พบผลลัพธ์ทั้งหมด 203 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2187/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: ราคาขายสุราต่ำกว่าตลาดเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี เจ้าพนักงานประเมินประเมินราคาตามตลาดได้
โจทก์เป็นเอเยนต์จำหน่ายสุราขาวและสุราผสมในเขตจังหวัดสมุทรปราการและเป็นผู้ขายส่งสุราแม่โขงและสุรากวางทองในเขตจังหวัดนั้นด้วยการที่โจทก์อ้างว่าได้ขายสุราแม่โขงและสุรากวางทองให้แก่บริษัท ป. ซึ่งเป็นตัวแทนช่วงอีกทอดหนึ่งของโจทก์ไปในราคาเท่าทุน เพราะโจทก์ไม่ได้ไปตั้งร้านค้าในเขตจังหวัดสมุทรปราการและเพื่อจูงใจให้บริษัท ป. ซื้อสุราขาวและสุราผสมของโจทก์ในราคาขายปลีกนั้น ก็เพื่อผลประโยชน์ของโจทก์ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตั้งร้านค้าเท่ากับเป็นกำไรส่วนหนึ่งของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเอเยนต์สุราขาวและสุราผสมในเขตจังหวัดสมุทรปราการแล้วผู้อื่นก็ไม่สามารถนำสุราขาวและสุราผสมมาจำหน่ายในเขตจังหวัดนั้นได้ จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่โจทก์จะจำหน่ายสุราแม่โขงและสุรากวางทองแก่บริษัท ป.ไปในราคาเท่าทุน ราคาดังกล่าวจึงมิใช่เป็นราคาตลาด และเป็นการขายไปในราคาต่ำโดยไม่มีเหตุอันสมควร เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงค่าภาษีหรือชำระค่าภาษีให้น้อยลง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินราคาขายสุราแม่โขงและสุรากวางทองตามราคาตลาดตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (4) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2187/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาขายสุราตามราคาตลาดเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
โจทก์เป็นเอเยนต์ จำหน่ายสุราขาวและสุราผสมในเขตจังหวัด สมุทรปราการ และเป็นผู้ขายส่งสุราแม่โขงและสุรากวางทองในเขตจังหวัดนั้นด้วย การที่โจทก์อ้างว่าได้ ขายสุราแม่โขงและสุรากวางทองให้แก่บริษัท ป. ซึ่ง เป็นตัวแทนช่วงอีกทอดหนึ่งของโจทก์ไปในราคาเท่าทุน เพราะโจทก์ไม่ได้ไปตั้ง ร้านค้าในเขตจังหวัด สมุทรปราการ และเพื่อจูงใจให้บริษัท ป. ซื้อ สุราขาวและสุราผสมของโจทก์ในราคาขายปลีกนั้น ก็เพื่อผลประโยชน์ของโจทก์ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตั้ง ร้านค้าเท่ากับเป็นกำไรส่วนหนึ่งของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเอเยนต์ สุราขาวและสุราผสมในเขตจังหวัด สมุทรปราการ แล้ว ผู้อื่นก็ไม่สามารถนำสุราขาวและสุราผสมมาจำหน่ายในเขตจังหวัดนั้นได้ จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่โจทก์จะจำหน่ายสุราแม่โขงและสุรากวางทองแก่บริษัท ป. ไปในราคาเท่าทุนราคาดังกล่าวจึงมิใช่เป็นราคาตลาดและเป็นการขายไปในราคาต่ำ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงค่าภาษีหรือชำระค่าภาษีให้น้อยลง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินราคาขายสุราแม่โขงและสุรากวางทองตาม ราคาตลาดตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (4) ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาภาษีอากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด พิจารณาจากปริมาณการซื้อ ระยะเวลา และแหล่งที่มาของสินค้า
