คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,786 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6870/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการโอนมรดกโดยมิชอบของผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกให้ถ้อยคำเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 ผู้กระทำผิดต้องเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และได้เบียดบัง เอาทรัพย์เป็นของตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ส่วนความผิดตามมาตรา 353 ผู้กระทำความผิดต้องเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์ของผู้อื่นหรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตจนทำให้เกิดความเสียหาย สำหรับความผิดตามมาตรา 354 ต้องเป็นกรณี ที่ผู้กระทำความผิดมาตรา 352 หรือ 353 ได้กระทำในฐานะ ที่เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาลหรือ ตามพินัยกรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยหรือ ว.เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น และจำเลยไม่ได้เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์ของผู้อื่น และไม่ได้ มีฐานะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาลหรือตามพินัยกรรม จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้กระทำความผิด ตามมาตรา 352 มาตรา 353 และมาตรา 354 ได้ เมื่อจำเลย ไม่สามารถกระทำผิดตามมาตราดังกล่าวได้ จำเลยจึงเป็นตัวการ ร่วมกับ ว. ในการกระทำความผิดตามมาตรา 83 ไม่ได้ การจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ผู้จัดการมรดกในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกนั้น สามารถทำได้โดยไม่ต้องสอบถามทายาทอื่น แตกต่างกับการจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ผู้จัดการมรดก ในฐานะเป็นผู้รับมรดกเอง ซึ่งจะต้องมีการบันทึกการยินยอม ของทายาทเจ้ามรดกไว้ด้วย และเป็นการจดทะเบียนที่ดิน ประเภทมีทุนทรัพย์ เมื่อปรากฏว่า ว.ได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า เหตุที่ไม่ได้โอนมรดกรายนี้ให้ทายาทอื่นด้วยนั้น เนื่องจาก ว. ได้แบ่งมรดกส่วนอื่นให้ไปแล้ว และจำเลยในฐานะทายาทได้ทำบันทึกให้ความยินยอม โดยที่ผู้จัดการมรดกยังไม่ได้แบ่งมรดกรายอื่นให้แก่โจทก์ ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทอื่นเลย จึงเป็นการที่จำเลยช่วงเหลือ ให้ ว. ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จดทะเบียนโอนมรดกเป็นของ ว. ในฐานะผู้รับมรดกเองอันเป็นการกระทำที่มีมูลความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353,354 ประกอบ 86 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6856/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกและการบังคับตามสัญญาซื้อขาย: ศาลพิพากษาตามยอมได้เมื่อไม่ขัดกฎหมาย
จำเลยทั้งสองในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้แก่ จ.ในราคา 30,000,000 บาทฝ่ายผู้จะซื้อชำระราคาแล้ว 1,500,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รู้เห็นและยินยอมให้จำเลยทั้งสองทำสัญญาด้วย ต่อมา ว.กับพวกรวม 5 คน ทายาทของเจ้ามรดกฟ้องจำเลยทั้งสองขอแบ่งทรัพย์มรดก ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งมรดกให้แก่ ว.กับพวกเป็นเงิน 12,328,712.70 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระให้เอาที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระแทน ซึ่งคดีดังกล่าวศาลฎีกาพิพากษาเมื่อวันที่7 ตุลาคม 2531 ต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม 2532 จ.ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขาย จำเลยทั้งสองกับ จ.ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยทั้งสองยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อตามสัญญาและยอมรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด และได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อแล้ว ดังนี้ เมื่อทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกคงเหลือที่ดินเพียงแปลงเดียวคือที่ดินพิพาท การที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกชำระเงินให้แก่ ว.