พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5009/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดเดียวลิขสิทธิ์: แม้ฟ้องหลายกระทง หากจำเลยมีเจตนาและกระทำผิดในคราวเดียวกัน ศาลลงโทษได้เพียงกระทงเดียว
การที่จำเลยให้เช่า ให้เช่าซื้อ ขายหรือเสนอขาย เสนอให้เช่าหรือเสนอให้เช่าซื้อภาพยนตร์วีดีโอเทปจำนวนสองเรื่อง โดยรู้อยู่แล้วว่าภาพยนตร์ดังกล่าวทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นและเจ้าของลิขสิทธิ์มิใช่บุคคลคนเดียวกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดในลักษณะอย่างเดียวกัน เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยได้พร้อมภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องในวันเวลาเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดอันเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวแม้โจทก์จะฟ้องเป็นสองกระทงและจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ลงโทษจำเลยสองกระทงไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2360/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีลิขสิทธิ์ต่างประเทศ ต้องแสดงให้ชัดเจนว่ากฎหมายของประเทศนั้นคุ้มครองลิขสิทธิ์ของภาคีอื่นด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า แถบบันทึกภาพของโจทก์ร่วมตามฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นประเทศที่เป็นภาคี แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี อยู่ด้วย และกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองแก่แถบบันทึกภาพนี้เช่นเดียวกัน ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศพ.ศ. 2526 แต่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องเลยว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคี อื่น ๆแห่งอนุสัญญาดังกล่าว ถ้อยคำที่โจทก์บรรยายในฟ้องว่า "...และกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ของประเทศฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองแก่แถบบันทึกภาพเช่นเดียวกัน ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2526"นั้นก็ไม่อาจจะให้แปลไปได้ว่า กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ของฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคี อื่น ๆแห่งอนุสัญญา ฉะนั้น ฟ้องโจทก์จึงขาดความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าแถบบันทึกภาพตามฟ้องมีสิทธิ์ ที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญาในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวด้วยงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายต่างประเทศฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ต่างประเทศต้องแสดงว่ากฎหมายของประเทศนั้นคุ้มครองลิขสิทธิ์เช่นกัน
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุตามกฎหมายของบริษัทอ.กับบริษัทท. ประเทศฮ่องกงซึ่งได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ แต่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องเลยว่ากฎหมายของเกาะฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ตามฟ้องมีสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญา ในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวด้วยงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายต่างประเทศฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3972/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือแบบเรียน การพิสูจน์เจตนาและขอบเขตความรับผิดของจำเลยต่างๆ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเก้า พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2519 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2521 เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เช่นนี้ กฎหมายที่ใช้บังคับแก่คดีคือพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 เพราะมูลกรณีแห่งคดีนี้เกิดขึ้นในขณะที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 ยังไม่ใช้บังคับ
กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่มีส่วนในการจัดทำหนังสือแบบเรียนที่โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หนังสือแบบเรียนตามฟ้องที่จำเลยจัดพิมพ์ขึ้นก็ระบุเป็นของ กระทรวงศึกษาธิการที่หน้าปก ทุกเล่ม นอกจากนี้กรมการปกครองเคยขออนุญาตโจทก์พิมพ์หนังสือแบบเรียนหลายครั้ง แสดงว่ากรมการปกครองและจำเลยก็ยอมรับแล้วว่าลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบเรียนเป็นของโจทก์ กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงหามีส่วนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วยไม่
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทที่รับพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ที่ 7 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง โจทก์เคยอนุญาตให้กรมการปกครองจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนชั้นประถมศึกษาในระหว่างปี พ.ศ. 2510 ถึง 2516 โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ และหนังสือแบบเรียนที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7พิมพ์ขึ้นนั้น ด้านหน้าก็มีข้อความระบุว่าของ กระทรวงศึกษาธิการในหน้าแรกมีถ้อยคำว่าสำหรับแจกเด็กนักเรียนห้ามขาย ด้านหลังมีคำว่าพิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ถนนพหลโยธินฯลฯ และระบุชื่อนาย พ. ผู้พิมพ์โฆษณา กับมีคำแนะนำในเรื่องให้ยืมหนังสือหรือแบบเรียน ชี้ให้เห็นว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นและนาย พ. เป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องทุกเล่ม แม้ความจริงจะพิมพ์โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ตามพฤติการณ์เหล่านี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ย่อมเข้าใจว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นนาย พ. และกรมการปกครองได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 จึงมิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 8 ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการฝ่ายพิมพ์ โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น และจำเลยที่ 9 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกจำหน่ายของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น ก็เข้าใจว่ากรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับอนุญาตให้จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนของโจทก์ในปี พ.ศ. 2517, 2520 และ 2521 ดังเช่นที่เคยได้รับอนุญาตมาก่อน การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 1 พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของกรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ จึงเป็นการกระทำที่มิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เช่นกัน
กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่มีส่วนในการจัดทำหนังสือแบบเรียนที่โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หนังสือแบบเรียนตามฟ้องที่จำเลยจัดพิมพ์ขึ้นก็ระบุเป็นของ กระทรวงศึกษาธิการที่หน้าปก ทุกเล่ม นอกจากนี้กรมการปกครองเคยขออนุญาตโจทก์พิมพ์หนังสือแบบเรียนหลายครั้ง แสดงว่ากรมการปกครองและจำเลยก็ยอมรับแล้วว่าลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบเรียนเป็นของโจทก์ กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงหามีส่วนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วยไม่
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทที่รับพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ที่ 7 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง โจทก์เคยอนุญาตให้กรมการปกครองจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนชั้นประถมศึกษาในระหว่างปี พ.ศ. 2510 ถึง 2516 โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ และหนังสือแบบเรียนที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7พิมพ์ขึ้นนั้น ด้านหน้าก็มีข้อความระบุว่าของ กระทรวงศึกษาธิการในหน้าแรกมีถ้อยคำว่าสำหรับแจกเด็กนักเรียนห้ามขาย ด้านหลังมีคำว่าพิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ถนนพหลโยธินฯลฯ และระบุชื่อนาย พ. ผู้พิมพ์โฆษณา กับมีคำแนะนำในเรื่องให้ยืมหนังสือหรือแบบเรียน ชี้ให้เห็นว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นและนาย พ. เป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องทุกเล่ม แม้ความจริงจะพิมพ์โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ตามพฤติการณ์เหล่านี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ย่อมเข้าใจว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นนาย พ. และกรมการปกครองได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 จึงมิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 8 ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการฝ่ายพิมพ์ โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น และจำเลยที่ 9 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกจำหน่ายของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น ก็เข้าใจว่ากรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับอนุญาตให้จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนของโจทก์ในปี พ.ศ. 2517, 2520 และ 2521 ดังเช่นที่เคยได้รับอนุญาตมาก่อน การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 1 พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของกรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ จึงเป็นการกระทำที่มิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3972/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือแบบเรียน การพิสูจน์เจตนาและการอนุญาตโดยปริยาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเก้า พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2519 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2521 เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เช่นนี้ กฎหมายที่ใช้บังคับแก่คดีคือพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 เพราะมูลกรณีแห่งคดีนี้เกิดขึ้นในขณะที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 ยังไม่ใช้บังคับ กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่มีส่วนในการจัดทำหนังสือแบบเรียนที่โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หนังสือแบบเรียนตามฟ้องที่จำเลยจัดพิมพ์ขึ้นก็ระบุเป็นของ กระทรวงศึกษาธิการที่หน้าปก ทุกเล่ม นอกจากนี้กรมการปกครองเคยขออนุญาตโจทก์พิมพ์หนังสือแบบเรียนหลายครั้ง แสดงว่ากรมการปกครองและจำเลยก็ยอมรับแล้วว่าลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบเรียนเป็นของโจทก์ กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงหามีส่วนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วยไม่ จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทที่รับพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ที่ 7 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง โจทก์เคยอนุญาตให้กรมการปกครองจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนชั้นประถมศึกษาในระหว่างปี พ.ศ. 2510 ถึง 2516 โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ และหนังสือแบบเรียนที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7พิมพ์ขึ้นนั้น ด้านหน้าก็มีข้อความระบุว่าของ กระทรวงศึกษาธิการในหน้าแรกมีถ้อยคำว่าสำหรับแจกเด็กนักเรียนห้ามขาย ด้านหลังมีคำว่าพิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ถนนพหลโยธินฯลฯ และระบุชื่อนาย พ. ผู้พิมพ์โฆษณา กับมีคำแนะนำในเรื่องให้ยืมหนังสือหรือแบบเรียน ชี้ให้เห็นว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นและนาย พ. เป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องทุกเล่ม แม้ความจริงจะพิมพ์โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ตามพฤติการณ์เหล่านี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ย่อมเข้าใจว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นนาย พ. และกรมการปกครองได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 จึงมิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 8 ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการฝ่ายพิมพ์ โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น และจำเลยที่ 9 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกจำหน่ายของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น ก็เข้าใจว่ากรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับอนุญาตให้จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนของโจทก์ในปี พ.