จำเลยนำสินค้าพิพาทจากประเทศสิงคโปร์เข้ามา 2 ครั้งครั้งแรกแบบซีวีโอ700จำนวน150ชุดครั้งที่2แบบซีวีโอ500 จำนวน 204 ชุด โดยสั่งซื้อจากบริษัทช. และสำแดงราคาสินค้าพิพาทเพื่อคำนวณภาษีอากรเท่ากับที่ผู้นำเข้ารายอื่นนำเข้าทางท่าเรือกรุงเทพในระยะเวลานั้น การที่โจทก์นำราคาสินค้าชนิดเดียวกันซึ่งว.ผู้นำเข้าเพียงรายเดียวสั่งซื้อจากผู้ขายต่างรายกัน และนำเข้าในจำนวนน้อยกว่ามาก โดยนำเข้าแบบซีวีโอ 500 จำนวน 100 ชุดและแบบซีวีโอ 700 จำนวน เพียง 2 ชุด มาเปรียบเทียบกับราคาสินค้าของจำเลย โดยถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดแล้วเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มเติมจากจำเลยทั้ง ๆ ที่ระยะเวลานำเข้าก็ต่างกันเกือบ 1 ปี และต่างปีกัน จึงไม่ถูกต้องถือได้ว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 704/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์นำเข้าตามราคาตลาด โดยเปรียบเทียบกับอะไหล่แท้ และการใช้คำสั่งกรมศุลกากรเป็นเกณฑ์
โจทก์นำแหวนลูกสูบเข้ามาในราชอาณาจักร โดยยื่นคำร้องขอเทียบสินค้าของโจทก์กับอะไหล่ชนิดแท้ของรถยนต์อีซูซุ ผลการเปรียบเทียบปรากฏว่าสินค้าของโจทก์เหมือนกับอะไหล่ชนิดแท้ทุกประการผิดกันเพียงหีบห่อภาชนะที่บรรจุ การที่จำเลยเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์ตามราคาอะไหล่ชนิดแท้ที่นำเข้าโดยลดให้ร้อยละห้าโดยถือตามคำสั่งกรมศุลกากรที่ 28/2527 เรื่องระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาสินค้านำเข้า: ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
โจทก์สำแดงราคาสินค้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเท่ากับราคาสินค้าในบัญชีราคาสินค้าและหลักฐานเอกสารการชำระเงินให้แก่ผู้ขายและโจทก์นำสืบว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาแท้จริงจึงควรเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของราคาสินค้าซึ่งต้องใช้เป็นเกณฑ์คำนวณภาษีอากร แต่พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 2 นิยามคำว่า 'ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด' หมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด ตามความหมายนี้ ราคาที่โจทก์ซื้อสินค้ามาโดยอ้างว่าเป็นราคาแท้จริง จึงมิใช่เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป แม้โจทก์จะนำสืบว่าเคยนำเข้าสินค้าชนิดเดียวกันมาก่อนในราคาเดียวกับการนำเข้าครั้งนี้ก็ปรากฏว่าเป็นการนำเข้าของโจทก์เอง ซึ่งซื้อจากผู้ขายรายเดียวกัน นอกจากนี้โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นแสดงให้เห็นว่าราคาขายเงินสด ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาที่นำเข้าและสถานที่ที่นำเข้า ซึ่งเป็นความหมายของราคาอันแท้จริงในท้องตลาดว่าเป็นราคาเท่าใด ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้า อันจะใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากรได้
จำเลยให้เจ้าหน้าที่ซึ่งประจำเมืองฮ่องกง อันเป็นสถานที่ที่โจทก์สั่งซื้อสินค้าเข้ามา สืบราคาตามร้านใหญ่ ๆ หลายร้านราคาที่สืบได้ส่วนใหญ่ใกล้เคียงกัน เมื่อนำมาเฉลี่ยแล้วราคาขายปลีกสินค้าพิพาทกิโลกรัมละ 3,974.87 เหรียญฮ่องกงคำนวณเป็นราคาขายส่งโดยคิดลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นราคาขายส่ง เอฟ.โอ.บี.กิโลกรัมละ 3,180 เหรียญฮ่องกง อันถือเป็นราคาอันแท้จริงที่ซื้อขายกัน คำนวณเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ. โดยนำค่าขนส่งทางอากาศและค่าประกันภัยในบัญชีราคาสินค้าตามที่โจทก์สำแดงไว้ บวกเข้าไป ผลออกมาเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ. กิโลกรัมละประมาณ 3,200เหรียญฮ่องกง การหาราคาอันแท้จริงของจำเลยได้กระทำตามขั้นตอนมีการคิดคำนวณรายละเอียดต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลและเป็นวิธีที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ เป็นการสืบหาราคาในเวลาที่ใกล้เคียงพอสมควรกับเวลาที่โจทก์นำเข้า ฟังได้ว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทกิโลกรัมละ 3,200 เหรียญฮ่องกงมิใช่ราคากิโลกรัมละ 750 เหรียญฮ่องกง ดังที่โจทก์สำแดงราคาไว้.
