คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,226 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินประกันความเสียหายจากการทำงานของลูกจ้าง: หลักเกณฑ์และขอบเขตตามกฎหมาย
อ. เป็นผู้จัดการสถานีมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมทรัพย์สินภายในร้านสะดวกซื้อของโจทก์ จึงเข้าลักษณะงานที่โจทก์จะเรียกเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างได้
การที่ อ. ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยรายวันวันละ 233.33 บาท ขณะที่โจทก์ได้รับเงินประกันซึ่งโจทก์สามารถเรียกได้ไม่เกิน 30 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับอยู่ในวันที่นายจ้างรับเงินประกันคิดเป็นเงิน 13,999.80 บาท โจทก์หักค่าจ้างของอ. ไว้เป็นเงินประกันจำนวน 9,415 บาท จึงเป็นจำนวนเงินที่โจทก์สามารถเรียกได้และโจทก์ได้นำเงินประกันดังกล่าวไปฝากไว้กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. อันเป็นสถาบันการเงินในนามของ อ. จึงเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ แม้โจทก์จะไม่ได้แจ้งชื่อสถาบันการเงิน ชื่อบัญชี และเลขที่บัญชีให้ อ. ทราบก็ไม่มีผลกระทบต่อการเรียกเก็บเงินประกันความเสียหายในการทำงานที่โจทก์เรียกเก็บจาก อ. โดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีสิทธินำเงินประกันดังกล่าวมาหักจากค่าเสียหายที่ อ. ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ในการทำงานได้และไม่จำต้องคืนเงินประกันดังกล่าวแก่ อ. ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845-2847/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานจำกัดเฉพาะกรณีนายจ้างใช้ดุลพินิจลงโทษลูกจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นายจ้างลงโทษทางวินัยแก่ลูกจ้างที่มิได้เป็นกรรมการลูกจ้างและการลงโทษนั้นไม่เป็นการกระทำอัน ไม่เป็นธรรม ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อนตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 หรือให้ความคุ้มครองตามมาตรา 121 ถึงมาตรา 123 ดังนั้นศาลแรงงานจะเข้าไปตรวจสอบ ดุลพินิจการลงโทษของนายจ้างในกรณีนี้ได้ก็ต่อเมื่อนายจ้างใช้ดุลพินิจลงโทษไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทั้งสามทำผิดวินัยจริง จำเลยลงโทษตัดเงินเดือนโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นโทษที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลยโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยใช้ดุลพินิจลงโทษไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจลดโทษโจทก์ ทั้งสามเป็นภาคทัณฑ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832-2833/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีเหตุสมควรและเพียงพอ แม้ปรับโครงสร้างบุคลากรก็ต้องเป็นธรรม
การปรับปรุงโครงสร้างบุคลากรโดยลดจำนวนบุคลากรลงให้เหมาะสมกับงาน แม้เป็นอำนาจบริหารของนายจ้างจนเป็นผลให้ต้องเลิกจ้างลูกจ้างได้ แต่ต้องเป็นการกระทำที่มีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้าง และต้องเป็นธรรมต่อลูกจ้างด้วย การลดจำนวนลูกจ้างแม้ผู้ร้องได้กำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นพิจารณาแก่ลูกจ้างทุกคนก็ตาม แต่ผลการประเมินได้ระบุเพียงว่าผลปฏิบัติงานของผู้คัดค้านทั้งสองได้คะแนนต่ำสุดของหน่วยงานเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านทั้งสองไม่สามารถทำงานให้ดีได้หรือทำงานให้ผู้ร้องเสียหายอย่างไร หรือผู้คัดค้านทั้งสองได้กระทำผิดประการใด หรือมีความจำเป็นเพียงใดที่จะต้องเลิกจ้างลูกจ้างในแผนกไฟฟ้าระดับ 5 และแผนกอุปกรณ์ของแหล่งผลิตเอราวัณเฉพาะผู้คัดค้านเพียงสองคนเท่านั้น จึงไม่มีเหตุอันสมควรและเพียงพอถึงขนาดที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832-2833/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลทางธุรกิจต้องสมเหตุสมผลและเป็นธรรมต่อลูกจ้าง
ผู้ร้องประกอบกิจการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติต้องใช้บุคลากรจำนวนมาก การดำเนินกิจการมีกำไรตลอดมา ทั้งปริมาณงานและผลผลิตมิได้ลดลง ส่วนที่มีการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่นและแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าลดลง ทำให้ต้องผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติลดลงนั้นเป็นเพียงการคาดคะเนแม้เป็นมูลเหตุให้ผู้ร้องต้องปรับโครงสร้างบุคลากร แต่ก็ไม่มีผลทำให้ต้องยุบหน่วยงานที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างทำงานอยู่ ผู้ร้องกลับจ้างลูกจ้างเพิ่มขึ้นอีกหลายคน แม้มิได้ให้ทำงานในแผนกที่ผู้คัดค้านทำงานอยู่ แต่ย่อมจะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่วนการลดจำนวนบุคลากรลงให้เหมาะสมกับงาน แม้ผู้ร้องได้กำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นพิจารณาแก่ลูกจ้างทุกคนแต่ผลการประเมินได้ระบุเพียงว่าผลปฏิบัติงานของผู้คัดค้านได้คะแนนต่ำสุดของหน่วยงานเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านไม่สามารถทำงานให้ดีได้หรือทำงานให้ผู้ร้องเสียหายอย่างไร หรือได้กระทำผิดประการใด หรือมีความจำเป็นเพียงใดที่จะต้องเลิกจ้างเฉพาะผู้คัดค้านเท่านั้น จึงไม่มีเหตุอันสมควรและเพียงพอถึงขนาดที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2702/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการหักกลบลบหนี้ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง
