเพลิงไหม้
แม้การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยจะเป็นผู้ทำการเก็บรักษาสินค้า แต่ก็ปรากฏว่าการรับฝากสินค้า 3 วันแรก จำเลยไม่คิดค่าฝาก หากเจ้าของสินค้าไม่มารับสินค้านั้นภายใน 3 วัน จำเลยจะคิดค่าฝากในอัตราก้าวหน้า เพื่อเป็นการเร่งรัดให้เจ้าของสินค้ารีบนำสินค้าออกจากโรงพักสินค้าโดยเร็ว และการที่เจ้าของสินค้าฝากสินค้าดังกล่าวไว้ก็เพื่อรอผ่านพิธีทางศุลกากร เช่นนี้ การที่จำเลยรับทำการเก็บรักษาสินค้าก็เพื่อประโยชน์ของกรมศุลกากรในการเรียกเก็บภาษี หาใช่เพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตนไม่ จำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 770 จะนำมาตรา 772 ประกอบมาตรา616 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวมาบังคับแก่จำเลยหาได้ไม่
แม้เหตุที่เกิดเพลิงไหม้โรงพักสินค้าของจำเลยจะยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็ไม่ได้ความว่าเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่จำเลย เนื่องจากในวันเวลาเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ของจำเลยและกรมศุลกากรได้ร่วมกันปิดประตูโรงพักสินค้าตามระเบียบของจำเลยแล้ว เมื่อเกิดเพลิงไหม้ยามสายตรวจของจำเลยก็ได้วิทยุแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ มีรถดับเพลิง 2 คันมาช่วยดับเพลิง แต่ไม่อาจดับได้ทันท่วงทีเพราะเป็นเวลาปิดโรงพักสินค้าแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่อาจเปิดประตูโรงพักสินค้าที่เกิดเหตุได้โดยลำพัง จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรร่วมเปิดด้วย จึงไม่อาจเข้าไปดับให้ถึงต้นเพลิงหรือสกัดเพลิงที่กำลังลุกไหม้ในโรงพักสินค้าได้ พฤติการณ์เช่นนี้ เป็นการที่จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์ที่รับฝากเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้น ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 แล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในสินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้ต้องถูกไฟไหม้เสียหาย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสและมรดกก่อน/หลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, อายุความฟ้องร้อง
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า สินสมรสระหว่างนาย ห. และนาง ก. มีจำนวนเท่าใด ตกเป็นมรดกของนาง ก. 2 ใน 3 ส่วน คิดเป็นเงินเท่าใด ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ชัดแจ้งว่า ส่วนที่ตกเป็นส่วนแบ่งของนาย ห. เท่ากับ 1 ใน 3 ส่วน และสามารถคำนวณออกมาเป็นเงินได้โดยง่าย ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สามีภรรยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 การแบ่งสินสมรสต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68 ซึ่งกำหนดว่า ถ้าทั้งสองฝ่ายมีสินเดิมให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วน ชายได้ 2 ส่วน หญิงได้ 1 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์สินแทนผู้อื่นและการแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ผู้ครอบครองทรัพย์สินแทนผู้อื่นจะแย่งการครอบครองทรัพย์สินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ได้ก็ต่อเมื่อได้มีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา 1381 เสียก่อน
การที่ ห. ผู้ครอบครองที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ร.แทนทายาทของ ร. แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทแล้วต่อมาได้ขอและทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ ยังถือไม่ได้ว่า ห. ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินและบ้านพิพาทโดยบอกกล่าวไปยังทายาทของ ร. ว่าตนไม่มีเจตนาที่จะยึดถือที่ดินและบ้านพิพาทไว้แทนอีกต่อไป แต่การที่ ห. เอาที่ดินและบ้านพิพาททั้งหมดไปจำนองธนาคารในเวลาต่อมา แล้ว ส. ทายาทของ ร.ซึ่งเป็นสามีโจทก์ที่ 1 และบิดาโจทก์ที่ 2 ไปไถ่ถอนจำนองให้แล้วรับจำนองต่อเสียเองนั้น ถือได้ว่า ห. ได้บอกกล่าวโดยการกระทำต่อ ส. ตั้งแต่วันที่จำนองที่ดินและบ้านพิพาทกับ ส.แล้วว่า ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจากการยึดถือครอบครองแทน ส.เป็นการยึดถือครอบครองเพื่อตนเองซึ่งเข้าลักษณะแย่งการครอบครองเมื่อ ส. และโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ส. มิได้ฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์ประธานภายในกำหนด 1 ปี ตามมาตรา 1375 บ้านพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบก็ย่อมตกเป็นของ ห. ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาคืนที่ดินและบ้านพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสูงเกินส่วน ศาลลดค่าปรับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 383 แม้มีข้อตกลง
แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายกำหนดค่าปรับในกรณีที่ผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้แก่ผู้ซื้อไม่ถูกต้องภายในกำหนดสัญญาโดยผู้ขายยอมให้ปรับเป็นเงินร้อยละ 10 ของราคาสิ่งของทั้งหมดก็ตาม แต่ค่าปรับดังกล่าว ถ้าสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4392/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าต้องให้เวลาผู้เช่าอย่างน้อยหนึ่งเดือนหลังสิ้นเดือนค่าเช่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์จำเลยตกลงชำระค่าเช่าเป็นรายเดือนแต่ไม่ปรากฏวันที่ชำระค่าเช่าแน่นอนของแต่ละเดือน จึงต้องถือเอาวันสิ้นเดือนเป็นกำหนดชำระค่าเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 559
เมื่อไม่ได้กำหนดเวลาการเช่าไว้ โจทก์ผู้ให้เช่าต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาแก่จำเลยผู้เช่าให้รู้ตัวก่อนชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่าง น้อยคืออย่างน้อยหนึ่งเดือนนับแต่วันสิ้นเดือน โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าวันที่ 9 กุมภาพันธ์ จำเลยทราบคำบอกกล่าวเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ โจทก์จึงต้องให้เวลาจำเลยในเดือนมีนาคมเต็มเดือน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 11 มีนาคม จึงเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 การบอกเลิกการเช่าของโจทก์ไม่ชอบโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 42