คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยอมความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 251 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาช่วยเหลือคดีมรดก: สิทธิรับเงินรางวัลเมื่อยอมความได้ตามเจตนา
จำเลยขอให้โจทก์เจรจาติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญการพิสูจน์ลายมือเพื่อพิสูจน์ลายมือในพินัยกรรมในคดีที่จำเลยฟ้องขอแบ่งมรดก โจทก์ได้เจรจาจนผู้เชี่ยวชาญนั้นยอมรับจะพิสูจน์จำเลยจึงได้ทำสัญญาให้โจทก์ไว้มีข้อความว่า
ข้อ 1 ผู้ให้สัญญายอมให้ผู้ถือสัญญาจัดการวิ่งเต้นช่วยเหลือคดีมรดกของผู้ให้สัญญา และ
ข้อ 2 เมื่อคดีมรดกของผู้ให้สัญญาได้เสร็จสิ้นลงและผู้ให้สัญญาได้รับเงินส่วนแบ่งในคดีมรดกนั้นแล้ว ผู้ให้สัญญาต้องจ่ายเงิน 60,000 บาทให้แก่ผู้ถือสัญญา ฯลฯ
ข้อ 3 หากคดีมรดกนี้ได้มีการประนีประนอมยอมความลงก่อนศาลพิพากษาผู้ให้สัญญายอมจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้ถือสัญญาเพียง 30,000 บาท
ดังนี้ หากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลโดยจำเลยได้รับส่วนแบ่งมรดกแล้ว แม้ผู้เชี่ยวชาญจะยังมิได้ทำการพิสูจน์ลายมือ จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยอมความคดีอาญา/ประนีประนอมหนี้: ผลผูกพันทางแพ่งและอาญา แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
การยอมความในคดีอาญา ความผิดต่อส่วนตัวนั้น แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
(อ้างฎีกาที่ 976/2481)
ในส่วนแพ่ง การประนีประนอมยอมความ ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้และข้อที่อ้างว่า ได้ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความครบถ้วนแล้ว โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ เพราะการนำสืบพยานบุคคลในข้อนี้ มีผลเป็นการยกสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้นต่อสู้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยอมความคดีอาญา/ประนีประนอมยอมความแพ่ง: ผลผูกพันและหลักฐาน
การยอมความในคดีอาญา ความผิดต่อส่วนตัวนั้น แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) (อ้างฎีกาที่ 976/2481)
ในส่วนแพ่ง การประนีประนอมยอมความ ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ และข้อที่อ้างว่าได้ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความครบถ้วนแล้วโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้เพราะการนำสืบพยานบุคคลในข้อนี้มีผลเป็นการยกสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้นต่อสู้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความที่ไม่สมบูรณ์ และความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร
จำเลยหลอกลวงผู้เยาว์อายุ 16 ปีว่า คู่รักต้องการพบ ผู้เยาว์หลงเชื่อตามจำเลยไปแล้วถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเรากับหน่วงเหนี่ยวกักขังโจทก์และภริยาเป็นบิดามารดาของผู้เยาว์รับขมาด้วยเงิน 2,000 บาท โดยยังไม่ได้ตกลงกันเกี่ยวกับความผิดในทางอาญาและยอมรับขมาเพื่อให้ได้ตัวผู้เสียหายกลับคืนมา และเพื่อล้างอายกับเข้าใจว่าบุตรของตนตามเขาไป ดังนี้ เป็นเรื่องตกลงกันในทางแพ่ง ไม่เกี่ยวกับความผิดในทางอาญา จึงถือไม่ได้ว่ามีการยอมความกันถูกต้องตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39((2)
จำเลยหลอกลวงผู้เยาว์ว่า คู่รักของผู้เยาว์มาคอยพบ จะถือว่าผู้เยาว์เต็มใจไปกับจำเลยหาได้ไม่
จำเลยหลอกลวงพาผู้เยาว์ไปบังคับขู่เข็ญกระทำชำเรา มิใช่พาไปในฐานชู้สาว จึงเป็นการพรากไปเพื่อการอนาจาร
พรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจ ผิดตามมาตรา 318 วรรคท้าย เป็นบทหนักกว่ามาตรา 319 ซึ่งศาลอุทธรณ์ปรับมา แต่โจทก์มิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฏีกาจะพิพากษาให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงพาผู้เยาว์ไปกระทำชำเราและการยอมความที่ไม่สมบูรณ์
