คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระเบียบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแต่งตั้งกรรมการมัสยิด: ต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบอย่างครบถ้วน การแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ.2488 มาตรา 8 เพียงแต่เปิดโอกาสให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะจัดให้มีคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดหรือไม่ ซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้ และให้อำนาจคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำหนดระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการ พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมิได้กำหนดว่าใครเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ต่อมาจึงมีพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 มาตรา 8 บัญญัติให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิด และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้ออกระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2492 กฎหมายและระเบียบดังกล่าวนี้ออกต่อเนื่องประกอบกันให้ปฏิบัติการแต่งตั้งได้โดยสมบูรณ์หาได้ขัดแย้งกันหรือยกเลิกข้อใดโดยปริยายไม่ ดังนั้น การแต่งตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดต้องปฏิบัติโดยครบถ้วน จึงจะเป็นการแต่งตั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดหามีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดได้เองโดยพลการไม่
เมื่อปรากฏว่าการแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบดังกล่าว จึงไม่มีผลให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง เป็นกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโดยชอบกรรมการไม่มีอำนาจกระทำการแทนมัสยิด ผู้รับมอบอำนาจจากกรรมการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนมีอำนาจผูกพันตามสัญญา แม้มีระเบียบภายในขัดแย้ง ศาลยืนตามสัญญาซื้อขายที่ดิน
ในการจัดซื้อที่ดินเพื่อขยายถนนสุขุมวิทจากกรุงเทพฯ - ตราด ตอนศรีราชา สัตหีบ กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการปรองดองเพื่อพิจารณาค่าทำขวัญให้แก่เจ้าของทรัพย์สิน และที่ดินโดยให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาปรองดองค่าทำขวัญกับเจ้าของทรัพย์สิน และที่ดินเพื่อการก่อสร้างดังกล่าวได้ด้วย เมื่อต่อมาคณะกรรมการปรองดองชุดนี้ได้ตีราคาที่ดินในโซนที่ดินพิพาท เสนอกรมทางหลวง จำเลยซึ่งเป็นราคาที่ดินปานกลาง และจำเลยเห็นชอบด้วยและอนุมัติให้ดำเนินการได้จนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทกับผู้รับมอบอำนาจช่วงจากจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาแบ่งขายที่ดินพิพาทกันตามราคาปานกลางดังกล่าวและคณะกรรมการปรองดองกับโจทก์ยังได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมในเรื่องค่าทดแทนที่ดินพิพาทดังกล่าวนั้นไว้อีกด้วย ต้องถือว่า คณะกรรมการปรองดองเป็นตัวแทนของจำเลยจำเลยจึงต้องผูกพันตามนั้น จำเลยจะอ้างระเบียบการภายในมาปฏิเสธความผูกพันและความรับผิดไม่ได้ และการที่ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาแบ่งขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ไปก็มิใช่เป็นการฉ้อฉลหรือเกินกว่าขอบอำนาจที่จำเลยได้มอบหมายให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพ การมีผลสมบูรณ์ของคำร้อง และสิทธิในการรับเงินตามระเบียบฌาปนกิจ
กรมการปกครองได้จัดตั้งสำนักงานฌาปนกิจกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนันขึ้น โดยวางระเบียบการฌาปนกิจไว้ให้จ่ายเงินค่าอุปการะศพสมาชิกที่ถึงแก่กรรมแก่ทายาทผู้ซึ่งสมาชิกระบุไว้ในใบสมัครหรือแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ครั้งหลังที่สุด ดังนี้ การขอเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพจะสมบูรณ์ตั้งแต่เมื่อใด ต้องเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการฌาปนกิจดังกล่าว เมื่อระเบียบดังกล่าวระบุว่าความเป็นสมาชิกเริ่มแต่วันที่คณะกรรมการดำเนินงานได้มีมติรับเข้าเป็นสมาชิก และสมาชิกภาพย่อมสิ้นสุดลงเมื่อสมาชิกลาออกและได้รับอนุญาตจากประธานกรรมการดำเนินงานแล้วหาได้ระบุว่าการขอเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพจะสมบูรณ์ต่อเมื่อคณะกรรมการดำเนินงานฌาปนกิจมีมติหรือเมื่อประธานกรรมการดำเนินงานอนุมัติแล้วด้วยไม่ การขอเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพจึงมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่สมาชิกยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงทายาทต่อนายอำเภอ แม้ประธานดำเนินงานฌาปนกิจได้มีหนังสือแจ้งว่าการขอเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพจะสมบูรณ์ต่อเมื่อประธานกรรมการดำเนินงานฌาปนกิจอนุมัติแล้ว แต่อำนาจในการออกและแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบฌาปนกิจเป็นของกรมการปกครองหนังสือนี้จึงไม่มีผลบังคับ เมื่อสมาชิกได้ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพ ให้บุคคลใดเป็นทายาทรับเงินค่าอุปการะศพไว้แล้ว แต่ประธานกรรมการดำเนินงานฌาปนกิจได้อนุมัติให้เปลี่ยนได้เมื่อหลังจากสมาชิกถึงแก่กรรม ก็ถือว่าการขอเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่สมาชิกยื่นคำร้องแล้ว
เมื่อระเบียบการฌาปนกิจระบุว่า ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินค่าอุปการะศพได้แก่ทายาทซึ่งสมาชิกระบุไว้ในใบสมัครหรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งหลังที่สุด โดยระบุเพียงว่าทายาท มิได้ระบุว่าทายาทโดยธรรมดังนั้นทายาทซึ่งสมาชิกระบุไว้ในใบสมัครหรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งหลังที่สุดย่อมมีสิทธิรับเงินค่าอุปการะศพ โดยหาจำเป็นต้องเป็นทายาทโดยธรรมของสมาชิกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คทางไปรษณีย์: การพิสูจน์ข้อห้ามส่งตามระเบียบอธิบดี
พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2483 ไม่ได้บัญญัติว่าเช็คเป็นของมีค่าซึ่งห้ามส่งทางไปรษณีย์ จึงมิใช่ข้อกฎหมายที่ศาลรู้เอง แต่ต้องสืบพยานว่ามีระเบียบข้อบังคับที่อธิบดีวางไว้ตาม มาตรา 21(1)(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2647/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินคืนจากข้าราชการ กรณีปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยระเบียบ ไม่ใช่ค่าเสียหาย แต่เป็นหน้าที่คืนเงิน
จำเลยเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ดูแลนักเรียนไทยประจำสถานฑูตในต่างประเทศ มีหน้าที่ควบคุมฝ่ายการเงินและการบัญชีเสมือนเป็นหัวหน้ากองคลังเมื่อทางราชการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ให้ตรวจสอบเงิน แล้วแจ้งให้จำเลยทราบว่าจำเลยเบิกจ่ายใช้เงินไม่ชอบด้วยระเบียบของทางราชการ จำเลยได้แสดงหลักฐานการเบิกจ่ายใช้เงินดังกล่าวให้ทางราชการตรวจสอบ โดยอ้างว่าได้เบิกจ่ายใช้ไปโดยสุจริตและชอบด้วยระเบียบแล้ว แม้เงินนั้นจำเลยจะได้ถอนจากธนาคารไปในระหว่าง พ.ศ.2501 ถึง 2505แต่ใน พ.ศ.2506 จำเลยก็ได้นำเงินเข้าฝากธนาคารบางส่วนจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้เอาเงินของทางราชการไปเป็นส่วนตัวตั้งแต่วันที่ถอนเงิน เพราะจำเลยมีหน้าที่ดูแลรักษาเงินดังกล่าวแทนทางราชการอยู่ จะถือว่าจำเลยได้กระทำละเมิดนับแต่วันที่จำเลยได้ถอนเงินจากธนาคารหาได้ไม่ และเมื่อทางราชการได้ตรวจสอบใบสำคัญในการใช้จ่ายเงินที่จำเลยเบิกมาจากธนาคารแล้วเห็นว่ามีบางรายการจำเลยใช้จ่ายไปโดยไม่ชอบได้สั่งให้จำเลยใช้เงินคืน จึงต้องถือว่าเงินที่สั่งให้ใช้คืนนั้นเป็นเงินของทางราชการที่ยังอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยตามหน้าที่ จำเลยจะต้องคืนตามที่ทางราชการกำหนดให้เมื่อนับแต่นั้นถึงวันฟ้องยังไม่พ้น 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนเช่นนี้ไม่ใช่การเรียกร้องค่าเสียหาย จะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหัวหน้ากองที่ออกคำสั่งเปลี่ยนแปลงระเบียบการจ่ายเงิน ทำให้เกิดความเสียหายต่อธนาคาร
ธนาคารออมสินโจทก์ได้ออกคำสั่งวางระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการถอนเงินของนักเรียนผู้ฝากเงินนอกสถานที่ไว้ว่า เวลาจะถอนนักเรียนต้องมอบฉันทะให้อาจารย์ผู้ปกครองเป็นผู้ขอถอนให้โดยลงชื่อในใบมอบฉันทะ แล้วมอบให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารนำมาเบิกเงินที่ธนาคารเมื่อตรวจสอบกับบัญชีเงินฝากมียอดเงินถูกต้อง ก็ให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารเซ็นรับเงินไปตามที่ขอถอน แล้วนำใบถอนเงินกลับไปให้ผู้รับมอบฉันทะเซ็นชื่อในช่องผู้รับเงินในใบถอน แล้วจึงมอบเงินให้ จำเลยดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองส่งเสริมการออมทรัพย์ของธนาคารออมสินโจทก์ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว และได้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวมาหลายปี แต่ต่อมาจำเลยได้ออกคำสั่งใหม่โดยมิชอบด้วยระเบียบแบบแผนแก่พนักงานในบังคับบัญชาของจำเลย เปลี่ยนแปลงทางปฏิบัติตามคำสั่งเดิมที่วางไว้ว่า เมื่อมีการถอนเงินก็ให้มอบฉันทะให้พนักงานธนาคารมาถอนแล้ว