พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล: การรับรู้รายได้จากการทำสัญญาและรอบระยะเวลาบัญชี
จำเลยไม่ฎีกาคำพิพากษาที่ให้จำเลยชำระหนี้ภาษีเงินได้แก่เจ้าหนี้จำเลยขอมาในคำแก้ฎีกาให้ยกคำขอรับชำระหนี้ในข้อนี้ไม่ได้
เงินได้พึงประเมินตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 39 หมายความรวมถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่ได้รับแสดงว่าต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้วมิใช่เพียงแต่งานที่มีสิทธิจะได้รับเงินในขณะครบรอบระยะเวลาบัญชีงานที่ทำในระยะเวลาบัญชี พ.ศ.2512 แต่ได้รับค่าจ้างมาใน พ.ศ.2513 จึงมิใช่เงินได้ที่จะนำไปคิดกำไรสุทธิปี พ.ศ.2512
เงินได้พึงประเมินตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 39 หมายความรวมถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่ได้รับแสดงว่าต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้วมิใช่เพียงแต่งานที่มีสิทธิจะได้รับเงินในขณะครบรอบระยะเวลาบัญชีงานที่ทำในระยะเวลาบัญชี พ.ศ.2512 แต่ได้รับค่าจ้างมาใน พ.ศ.2513 จึงมิใช่เงินได้ที่จะนำไปคิดกำไรสุทธิปี พ.ศ.2512
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมใช้เครื่องหมายการค้าต่างประเทศ ไม่ถือเป็นการประกอบกิจการในไทย ต้องเสียภาษีเงินได้ประเภทค่าสิทธิ
บริษัท บ.ตั้งอยู่ต่างประเทศ มิได้เข้ามาตั้งสถานประกอบกิจการในประเทศไทยและไม่มีลูกจ้าง ผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทย การที่บริษัทดังกล่าวได้ประกอบกิจการทำสัญญายอมให้โจทก์ใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าแอสเบสโตลักซ์ เป็นชื่อผลิตภัณฑ์กระเบื้องกระดาษของโจทก์ โดยมี อ.ผู้จัดการบริษัทเข้ามาเจรจาตกลงในประเทศไทยก่อนทำสัญญา ถือไม่ได้ว่าบริษัท บ.ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมี อ.เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ดังนั้น เงินค่าตอบแทนที่โจทก์ชำระเป็นค่าธรรมเนียมในการใช้เครื่องหมายการค้าแก่บริษัท บ. จำนวน 248.600 บาท จึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทค่าแห่งสิทธิอย่างอื่นตามาตรา 40 (3) ซึ่งบริษัท บ.มีหน้าที่เสียภาษี โดยโจทก์ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 15 แล้วนำส่งอำเภอท้องที่ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายตามมาตรา 70 (2), 54 กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 76 ทวิ และ 71 (1) อันจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีจากค่าธรรมเนียมการใช้เครื่องหมายการค้าต่างประเทศ ไม่ถือว่ามีสถานประกอบการในไทย
บริษัท บ.ตั้งอยู่ต่างประเทศ มิได้เข้ามาตั้งสถานประกอบกิจการในประเทศไทยและไม่มีลูกจ้าง ผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทย การที่บริษัทดังกล่าวได้ประกอบกิจการทำสัญญายอมให้โจทก์ใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าแอสเบสโตลักซ์เป็นชื่อผลิตภัณฑ์กระเบื้องกระดาษของโจทก์โดยมี อ.ผู้จัดการบริษัทเข้ามาเจรจาตกลงในประเทศไทยก่อนทำสัญญา ถือไม่ได้ว่าบริษัท บ.ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมี อ.เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ดังนั้นเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ชำระเป็นค่าธรรมเนียมในการใช้เครื่องหมายการค้าแก่บริษัท บ. จำนวน 248,600 บาทจึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทค่าแห่งสิทธิอย่างอื่นตามมาตรา40(3) ซึ่งบริษัท บ.มีหน้าที่เสียภาษี โดยโจทก์ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 15 แล้วนำส่งอำเภอท้องที่ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายตามมาตรา 70(2),54 กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา76 ทวิและ 71(1) อันจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไรและการเสียภาษีเงินได้ กรณีผู้ประกอบการค้า