จำเลยหลอกลวงผู้เยาว์อายุ 16 ปี ว่าคู่รักต้องการพบผู้เยาว์หลงเชื่อตามจำเลยไปแล้วถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเรากับหน่วงเหนี่ยวกักขัง โจทก์และภริยาเป็นบิดามารดาของผู้เยาว์รับขมาด้วยเงิน 2,000 บาทโดยยังไม่ได้ตกลงกันเกี่ยวกับความผิดในทางอาญาและยอมรับขมาเพื่อให้ได้ตัวผู้เสียหายกลับคืนมาและเพื่อล้างอายกับเข้าใจว่าบุตรของตนตามเขาไปดังนี้ เป็นเรื่องตกลงกันในทางแพ่ง ไม่เกี่ยวกับความผิดในทางอาญา จึงถือไม่ได้ว่ามีการยอมความกันถูกต้องตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
จำเลยหลอกลวงผู้เยาว์ว่า คู่รักของผู้เยาว์มาคอยพบจะถือว่าผู้เยาว์เต็มใจไปกับจำเลยหาได้ไม่
จำเลยหลอกลวงพาผู้เยาว์ไปบังคับขู่เข็ญกระทำชำเรา มิใช่พาไปในฐานชู้สาว จึงเป็นการพรากไปเพื่อการอนาจาร
พรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจผิดตามมาตรา 318 วรรคท้าย เป็นบทหนักกว่ามาตรา 319 ซึ่งศาลอุทธรณ์ปรับมา แต่โจทก์มิได้ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาจะพิพากษาให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความก่อน/หลังการกระทำความผิด และความยินยอมของผู้เสียหายเป็นเหตุยกเว้นความผิดอาญา
การยอมความในความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 35 วรรค 2 และ 39(2) นั้น เป็นการกระทำภายหลังที่ความผิดได้เกิดขึ้นแล้ว มิใช่การที่จะกระทำกันไว้ล่วงหน้าก่อนการกระทำความผิด ข้อตกลงล่วงหน้าก่อนมีการกระทำความผิดจะถือเป็นการยอมความตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้
บุคคลจะตกลงกันไว้ก่อนว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญา ถ้าหากจะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นต่อไปข้างหน้านั้น ข้อตกลงนั้นหามีผลก่อให้เกิดหนี้ที่จะผูกพันคู่กรณีให้จำต้องงดเว้นไม่ฟ้องคดีอาญาเช่นว่านั้นแต่ประการใดไม่ เพราะอำนาจฟ้องคดีอาญาจะมีอยู่หรือไม่นั้น มิได้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายลักษณะหนี้ในทางแพ่งหากอยู่ภายในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาอีกส่วนหนึ่ง
ข้อตกลงว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญานั้น อาจถือเป็นความยินยอมให้กระทำการที่ตามปกติต้องด้วยบทบัญญัติว่าเป็นความผิดได้ มีหลักทั่วไปเป็นเหตุยกเว้นความผิดอาญาตามนัยฎีกาที่ 616/2482 และ 787/2483 ว่า ความยินยอมอันบริสุทธิ์ของผู้เสียหายให้ผู้ใดกระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดนั้น ถ้าความยินยอมนั้นไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรมอันดีและมีอยู่จนถึงขณะกระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่า เป็นความผิดนั้นแล้ว ความยินยอมนั้นเป็นข้อยกเว้นมิให้การกระทำนั้นเป็นความผิดขึ้นได้
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย แม้ไม่ผูกพันโจทก์ให้ยินยอมอยู่เช่นนั้นตลอดไป แต่โจทก์ก็ได้ยินยอมให้จำเลยออกเช็คโดยจะไม่ฟ้องเป็นความผิดอาญา เป็นความยินยอมที่มีอยู่จนถึงขณะที่จำเลย+++++++ โดยรู้ว่าไม่มีเงินในธนาคารอันเป็นการกระทำโดยเจตนาที่+++++++ความผิดประการหนึ่งซึ่งจำเลยได้กระทำลงตามความยินยอม+++++ความผิดกรณีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ ถือได้ว่าความ++++ผู้เสียหายในการกระทำฐานนี้ไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรมอันดี การกระทำที่โจทก์ฟ้องจึงไม่เป็นความผิดในทางอาญา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความก่อนหรือหลังเกิดความผิดทางอาญา และความยินยอมของผู้เสียหายเป็นเหตุยกเว้นความผิด
การยอมความในความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง และ39(2) นั้น เป็นการกระทำภายหลังที่ความผิดได้เกิดขึ้นแล้ว มิใช่การที่จะกระทำกันไว้ล่วงหน้าก่อนการกระทำความผิด ข้อตกลงล่วงหน้าก่อนมีการกระทำความผิดจะถือเป็นการยอมความตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้
