พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4862/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่างประเทศในคดีล้มละลาย: สิทธิในการรับชำระหนี้หลังการโอน
มาตรา 178 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ต่างประเทศซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้..." ย่อมหมายถึงเฉพาะเจ้าหนี้ต่างประเทศผู้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเท่านั้นที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178 โดยต้องพิสูจน์ว่า เจ้าหนี้ในประเทศไทยก็มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามกฎหมายและในศาลแห่งประเทศของเจ้าหนี้ต่างประเทศผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ในทำนองเดียวกัน และเจ้าหนี้ต่างประเทศดังกล่าวได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับทรัพย์สินหรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นนอกราชอาณาจักรเป็นจำนวนเท่าใดหรือไม่ และถ้ามี ตนยอมส่งทรัพย์สินหรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของลูกหนี้ดังกล่าวมารวมไว้ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในราชอาณาจักร
บริษัท อ. เจ้าหนี้เดิมซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178 ครบถ้วนแล้ว ต่อมาเมื่อเจ้าหนี้เดิมได้โอนสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้เดิมแล้ว ผู้ร้องในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ไม่ว่าผู้ร้องจะเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรหรือไม่ก็ตาม โดยผู้ร้องไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178
บริษัท อ. เจ้าหนี้เดิมซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178 ครบถ้วนแล้ว ต่อมาเมื่อเจ้าหนี้เดิมได้โอนสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้เดิมแล้ว ผู้ร้องในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ไม่ว่าผู้ร้องจะเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรหรือไม่ก็ตาม โดยผู้ร้องไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองในการรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาด ไม่ต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน
เจ้าหนี้จำนองยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองให้เอาเงินที่ได้มานั้นชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน เพราะไม่ใช่เรื่องฟ้องบังคับจำนองโดยตรงที่จะต้องบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 728
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2111/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับชำระหนี้บางส่วนและการปลดหนี้ลูกหนี้ร่วม ทำให้เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยจากลูกหนี้รายนั้นได้
เจ้าหนี้ ลูกหนี้ที่ 2 ส. และ ว. ได้ร่วมกันทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 กับโจทก์ จึงต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และมาตรา 682 วรรคสอง ถ้าเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นตามมาตรา 693 วรรคหนึ่ง และรับช่วงสิทธิของโจทก์ไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกันได้ตามส่วนเท่าๆ กันตามมาตรา 229 (3) และมาตรา 296 อีกด้วย เมื่อลูกหนี้ที่ 1 และที่ 2 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยแก่ลูกหนี้ที่ 1 และที่ 2 ในภายหน้าได้ทั้งจำนวนหรือตามส่วนแล้วแต่กรณี เว้นแต่โจทก์ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนอันมีต่อลูกหนี้ที่ 1 หรือที่ 2 แล้ว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 101 เมื่อบริษัท พ. ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ชั้นต้นอันมีต่อลูกหนี้ที่ 1 และได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ค้ำประกันอันมีต่อลูกหนี้ที่ 2 ไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้ย่อมไม่มีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าต่อลูกหนี้ที่ 2 ได้
เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 โดยยอมรับผิดต่อบริษัท ท. อย่างลูกหนี้ร่วม เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมในหนี้รายเดียวกันย่อมต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อกันไว้จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตรา 229 และมาตรา 296 การที่บริษัท ท. ยอมรับการชำระหนี้จากลูกหนี้ที่ 2 เป็นเงิน 500,000 บาท และปลดหนี้ให้โดยการถอนฟ้องเฉพาะลูกหนี้ที่ 2 คงเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ 2 ที่ได้ปลดไปเท่านั้น ส่วนลูกหนื้ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อบริษัท ท. อีกต่อไป เพราะหนี้ส่วนที่เหลือสำหรับลูกหนี้ที่ 2 ระงับไปแล้วตามมาตรา 340 ดังนั้นหากต่อมาเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ท. ไปเพียงใดก็ไม่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ที่ 2 ได้อีกต่อไป เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ได้
เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 โดยยอมรับผิดต่อบริษัท ท. อย่างลูกหนี้ร่วม เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมในหนี้รายเดียวกันย่อมต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อกันไว้จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตรา 229 และมาตรา 296 การที่บริษัท ท. ยอมรับการชำระหนี้จากลูกหนี้ที่ 2 เป็นเงิน 500,000 บาท และปลดหนี้ให้โดยการถอนฟ้องเฉพาะลูกหนี้ที่ 2 คงเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ 2 ที่ได้ปลดไปเท่านั้น ส่วนลูกหนื้ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อบริษัท ท. อีกต่อไป เพราะหนี้ส่วนที่เหลือสำหรับลูกหนี้ที่ 2 ระงับไปแล้วตามมาตรา 340 ดังนั้นหากต่อมาเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ท. ไปเพียงใดก็ไม่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ที่ 2 ได้อีกต่อไป เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น แม้ยังมิได้ฟ้องบังคับจำนอง หรือมีจดหมายบอกกล่าว
ผู้รับจำนองมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้รายอื่นๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 โดยหาจำต้องฟ้องร้องขอบังคับจำนองก่อนหรือต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่แล้วไม่เพราะกฎหมายมิได้มีข้อจำกัดสิทธิของผู้รับจำนองดังกล่าว และการยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ก็มิใช่การฟ้องบังคับจำนองโดยตรง ผู้รับจำนองจึงไม่ต้องมีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองให้ลูกหนี้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 ดังนั้น ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองย่อมอาศัยอำนาจแห่งการจำนองยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองในทรัพย์จำนองที่มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายอื่นยึดไว้แล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับจำนองในการขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่ถูกยึดโดยเจ้าหนี้อื่น แม้ยังมิได้บอกกล่าวลูกหนี้