ศ. 2517,2520 และ 2521 ดังเช่นที่เคยได้รับอนุญาตมาก่อน การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 1 พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของกรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ จึงเป็นการกระทำที่มิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีลิขสิทธิ์: การฟ้องภายใน 7 วันหลังศาลสั่งจำหน่ายคดี ไม่ทำให้เกินอายุความ 3 เดือนตามกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเรื่องอายุความคดีอาญาไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะแล้ว จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดอยู่หรือการขยายอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175, 176 มาใช้ในคดีอาญาไม่ได้
โจทก์ยื่นฟ้องคดีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ษ.2521 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ต่อศาลแขวงพระนครใต้ภายในกำหนดอายุความในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ศาลแขวงพระนครใต้เห็นว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงจึงสั่งจำหน่ายคดีให้โจทก์ไปฟ้องยังศาลที่มีอำนาจภายใน 7 วัน โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่ล่วงเลยกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์รู้เรื่องการกระทำผิดและรู้ตัวจำเลยผู้กระทำผิดแล้ว โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้ก่อน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์ยื่นฟ้องคดีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ษ.2521 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ต่อศาลแขวงพระนครใต้ภายในกำหนดอายุความในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ศาลแขวงพระนครใต้เห็นว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงจึงสั่งจำหน่ายคดีให้โจทก์ไปฟ้องยังศาลที่มีอำนาจภายใน 7 วัน โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่ล่วงเลยกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์รู้เรื่องการกระทำผิดและรู้ตัวจำเลยผู้กระทำผิดแล้ว โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้ก่อน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญาลิขสิทธิ์: การฟ้องข้ามศาลไม่หยุดอายุความ และต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน
ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเรื่องอายุความคดีอาญาไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะแล้ว จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดอยู่หรือการขยายอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175,176มาใช้ในคดีอาญาไม่ได้ โจทก์ยื่นฟ้องคดีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ต่อศาลแขวงพระนครใต้ภายในกำหนดอายุความในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ศาลแขวงพระนครใต้เห็นว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงจึงสั่งจำหน่ายคดีให้โจทก์ไปฟ้องยังศาลที่มีอำนาจภายใน 7 วัน โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่ล่วงเลยกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์รู้เรื่องการกระทำผิดและรู้ตัวจำเลยผู้กระทำผิดแล้ว โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้ก่อน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4594/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำคดีเครื่องหมายการค้า: ประเด็นสิทธิและประเภทของสิทธิที่อ้าง (ลิขสิทธิ์ vs. เครื่องหมายการค้า)
คดีก่อนโจทก์ฟ้องในสาระสำคัญว่าโจทก์มีลิขสิทธิ์ในภาพการ์ตูนรูปสุนัขชื่อ สนูปปี้ (SNOOPY) ประเด็นในคดีก่อนมีว่าโจทก์มีลิขสิทธิ์ในภาพการ์ตูนสนูปปี้และจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์หรือไม่ ส่วนคดีนี้ แม้ฟ้องโจทก์จะได้กล่าวถึงคำว่าลิขสิทธิ์อยู่บ้าง แต่ก็มิได้เอาเรื่องลิขสิทธิ์เป็นมูลฟ้องคดี หากแต่กล่าวอ้างว่าโจทก์ใช้ภาพการ์ตูนรูปสุนัขชื่อสนูพี้ (SNOOPY) เป็นภาพและชื่อในการค้าและเครื่องหมายการค้าในสินค้าของโจทก์ โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย ซึ่งเป็นเรื่องอ้างสิทธิเครื่องหมายการค้า ประเด็นในคดีจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าภาพการ์ตูนรูปสุนัขชื่อสนูพี้และคำว่า SNOOPYดีกว่าจำเลยหรือไม่ ประเด็นที่จะวินิจฉัยในคดีนี้จึงไม่ใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยมาแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อนฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์ภาพวาดจากการทำซ้ำเพื่อจำหน่าย แม้จะขายภาพต้นฉบับไปแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าขายลิขสิทธิ์ไปด้วย
โจทก์ร่วมขายภาพวาดสีน้ำมันขนาด 12 นิ้วฟุตคูณ 15 นิ้วฟุตอันเป็นงานจิตรกรรมซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ราคาเพียงภาพละ 300 บาท ให้ อ. และ ม. ดังนี้ เชื่อได้ว่าโจทก์ร่วมขายภาพดังกล่าวเป็นภาพ ๆ ไป หาได้ขายลิขสิทธิ์ในภายให้ไปด้วยไม่ ถ้าโจทก์ร่วมอนุญาตให้นำภาพดังกล่าวไปพิมพ์ได้ก็จะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้เมื่อจำเลยที่ 1ที่ 2 ได้ทำซ้ำซึ่งภาพวาดนั้นเป็นบัตรอวยพร ปีใหม่ออกจำหน่ายแก่ประชาชนโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วม จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศต้องแสดงให้เห็นว่ากฎหมายต่างประเทศให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ของภาคีอื่นด้วย
คดีความผิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า ภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย แต่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องเลยว่ากฎหมายของประเทศนั้นให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าวด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ตามฟ้องมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญา ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158