จำเลยให้เจ้าหน้าที่ซึ่งประจำเมืองฮ่องกง อันเป็นสถานที่ที่โจทก์สั่งซื้อสินค้าเข้ามา สืบราคาตามร้านใหญ่ ๆ หลายร้านราคาที่สืบได้ส่วนใหญ่ใกล้เคียงกัน เมื่อนำมาเฉลี่ยแล้วราคาขายปลีกสินค้าพิพาทกิโลกรัมละ 3,974.87 เหรียญฮ่องกงคำนวณเป็นราคาขายส่งโดยคิดลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นราคาขายส่ง เอฟ.โอ.บี.กิโลกรัมละ 3,180 เหรียญฮ่องกง อันถือเป็นราคาอันแท้จริงที่ซื้อขายกัน คำนวณเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ. โดยนำค่าขนส่งทางอากาศและค่าประกันภัยในบัญชีราคาสินค้าตามที่โจทก์สำแดงไว้ บวกเข้าไป ผลออกมาเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ. กิโลกรัมละประมาณ 3,200เหรียญฮ่องกง การหาราคาอันแท้จริงของจำเลยได้กระทำตามขั้นตอนมีการคิดคำนวณรายละเอียดต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลและเป็นวิธีที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ เป็นการสืบหาราคาในเวลาที่ใกล้เคียงพอสมควรกับเวลาที่โจทก์นำเข้า ฟังได้ว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทกิโลกรัมละ 3,200 เหรียญฮ่องกงมิใช่ราคากิโลกรัมละ 750 เหรียญฮ่องกง ดังที่โจทก์สำแดงราคาไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114-3119/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืนตามราคาตลาด และดอกเบี้ยตามประกาศคณะปฏิวัติ
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจจะซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบได้ มิใช่หมายความว่าถ้าในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับไม่มีหลักฐาน การจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทน
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้นตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนใช้บังคับวันที่ 1 มกราคม 2520 แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินเพิ่มแก่โจทก์โดยให้เสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 3 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าได้นำเงินไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง แต่คดีนี้โจทก์มิได้ฎีกาเป็นแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ได้.
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้นตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนใช้บังคับวันที่ 1 มกราคม 2520 แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินเพิ่มแก่โจทก์โดยให้เสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 3 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าได้นำเงินไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง แต่คดีนี้โจทก์มิได้ฎีกาเป็นแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114-3119/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: ราคาตลาด vs. ราคาประเมิน และดอกเบี้ยตามประกาศ คปป.
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจจะซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบได้ มิใช่หมายความว่าถ้าในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับไม่มีหลักฐาน การจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทน
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้นตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนใช้บังคับวันที่ 1 มกราคม 2520 แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่3 ชำระเงินเพิ่มแก่โจทก์โดยให้เสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 3 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าได้นำเงินไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง แต่คดีนี้โจทก์มิได้ฎีกาเป็นแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ได้.
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้นตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนใช้บังคับวันที่ 1 มกราคม 2520 แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่3 ชำระเงินเพิ่มแก่โจทก์โดยให้เสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 3 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าได้นำเงินไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง แต่คดีนี้โจทก์มิได้ฎีกาเป็นแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืนต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ห้ามใช้ราคาบัญชีราคาตลาด
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515ข้อ 76 บัญญัติว่า "เงินค่าทดแทนนั้น ถ้า ไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในพ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดัง ต่อไปนี้(1) ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตรา พระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ฯลฯ" ฉะนั้นเงินค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินของโจทก์จึงจะกำหนดตามบัญชีราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อให้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหาได้ไม่ แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบให้เห็นโดยตรงว่าที่ดินของโจทก์มีราคาตามธรรมเนียม ที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนรายพิพาทใช้บังคับเท่าใด แต่โจทก์ก็นำสืบถึงราคาซื้อขายของที่ดินข้างเคียงกับที่ดินของโจทก์ในเวลาก่อนและหลัง พ.ร.ฎ. ดังกล่าวบังคับใช้ศาลย่อมใช้ดุลพินิจ กำหนดราคาซื้อขายที่ดินของโจทก์ในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. ใช้บังคับได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ76 บัญญัติว่า 'เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พระราชบัญญัติ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ฯลฯ' ฉะนั้น เงินค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินของโจทก์จึงจะกำหนดตามบัญชีราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อให้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหาได้ไม่ แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบให้เห็นโดยตรงว่าที่ดินของโจทก์มีราคาตามธรรมเนียมที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนรายพิพาทใช้บังคับเท่าใด แต่โจทก์ก็นำสืบถึงราคาซื้อขายของที่ดินข้างเคียงกับที่ดินของโจทก์ในเวลาก่อนและหลังพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวบังคับใช้ ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดราคาซื้อขายที่ดินของโจทก์ในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกา ใช้บังคับได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3798/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต่ำกว่าราคาตลาด และสิทธิในการเรียกคืนภาษีอากรเมื่อไม่ยื่นอุทธรณ์ทันเวลา
ราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้ามีราคาไล่เลี่ยกับราคาของผู้นำเข้ารายอื่น ๆ ที่นำเข้ามาจากประเทศเดียวกัน ในเที่ยวเรือเดียวกัน และแม้จะนำเข้ามาก่อนประมาณ 3 เดือนหรือหลังประมาณ 2 เดือนก็มีราคาใกล้เคียงกันราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้จึงถือไม่ได้ว่าต่ำกว่าราคาตลาดอันแท้จริง ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินเรียกเก็บตาม ป.รัษฎากร และ พ.ร.บ. รายได้เทศบาล เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วัน ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 30 จึงหมดสิทธิที่จะเรียกคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล.