คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป.วิ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเปลี่ยนแปลงตัวจำเลยเกินขอบเขตตาม ป.วิ.พ. การแก้ไขคำฟ้องต้องไม่เปลี่ยนตัวจำเลย
การแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาหรือข้ออ้างที่มีต่อจำเลย โดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มฟ้องเดิมให้บริบูรณ์มิใช่เป็นการเพิ่มหรือเปลี่ยนตัวจำเลย ซึ่งเป็นตัวบุคคลที่จะต้องระบุไว้แน่ชัดตามมาตรา 67 หากโจทก์ประสงค์จะให้บุคคลอื่นนอกจากบุคคลที่โจทก์ยื่นฟ้องเป็นจำเลยไว้ตามฟ้องเดิมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้แต่เดิมแล้วโจทก์ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกบุคคลนั้นเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยเดิมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) ที่โจทก์ฟ้องบริษัท ร.เป็นจำเลยที่ 3ในคดีนี้มาตั้งแต่แรกโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลนั้น แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องบุคคลธรรมดาเป็นจำเลยที่ 3 แต่ได้ฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยที่ 3 เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 15 เมษายน 2530 ขอแก้ไขคำฟ้องเปลี่ยนชื่อบริษัท ร. จำเลยที่ 3 เป็นบริษัท ร.หรือ ว. จำเลยที่ 3 โดยอ้างว่า คำว่าบริษัท ร.เป็นชื่อในทางการค้าหรือนามแฝงหรือฉายาของ ว. แล้วต่อมายื่นคำร้องลงวันที่ 15 มกราคม 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ชื่อจำเลยที่ 3จากบริษัท ร. หรือ ว.เป็น ว.นั้น เท่ากับเป็นการขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมมาเป็นฟ้องบุคคลธรรมดาเพิ่มเป็นจำเลยที่ 3 ด้วย แล้วขอแก้ไขคำฟ้องอีกครั้งหนึ่งโดยขอเปลี่ยนตัวจำเลยที่ 3 จากนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่เป็นเรื่องที่จะขอแก้ไขคำฟ้องได้เช่นนั้นตามนัยแห่งบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น โจทก์จึงขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนั้นไม่ได้ เมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องของโจทก์เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบแล้ว บรรดากระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับ ว. หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเช่นนั้นแล้ว รวมทั้งคำสั่งของศาลชั้นต้นลงวันที่ 8 มีนาคม 2531 ซึ่งสั่งให้จำหน่ายบริษัท ร.ออกจากสำนวนความ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ชอบที่ศาลจะเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 บริษัท ร.ตามฟ้องเดิมจึงยังคงมีฐานะเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้อยู่ และแม้บริษัท ร.มิได้ฎีกาขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาอื่นนอกจากคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 15 เมษายน 2530 และวันที่ 15 มกราคม 2531กับคำสั่งศาลชั้นต้นลงวันที่ 8 มีนาคม 2531 ที่ให้จำหน่ายบริษัท ร.ออกจากสำนวนความ แต่เมื่อกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการพิจารณาคดี ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 142 (5)ประกอบด้วยมาตรา 246, 247 ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับ ว.หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 15 เมษายน 2530 เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดในคดีแรงงาน: การนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับเมื่อ พ.ร.บ.แรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติไว้
กรณีขาดนัดที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานมาตรา 40,41 เป็นกรณีที่ศาลรับฟ้องแล้วสั่งให้คู่ความมาศาลในวันนัดตามมาตรา 37 เพื่อศาลจะได้ไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 หากตกลงกันไม่ได้จึงจะจดประเด็นข้อพิพาทตามมาตรา 39 และนัดสืบพยานโจทก์แต่กรณีที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานภายหลังจากนั้นพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติไว้เฉพาะต้องนำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 เพราะมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างชัดเจน
ฎีกาของจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องผิดพลาดอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2729/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำพิพากษาและการปฏิบัติตามเงื่อนไขการวางเงินประกันหรือชำระหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234