ป.วิ.พ. มาตรา 289 ไม่มีข้อจำกัดสิทธิของผู้รับจำนองว่าจะต้องฟ้องร้องบังคับจำนองก่อนหรือจะต้องเป็นเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาจึงจะขอรับชำระหนี้ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองแล้วผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองย่อมยื่นคำร้องขอต่อศาลรับชำระหนี้จำนองตามมาตรา 289 ได้
การบอกกล่าวบังคับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 ใช้สำหรับกรณีที่ผู้รับจำนองฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ในกรณีการยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ไม่ใช่การฟ้องคดีบังคับจำนองที่จะต้องยึดทรัพย์นั้นอีก ผู้ร้องอีกยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองได้โดยไม่จำต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ก่อน
การบอกกล่าวบังคับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 ใช้สำหรับกรณีที่ผู้รับจำนองฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ในกรณีการยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ไม่ใช่การฟ้องคดีบังคับจำนองที่จะต้องยึดทรัพย์นั้นอีก ผู้ร้องอีกยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองได้โดยไม่จำต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8336/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องเป็นไปตามกระบวนการในคดีล้มละลาย มิได้เสียสิทธิ
เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเนื่องจากจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โดยขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) การที่ผู้ร้องจะได้รับชำระหนี้อย่างไรจึงต้องเป็นไปตามกระบวนการในคดีล้มละลาย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลย และมิได้ทำให้ผู้ร้องเสียสิทธิในการได้รับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้ประกันแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลอดทรัพย์จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและการขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินต่างแปลง ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นสิทธิการรับชำระหนี้
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40015 ของจำเลยที่ 2 ก่อนเจ้าหนี้อื่น และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40015 ก่อนเจ้าหนี้อื่นแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40015 ก่อนเจ้าหนี้อื่นเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
ส่วนที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40016 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 ก่อนเจ้าหนี้อื่นมาด้วยนั้น ที่ดินที่ขอรับชำระหนี้เป็นที่ดินคนละแปลงกับคดีก่อน เมื่อคดีก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ว่าผู้ร้องมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40015 ก่อนเจ้าหนี้อื่นหรือไม่เท่านั้น โดยยังมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 40016 ดังนั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40016 ก่อนเจ้าหนี้อื่นในคดีนี้ จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
ส่วนที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40016 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 ก่อนเจ้าหนี้อื่นมาด้วยนั้น ที่ดินที่ขอรับชำระหนี้เป็นที่ดินคนละแปลงกับคดีก่อน เมื่อคดีก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ว่าผู้ร้องมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40015 ก่อนเจ้าหนี้อื่นหรือไม่เท่านั้น โดยยังมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 40016 ดังนั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40016 ก่อนเจ้าหนี้อื่นในคดีนี้ จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและสิทธิในการรับชำระหนี้จำนองให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1651, 1612 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งจดทะเบียนจำนองไว้ต่อธนาคาร ท. เพื่อนำออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา ต่อมาธนาคาร ท. เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 43/2548 ของศาลจังหวัดเชียงใหม่ ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ธนาคาร ท. ได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น เมื่อธนาคาร ท. โอนขายสินทรัพย์และสิทธิเรียกร้องต่าง ๆ ที่มีต่อจำเลยที่ 2 ให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงชอบที่จะขอเข้าสวมสิทธิแทนที่ธนาคาร ท. ตามที่ศาลชั้นต้นเคยมีคำสั่งอนุญาตได้ ประกอบกับผู้ร้องเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ซึ่งมาตรา 7 ของ พ.ร.ก. ดังกล่าว บัญญัติว่า ในการโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าว และกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องแล้ว ก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น ซึ่งบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดวิธีพิเศษในการเข้าสวมสิทธิแทนที่ในกรณีที่สถาบันการเงินได้โอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ไว้ว่าให้โอนสิทธิแก่กันได้ ผู้ร้องจึงชอบที่จะเข้าสวมสิทธิแทนธนาคาร ท. ผู้ขอรับชำระหนี้จำนองได้โดยผลของกฎหมายดังกล่าว ส่วนการที่ผู้ร้องจะได้ชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ท. หรือไม่ เพียงใดนั้น เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องและธนาคาร ท. ไม่มีผลทำให้การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3007/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย: สิทธิในการรับชำระหนี้เฉพาะส่วนของเจ้าหนี้เดิม
จำเลยทั้งสองต่างเป็นลูกหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 ในมูลหนี้ตามคำพิพากษา ต่อมาผู้ร้องรับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากเจ้าหนี้รายที่ 2 เฉพาะในส่วนจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงยังเป็นลูกหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 อยู่ เจ้าหนี้รายที่ 2 ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน แต่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 ตามความเห็นของผู้คัดค้าน คำสั่งดังกล่าว ถึงที่สุดแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 2 จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแต่อย่างใด แม้ผู้ร้องจะมีสิทธิในทรัพย์หลักประกัน คือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 41348 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ร่วมกับเจ้าหนี้รายที่ 2 แต่ก็เป็นสิทธิในหลักประกันเฉพาะส่วนซึ่งประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 เท่านั้น หากผู้ร้องเห็นว่าตนมีสิทธิเช่นไรผู้ร้องย่อมใช้สิทธิของตนได้ ผู้ร้องไม่อาจมาขอสวมสิทธิแทนเจ้าหนี้รายที่ 2 ซึ่งยื่นคำขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันจากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้