พบผลลัพธ์ทั้งหมด 691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินมัดจำจากการบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดิน ถือเป็นเงินได้อื่น ๆ ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่อ. โดยอ. วางมัดจำไว้ในวันทำสัญญา9,000,000บาทแต่อ. ไม่มารับโอนที่ดินในวันนัดโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิรับเงินมัดจำดังกล่าวสัญญาดังนี้แม้อ. จะฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนก็เป็นการฟ้องหลังจากที่โจทก์ได้ริบเงินมัดจำแล้วหาใช่ว่าโจทก์ยังมิได้ริบเงินมัดจำหรือเป็นกรณีที่โจทก์จะมีสิทธิริบเงินมัดจำหรือไม่ยังไม่ทราบอันจะถือว่าเป็นเงินมัดจำเป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์จะได้รับมาในภายหน้าไม่เงินมัดจำดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากอ.ซึ่งเป็นคู่สัญญาปฏิบัติผิดสัญญาจึงเป็นเงินได้จากการอื่นๆตามมาตรา40(8)แห่งประมวลรัษฎากรและเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นภาษีหนังสือ, ค่าใช้จ่ายรถยนต์, และการไม่รับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
หนังสือนิตยสารของโจทก์มิใช่หนังสือพิมพ์ที่ส่วนใหญ่เป็นข่าวสารแต่กลับมีเนื้อหาที่เป็นนวนิยายมากกว่าข่าวสาร จึงไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 79 ตรี (7) โจทก์ต้องนำรายรับจากการจำหน่ายหนังสือดังกล่าวมารวมคำนวณเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 1 ชนิด 6
หลักฐานทะเบียนรถยนต์หาใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของรถยนต์ไม่ แม้ทะเบียนรถยนต์ระบุวันเดือนปีที่โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองไว้ก็หาต้องฟังเป็นเด็ดขาดตามนั้นเสมอไปไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ารายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์คันดังกล่าวมิใช่รายจ่ายที่โจทก์กำหนดขึ้นเอง จึงไม่ต้องด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี
ศาลภาษีอากรกลางสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์บางข้อโดยมิได้สั่งในวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์และยังไม่แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ เมื่อศาลฎีกาตรวจอุทธรณ์ของโจทก์ข้อดังกล่าวแล้ว เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25กรณีจึงไม่มีเหตุต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางแจ้งคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบอีกเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
หลักฐานทะเบียนรถยนต์หาใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของรถยนต์ไม่ แม้ทะเบียนรถยนต์ระบุวันเดือนปีที่โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองไว้ก็หาต้องฟังเป็นเด็ดขาดตามนั้นเสมอไปไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ารายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์คันดังกล่าวมิใช่รายจ่ายที่โจทก์กำหนดขึ้นเอง จึงไม่ต้องด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี
ศาลภาษีอากรกลางสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์บางข้อโดยมิได้สั่งในวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์และยังไม่แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ เมื่อศาลฎีกาตรวจอุทธรณ์ของโจทก์ข้อดังกล่าวแล้ว เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25กรณีจึงไม่มีเหตุต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางแจ้งคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบอีกเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่เสียภาษีของตัวแทนขายสินค้าต่างประเทศ: ภาษีเงินได้และภาษีจากการจำหน่ายกำไรออกนอกประเทศ
การที่โจทก์แนะนำบริษัทม.เป็นบริษัทต่างประเทศให้แก่บริษัทท. ซึ่งเป็นลูกค้าโจทก์ในประเทศไทยจนมีการซื้อขายสินค้ากันแม้บริษัทท. จะทำสัญญาซื้อขายและชำระราคาให้แก่บริษัทม.โดยตรงโดยโจทก์มิได้มีส่วนรับผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการชำระค่าสินค้าก็ตามแต่เนื่องมาจากโจทก์เป็นตัวเชื่อมให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเมื่อบริษัทต่างประเทศได้รับชำระค่าสินค้าย่อมมีเงินได้หรือผลกำไรรวมอยู่ด้วยโจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบรายการและเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา70ทวินั้นผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยนั้นต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรโจทก์เป็นเพียงผู้แทนทำการติดต่อลูกค้าในประเทศไทยในการขายสินค้าแทนบริษัทต่างประเทศไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นสาขาบริษัทต่างประเทศและเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรแต่อย่างไรแม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วยแต่โจทก์มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้าถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยจึงไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา70ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดจำหน่ายสินค้าต่างประเทศ: การไม่มีสถานประกอบการถาวรและฐานะตัวแทนทางภาษี
