คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านไม่ต้องรับผิดหนี้เงินประกันความเสียหายตามสัญญาเช่าเดิม
โจทก์ทำสัญญาเช่าบ้านจากจำเลยที่ 1 และได้วางเงินประกันความเสียหายอันเกิดจากการเช่าไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงในสัญญาเช่าว่า จำเลยที่ 1 จะคืนเงินดังกล่าวเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเช่าแล้ว ก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุดจำเลยที่ 1 ได้โอนขายบ้านให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้มอบเงินประกันความเสียหายให้แก่จำเลยที่ 2 ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปแล้ว โจทก์จะฟ้องเรียกเงินประกันความเสียหายคืนจากจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะการคืนเงินประกันความเสียหายเป็นเพียงสิทธิและหน้าที่อื่นตามสัญญาเช่าไม่ใช่สาระสำคัญเกี่ยวกับสัญญาเช่า จึงไม่ใช่หน้าที่ตามสัญญาเช่าที่ผู้รับโอนจะต้องรับผิดและปฏิบัติตาม จำเลยที่ 2ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านไม่จำต้องรับเอาความรับผิดที่จำเลยที่ 1จะต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 569 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิสัญญาเช่าและการรับผิดชอบเงินประกันความเสียหายของผู้รับโอน
โจทก์ทำสัญญาเช่าบ้านจากจำเลยที่ 1 และได้วางเงินประกันความเสียหายอันเกิดจากการเช่าไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงในสัญญาเช่าว่า จำเลยที่ 1 จะคืนเงินดังกล่าวให้เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเช่าแล้วก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุดจำเลยที่ 1 ได้โอนขายบ้านให้แก่จำเลยที่ 2โดยไม่ได้มอบเงินประกันความเสียหายให้แก่จำเลยที่ 2 และไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับเงินนี้ขึ้นใหม่ระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปแล้ว โจทก์จะฟ้องเรียกเงินประกันความเสียหายคืนจากจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านไม่จำต้องรับเอาความรับผิดที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 วรรคสอง แต่อย่างใดเนื่องจากการคืนเงินนี้เป็นเพียงสิทธิและหน้าที่อื่นตามสัญญาเช่าไม่ใช่สาระสำคัญเกี่ยวกับสัญญาเช่าจึงหาใช่หน้าที่ตามสัญญาเช่าที่ผู้รับโอนจะต้องรับผิดและปฏิบัติตามไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3287/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การออก น.ส.3 ทับที่ดินเดิมของผู้ครอบครอง และผลกระทบต่อสิทธิของผู้รับโอน
จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ระหว่างที่จำเลยไม่อยู่ ต. ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ทับที่ดินของจำเลย โดยจำเลยมิได้ยินยอมด้วย ต. ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองตามกฎหมาย การที่ ต. นำที่ดินพิพาทมาขายให้ ส.แล้ว ส. โอนขายที่ดินพิพาทซึ่งตนไม่มีสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ต่อ แม้จะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม โจทก์ก็ไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์อ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3287/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การได้มาโดยการครอบครอง การออก น.ส.3 โดยไม่ชอบ และผลต่อผู้รับโอน
จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ระหว่างที่จำเลยไม่อยู่ ต. ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)ทับที่ดินของจำเลย โดยจำเลยมิได้ยินยอมด้วย ต. ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองตามกฎหมาย การที่ ต. นำที่ดินพิพาทมาขายให้ ส.แล้ว ส. โอนขายที่ดินพิพาทซึ่งตนไม่มีสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ต่อ แม้จะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม โจทก์ก็ไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์อ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 มาใช้บังคับไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์มรดกจากทายาทและผู้รับโอน โดยพิจารณาจากวันที่รู้หรือควรรู้ถึงการเสียชีวิตของเจ้ามรดก
โจทก์ฟ้องว่า มารดาโจทก์กับ ม. ซึ่ง เป็นมารดาของเจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำสัญญาแบ่งมรดก จึงขอเรียกทรัพย์มรดกส่วนที่ ม. รับไปคืนจากจำเลยทั้งสี่ซึ่ง เป็นผู้รับโอนเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกคืนจากทายาท ต้อง ฟ้องภายในกำหนดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
ในขณะที่ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วย กฎหมายของเจ้ามรดกนั้นโจทก์มีมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ถือได้ว่าโจทก์โดย มารดารู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตั้งแต่ วันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