จำเลยอ้างว่าโจทก์ขาดคุณสมบัติของการเป็นพนักงานตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยวินัยของพนักงาน แต่ระเบียบข้อบังคับฯที่จำเลยอ้างดังกล่าว มิใช่คุณสมบัติของการเป็นพนักงาน และหากเป็นข้อกำหนดวินัยในการทำงานก็มิได้ระบุเรื่องการมีภาระหนี้สินของพนักงานไว้โดยตรง จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุการมีภาระหนี้สินของโจทก์มาปรับเข้ากับเรื่องวินัยในการทำงานและถือว่าเป็นการขาดคุณสมบัติของการเป็นพนักงานได้ ทั้งภาระหนี้สินของโจทก์ดังกล่าวก็เป็นกรณีที่โจทก์เป็นหนี้จำเลยเพียงรายเดียว และเป็นหนี้ที่จำเลยเองเป็นผู้พิจารณาให้โจทก์กู้ยืม จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์เป็นหนี้เงินกู้ยืมจำเลยและศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยแล้ว ส่วนจำเลยเป็นหนี้ต้องชำระเงินแก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง โจทก์และจำเลยจึงต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นหนี้เงินอย่างเดียวกันและหนี้ของโจทก์และจำเลยถึงกำหนดชำระแล้ว จำเลยก็สามารถนำหนี้ของตนเองมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ของโจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่งานเพื่อทำธุรกิจส่วนตัวถือเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ยื่นใบลาขออนุญาตหยุดงานเป็นเวลา 4 วัน ติดต่อกัน แต่เมื่อจำเลยไม่อนุญาต โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องมาทำงานให้แก่จำเลยในวันและเวลาทำงานปกติตามที่จำเลยมอบหมาย เมื่อโจทก์ไม่มาทำงานแต่กลับเดินทางไปประเทศกัมพูชาเพื่อหาช่องทางทำธุรกิจซึ่งเป็นเหตุส่วนตัวของโจทก์ จึงถือว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาหยุดโดยไม่ได้รับอนุญาตและการละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างถือเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยมีหน้าที่ทำงานในวันทำงานและเวลาทำงานปกติตามที่จำเลยมอบหมาย แม้โจทก์จะยื่นใบลาต่อจำเลยขออนุญาตหยุดงานในวันที่ 9 ถึง11 ตุลาคม 2543 แต่เมื่อจำเลยไม่อนุญาตโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องมาทำงานในวันและเวลาทำงานดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่มาทำงาน แต่กลับเดินทางไปประเทศกัมพูชา เพื่อหาช่องทางทำธุรกิจซึ่งเป็นเหตุส่วนตัวของโจทก์ จึงถือว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 119(5) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556-2557/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรายเดือน การกระทำทุจริตต่อหน้าที่ต้องพิจารณาตามความหมายของพจนานุกรมและข้อเท็จจริงโดยรวม
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (1) มิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต"ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (1) จึงต้องให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง
โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานในแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่โจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่ไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ในวันเกิดเหตุระหว่างเวลาทำงานเพียงชั่วขณะไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับประโยชน์เพิ่ม แม้การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้าง และเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทน ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองกระทำทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย
โจทก์ทั้งสองไม่เคยถูกตักเตือนมาก่อน ทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ก็มิได้ระบุว่า การละทิ้งหน้าที่หรือหลีกเลี่ยงการทำงานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556-2557/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: การกระทำทุจริตต่อหน้าที่ต้องประเมินตามพจนานุกรมและความเสียหายที่เกิดขึ้น
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(1) มิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(1) จึงต้องให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่วโกง ไม่ซื่อตรง
โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานในแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้างการที่โจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่ไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ในวันเกิดเหตุระหว่างเวลาทำงานเพียงชั่วขณะไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับประโยชน์เพิ่ม แม้การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้าง และเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทนก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองกระทำทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย
โจทก์ทั้งสองไม่เคยถูกตักเตือนมาก่อน ทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยก็มิได้ระบุว่า การละทิ้งหน้าที่หรือหลีกเลี่ยงการทำงานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556-2557/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เล่นเกม คอมพิวเตอร์ระหว่างทำงาน ไม่ถือเป็นการทุจริตหรือฝ่าฝืนร้ายแรง
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(1) นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า"ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ระหว่างเวลาทำงานเพียงชั่วขณะไม่ทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์เพิ่ม แม้การกระทำของโจทก์เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้างและเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทน ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ก็มิได้ระบุว่าการละทิ้งหน้าที่หรือหลีกเลี่ยงการทำงานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
of 223