พนักงานผู้มาถอนก็รับเงินของผู้ฝากไปมอบให้แก่ผู้ถอนนอกสถานที่ ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้ทำให้ปราศจากหลักฐานในการตรวจสอบว่าพนักงานจ่ายเงินให้แก่ตัวผู้ถอนหรือไม่ และเป็นเหตุให้พนักงานใต้บังคับบัญชาของจำเลยซึ่งได้รับมอบฉันทะจากนักเรียนให้มาถอนเงินแทนได้รับเงินแล้วไม่นำไปมอบให้แก่นักเรียนผู้มอบฉันทะ ดังนี้ จำเลยซึ่งเป็นผู้ออกคำสั่งย่อมต้องรับผิดในฐานะที่จำเลยเป็นผู้ประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารออมสินโจทก์ เมื่อผู้ฝากเงินยังไม่ได้รับเงินไป เพราะความผิดของพนักงานธนาคารซึ่งจำเลยต้องร่วมรับผิดชอบด้วย โดยธนาคารออมสินโจทก์ต้องรับสำรองจ่ายให้แก่ผู้ฝากไป ธนาคารออมสินโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง แม้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือทำในวันหยุด
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองที่ผู้ประสงค์จะทำพินัยกรรมมิได้ยื่นคำร้องแสดงความจำนงตามระเบียบก็ดี ปลัดอำเภอผู้จัดทำพินัยกรรมไม่ได้เขียนข้อความในวันเปิดทำงานตามปกติก็ดีก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของพินัยกรรมเมื่อเอกสารนั้นมีรายการถูกต้องครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1658 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ถือได้ว่าเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง แม้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือทำในวันหยุด
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองที่ผู้ประสงค์จะทำพินัยกรรมมิได้ยื่นคำร้องแสดงความจำนงตามระเบียบก็ดี ปลัดอำเภอผู้จัดทำพินัยกรรมไม่ได้เขียนข้อความในวันเปิดทำงานตามปกติก็ดีก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของพินัยกรรม เมื่อเอกสารนั้นมีรายการถูกต้องครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1658 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ถือได้ว่าเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081-1086/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งรื้อถอนอาคาร: การยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ข้อ 3 วางไว้ว่า ต้องทำคำร้องเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและที่อยู่ให้ชัดเจน ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่อุทธรณ์ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับหรือทราบคำสั่งดังนี้ การที่โจทก์ได้ทำคำร้องเป็นหนังสือโดยมีตัวแทนโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงชื่อในหนังสือและได้ระบุที่อยู่สำหรับติดต่อไว้ชัดเจนมีข้อความด้วยว่า โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคาร ชี้แจงว่าสภาพของอาคารโจทก์ไม่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมจนไม่อาจแก้ไขได้แต่อย่างใด ขอให้พิจารณายกเลิกคำสั่งรื้อถอนอาคารของเทศบาลนครกรุงเทพ ย่อมถือว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่งครบถ้วนตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยแล้ว
การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวต่อนายกเทศมนตรี นครกรุงเทพ ถือได้เท่ากับยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081-1086/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งรื้อถอนอาคาร การยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นชอบด้วยระเบียบ แม้จะยื่นผ่านไปยังรัฐมนตรี
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองข้อ 3 วางไว้ว่า ต้องทำคำร้องเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและที่อยู่ให้ชัดเจน ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่อุทธรณ์ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับหรือทราบคำสั่งดังนี้ การที่โจทก์ได้ทำคำร้องเป็นหนังสือโดยมีตัวแทนโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงชื่อในหนังสือและได้ระบุที่อยู่สำหรับติดต่อไว้ชัดเจนมีข้อความด้วยว่า โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคาร ชี้แจงว่าสภาพของอาคารโจทก์ไม่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมจนไม่อาจแก้ไขได้แต่อย่างใด ขอให้พิจารณายกเลิกคำสั่งรื้อถอนอาคารของเทศบาลนครกรุงเทพ ย่อมถือว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่งครบถ้วนตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยแล้ว
การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวต่อนายกเทศมนตรีนครกรุงเทพ ถือได้เท่ากับยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว
of 22