คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 831 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7061/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจยังคงมีผลผูกพันแม้ผู้มอบอำนาจพ้นจากตำแหน่ง คดีฟ้องร้องไม่กระทบเมื่อมอบอำนาจไว้ก่อน
โจทก์โดย ธ.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2534 ให้ ว.ฟ้องคดีแทนโจทก์ต่อมาวันที่ 13 ตุลาคม 2535 ธ.ได้ออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทโจทก์ครั้นวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2536 ว.ได้ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจนั้นโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เพิกถอนหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว ดังนี้ สัญญาตัวแทนที่โจทก์แต่งตั้ง ว.ให้ฟ้องคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจนั้นยังคงมีผลผูกพันโจทก์และ ว.อยู่ตามกฎหมาย หาได้ระงับสิ้นไปเพราะเหตุที่ ธ.ออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทโจทก์ไม่ เหตุดังกล่าวคงมีผลแต่เพียงว่า ธ.ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์นับแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2535 เท่านั้น ส่วนกิจการอันได้กระทำไปแล้วหามีผลกระทบกระเทือนถึงไม่ ว.จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว หนังสือมอบอำนาจฉบับนั้น หาได้สิ้นผลไปก่อนวันฟ้องไม่
ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งว่า การคิดดอกเบี้ยเงินกู้ตามสัญญาไม่ถูกต้องไม่ตรงตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น แต่ปัญหาข้อนี้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้เพราะอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง โจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5738/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีค่าบัตรเครดิต: การรับสภาพหนี้ทำให้เริ่มนับอายุความใหม่
โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการให้บริหารสินเชื่อบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์และสมาชิกของโจทก์สามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปใช้บริการเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าจากธนาคารโจทก์ได้การให้บริการดังกล่าวแก่สมาชิกของโจทก์โจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมรายปีด้วยโจทก์จึงเป็นผู้ค้ารับทำการงานต่างๆให้แก่สมาชิกและการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(7)จำเลยชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่24มกราคม2537อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่31มกราคม2539พ้นกำหนด2ปีแล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดี: การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลล่างเป็นข้อห้ามตามกฎหมาย
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความและยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยอ้างว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 เพราะโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน 1 ปีนับแต่วันที่จำเลยรับมอบของคดีโจทก์จึงขาดอายุความ และศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามคำร้องของจำเลย โดยเห็นว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา624 ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์มิได้ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 การที่จำเลยฎีกาว่า คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา193/34 ไม่ตรงกับที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา: การรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำความผิด
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ทำหนังสือถึงภริยาโจทก์เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2531 เล่าเรื่องเกี่ยวกับหนี้สินของโจทก์ โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามหนังสือมอบอำนาจวันที่ 5 ตุลาคม 2532 จำเลยที่ 1 นำที่ดินทั้งสามแปลงไปจำนองธนาคารเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2533 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2533นับจากวันฟ้องถึงวันจำนองเป็นเวลา 1 ปี 7 เดือน 4 วัน โดยมิได้บรรยายว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อใดอันจะเป็นเหตุทำให้คดีของโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ผ่านพนักงานบริษัทในเครือถือว่าชอบด้วยกฎหมาย และการฟ้องคดีเกินกำหนดอายุความ
