พบผลลัพธ์ทั้งหมด 804 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4733/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนการใช้ท่าเรือ: ผลผูกพันและเงินชดเชยเมื่อไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
ก่อนที่จะทำบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง จำเลยเคยมีหนังสือร้องขอโจทก์ หลังจากนั้นมีการประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่บริหารของโจทก์และจำเลยเพื่อตกลงในรายละเอียด ที่ประชุมเห็นพ้องร่วมกันกับข้อความในร่างบันทึกดังกล่าว และกำหนดแนวทางปฏิบัติโดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม2531 บันทึกดังกล่าวก็ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2531 เช่นเดียวกัน กับมีข้อความเหมือนกับร่างบันทึกดังกล่าวทุกประการ แสดงว่าคู่กรณีต่างมีเจตนาตรงกัน จึงได้ทำความตกลงตามข้อความในบันทึกดังกล่าว บันทึกดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ ส่วนการที่มีเพียงจำเลยฝ่ายเดียวลงชื่อในบันทึก หาทำให้ข้อตกลงตามบันทึกใช้บังคับไม่ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขและข้อตกลงในบันทึกเป็นการต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน เมื่อฝ่ายโจทก์ได้จัดให้จำเลยใช้ท่าเรือดังที่ระบุไว้ในบันทึกแล้ว จำเลยย่อมต้องผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกนั้น แม้โจทก์จะมิได้ลงชื่อในบันทึกก็ตาม สัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีนี้เกิดขึ้นแล้ว เพราะเป็นที่แน่ชัดว่าทั้งโจทก์จำเลยได้ตกลงกันในสาระสำคัญหมดทุกข้อ ถือว่ามีสัญญาต่อกันแล้ว หาได้มีกรณีเป็นที่สงสัยดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 ไม่
การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยหมายถึงลูกหนี้ไม่อาจปฏิบัติการชำระหนี้ได้เลย แต่ในกรณีของจำเลยปรากฏว่ามีบริษัทอื่นสามารถขนถ่ายสินค้าได้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ จึงหาใช่กรณีที่ไม่อาจปฏิบัติได้อันเป็นการพ้นวิสัยไม่ความสามารถในการขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกลุ่มเรือแต่ละกลุ่มเมื่อจำเลยไม่สามารถขนถ่ายตู้สินค้าได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินชดเชยการใช้ท่าจากจำเลยได้ตามข้อตกลงในบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง
ตามบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง ข้อ 4.1 ระบุว่าหากจำเลยขนถ่ายตู้สินค้าเข้า-ออกได้ไม่เท่าจำนวนปีละ 144,000 ทีอียู จำเลยจะต้องจ่ายเงินชดเชยการใช้ท่าให้แก่โจทก์ โดยคิดเมื่อครบรอบ 1 ปี หรือเมื่อโจทก์มีคำสั่งยกเลิกการใช้ท่าเพราะเห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามข้อตกลงต่อไปได้และข้อ 4.3 ระบุว่าหากจำเลยประสงค์จะเลิกการใช้ท่า ให้แจ้งแก่โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 3 วัน และหากขนถ่ายตู้สินค้าไม่ได้ตามเกณฑ์ในข้อ 4.1ให้คิดเงินชดเชยโดยถือวันสุดท้ายที่เรือของจำเลยออกจากท่าเป็นวันรวมเวลาคำนวณจำนวนตู้ ตามบันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดไว้ ข้อตกลงจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อได้มีการบอกเลิกของคู่กรณีดังที่กำหนดไว้ ส่วนระยะเวลา 1 ปีที่ระบุไว้ในข้อ 4.1 เป็นเพียงการกำหนดให้มีการคิดเงินชดเชยกันเมื่อครบรอบ 1 ปีแล้วเท่านั้น หาใช่เงื่อนเวลาสิ้นสุดของข้อตกลงตามบันทึกไม่
การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยหมายถึงลูกหนี้ไม่อาจปฏิบัติการชำระหนี้ได้เลย แต่ในกรณีของจำเลยปรากฏว่ามีบริษัทอื่นสามารถขนถ่ายสินค้าได้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ จึงหาใช่กรณีที่ไม่อาจปฏิบัติได้อันเป็นการพ้นวิสัยไม่ความสามารถในการขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกลุ่มเรือแต่ละกลุ่มเมื่อจำเลยไม่สามารถขนถ่ายตู้สินค้าได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินชดเชยการใช้ท่าจากจำเลยได้ตามข้อตกลงในบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง
ตามบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง ข้อ 4.1 ระบุว่าหากจำเลยขนถ่ายตู้สินค้าเข้า-ออกได้ไม่เท่าจำนวนปีละ 144,000 ทีอียู จำเลยจะต้องจ่ายเงินชดเชยการใช้ท่าให้แก่โจทก์ โดยคิดเมื่อครบรอบ 1 ปี หรือเมื่อโจทก์มีคำสั่งยกเลิกการใช้ท่าเพราะเห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามข้อตกลงต่อไปได้และข้อ 4.3 ระบุว่าหากจำเลยประสงค์จะเลิกการใช้ท่า ให้แจ้งแก่โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 3 วัน และหากขนถ่ายตู้สินค้าไม่ได้ตามเกณฑ์ในข้อ 4.1ให้คิดเงินชดเชยโดยถือวันสุดท้ายที่เรือของจำเลยออกจากท่าเป็นวันรวมเวลาคำนวณจำนวนตู้ ตามบันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดไว้ ข้อตกลงจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อได้มีการบอกเลิกของคู่กรณีดังที่กำหนดไว้ ส่วนระยะเวลา 1 ปีที่ระบุไว้ในข้อ 4.1 เป็นเพียงการกำหนดให้มีการคิดเงินชดเชยกันเมื่อครบรอบ 1 ปีแล้วเท่านั้น หาใช่เงื่อนเวลาสิ้นสุดของข้อตกลงตามบันทึกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4721/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำวินิจฉัยพินัยกรรมปลอมในคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และการวินิจฉัยประเด็นสำคัญที่ศาลอุทธรณ์ละเลย
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพินัยกรรมเป็นพินัยกรรมปลอม แต่จำเลยที่2ใช้พินัยกรรมดังกล่าวแสดงต่อพนักงานที่ดินในการจดทะเบียนโอนที่ดินแทนจำเลยที่1พยานหลักฐานโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2รู้ว่าเป็นพินัยกรรมปลอมจึงพิพากษายกฟ้องนั้นแม้ศาลพิพากษายกฟ้องแต่ข้อเท็จจริงที่ว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่หากไม่ได้รับการวินิจฉัยโดยศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมย่อมถึงที่สุดหากมีการดำเนินคดีแพ่งระหว่างคู่ความศาลอาจจำต้องถือข้อเท็จจริงว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมีผลต่อส่วนได้เสียของจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินนั้นต่อจากจำเลยที่1ดังนั้นการที่จำเลยที่2อุทธรณ์ว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมที่แท้จริงจึงเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4444/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าคดี: ผลผูกพันตามคำท้า หากโจทก์เบิกความยืนยันการมอบอำนาจ จำเลยต้องเป็นฝ่ายแพ้
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากโจทก์เบิกความว่าได้มอบอำนาจให้อ. ฟ้องคดีนี้จำเลยยอมแพ้ แต่หากโจทก์เบิกความว่าไม่ได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีนี้โจทก์ยอมแพ้ โดยคู่ความไม่ติดใจสืบพยานหลักฐานอื่น เมื่อโจทก์ได้เบิกความตอบศาลว่า "ข้าพเจ้าได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีนี้จริง" ซึ่งตรงตามคำท้ากันแล้ว จำเลยต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า จำเลยอุทธรณ์และฎีกาแต่เพียงขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ชั้นละ 200 บาทตามตาราง 1(2)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดตัวแทน การให้สัตยาบัน และผลผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่ดิน
จำเลยที่1เป็นมารดาของจำเลยที่2จำเลยที่1ได้เคยขายบ้านซึ่งจำเลยที่2มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วยแม้จำเลยที่2จะเบิกความว่าไม่ได้รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่1ขายบ้านดังกล่าวแต่เมื่อจำเลยที่2ทราบเรื่องขายบ้านแล้วก็มิได้ดำเนินการใดๆถือเป็นการยอมรับการจัดการของจำเลยที่1และในการจัดการดูแลรวมทั้งการขายที่ดินพิพาทจำเลยที่2ก็ปล่อยให้เป็นภาระการจัดการของจำเลยที่1โดยลำพังพฤติการณ์ของจำเลยที่2เช่นนี้เป็นการแสดงออกที่มีผลให้ผู้อื่นที่เกี่ยวข้องเข้าใจและรับรู้ถึงอำนาจการจัดการของจำเลยที่1เป็นการเชิดจำเลยที่1ให้กระทำการแทนจำเลยที่2โดยออกหน้าเสมือนเป็นตัวการแม้ในสัญญาซื้อขายที่ดินจะมิได้ระบุว่าจำเลยที่1ได้กระทำไปในฐานะตัวแทนจำเลยที่2ก็ตามแต่จากพฤติการณ์ที่จำเลยที่1และที่2ปฏิบัติแสดงออกดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความเข้าใจว่าจำเลยที่1ทำการแทนจำเลยที่2โดยออกหน้าเป็นตัวการตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา806นอกจากนี้ยังได้ความว่าจำเลยที่2ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทที่ได้รับจากโจทก์และมอบให้จำเลยที่1รับเงินตามเช็คไปแสดงชัดว่าเป็นการยอมรับผลแห่งสัญญาซื้อขายที่ดินที่จำเลยที่1เป็นผู้กระทำการแทนโดยออกหน้าเป็นตัวการถือได้ว่าจำเลยที่2เป็นตัวการที่มิได้เปิดเผยชื่อนั้นได้กลับแสดงตนให้ปรากฎและเข้ารับเอาสัญญาที่ตัวแทนได้ทำแทนตนนั้นแล้วทั้งยังมีผลเป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่1อีกด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา823จำเลยที่2จึงต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับห้างหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด และผลผูกพันจากการลงลายมือชื่อในเช็ค