จำเลยทั้งสี่เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกจาก ม. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ย่อมเป็นบุคคลซึ่ง ชอบที่จะใช้ สิทธิของทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากทายาทโดยธรรม และสิทธิยกอายุความของผู้รับโอน
โจทก์ฟ้องว่า มารดาโจทก์กับ ม. ซึ่งเป็นมารดาของเจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำสัญญาแบ่งมรดก จึงขอเรียกทรัพย์มรดกส่วนที่ ม.รับไปคืนจากจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้รับโอน เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกคืนจากทายาท ต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ในขณะที่ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกนั้น โจทก์มีมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ถือได้ว่าโจทก์โดยมารดารู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตั้งแต่วันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ จำเลยทั้งสี่เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกจาก ม. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ย่อมเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1755

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การโอนเช็คขีดคร่อมและการต่อสู้เรื่องการฉ้อฉลของผู้รับโอน
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่สั่งจ่ายให้แก่บริษัท พ. หรือผู้ถือแม้จะมีการขีดคร่อม แต่มิได้ระบุห้ามโอน จึงโอนกันได้ด้วยการส่งมอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4598/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยผลของคำพิพากษา แม้ไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลผูกพันต่อผู้รับโอนที่ดิน
โจทก์มีกรณีพิพาทกับ ป. ในที่ดินแปลงพิพาทแล้วตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมโอนที่ดินแปลงพิพาทให้ ป. และป.ยอมให้ที่ดินแปลงพิพาทรับภาระใช้เป็นที่สัญจรของโจทก์ ประชาชนและรถยนต์เข้าออกโรงภาพยนตร์ของโจทก์ศาลพิพากษาตามยอม ต่อมา ป. โอนที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลยและจำเลยตั้งแผงขายสินค้าบนที่ดินแปลงพิพาท ทำให้ทางเข้าออกแคบโจทก์และประชาชนไม่ได้รับความสะดวก โจทก์ได้รับความเสียหายดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้จดทะเบียนสิทธิในภาระจำยอมดังกล่าวไว้ก็ตาม แต่โจทก์ก็อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิในภาระจำยอมตามคำพิพากษาได้ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300 จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินแปลงพิพาทจะกระทำการใดให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิในภาระจำยอมดังกล่าวหาได้ไม่จึงต้องรื้อถอนแผงขายสินค้าและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตั้งแผงขายสินค้าบนที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิใช้เป็นทางสัญจร ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยรื้อถอนแผงสินค้านั้นไป จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้ปลูกสร้างหรือตั้งแผงขายสินค้าในที่ดินนั้น แม้จะมีการปลูกสร้างหรือตั้งแผงขายสินค้าในที่ดินดังกล่าวก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงขัดกันเองและเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งคดีไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบได้ว่าจำเลยไม่ได้ปลูกสร้างหรือตั้งแผงขายสินค้าในที่ดินนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้น ผู้รับโอนที่ดินต้องผูกพันตามสัญญาเดิม
การที่จำเลยทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากเจ้าของเดิมเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2508 มีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2525 เป็นต้นไป นั้นถือว่าเป็นสัญญาเช่าที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้นเมื่อได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ แม้โจทก์รับโอนที่พิพาทมาก่อนถึงกำหนดวันเริ่มต้นแห่งสัญญาเช่าก็ต้องรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้น ผู้รับโอนทรัพย์สินต้องผูกพันตามสัญญาเช่าเดิม
การที่จำเลยทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากเจ้าของเดิมเมื่อวันที่4 มีนาคม 2508 มีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2525เป็นต้นไปนั้น ถือว่าเป็นสัญญาเช่าที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้น เมื่อได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้แม้โจทก์รับโอนที่พิพาทมาก่อนถึงกำหนดวันเริ่มต้นแห่งสัญญาเช่าก็ต้องรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569
of 37