โจทก์ซื้อที่ดินมาและในวันเดียวกันนั้นได้ยื่นคำขอแบ่งแยกที่ดินส่วนหนึ่งออกเป็นแปลงเล็ก ๆ ต่อมาในเวลาใกล้เคียงกันได้ยื่นคำขอแบ่งแยกเพิ่มเติมอีกรวมเป็นจำนวนหนึ่งร้อยแปลงเศษแล้วเริ่มขายที่ดินที่แบ่งแยกเป็นแปลง ๆ นั้นตั้งแต่ปีแรกที่ซื้อมา ส่วนที่ดินอีกส่วนหนึ่งที่มิได้แบ่งแยกโจทก์ย้ายโรงเรียนราษฎร์ของโจทก์เข้าไปอยู่หลังจากซื้อที่ดินมาราว 10 ปีดังนี้ แสดงว่าโจทก์ซื้อที่ดินส่วนที่ได้แบ่งแยกและขายไปนั้นมาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรโจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าในประเภทการค้า 11 บัญชีอัตราภาษีการค้า ต้องเสียภาษีการค้าและเงินที่โจทก์ได้รับมาจากการขายที่ดินนั้นไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ด้วย
เมื่อไม่ได้ความว่าที่ดินที่โจทก์ขายไปนั้นโจทก์แบ่งแยกไว้เพื่อการสวัสดิการแก่ครูในโรงเรียนของโจทก์ และฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำต้องขายที่ดินนั้นไปเพื่อปลดเปลื้องหนี้สินเกี่ยวกับกิจการโรงเรียนราษฎร์แต่โจทก์ซื้อที่ดินส่วนนั้นมาเพื่อขายตั้งแต่แรก การขายที่ดินของโจทก์จึงไม่เกี่ยวกับโรงเรียนราษฎร์ ไม่เป็นกิจการของโรงเรียนราษฎร์ อันจะไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร หมวด 4 ว่าด้วยภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78ทวิ(3)
เมื่อไม่ได้ความว่าที่ดินที่โจทก์ขายไปนั้นโจทก์แบ่งแยกไว้เพื่อการสวัสดิการแก่ครูในโรงเรียนของโจทก์ และฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำต้องขายที่ดินนั้นไปเพื่อปลดเปลื้องหนี้สินเกี่ยวกับกิจการโรงเรียนราษฎร์แต่โจทก์ซื้อที่ดินส่วนนั้นมาเพื่อขายตั้งแต่แรก การขายที่ดินของโจทก์จึงไม่เกี่ยวกับโรงเรียนราษฎร์ ไม่เป็นกิจการของโรงเรียนราษฎร์ อันจะไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร หมวด 4 ว่าด้วยภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78ทวิ(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเพิ่มจากการประเมินใหม่: สิทธิการรับชำระหนี้แม้ยังมิได้แจ้งการประเมิน
ลูกหนี้ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 5 เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกคำสั่งให้ลูกหนี้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 แต่ยังไม่ทันได้แจ้งให้ลูกหนี้ทราบคำสั่ง ลูกหนี้ก็ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีนี้เสียก่อน กรมสรรพากรผู้ร้องจึงมาขอรับชำระหนี้ ดังนี้ เงินที่ลูกหนี้จะต้องเสียอีกร้อยละ 20 แห่ง เงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ถือว่าเป็นเงินภาษีอากรและถือว่าได้เกิดขึ้นแล้วพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคล เมื่อกรมสรรพากรผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลก็มีสิทธิได้รับชำระเงินเพิ่มด้วย แม้ว่าเจ้าพนักงานประเมินมิได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ก็ตาม แต่มูลหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่มได้เกิดขึ้นแล้วก่อนลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเมื่อกรมสรรพากรผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ถือได้ว่าเป็นการแจ้งคำสั่งประเมินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว กรมสรรพากรผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้ที่ค้างรวมทั้งเงินเพิ่มดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักผลขาดทุนสุทธิยกมาเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ ต้องทำตามขั้นตอนการยื่นแบบ ภ.ง.ด.5 ในแต่ละปีตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ผลการขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันซึ่งยอมให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(12) นั้น หมายความว่าผลขาดทุนที่ยกมาตามวิธีการทางบัญชีแต่ละปีจนถึงปีที่มีกำไรสุทธิ แต่ต้องยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปัจุบัน ดังนั้น โดยวิธีการทางบัญชีดังกล่าวเมื่อโจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.5 เพื่อเสียภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2512 โจทก์ ก็จะต้องแสดงรายการผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2512 ให้ปรากฏในแบบ ภ.ง.