คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พนักงานสอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนและคณะกรรมการสอบสวน ถือเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน
พนักงานสอบสวน และคณะกรรมการผู้ทำการสอบสวน ซึ่งได้แต่งตั้งขึ้นโดยทางราชการถือว่าเป็นเจ้าพนักงาน
ในเรื่องฟ้องขอให้ลงโทษฐานแจ้งความเท็จ ฟ้องของโจทก์ระบุว่าแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวน แม้ไม่มีคำว่าเจ้าพนักงาน ก็ลงโทษฐานแจ้งความเท็จได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนและคณะกรรมการสอบสวน ถือเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ แม้ฟ้องไม่ระบุคำว่า 'เจ้าพนักงาน'
พนักงานสอบสวน และคณะกรรมการผู้ทำการสอบสวน ซึ่งได้แต่งตั้งขึ้นโดยทางราชการถือว่าเป็นเจ้าพนักงาน
ในเรื่องฟ้องขอให้ลงโทษฐานแจ้งความเท็จ ฟ้องของโจทก์ระบุว่าแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวน แม้ไม่มีคำว่าเจ้าพนักงาน ก็ลงโทษฐานแจ้งความเท็จได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวน แม้เป็นคำให้การในฐานะผู้เสียหาย ก็ถือเป็นการแจ้งความเท็จได้
การให้การหรือให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนในฐานะผู้เสียหายนั้น อยู่ในลักษณะที่เรียกว่าเป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานเหมือนกัน ถ้าเป็นเท็จก็ผิดตาม ก.ม.อาญา ม. 118
ฟ้องว่าจำเลยแจ้งความเท็จ ในวันที่ 15 ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยนำความไปแจ้งในวันที่ 13 ส่วนวันที่ 15 เจ้าพนักงานเรียกตัวไปสอบสวน จำเลยให้ถ้อยคำเท็จอย่างเดียวกัน ถ้อยคำในวันที่ 13 ดังนี้ ลงโทษได้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงต่างกับฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวน แม้เป็นคำให้การก็ถือเป็นการแจ้งความได้
การให้การหรือให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนในฐานะผู้เสียหายนั้นอยู่ในลักษณะที่เรียกว่าเป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานเหมือนกัน ถ้าเป็นเท็จก็ผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 118
ฟ้องว่าจำเลยแจ้งความเท็จในวันที่ 15 ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยนำความไปแจ้งในวันที่ 13 ส่วนวันที่ 15 เจ้าพนักงานเรียกตัวไปสอบสวน จำเลยให้ถ้อยคำเท็จอย่างเดียวกับถ้อยคำในวันที่ 13ดังนี้ ลงโทษได้ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงต่างกับฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอแก้ฟ้องต้องมีเหตุอันควร เหตุผลจากความเข้าใจผิดของพนักงานสอบสวน หรือความขัดแย้งของพยานไม่เพียงพอ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 จะนำมาใช้แก่เรื่องขอแก้ฟ้องไม่ได้ เพราะ มาตรา 144 ใช้เฉพาะการวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือประเด็นข้อหนึ่งข้อใดแห่งคดีการวินิจฉัยคำร้องขอแก้ฟ้องไม่ใช่วินิจฉัยประเด็นแห่งคดี
โจทก์เคยยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องต่อศาลครั้งหนึ่งแล้วศาลไม่อนุญาตโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องแสดงเหตุผลขึ้นมาใหม่ได้
เจ้าพนักงานสอบสวนเข้าใจข้อกฎหมายเรื่องสถานที่เกิดเหตุผิดไปไม่เป็นเหตุที่จะขอแก้ฟ้องได้
พนักงานเชื่อคำพยานชั้นสอบสวนอย่างหนึ่งพยานเบิกความชั้นศาลอีกอย่างหนึ่งไม่เป็นเหตุที่จะขอแก้ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสัญญาประกันตัวของพนักงานสอบสวน: ตำแหน่งหน้าที่ราชการ
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาซึ่งทำไว้กับนายตำรวจในฐานะตำแหน่งหน้าที่ราชการและมีอำนาจทำได้นั้นนายตำรวจเปนโจทก์ฟ้องขอให้ปรับนายประกันฐานผิดสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตแก้ไขฟ้องเนื่องจากความผิดพลาดในสถานที่เกิดเหตุ
โจทก์ฟ้องว่าเหตุเกิดที่ตำบลหนึ่ง พิจารณาได้ความว่าเหตุเกิดอีกตำบลหนึ่ง โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องว่าโจทก์กล่าวผิดพลาดไปเพราะกล่าวตามรายงานการสอบสวนซึ่งพนักงานสอบสวนเข้าใจผิดไปเพราะตำบลทั้งสองมีเขตติดต่อกัน ดั่งนี้ศาลอนุญาตให้แก้ฟ้องได้โดยถือว่ามีเหตุอันควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานสอบสวนในการสอบปากคำ และการรับรองถ้อยคำ
การที่จะไห้ผู้ไห้ถ้อยคำสาบานหรือปติญานตนเสียก่อนหรือไม่ไนการสอบสวนนั้น เปนอำนาดของพนักงานสอบสวน ฉนั้นแม้จะไม่ไห้สาบานหรือปติญานตนก็ไม่ทำไห้การสอบสวนเสียไป
การที่พนักงานสอบสวนเรียกผู้ไห้ถ้อยคำมาแล้วอ่านถ้อยคำที่นายตำหรวดผู้อื่นได้ถามและจดไว้ไห้ฟังและสอบถามผู้ไห้ถ้อยคำเพื่อไห้รับรอง และสอบถามเพิ่มเติมนั้น ถือได้ว่าเปนการสอบสวนที่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานสอบสวนในการสอบสวนพยานและรูปแบบการสอบสวนที่ถูกต้อง
การที่จะให้ผู้ให้ถ้อยคำสาบานหรือปฏิญานตนเสียก่อนหรือไม่ในการสอบสวนนั้น เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวน ฉะนั้นแม้จะไม่ให้สาบานหรือปฏิญานตนก็ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป การที่พนักงานสอบสวนเรียกผู้ให้ถ้อยคำมาแล้วอ่านถ้อยคำที่นายตำรวจผู้อื่นได้ถามและจดไว้ให้ฟังและสอบถามผู้ให้ถ้อยคำเพื่อให้รับรอง และสอบถามเพิ่มเติมนั้น ถือได้ว่าเป็นการสอบสวนที่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานสอบสวนในคดีที่ตนมีส่วนได้เสีย: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ขัดกฎหมาย
พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนในคดีที่ตนมีส่วนได้เสียก็ได้.
ปลัดอำเภอไปตรวจราชการ+ของปลัดอำเภอหายไป+ได้ที่จำเลย ปลัดอำเภอ+การสอบสวนจำเลยแล้วส่วอัยยการฟ้องศาลดังนี้+ได้ว่าได้มีการร้องทุกข์และสอบ-สวนตาม ก.ม.แล้ว.
of 18