กับพวกเป็นเงินประมาณ 22,000,000 บาทแต่จำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์มรดกเหลือเพียงพอจะชำระเงินให้แก่ ว.กับพวก และว.กับพวกก็จะบังคับคดีโดยนำที่ดินออกขายทอดตลาดซึ่งระหว่างนั้น จ.ผู้ซื้อก็ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายฉบับลงวันที่ 4 เมษายน 2524 จำเลยทั้งสองจึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและยอมรับเงินค่าซื้อที่ดินส่วนที่เหลือและจำเลยทั้งสองได้นำเงินที่ได้ไปชำระแก่นางวันดีกับพวกแล้ว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกโดยชอบ เพราะหากให้ ว.กับพวกบังคับคดีโดยนำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดก็อาจไม่ได้ราคาและอาจเกิดความเสียหายแก่ทายาทได้ ทั้งการที่จำเลยทั้งสองยอมปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายโดยโอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ซื้อตามข้อสัญญา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติผิดหน้าที่แต่อย่างใด
แม้ขณะโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยื่นฟ้องคดีนี้ ที่ดินพิพาทยังไม่ได้โอนไปยังบุคคลภายนอกยังเป็นมรดกที่จำเลยทั้งสองสามารถจะนำมาแบ่งปันแก่ทายาทได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนี้ได้มีการโอนที่ดินพิพาทไปยังบุคคลภายนอกแล้ว จึงไม่เป็นมรดกที่จะนำมาแบ่งแก่ทายาทได้อีก
ตามคำขอท้ายฟ้องที่ ม.ได้รับมอบอำนาจจาก จ.ให้ฟ้องคดีนั้นระบุว่าขอให้บังคับจำเลยในคดีดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ซึ่งก็คือ ม.นั่นเอง ที่สัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่าให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ ม.จึงตรงกับคำขอท้ายฟ้อง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายศาลย่อมพิพากษาตามยอมได้ ประกอบการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้ทำตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม ทั้งคดีดังกล่าวก็ถึงที่สุดแล้ว การโอนที่ดินพิพาทจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6856/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์มรดก: การโอนที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้มรดกและการแบ่งปันให้ทายาท
จำเลยทั้งสองในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้แก่ จ.ในราคา 30,000,000 บาท ฝ่ายผู้จะซื้อชำระราคาแล้ว1,500,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รู้เห็น และยินยอมให้จำเลยทั้งสองทำสัญญาด้วย ต่อมา ว. กับพวกรวม 5 คน ทายาทของเจ้ามรดกฟ้องจำเลยทั้งสอง ขอแบ่งทรัพย์มรดก ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งมรดก ให้แก่ ว. กับพวกเป็นเงิน 12,328,712.70 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระให้เอาที่ดินพิพาท ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระแทน ซึ่งคดีดังกล่าวศาลฎีกา พิพากษาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2531 ต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม2532 จ. ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายจำเลยทั้งสองกับ จ. ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยทั้งสองยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อ ตามสัญญาและยอมรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ ศาลชั้นต้น พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด และได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อแล้ว ดังนี้ เมื่อทรัพย์มรดก ของเจ้ามรดกคงเหลือที่ดินเพียงแปลงเดียวคือที่ดินพิพาท การที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกชำระเงินให้แก่ ว. กับพวกเป็นเงินประมาณ 22,000,000 บาทแต่จำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์มรดกเหลือเพียงพอจะชำระเงินให้แก่ ว.