การที่จำเลยส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปยังที่อยู่ของโจทก์และ ค. เป็นผู้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไว้การที่ ค. เป็นพนักงานของบริษัท อ. จำกัดรับจดหมาย2ช่วงคือช่วงเช้าเวลา9ถึง10นาฬิกาช่วงเย็นตั้งแต่16นาฬิกาและโจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ. จำกัดนอกจากนี้โจทก์ยังมีพนักงานไม่ครบสมบูรณ์จึงอยู่ในความดูแลของบริษัท อ.จำกัดเช่นนี้การส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายณวันที่จำเลยส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์แก่ ค.ตามมาตรา8แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4446/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี และการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยกฎหมาย
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นจำเลยหรือผู้ใดแม้หนังสือมอบอำนาจจะไม่ได้ระบุว่ามอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยแต่ก็มีข้อความระบุไว้แล้วว่าโจทก์มอบอำนาจให้ พ.เป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลในทางแพ่ง เพื่อเรียกร้องทวงคืนซึ่งทรัพย์สิน รวมทั้งการบังคับจำนองแทนและในนามของโจทก์ ฉะนั้น พ. จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์ได้ โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวโดยจำเลยรับหนังสือบอกกล่าวเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2535และโจทก์ฟ้องวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2536 ถือว่าโจทก์บอกกล่าวเป็นเวลาอันสมควรแล้ว เพราะหนี้ดังกล่าวเกิดจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งโจทก์และจำเลยต้องหักทอนบัญชีกันตามระยะเวลาจำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวนเท่าใด ประกอบกับโจทก์ยื่นฟ้องหลังจากจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวเป็นเวลา 4 เดือนเศษ ดังนั้นการบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4446/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี ไม่ต้องระบุจำเลยเฉพาะเจาะจง อำนาจฟ้องย่อมเป็นไปตามที่ระบุในหนังสือ
หนังสือมอบอำนาจให้ ฟ้องคดีไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นจำเลยทั้งสองหรือผู้ใดแม้หนังสือมอบอำนาจจะไม่ได้ระบุว่ามอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยทั้งสองแต่ก็มีข้อความระบุไว้แล้วว่าโจทก์มอบอำนาจให้ พ. เป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลในทางแพ่งเพื่อเรียกร้องทวงคืนซึ่งทรัพย์สินฯลฯรวมทั้งการบังคับจำนองแทนและในนามของโจทก์ พ. จึงมี อำนาจฟ้องคดีจำเลยทั้งสองแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4263/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีประกันภัย: การระบุความสัมพันธ์ผู้เอาประกันภัยไม่จำเป็นหากพอเข้าใจสภาพแห่งข้อหา
คำฟ้องโจทก์บรรยายแต่เพียงว่าจำเลยที่1เป็นผู้ขับรถบรรทุกสิบล้อหมายเลขทะเบียน80-5504ร้อยเอ็ดซึ่งได้ประกันภัยไว้กับจำเลยที่2จำเลยที่1ได้ขับรถบรรทุกคันดังกล่าวชนกับรถบรรทุกหกล้อหมายเลขทะเบียน72-1977กรุงเทพมหานครของโจทก์โดยประมาทเป็นเหตุให้รถบรรทุกของโจทก์ได้รับความเสียหายแม้จะมิได้กล่าวถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่1กับผู้เอาประกันภัยก็ตามแต่เมื่อพิจารณาประกอบกับบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารท้ายคำฟ้องแล้วนับว่าเป็นการเพียงพอที่จะทำให้เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่2รับผิดชดใช้ค่าเสียหายในฐานะผู้รับประกันภัยรถบรรทุกสิบล้อคันที่จำเลยที่2ได้รับประกันภัยไว้โดยไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยที่2ได้รับประกันภัยไว้จากผู้ใดและผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยหรือจำเลยที่1ผู้ขับรถบรรทุกสิบล้อคันที่ประกันภัยนั้นมีนิติสัมพันธ์อย่างใดกับผู้เอาประกันภัยเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถจะนำสืบให้ปรากฎในชั้นพิจารณาต่อไปดังนั้นจึงถือได้ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4008/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี: หนังสือมอบอำนาจเดิมยังใช้ได้หากคดีก่อนหน้ายังไม่เสร็จสิ้น แม้จะเคยฟ้องไปแล้ว