ด.5ข้อ 1(4) เพื่อไปหักกำไรสุทธิในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบบัญชีปี พ.ศ. 2513แต่ถ้าไม่มีกำไรสุทธิ หรือกำไรสุทธิในรอบบัญชีปี พ.ศ. 2513 ยังไม่พอกับผลขาดทุนสุทธิในรอบปี พ.ศ. 2512 โจทก์ก็ต้องยกยอดขาดทุนสุทธิทั้งหมดหรือที่เหลือให้ปรากฏในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.5 เพื่อเสียภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2514 เพื่อให้หักกำไรสุทธิในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2515 และทำเช่นนี้ได้เรื่อยไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว แต่โจทก์จะเอาผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2512 และ 2514 ไปหักกำไรสุทธิในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีพ.ศ. 2516 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926-1927/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากค่าเช่าฟิลม์ภาพยนตร์ต่างประเทศ: เงินได้พึงประเมินคือเงินที่จ่ายให้บริษัทต่างประเทศหลังหักค่าใช้จ่าย
โจทก์เป็นบริษัทจำกัด จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ประเทศสหรัฐอเมริกาประกอบธุรกิจให้เช่าและจัดจำหน่ายฟิลม์ภาพยนตร์ มีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทยโจทก์เช่าฟิลม์ภาพยนตร์จากบริษัทต่างประเทศแล้วเอาเข้ามาฉายในประเทศไทย ซึ่งทางโรงภาพยนตร์จะแบ่งปันรายได้ให้แก่โจทก์โจทก์จะหักไว้เป็นรายได้ของโจทก์ร้อยละ 40 ส่วนที่เหลือร้อยละ 60 ต้องหักค่าใช้จ่ายในการโฆษณา ค่าตัดต่อฟิลม์ค่าพิมพ์คำบรรยายค่าบันทึกเสียงหรือพากย์ และค่าตรวจเซนเซ่อร์เสียก่อน เหลือเท่าไรบริษัทต่างประเทศจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาจากโจทก์ได้และโจทก์มีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องส่งเงินสุทธิดังกล่าวเท่านั้นไปให้บริษัทต่างประเทศดังนั้นเงินค่าเช่าฟิลม์ภาพยนตร์ซึ่งถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์จะต้องรับผิดเสียภาษีตามมาตรา 40(5) ประกอบด้วยมาตรา 70 จึงได้แก่เงินที่โจทก์จ่ายให้บริษัทต่างประเทศหลังจากหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วและการคำนวณภาษีเงินได้ของเงินดังกล่าวจะต้องหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาให้อีกร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือตามมาตรา 70(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายจากการประกอบธุรกิจ และการประเมินภาษีเงินได้ที่ถูกต้อง
โจทก์มีสิทธิรับเงินจากพีเอ็กส์ของทหารอเมริกันตามจำนวนเสื้อผ้าที่ตัดเย็บถือได้ว่าเงินที่โจทก์มีสิทธิรับนี้เป็นเงินได้ของโจทก์ แม้โจทก์จะต้องถูกหักเงินค่าธรรมเนียมไป 14 เปอร์เซ็นต์ เงินที่ถูกหักไปนี้ก็เป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจอย่างหนึ่งซึ่งโจทก์อาจนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายตามที่จ่ายจริง แต่เมื่อโจทก์ไม่นำหลักฐานมาแสดงว่าได้ใช้จ่ายไปตามความจริงและสมควรเท่าใด กรมสรรพากรจำเลยจึงได้คิดหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาจ่ายให้ 75 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 ซึ่งค่าใช้จ่ายที่หักเป็นการเหมานี้รวมถึงจำนวนเงิน 14เปอร์เซ็นต์ที่โจทก์อ้างว่าได้จ่ายให้องค์การทหารอเมริกันด้วยแล้ว ดังนี้ โจทก์จะให้คิดหักจำนวนเงิน 14 เปอร์เซ็นต์นี้ออกจากเงินได้ของโจทก์เสียก่อนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีเงินได้แทนลูกจ้าง และการคืนภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบเพื่อการผลิต