บุคคลจะตกลงกันไว้ก่อนว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญา ถ้าหากจะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นต่อไปข้างหน้านั้น ข้อตกลงนั้นหามีผลก่อให้เกิดหนี้ที่จะผูกพันคู่กรณีให้จำต้องงดเว้นไม่ฟ้องคดีอาญาเช่นว่านั้นแต่ประการใดไม่ เพราะอำนาจฟ้องคดีอาญาจะมีอยู่หรือไม่นั้น มิได้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายลักษณะหนี้ในทางแพ่ง หากอยู่ภายในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาอีกส่วนหนึ่ง
ข้อตกลงว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญานั้น อาจถือเป็นความยินยอมให้กระทำการที่ตามปกติต้องด้วยบทบัญญัติว่าเป็นความผิดได้มีหลักทั่วไปเป็นเหตุยกเว้นความผิดอาญาตามนัยฎีกาที่616/2482 และ 787/2483 ว่า ความยินยอมอันบริสุทธิ์ของผู้เสียหายให้ผู้ใดกระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดนั้น ถ้าความยินยอมนั้นไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรมอันดีและมีอยู่จนถึงขณะกระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดนั้นแล้ว ความยินยอมนั้นเป็นข้อยกเว้นมิให้การกระทำนั้นเป็นความผิดขึ้นได้
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย แม้ไม่ผูกพันโจทก์ให้ยินยอมอยู่เช่นนั้นตลอดไป แต่โจทก์ก็ได้ยินยอมให้จำเลยออกเช็คโดยจะไม่ฟ้องเป็นความผิดอาญา เป็นความยินยอมที่มีอยู่จนถึงขณะที่จำเลยออกเช็ค โดยรู้ว่าไม่มีเงินในธนาคาร อันเป็นการกระทำโดยเจตนาที่เป็นองค์ความผิดประการหนึ่งซึ่งจำเลยได้กระทำลงตามความยินยอมของโจทก์ ความผิดกรณีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ ถือได้ว่าความยินยอมของผู้เสียหายในการกระทำฐานนี้ไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรม การกระทำที่โจทก์ฟ้องจึงไม่เป็นความผิดในทางอาญา(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบังคับคดีหลังยอมความ: ฟ้องหนี้สามัญ มิใช่บังคับจำนอง ยึดทรัพย์นอกจำนองได้
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้โดยไม่มีคำขอให้บังคับจำนอง จำเลยทำประนีประนอมยอมความยอมใช้เงินและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักค้ำประกันต่อไปแล้วศาลพิพากษาตามยอมนั้น คงถือว่าโจทก์มิได้ฟ้องและศาลมิได้พิพากษาให้บังคับจำนอง เป็นแต่เพียงฟ้องและพิพากษาในมูลหนี้สามัญเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญายอมความ โจทก์ย่อมบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยนอกเหนือไปจากที่จำนองไว้ได้
การที่ผู้ร้องขัดทรัพย์อ้างว่า ทรัพย์ที่ขอให้ปล่อยนั้นมิใช่ทรัพย์ที่จำเลยจำนองไว้กับโจทก์ในคดีที่มีพฤติการณ์ดังกล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่เป็นเหตุที่จะให้ศาลสั่งถอนการยึดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดลักทรัพย์ระหว่างพี่น้องเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ สิทธิฟ้องย่อมระงับ
ความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335นั้นหากน้องกระทำต่อพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกัน ก็เป็นความผิดอันยอมความได้เมื่อพี่ถอนคำร้องทุกข์คดีก็ย่อมระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินสมรสหลังยอมความในคดีร้องขัดทรัพย์ ศาลยืนตามสิทธิการจัดการสินสมรส
ในกรณีที่ภริยาจำเลยร้องขัดทรัพย์แล้วทำยอมความในศาลกับโจทก์ให้ขายทรัพย์ที่ยึดเอาเงินครึ่งหนึ่งให้ผู้ร้องรับไป อีกครึ่งหนึ่งชำระหนี้โจทก์ เหลือก็คืนจำเลยนั้น หากปรากฏว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง ยินยอมให้ขายชำระหนี้โจทก์ได้แล้ว ก็ไม่มีปัญหาเรื่องจำเลยและผุ้ร้องจะมีสิทธิในทรัพย์ที่ยึดอย่งไร คงมีปัญหาอยู่ที่ว่า ฝ่ายใดจะมีสิทธิรับทรัพย์ส่วนของผู้ร้องตามยอมคืนไปเท่าใด และฝ่ายใดจะเป็นผู้ดำเนินคดีแก่ฝ่ายใดเท่านั้น จำเลยจะร้องอ้างว่าไม่ได้อนุญาตให้ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์และทำยอมจึงขอบอกล้างเสียนั้นย่อมไม่ได้ เพราะไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับกรณีร้องขัดทรัพย์นี้ ชอบที่จำเลยและผู้ร้องจะไปว่ากล่าวเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก
of 26