ผู้พิพากษาคนเดียวลงชื่อในคำสั่งไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์เป็นการชอบด้วย มาตรา 21(2) แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เพราะมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นโดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกคำร้องอุทธรณ์ของจำเลยได้ โดยไม่ต้องกำหนดวันเวลาให้จำเลยปฏิบัติเสียก่อน เพราะบทบัญญัติดังกล่าวบังคับผู้อุทธรณ์แต่เพียงผู้เดียวให้ต้องปฏิบัติ หาใช่เป็นหน้าที่ของศาลไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการบังคับคดีที่เกินกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง แม้ไม่ทราบวันขายทอดตลาด ก็ต้องยื่นคัดค้านก่อนบังคับคดีเสร็จ
จำเลยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง จำเลยต้องยื่นคำร้องคัดค้านก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันทราบการฝ่าฝืนนั้น แม้จะฟังได้ว่าจำเลยไม่ทราบวันขายทอดตลาดอันเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 306 ก็ตามแต่เมื่อจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านภายหลังจากการบังคับคดีได้เสร็จลงคำร้องของจำเลยจึงต้องห้ามตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อฉลในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและการอุทธรณ์ตามมาตรา 138 วรรคสอง ป.วิ.พ.
ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยใช้ราคารถยนต์ตามฟ้องกับค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่า หลังจากมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยติดต่อขอสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์เพื่อนำไปดำเนินการต่อทะเบียนรถยนต์ โจทก์ไม่ยอมให้ อ้างว่าต้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก่อน เมื่อถึงกำหนดต่อทะเบียน จำเลยจึงไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์คันพิพาทได้ ทำให้จำเลยประสบความยุ่งยากในการใช้รถยนต์ การที่โจทก์บอกปัดไม่ยอมส่งมอบคู่มือการจดทะเบีนรถยนต์ให้จำเลยเป็นการแสดงให้เห็นถึงการที่โจทก์ทำการฉ้อฉลให้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้ออ้างในอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวนี้ไม่มีข้ออ้างใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์หลอกลวงหรือปิดบังข้อเท็จจริงใดเพื่อให้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะทำให้เห็นว่าสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเกิดโดยการฉ้อฉลของโจทก์ อันเป็นเหตุที่จะอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 138 วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมาจึงเป็นการไม่ชอบ และจำเลยไม่อาจจะฎีกาต่อมาได้ตามนัยของมาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1713/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับพยานหลักฐานขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 90 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลมีอำนาจรับได้ตาม มาตรา 87(2)
ใบเสร็จรับเงินภาษีบำรุงท้องที่เป็นพยานหลักฐานสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยการครอบครองหรือไม่ แม้โจทก์จะมิได้ส่งให้แก่จำเลยซึ่งสำเนาเอกสารนั้นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงชอบที่จะให้รับเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตาม มาตรา 87(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบเนื่องจากประเด็นที่ยกขึ้นในชั้นฎีกา ไม่เคยถูกวินิจฉัยในศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
ที่โจทก์ฎีกาว่า ปลัดอำเภอไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง เจ้ามรดกไม่มีเจตนาทำพินัยกรรม พินัยกรรมจึงเป็นโมฆะนั้น แม้โจทก์จะได้เคยยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ซึ่งมีผลเท่ากับ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในประเด็นที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว แม้คดีเดิมยังไม่สิ้นสุด ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คดีเดิม จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้ขับไล่โจทก์ให้ออกจากที่ดินตามฟ้อง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าโจทก์อยู่ในที่ดินตามฟ้องโดยอาศัยสัญญาเช่าและไม่มีสิทธิครอบครอง การที่โจทก์มาฟ้องคดีหลังอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน และสัญญาเช่าเป็นโมฆะเท่ากับโจทก์ขอให้ศาลพิพากษาในประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วและคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6000/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการวางเงินหรือประกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 234 ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยได้.
of 27