ข้อบังคับของจำเลยที่1กำหนดว่าการทำนิติกรรมใดๆต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราของจำเลยที่1การที่จำเลยที่2ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทแต่ผู้เดียวจึงไม่ถูกต้องถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา900แม้จำเลยที่2จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ด้วยคนหนึ่งแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่1ได้เชิดจำเลยที่2ออกเป็นตัวแทนทั้งมิได้มีการนำเงินที่ได้จากการสั่งจ่ายเช็คพิพาทมาใช้ในกิจการของจำเลยที่1อันจะถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่2และมีผลผูกพันจำเลยที่1ดังนี้จำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องและผลกระทบต่อคู่ความภายนอก: ศาลไม่อาจบังคับคดีกับผู้ที่ถูกถอนฟ้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 เมื่อโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2แล้ว การถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย มีผลทำให้ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2เป็นอันยุติและจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาอีกต่อไป แต่กลับเป็นบุคคลภายนอก ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคสอง ทั้งคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนนิติกรรมก็มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สิน จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2)ที่จะมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญา ผู้ที่ไม่ได้ตกลงไม่ผูกพัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายขอให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้วคู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่าจำเลยยอมขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังนี้ผู้ร้องทั้งสามจะเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่ก็ตามเมื่อผู้ร้องทั้งสามมิได้ถูกฟ้องและมิได้ตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยโจทก์ย่อมไม่อาจอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมมาบังคับแก่ผู้ร้องทั้งสามกรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาจะซื้อขายหลังผู้จะซื้อเสียชีวิต: สิทธิเรียกร้องของกองมรดกต่อคู่สัญญา
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิมอบอำนาจให้ทนายความทำหนังสือแจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านพิพาท และตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่าง พ.กับจำเลยระบุว่า คู่สัญญาจะต้องไปจดทะเบียนซื้อขายที่ดินในวันที่ 19 สิงหาคม 2535 เมื่อถึงกำหนดนัด พ.ไม่ไปตามนัดจึงเป็นฝ่ายผิดนัด คำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัด ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ จึงเป็นการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ผิดจากข้อเท็จจริงในสำนวน
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทตรงประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การ แม้จะไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ได้คัดค้านภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นสั่งกำหนดประเด็น ตามป.วิ.พ.มาตรา 183 วรรคสี่ ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสัญญาระหว่าง พ.กับจำเลย กำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในวันที่ 19 สิงหาคม 2535 พ.ถึงแก่ความตายก่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ดังนั้น สิทธิการรับโอนกรรมสิทธิ์และหน้าที่การชำระเงินที่เหลือของที่ดินและบ้านพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวย่อมเป็นกองมรดกของ พ.ผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1600 การเรียกร้องสิทธิของจำเลยในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกต้องบังคับต่อทายาทหรือผู้จัดการมรดก การที่จำเลยมีหนังสือนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแจ้งให้ พ.ไปดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามสัญญาหลังจาก พ.ถึงแก่ความตายแล้ว จึงย่อมไม่มีผลบังคับสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงยังมีผลผูกพันกันอยู่ระหว่างจำเลยกับทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