กับพวกและว. กับพวกก็จะบังคับคดีโดยนำที่ดินออกขายทอดตลาดซึ่งระหว่างนั้น จ. ผู้ซื้อก็ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายฉบับลงวันที่ 4 เมษายน 2524จำเลยทั้งสองจึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและยอมรับเงินค่าซื้อที่ดินส่วนที่เหลือและจำเลยทั้งสองได้นำเงินที่ได้ไปชำระแก่ ว. กับพวกแล้ว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำการตามหน้าที่ ของผู้จัดการมรดกโดยชอบ เพราะหากให้ ว.กับพวกบังคับคดีโดยนำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดก็อาจไม่ได้ราคาและอาจเกิดความเสียหายแก่ทายาทได้ ทั้งการที่จำเลยทั้งสอง ยอมปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายโดยโอนที่ดินพิพาทให้ แก่ ผู้ซื้อตามข้อสัญญา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติผิดหน้าที่แต่อย่างใด แม้ขณะโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยื่นฟ้องคดีนี้ ที่ดินพิพาทยังไม่ได้โอนไปยังบุคคลภายนอกยังเป็นมรดกที่จำเลยทั้งสองสามารถจะนำมาแบ่งปันแก่ทายาทได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนี้ได้มีการโอนที่ดินพิพาทไปยังบุคคลภายนอกแล้วจึงไม่เป็นมรดกที่จะนำมาแบ่งแก่ทายาทได้อีก ตามคำขอท้ายฟ้องที่ ม. ได้รับมอบอำนาจจาก จ.ให้ฟ้องคดีนั้นระบุว่าขอให้บังคับจำเลยในคดีดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ซึ่งก็คือ ม. นั่นเอง ที่สัญญาประนีประนอมยอมความ ระบุว่าให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ ม. จึงตรงกับ คำขอท้ายฟ้อง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายศาลย่อมพิพากษาตามยอมได้ประกอบการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้ทำตามสัญญา ประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม ทั้งคดีดังกล่าว ก็ถึงที่สุดแล้ว การโอนที่ดินพิพาทจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6574/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกและการตั้งผู้จัดการมรดกร่วมเพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม
ในการที่ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายนั้น เพราะผู้ตายมีมรดกที่จะต้องแบ่งปันแก่ทายาท มีเหตุขัดแย้งในการแบ่งปันมรดก และผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย หากการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น ปรากฏว่าผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก และตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่ก็ได้ หรือหากศาลไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมจะตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้
ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ต่อมายื่นคำร้องขอให้ตั้ง ฮ.เป็นผู้จัดพการมรดกร่วมกับผู้ร้องโดยผู้คัดค้านจะไม่ได้ขอให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายก็ตาม แต่เมื่อปรากฏในทางพิจารณาว่าการจัดการมรดกอาจเกิดความไม่เป็นธรรมได้เพราะผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายอยู่เดิม อ้างว่าผู้ตายไม่มีมรดก และผู้คัดค้านไม่มีสิทธิรับมรดก จึงเป็นการสมควรที่ศาลจะตั้ง ช.เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้ เพื่อให้การจัดการมรดกได้เป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม และการที่ศาลตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องต่อมานั้น เป็นการพิจารณาว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียหรือไม่ ช.มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกร่วมหรือไม่ ดังนี้ เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านมิใช่คู่ความรายเดียวกัน ประเด็นตามคำร้องของผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นคนละประเด็นกันจึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวมกับมติทายาท: การจัดสรรที่ดินมรดกและการใช้สิทธิโดยชอบธรรม