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์ไม่ใช่สถานประกอบการถาวรในประเทศไทยของบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าดังกล่าวได้รับประโยชน์จากอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ขายสินค้าจึงไม่อยู่ในข่ายที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์ไม่มีหน้าที่เป็นตัวแทนในการชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวด้วย ดังนี้ คำฟ้องนี้เป็นคำฟ้องที่ได้ความชัดแจ้งแล้ว ส่วนอนุสัญญาดังกล่าวจะทำกันเมื่อใด รัฐบาลทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกันเมื่อใด และอนุสัญญาดังกล่าวมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ รวม 9 บริษัท การจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศทั้ง 9 บริษัทนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีขายให้แก่หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนนั้น โจทก์ต้องทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าในประเทศไทย แล้วโจทก์จึงทำใบสั่งซื้อสินค้าไปยังบริษัทผู้ขายในต่างประเทศโดยโจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเอง โจทก์มีอิสระในการขาย ถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่อง โจทก์ก็ต้องรับผิดต่อลูกค้าตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำไว้กับลูกค้า ผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่ในรูปของกำไร ไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้า แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินให้แก่บริษัทผู้ขายต่างประเทศก็เป็นความประสงค์ของลูกค้าเองเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกค้าตกลงไว้กับสถาบันการเงินผู้ให้กู้หรือตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกเว้นอากรขาเข้า ไม่ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศ นิติบุคคลต่างประเทศดังกล่าวจึงไม่ได้ชื่อว่าประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์ได้กระทำไปในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ซื้อมาขายไป ไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
โจทก์เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ รวม 9 บริษัท การจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศทั้ง 9 บริษัทนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีขายให้แก่หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนนั้น โจทก์ต้องทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าในประเทศไทย แล้วโจทก์จึงทำใบสั่งซื้อสินค้าไปยังบริษัทผู้ขายในต่างประเทศโดยโจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเอง โจทก์มีอิสระในการขาย ถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่อง โจทก์ก็ต้องรับผิดต่อลูกค้าตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำไว้กับลูกค้า ผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่ในรูปของกำไร ไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้า แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินให้แก่บริษัทผู้ขายต่างประเทศก็เป็นความประสงค์ของลูกค้าเองเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกค้าตกลงไว้กับสถาบันการเงินผู้ให้กู้หรือตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกเว้นอากรขาเข้า ไม่ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศ นิติบุคคลต่างประเทศดังกล่าวจึงไม่ได้ชื่อว่าประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์ได้กระทำไปในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ซื้อมาขายไป ไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: โจทก์ซื้อมาขายไป ไม่เป็นตัวแทนบริษัทต่างประเทศ ไม่เข้าข่ายภาษีตามมาตรา 76 ทวิ
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์ไม่ใช่สถานประกอบการถาวรในประเทศไทยของบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าดังกล่าวได้รับประโยชน์จากอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ขายสินค้าจึงไม่อยู่ในข่ายที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ไม่มีหน้าที่เป็นตัวแทนในการชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวด้วยดังนี้ คำฟ้องนี้เป็นคำฟ้องที่ได้ความชัดแจ้งแล้ว ส่วนอนุสัญญาดังกล่าวจะทำกันเมื่อใดรัฐบาลทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกันเมื่อใด และอนุสัญญาดังกล่าวมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันในชั้นพิจารณาคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ รวม 9บริษัท การจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศทั้ง 9 บริษัทนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีขายให้แก่หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนนั้น โจทก์ต้องทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าในประเทศไทย