แม้โจทก์จะไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลย แต่โจทก์ก็ดำเนินการในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยในฐานะคู่สัญญากับ พ.ปฏิบัติตามสัญญาได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทตรงประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การ แม้จะไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ได้คัดค้านภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นสั่งกำหนดประเด็น ตามป.วิ.พ.มาตรา 183 วรรคสี่ ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสัญญาระหว่าง พ.กับจำเลย กำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในวันที่ 19 สิงหาคม 2535 พ.ถึงแก่ความตายก่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ดังนั้น สิทธิการรับโอนกรรมสิทธิ์และหน้าที่การชำระเงินที่เหลือของที่ดินและบ้านพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวย่อมเป็นกองมรดกของ พ.ผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1600 การเรียกร้องสิทธิของจำเลยในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกต้องบังคับต่อทายาทหรือผู้จัดการมรดก การที่จำเลยมีหนังสือนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแจ้งให้ พ.ไปดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามสัญญาหลังจาก พ.ถึงแก่ความตายแล้ว จึงย่อมไม่มีผลบังคับสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงยังมีผลผูกพันกันอยู่ระหว่างจำเลยกับทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
แม้โจทก์จะไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลย แต่โจทก์ก็ดำเนินการในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยในฐานะคู่สัญญากับ พ.ปฏิบัติตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับเงื่อนไขรัฐวิสาหกิจที่ดีมีผลผูกพันตลอดสัญญา - เงินบำเหน็จ
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจยอมรับการปรับเงินเดือนตามโครงการรัฐวิสาหกิจที่ดีโดยวิธีเอาค่าจ้างอัตราสุดท้ายของโจทก์เดือนละ27,860บาทคูณด้วยจำนวนปีอายุการทำงานเป็นเงินบำนาญที่โจทก์จะได้เท่ากับโจทก์ยอมรับปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีตามคำให้การของจำเลยแล้วโจทก์จะเลือกยอมรับมติคณะรัฐมนตรีเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการปรับเงินเดือนของโจทก์โดยไม่ยอมรับส่วนที่เกี่ยวกับวิธีคำนวณเงินบำเหน็จของโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองระงับเมื่อชำระหนี้ & การใช้หนี้แทนลูกหนี้ก่อให้เกิดผลผูกพัน
โจทก์ทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเมื่อโจทก์ได้ใช้เงินแก่จำเลยครบถ้วนตามสัญญาจำนองแล้ว หนี้ตามสัญญาจำนองที่โจทก์มีต่อจำเลยจึงเป็นอันระงับสิ้นไป สัญญาจำนองที่โจทก์ทำไว้แก่จำเลยย่อมระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (1) จำเลยจึงมีหน้าที่ไปขอจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินดังกล่าว
โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยขอมอบที่ดินให้จำเลยทำการแทนในการซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นการชำระหนี้บางส่วนของ พ. จึงเป็นกรณีที่โจทก์สมัครใจเข้ามาใช้หนี้ของ พ.ลูกหนี้โจทก์แทน พ.โดยยอมให้จำเลยขายที่ดินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ ย่อมก่อให้เกิดผลผูกพันโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินตามฟ้องไว้จนกว่าความรับผิดในหนี้ของ พ.จะสิ้นไป
โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยขอมอบที่ดินให้จำเลยทำการแทนในการซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นการชำระหนี้บางส่วนของ พ. จึงเป็นกรณีที่โจทก์สมัครใจเข้ามาใช้หนี้ของ พ.ลูกหนี้โจทก์แทน พ.โดยยอมให้จำเลยขายที่ดินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ ย่อมก่อให้เกิดผลผูกพันโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินตามฟ้องไว้จนกว่าความรับผิดในหนี้ของ พ.จะสิ้นไป