โจทก์เป็นผู้ยื่นชำระภาษีการค้าและภาษีเงินได้เองโดยเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยไม่ได้ประเมินเรียกให้โจทก์ชำระดังนี้ เป็นกรณีที่ไม่มีการประเมินเรียกเก็บโจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 และเมื่อโจทก์มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในทางแพ่ง โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจนำคดีมาฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ค่าภาษีเงินได้ซึ่งลูกจ้างผู้มีเงินได้จะต้องชำระให้แก่จำเลยนั้นเป็นหนี้อันเกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายการที่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินค่าภาษีเงินได้แทนลูกจ้างไปนั้นถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 314 เงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนลูกจ้างไปนั้นเป็นเงินของโจทก์ดังนั้น ถ้าโจทก์ชำระเกินจำนวนที่ลูกจ้างเป็นหนี้อยู่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกคืนส่วนที่ชำระเกินไปนั้นได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา 63 ที่บัญญัติว่า บุคคลผู้ใดถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีตามส่วนนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน แต่ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไป นั้นใช้บังคับสำหรับบุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายในวันที่จะใช้สิทธิเรียกเงินของตนที่ถูกหักภาษีเกินไปคืนแม้โจทก์จะไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย แต่โจทก์เป็นผู้ออกเงินของโจทก์ชำระค่าภาษีแทนลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้และถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย มีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนโดยต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้ชำระภาษีนั้นแทนโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเท่าที่ลูกจ้างมีอยู่ คือต้องยื่นคำร้องขอรับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 63 เช่นเดียวกันส่วนเรื่องอายุความลาภมิควรได้นั้นจำเลยไม่ได้หยิบยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการชอบแล้ว
โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบดังนี้ แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตาม โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบดังกล่าวตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อขายโดยเฉพาะก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79ทวิ(3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้าตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น (มิถุนายน 2505 ถึง ตุลาคม 2513)
ค่าภาษีเงินได้ซึ่งลูกจ้างผู้มีเงินได้จะต้องชำระให้แก่จำเลยนั้นเป็นหนี้อันเกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายการที่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินค่าภาษีเงินได้แทนลูกจ้างไปนั้นถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 314 เงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนลูกจ้างไปนั้นเป็นเงินของโจทก์ดังนั้น ถ้าโจทก์ชำระเกินจำนวนที่ลูกจ้างเป็นหนี้อยู่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกคืนส่วนที่ชำระเกินไปนั้นได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา 63 ที่บัญญัติว่า บุคคลผู้ใดถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีตามส่วนนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน แต่ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไป นั้นใช้บังคับสำหรับบุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายในวันที่จะใช้สิทธิเรียกเงินของตนที่ถูกหักภาษีเกินไปคืนแม้โจทก์จะไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย แต่โจทก์เป็นผู้ออกเงินของโจทก์ชำระค่าภาษีแทนลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้และถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย มีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนโดยต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้ชำระภาษีนั้นแทนโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเท่าที่ลูกจ้างมีอยู่ คือต้องยื่นคำร้องขอรับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 63 เช่นเดียวกันส่วนเรื่องอายุความลาภมิควรได้นั้นจำเลยไม่ได้หยิบยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการชอบแล้ว
โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบดังนี้ แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตาม โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบดังกล่าวตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อขายโดยเฉพาะก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79ทวิ(3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้าตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น (มิถุนายน 2505 ถึง ตุลาคม 2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีแทนบริษัทต่างประเทศไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
เงินค่าสิทธิในกรรมวิธีผลิตตามมาตรา 40 (3) และดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตาม (5)(ก) กฎหมายบัญญัติว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน ไม่ได้บัญญัติรวมถึงภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยที่ผู้จ่ายเงินออกชำระแทนให้ผู้มีเงินได้อันจะถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน เช่นที่บัญญัติไว้ชัดแจ้งในมาตรา 40 (1) และ (2) ฉะนั้น เงินที่โจทก์ชำระแทนบริษัทต่างประเทศเป็นค่าภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยดังกล่าว จึงไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) และ (4)(ก)
โจทก์ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,567.84 บาท แทนบริษัทต่างประเทศ เป็นเงิน 18,096,689.72 บาท เต็มจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องชำระแล้ว กรมสรรพากรจำเลยอ้างว่าหากโจทก์หักภาษีเงินได้จำนวนดังกล่าวออกบริษัทในต่างประเทศจะได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยไปเพียง 56,650,878.12 บาท แต่โจทก์ชำระภาษีเงินได้แทนเป็นเหตุให้บริษัทในต่างประเทศได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยเกินไปเท่ากับจำนวนภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระแทน เงินจำนวนนี้จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสิทธิและดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ผู้จ่ายเงินจะต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้ ดังนี้ รังฟังไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,767.84 บาท หาใช่ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 56,650,878.12 บาทไม่ หากโจทก์จะต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้อีกก็เป็นการชำระภาษีซ้ำซ้อน แม้ในกรณีนี้ถ้าโจกท์มิได้นำส่งภาษีเงินได้ทั้งมิได้ชำระภาษีเงินได้แทน โจทก์ก็คงต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้เท่าจำนวนที่มิได้หักและนำส่งตามมาตรา 54 วรรคแรกเท่านั้น
โจทก์ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,567.84 บาท แทนบริษัทต่างประเทศ เป็นเงิน 18,096,689.72 บาท เต็มจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องชำระแล้ว กรมสรรพากรจำเลยอ้างว่าหากโจทก์หักภาษีเงินได้จำนวนดังกล่าวออกบริษัทในต่างประเทศจะได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยไปเพียง 56,650,878.12 บาท แต่โจทก์ชำระภาษีเงินได้แทนเป็นเหตุให้บริษัทในต่างประเทศได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยเกินไปเท่ากับจำนวนภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระแทน เงินจำนวนนี้จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสิทธิและดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ผู้จ่ายเงินจะต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้ ดังนี้ รังฟังไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,767.84 บาท หาใช่ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 56,650,878.12 บาทไม่ หากโจทก์จะต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้อีกก็เป็นการชำระภาษีซ้ำซ้อน แม้ในกรณีนี้ถ้าโจกท์มิได้นำส่งภาษีเงินได้ทั้งมิได้ชำระภาษีเงินได้แทน โจทก์ก็คงต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้เท่าจำนวนที่มิได้หักและนำส่งตามมาตรา 54 วรรคแรกเท่านั้น