แล้วโจทก์จึงทำใบสั่งซื้อสินค้าไปยังบริษัทผู้ขายในต่างประเทศโดยโจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเอง โจทก์มีอิสระในการขาย ถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่อง โจทก์ก็ต้องรับผิดต่อลูกค้าตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำไว้กับลูกค้า ผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่ในรูปของกำไร ไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้า แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินให้แก่บริษัทผู้ขายต่างประเทศก็เป็นความประสงค์ของลูกค้าเองเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกค้าตกลงไว้กับสถาบันการเงินผู้ให้กู้หรือตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกเว้นอากรขาเข้า ไม่ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศ นิติบุคคลต่างประเทศดังกล่าวจึงไม่ได้ชื่อว่าประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์ได้กระทำไปในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ซื้อมาขายไป ไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
โจทก์เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ รวม 9บริษัท การจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศทั้ง 9 บริษัทนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีขายให้แก่หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนนั้น โจทก์ต้องทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าในประเทศไทย แล้วโจทก์จึงทำใบสั่งซื้อสินค้าไปยังบริษัทผู้ขายในต่างประเทศโดยโจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเอง โจทก์มีอิสระในการขาย ถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่อง โจทก์ก็ต้องรับผิดต่อลูกค้าตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำไว้กับลูกค้า ผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่ในรูปของกำไร ไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้า แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินให้แก่บริษัทผู้ขายต่างประเทศก็เป็นความประสงค์ของลูกค้าเองเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกค้าตกลงไว้กับสถาบันการเงินผู้ให้กู้หรือตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกเว้นอากรขาเข้า ไม่ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศ นิติบุคคลต่างประเทศดังกล่าวจึงไม่ได้ชื่อว่าประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์ได้กระทำไปในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ซื้อมาขายไป ไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก ก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์ได้
แม้ประมวลรัษฎากรมาตรา88ประกอบมาตรา87(3)จะมีบทบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินหรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรก็ตามแต่เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวเป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหาใช่เป็นการประเมินเพราะโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกแต่เพียงอย่างเดียวอันจะทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อไปไม่โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษี: การประเมินใหม่หลังคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ถือเป็นการฟ้องคดี ทำให้สิทธิเรียกร้องยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ได้รับแจ้งการประเมินให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วถือว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่โจทก์แล้วเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีเพราะประมวลรัษฎากรมาตรา12ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรค้างได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งจึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา173เดิม(ปัจจุบันคือมาตรา193/14(2)ระยะเวลาที่ได้ล่วงไปก่อนนั้นย่อมไม่นับเข้าในอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา181วรรคหนึ่งเดิม(ปัจจุบันคือมาตรา193/15วรรคหนึ่ง) ต่อมาโจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลางศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินโดยให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิและ70ทวิคงเดิมแต่แก้หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ใหม่จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาศาลฎีกาพิพากษายืนและได้มีคำสั่งคำร้องศาลฎีกาอธิบายคำพิพากษาดังกล่าวด้วยว่า"ตามคำพิพากษาดังกล่าวจำเลยจะต้องประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลใหม่ตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาจะบังคับให้โจทก์ชำระภาษีตามจำนวนที่จำเลยอ้างว่าคำนวณตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วทันทีโดยที่โจทก์ยังไม่ยอมรับว่าถูกต้องนั้นหาได้ไม่"ผลของคำพิพากษาดังกล่าวย่อมเป็นการก่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องแก่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยซึ่งมิได้เป็นฝ่ายฟ้องคดีให้ต้องผูกพันที่จะต้องประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ขึ้นใหม่โดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลฎีกาตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกากรณีหาใช่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามคำฟ้องของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิและ70ทวิตามมูลเหตุแห่งการประเมินไม่ถือไม่ได้ว่าการประเมินอันมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีต้องถูกยกฟ้องที่จะไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นใหม่โดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลฎีกาดังกล่าวได้ภายใน10ปีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา168เดิม(ปัจจุบันคือมาตรา193/32)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6129/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงภาษีและการยินยอมให้ผู้อื่นกระทำผิดกฎหมาย ทำให้สิทธิเรียกร้องเงินคืนไม่มีผลบังคับ
โจทก์รู้เห็นยินยอมให้จำเลยนำเงินไปมอบให้เจ้าพนักงาน เพื่อให้มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินและค่าภาษี ให้น้อยลง เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยโจทก์ รู้อยู่แล้วว่าโจทก์ไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระเงิน ส่วนที่เหลือจากค่าธรรมเนียมและค่าภาษีการโอน โจทก์ไม่มีสิทธิ เรียกเงินคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6129/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ลดค่าธรรมเนียมและภาษีโดยมิชอบ ทำให้ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินคืน
โจทก์รู้เห็นยินยอมให้จำเลยนำเงินไปมอบให้เจ้าพนักงานเพื่อให้มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินและค่าภาษีให้น้อยลงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยโจทก์รู้อยู่แล้วว่าโจทก์ไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระเงินส่วนที่เหลือจากค่าธรรมเนียมและค่าภาษีการโอนโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา407
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีเมื่อผู้เสียภาษียื่นรายการล่าช้า หรือไม่ยื่นรายการตามกำหนด
เมื่อมีเหตุใดเหตุหนึ่งใน 3 เหตุตามประมวลรัษฎากร มาตรา71 (1) เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินภาษีได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีเหตุครบทั้ง 3 ประการ
แม้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะได้เรียกให้จำเลยส่งเอกสารต่าง ๆ ไปเพื่อตรวจสอบ แต่เมื่อได้ความแน่ชัดแล้วว่า โจทก์ไม่ได้ยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษี อันเป็นเหตุหนึ่งที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะใช้อำนาจประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) ได้แล้ว ก็หาจำเป็นที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนหาความจริงจากเอกสารที่โจทก์ส่งมอบ การส่งมอบเอกสารของโจทก์ไม่ทำให้อำนาจการประเมินของเจ้าพนักงานดังกล่าวหมดสิ้นไป
โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี หากไม่ยื่นภายในกำหนดเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา71 (1) ทันที โจทก์ยื่นรายการเกินกำหนดเวลาไป เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงมีอำนาจประเมินได้ตามมาตรา 71 (1) การยื่นรายการของโจทก์ในภายหลังไม่อาจลบล้างอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้
ภ.ง.ด.50 หรือแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ก็คือแบบการยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีที่อธิบดีกำหนดขึ้นตามมาตรา 68 และ69 ซึ่งเป็นแบบการยื่นรายการที่กล่าวไว้ในมาตรา 71 (1) นั้นเอง
แม้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะได้เรียกให้จำเลยส่งเอกสารต่าง ๆ ไปเพื่อตรวจสอบ แต่เมื่อได้ความแน่ชัดแล้วว่า โจทก์ไม่ได้ยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษี อันเป็นเหตุหนึ่งที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะใช้อำนาจประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) ได้แล้ว ก็หาจำเป็นที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนหาความจริงจากเอกสารที่โจทก์ส่งมอบ การส่งมอบเอกสารของโจทก์ไม่ทำให้อำนาจการประเมินของเจ้าพนักงานดังกล่าวหมดสิ้นไป
โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี หากไม่ยื่นภายในกำหนดเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา71 (1) ทันที โจทก์ยื่นรายการเกินกำหนดเวลาไป เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงมีอำนาจประเมินได้ตามมาตรา 71 (1) การยื่นรายการของโจทก์ในภายหลังไม่อาจลบล้างอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้
ภ.ง.ด.50 หรือแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ก็คือแบบการยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีที่อธิบดีกำหนดขึ้นตามมาตรา 68 และ69 ซึ่งเป็นแบบการยื่นรายการที่กล่าวไว้ในมาตรา 71 (1) นั้นเอง