พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเพื่อกิจการครอบครัว สินสมรสผูกพัน
การที่จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีโดยจำนองทรัพย์พิพาทเป็นประกันต่อโจทก์ก็เพื่อนำเงินมาใช้ในกิจการค้าพืชไร่ของจำเลยผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาของจำเลยให้ความยินยอมเป็นหนังสือกิจการค้าของจำเลยเป็นสิ่งจำเป็นในครอบครัวจำเลยเพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตลอดถึงการรักษาพยาบาล เมื่อมีหนี้เกิดขึ้นจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490(1) และผูกพันทรัพย์พิพาทอันเป็นสินสมรส ผู้ร้องหามีสิทธิขอกันส่วนในทรัพย์พิพาทไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องเพิ่มข้อหาขับรถประมาทจนผู้อื่นถึงแก่ความตาย และการรับสารภาพที่ผูกพันตามกฎหมาย
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ระหว่างพิจารณา โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า ผู้เสียหายถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการขับรถโดยประมาทของจำเลย ขอให้ลงโทษฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 โดยมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนเพิ่มเติมมาท้ายฎีกาด้วยว่า เมื่อโจทก์ทราบว่าผู้เสียหายถึงแก่ความตายอันเป็นผลสืบเนื่องจากการขับโดยประมาทของจำเลย โจทก์ได้มีหนังสือลงวันที่ 10 มกราคม 2534 และแจ้งข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเพิ่มเติมจากที่ได้ทำการสอบสวนไว้แล้วแก่จำเลย และจำเลยได้ทราบข้อหาแล้วปรากฏตามบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมลงวันที่ 15 มกราคม 2534 กรณีจึงมีเหตุอันควร โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ได้ และศาลมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดตามฟ้องดังกล่าวข้างต้นแล้วจำเลยจะฎีกาว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคประจำตัว มิใช่เกิดจากการขับรถโดยประมาทของจำเลย ทั้งจำเลยมิได้ขับรถโดยประมาท แต่เหตุเกิดขึ้นเพราะความผิดของฝ่ายผู้ตายเองหาได้ไม่เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพไว้แล้ว ทั้งยังเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดตามฟ้องดังกล่าวข้างต้นแล้วจำเลยจะฎีกาว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคประจำตัว มิใช่เกิดจากการขับรถโดยประมาทของจำเลย ทั้งจำเลยมิได้ขับรถโดยประมาท แต่เหตุเกิดขึ้นเพราะความผิดของฝ่ายผู้ตายเองหาได้ไม่เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพไว้แล้ว ทั้งยังเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้มีผลผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อ ศาลลดดอกเบี้ยเบี้ยปรับได้
จำเลยตกลงทำหนังสือรับสภาพหนี้ยินยอมใช้ค่าเสียหายให้โจทก์แสดงว่าจำเลยมีเจตนาผูกพันตามนั้น จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าเสียหายให้โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้ ส่วนดอกเบี้ยที่กำหนดตามหนังสือรับสภาพหนี้ถือเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้า ศาลมีอำนาจลดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีอาญาผูกพันคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกัน ประเด็นความประมาทเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้
คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในมูลละเมิด เป็นการกระทำเดียวกันกับคดีอาญาที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในข้อหาความผิดต่อชีวิต ประมาท และก่อให้เกิดเพลิงไหม้ การที่จำเลยที่ 1ที่ 2 ในคดีแพ่ง ยื่นคำร้องขออ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 4531/2532 ของคดีอาญาดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในชั้นฎีกา เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแพ่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2528 ส่วนคำพิพากษาฎีกาที่ 4531/2532 ได้อ่านให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2533 จำเลยที่ 1ที่ 2 ในคดีแพ่ง จึงไม่อาจอ้าง คำพิพากษาฎีกาดังกล่าวได้ก่อนนั้น และปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้เคยยื่นคำร้องขออ้างคำพิพากษาฎีกาที่4531/2532 ต่อศาลอุทธรณ์ มาแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งอย่างใดดังนี้เห็นว่า คำพิพากษาฎีกาที่ 4531/2532 เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็น ในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกามีอำนาจรับ พยานหลักฐานดังกล่าวเข้าสู่สำนวนความในชั้นฎีกาได้ พนักงานอัยการเคยเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญากล่าวหาจำเลยที่ 2 เป็นจำเลย ว่ากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ ซึ่งมี มูลคดีเป็นการกระทำเดียวกันกับคดีแพ่งมาก่อน คดีของโจทก์ใน คดีแพ่งจึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อผลของคำพิพากษา คดีส่วนอาญา มีคำวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 มิได้กระทำประมาท เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้และคดีถึงที่สุดไปแล้ว ข้อเท็จจริง ดังกล่าวศาลในคดีส่วนแพ่งจึงต้องถือตามที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 บัญญัติไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงให้ผลคดีหนึ่งผูกพันอีกคดีหนึ่ง ต้องรอผลคดีถึงที่สุด
คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาในคดีอื่นที่เกี่ยวพันกันเป็นข้อแพ้ชนะในคดีนี้ โดยมิได้ระบุว่าผลคำพิพากษาคดีดังกล่าวหมายถึงผลคำพิพากษาศาลชั้นต้นเท่านั้น จึงเป็นที่เห็นได้ว่าคู่ความมุ่งประสงค์ที่จะผูกพันกันตามคำพิพากษาที่มีผลบังคับกันได้โดยเด็ดขาด ซึ่งหมายถึงผลคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้ว ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาก็ตาม มิใช่ผลคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การอุทธรณ์และการบังคับคดี หากไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์แล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน
หากโจทก์เห็นว่าข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมนั้นไม่ถูกต้อง ก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 เมื่อโจทก์ ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นคดีใหม่ได้อีก การบังคับคดีเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นต้องว่ากล่าวกันในคดีที่มีคำพิพากษาตามยอม ไม่มีอำนาจมาฟ้องบังคับเป็นคดีใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของตัวแทนที่ผูกพันนายจ้าง แม้ไม่มีตราสำคัญ หากมีการให้สัตยาบันและการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำสัญญาเช่าตึกพิพาทจากโจทก์โดยมิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในตึกพิพาท ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 กระทำไปในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้สัตยาบันแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6182/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: สิทธิครอบครองที่ดิน
การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เมื่อในคดีส่วนอาญา ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แม้โจทก์จะอุทธรณ์แต่ศาลชั้นต้นก็สั่งไม่รับอุทธรณ์เฉพาะในคดีส่วนอาญา เพราะเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย โจทก์ก็มิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นคดีส่วนอาญาจึงถึงที่สุด ดังนั้น ในคดีส่วนแพ่งย่อมต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเช่นเดียวกับในคดีส่วนอาญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6104/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุคคลภายนอกจากสัญญาประนีประนอม สัญญาฉบับหลังไม่ผูกพันโจทก์
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และนายอรุณทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงเลิกห้างจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้สิทธิในทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 กับต้องชำระหนี้ภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ทั้งหมดรวมทั้งหนี้ภาษีอากรในคดีนี้ สัญญาฉบับแรกนี้จึงเป็นสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ภาษีอากรจากจำเลยที่ 3 โดยตรงได้ เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 จึงเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว
สิทธิของบุคคลภายนอกจะถูกเปลี่ยนแปลงหรือระงับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 375นั้น จะต้องกระทำโดยคู่สัญญาทุกฝ่าย แต่สัญญาฉบับหลังที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและนายอาภรณ์ผู้ชำระบัญชีฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 3 อีกฝ่ายหนึ่งได้ทำขึ้นเพื่อยกเลิกสัญญาฉบับแรกนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและนายอรุณมิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาฉบับหลัง สัญญาฉบับหลังจึงไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งได้เกิดมีขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 แล้ว
สิทธิของบุคคลภายนอกจะถูกเปลี่ยนแปลงหรือระงับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 375นั้น จะต้องกระทำโดยคู่สัญญาทุกฝ่าย แต่สัญญาฉบับหลังที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและนายอาภรณ์ผู้ชำระบัญชีฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 3 อีกฝ่ายหนึ่งได้ทำขึ้นเพื่อยกเลิกสัญญาฉบับแรกนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและนายอรุณมิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาฉบับหลัง สัญญาฉบับหลังจึงไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งได้เกิดมีขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5878/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิในสัญญาค้ำประกันและการผูกพันในหนี้ทั้งหมดของผู้ค้ำประกัน
ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ค้ำประกันหาหลักประกันมาวางเพิ่มขึ้นอีก70,000 บาท ผู้ค้ำประกันได้นำ น.ส.3 ก. มาวางศาลเมื่อวันที่7 กรกฎาคม 2530 แต่ต่อมาวันที่ 13 กรกฎาคม 2530 ผู้ค้ำประกันยอมทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลชั้นต้นระบุว่า หากจำเลยทั้งสองแพ้คดีโจทก์และไม่นำเงินมาชำระให้ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด ผู้ค้ำประกันยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์ที่ผู้ค้ำประกันได้นำมาวางไว้เป็นประกันต่อศาล และเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2531ผู้ค้ำประกันได้ยื่นคำร้องขอถอนหลักทรัพย์คืน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้คืนได้โดยให้วางเงินเท่าจำนวนหลักทรัพย์จำนวน 123,574.50 บาทซึ่งผู้ค้ำประกันก็ยินยอมปฏิบัติตาม ตามพฤติการณ์ที่แสดงออกของผู้ค้ำประกันทั้งสองครั้งแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ร้องได้สละสิทธิและเปลี่ยนเจตนาที่จะยอมผูกพันเพียงเท่าจำนวนเงินที่นำมาวางตามคำสั่งศาลชั้นต้นในตอนแรก แต่ยอมผูกพันรับผิดชอบในหนี้ทั้งหมดที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์.