จำเลยที่2ได้ให้การต่อสู้เกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ไว้และยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวซึ่งเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์แล้วคดีจึงมีประเด็นตามคำแก้อุทธรณ์ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ โจทก์มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันไปจนเสร็จการแม้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะเคยฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาดังกล่าวมาครั้งหนึ่งแล้วก็ตามแต่ในคดีเดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณากรณีจึงยังไม่เสร็จการตามที่ได้มอบอำนาจไว้การที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์อาศัยหนังสือมอบอำนาจที่เคยฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีเดิมมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ใหม่ภายในกำหนดอายุความในข้อหาเดิมอันเป็นมูลหนี้เดียวกันย่อมเป็นการฟ้องตามข้อกำหนดของหนังสือมอบอำนาจจึงไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดี, ความรับผิดร่วม, การแบ่งแยกหนี้, การฟ้องคดีถึงที่สุด, อำนาจฟ้อง
จำเลยที่3ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองสวัสดิการของโจทก์ตั้งแต่วันที่5กุมภาพันธ์2519ถึงวันที่14พฤศจิกายน2519แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่3เมื่อวันที่1กรกฎาคม2528แม้จะฟังว่าโจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนด1ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ตามแต่เมื่อนับถึงวันที่จำเลยที่3ทำละเมิดก็ต้องหมายถึงว่าในขณะที่จำเลยที่3ปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งหัวหน้ากองสวัสดิการของโจทก์นั่นเองดังนั้นการทำละเมิดของจำเลยที่3ต่อโจทก์ช่วงตั้งแต่วันที่5กุมภาพันธ์2519ถึงวันที่30มิถุนายน2519ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนฟ้อง10ปีฟ้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคหนึ่งโจทก์คงฟ้องจำเลยที่3ได้เฉพาะการทำละเมิดในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่1กรกฎาคม2519ถึงวันที่14พฤศจิกายน2519ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน10ปีเท่านั้น โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่3ที่4ที่6ที่8และที่9ปฎิบัติหน้าที่ราชการโดยความบกพร่องและโดยความประมาทเลินเล่อไม่ปฎิบัติตามระเบียบที่โจทก์กำหนดไว้อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริงไม่ใช่ฎีกาโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายของระเบียบหรือคำสั่งของโจทก์อันจะเป็นข้อกฎหมายเมื่อโจทก์ฎีกาให้จำเลยที่3ที่4ที่6ที่8และที่9รับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่3ร่วมรับผิดไม่เกิน140,645บาทจำเลยที่4ร่วมรับผิดไม่เกิน70,820บาทจำเลยที่6ร่วมรับผิดไม่เกิน64,145บาทจำเลยที่8ร่วมรับผิดไม่เกิน97,835บาทและจำเลยที่9ร่วมรับผิดไม่เกิน104,400บาทแยกจากกันจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่างโจทก์กับจำเลยที่3ที่4ที่6ที่8และที่9แต่ละรายไม่เกิน200,000บาทคดีโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง หนี้ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่10และที่11ชดใช้ให้แก่โจทก์จำนวน264,735บาทและจำนวน277,320บาทตามลำดับเป็นหนี้ที่ถึงที่สุดแล้วโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและหนี้ทั้งสองจำนวนดังกล่าวแม้จะเป็นหนี้ร่วมกับจำเลยอื่นอันเกิดจากมูลละเมิดก็ตามแต่เกิดจากการกระทำที่แตกต่างกันและศาลชั้นต้นก็ได้แยกความรับผิดที่จำเลยอื่นจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่10และที่11ไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยคนไหนจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่10และที่11ต่อโจทก์จึงเป็นหนี้ที่แบ่งแยกได้เมื่อหนี้ที่จำเลยที่10และที่11จะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยอื่นที่อุทธรณ์เป็นหนี้ที่แบ่งแยกได้คดีของจำเลยที่10และที่11จึงไม่ได้ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ศาลอุทธรณ์จะอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่10และที่11ที่คดีถึงที่สุดโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วเพื่อมิให้จำเลยที่10และที่11ต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ด้วยไม่ได้ ฎีกาของจำเลยที่9ในข้อที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่9ขาดอายุความนั้นเมื่อตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยที่9ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ฎีกาของจำเลยที่9ทุกข้อจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
of 84