เมื่อเจ้ามรดกตาย โจทก์และจำเลยจึงเป็นทายาทรับมรดกที่ดินพิพาทร่วมกับบุตรคนอื่น ๆ ของเจ้ามรดกตราบใดที่ยังไม่มีการแบ่งทรัพย์มรดกเป็นส่วนสัดก็ต้องถือว่าทุกคนเป็นเจ้าของรวม จำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของรวมการที่จำเลยปลูกโรงเรือนและนำวัสดุก่อสร้างมาไว้บนที่ดินพิพาท ก็เพราะได้รับอนุญาตจากเจ้ามรดกเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อเจ้ามรดกได้ร่วมกับบริษัท ฮ. จัดสรรแบ่งขายที่ดินและทายาทส่วนใหญ่มีมติให้ยังคงดำเนินการดังกล่าวต่อไป โจทก์ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกจึงต้องดำเนินการไปตามเสียงข้างมากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 วรรคสาม จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามมติของทายาทส่วนใหญ่ด้วย การที่จำเลยอ้างว่าในฐานะทายาทคนหนึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะปลูกโรงเรือนหรือนำวัสดุก่อสร้างมาไว้บนที่ดินพิพาทได้นั้น จึงเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 วรรคหนึ่งที่กำหนดว่าการใช้ทรัพย์สินของเจ้าของรวมคนหนึ่งต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ เมื่อทายาทคนอื่น ๆ ประสงค์จะให้มีการจัดสรรที่ดินแบ่งขายต่อไป โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกก็มีหน้าที่ดำเนินการไปตามมติเสียงส่วนใหญ่ของทายาทเมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยขนย้ายสิ่งที่เป็นอุปสรรคแก่การดำเนินการจัดสรรที่ดินออกไป จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะก่อสร้างโรงเรือนหรือนำวัสดุก่อสร้างมาวางบนที่ดินพิพาทต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6303/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือหลักฐานการรับเงินมรดกและสละสิทธิ ถือเป็นเอกสารสิทธิ ตามกฎหมาย
หนังสือหลักฐานการได้รับเงินและสละสิทธิในที่ดินมรดกเป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแก่การก่อ เปลี่ยนแปลง โอนหรือระงับซึ่งสิทธิในที่ดินมรดก จึงเป็นเอกสารสิทธิ ตาม ป.อ.มาตรา 1 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการมรดก: ภริยาต่างด้าวมีสิทธิจัดการมรดก หากไม่เป็นบุคคลต้องห้าม
แม้ผู้ร้องจะเป็นบุคคลต่างด้าวแต่ผู้ร้องก็ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ที่จะจัดการมรดกของผู้ตาย การเป็นบุคคลต่างด้าวหาเป็นอุปสรรคในการจัดการมรดกของผู้ตายแต่อย่างใดไม่ เมื่อผู้ร้องเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ของผู้ตายร่วมกับผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6057/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีมรดกและการถอนตัวโจทก์, การอุทธรณ์คดีที่ทุนทรัพย์น้อยกว่าเกณฑ์
โจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตามคำสั่งศาล แม้โจทก์ที่ 1แต่ผู้เดียวโดยลำพังฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์มรดกโดยโจทก์ที่ 2 มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย ตามป.พ.พ.มาตรา 1726 ก็ตาม คดีนี้เป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกโจทก์ทั้งสองมีความเห็นต้องกันให้ฟ้องขับไล่ผู้อาศัยคือจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ อำนาจฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้กระทำโดยชอบตั้งแต่ต้น แต่ในระหว่างพิจารณา โจทก์ที่ 2 ขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ โดยอ้างว่าไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไปและจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ถอนตัวได้ตามคำขอแต่ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาศาลชั้นต้น ว่า โจทก์ที่ 2 แถลงถึงสาเหตุที่ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไปว่า เพราะจำเลยเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจึงยื่นคำร้องขอถอนตัวออกจากการเป็นโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่เพราะมีความเห็นแตกต่างกับโจทก์ที่ 1 ในการจัดการมรดก และไม่ได้คัดค้านการดำเนินคดีต่อไปของโจทก์ที่ 1เท่ากับโจทก์ที่ 2 ยินยอมให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไปโดยปริยาย โจทก์ที่ 1ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีขอให้ขับไล่จำเลยต่อไปตามสิทธิและหน้าที่ผู้จัดการมรดกได้
เดิมโจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลชั้นต้นตีราคาทุนทรัพย์ที่พิพาทเป็นเงิน 3,648,000 บาท และวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ว่า จำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทแทนทายาทอื่นไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ คิด ถึงวันฟ้อง เป็นเงินประมาณ 25,000 บาท ในชั้นอุทธรณ์จำเลยไม่ติดใจอุทธรณ์ในประเด็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงมีเพียงประมาณ 25,000บาท ซึ่งไม่เกิน 50,000 บาท เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้ทำความเห็นแย้งไว้ หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ถอนจำนำหลังเจ้าหนี้และผู้จำนำถึงแก่ความตาย การตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อดำเนินการ
ซ.จำนำที่ดินให้แก่ ข.เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2458 กรณีต้องบังคับตามประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 เมื่อยังไม่มีการไถ่ถอนจำนำและที่ดินยังไม่หลุดเป็นสิทธิแก่ ข.เนื่องจากยังไม่ปรากฏว่า ซ.ยินยอมหรือศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ดังนั้นถ้าหาก ซ.และ ข.ยังมีชีวิตอยู่ ซ.ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนจำนำได้ และ ข.ก็มีหน้าที่ให้ไถ่ถอนจำนำ แต่เมื่อ ซ.และ ข.ถึงแก่ความตายสิทธิและหน้าที่ของ ซ.และ ข.ซึ่งถือว่าเป็นมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 และ 1600 ผู้ร้องเป็นทายาท ซ. สิทธิและหน้าที่ของ ซ.ในการไถ่ถอนจำนำย่อมตกแก่ผู้ร้องด้วย เมื่อกองมรดกของ ข.ไม่มีทายาท กองมรดกของ ข.ย่อมตกแก่แผ่นดิน แต่แผ่นดินไม่ใช่ทายาทของ ข. ดังนี้ ทายาทของ ซ. ผู้จำนำจึงไม่สามารถทำการไถ่ถอนจำนำได้จนกว่าจะได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ข.ขึ้น และตราบใดที่กองมรดกของ ข.ยังไม่มีผู้จัดการมรดก ผู้จำนำก็ไม่มีทางไถ่ถอนจำนำได้เลย การที่ผู้ร้องจะไถ่ถอนจำนำจากกองมรดกของ ข.จึงขึ้นอยู่กับการที่กองมรดกของ ข.มีผู้จัดการมรดกเสียก่อน ในกรณีนี้จึงต้องถือว่าผู้ร้องซึ่งมีสิทธิไถ่ถอนจำนำเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของ ข.ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ถอนจำนำที่ดินเมื่อผู้จำนำและผู้รับจำนำถึงแก่ความตาย และการขอเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อดำเนินการ
ซ.จำนำที่ดินให้แก่ ข. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2458 กรณีต้องบังคับตามประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ. 118 เมื่อยังไม่มีการไถ่ถอนจำนำและที่ดินยังไม่หลุดเป็นสิทธิแก่ ข.เนื่องจากยังไม่ปรากฏว่า ซ.ยินยอมหรือศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ดังนั้นถ้าหาก ซ.และ ข.ยังมีชีวิตอยู่ ซ.ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนจำนำได้ และ ข.ก็มีหน้าที่ให้ไถ่ถอนจำนำ แต่เมื่อ ซ.และ ข.ถึงแก่ความตายลัทธิและหน้าที่ของ ซ.และ ข.ซึ่งถือว่าเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599และ 1600 ผู้ร้องเป็นทายาท ซ.สิทธิและหน้าที่ของซ. ในการไถ่ถอนจำนำย่อมตกแก่ผู้ร้องด้วย เมื่อกองมรดกของ ข.ไม่มีทายาทกองมรดกของ ข.ย่อมตกแก่แผ่นดิน แต่แผ่นดินไม่ใช่ทายาท ของ ข.ดังนี้ ทายาทของ ซ.ผู้จำนำ จึงไม่สามารถทำการไถ่ถอนจำนำได้จนกว่าจะได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ข.ขึ้นและตราบใดที่กองมรดกของ ข.ยังไม่มีผู้จัดการมรดก ผู้จำนำก็ไม่มีทางไถ่ถอนจำนำได้เลย การที่ผู้ร้องจะไถ่ถอนจำนำ จากกองมรดกของ ข. จึงขึ้นอยู่กับการที่กองมรดกของ ข. มีผู้จัดการมรดกเสียก่อน ในกรณีนี้จึงต้องถือว่าผู้ร้องซึ่ง มีสิทธิไถ่ถอนจำนำเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องขอต่อศาล ให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของ ข. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713
of 179