คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลฎีกา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,432 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องหย่าซ้ำ ประเด็นแยกกันอยู่ไม่เด็ดขาด ศาลฎีกาพิพากษากลับ
คดีก่อนศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับเหตุหย่าที่ว่าโจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เกินกว่า 3 ปีนั้น แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องและจำเลยให้การปฏิเสธ อันเป็นประเด็นแห่งคดีแต่ในวันชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเกี่ยวกับการหย่าไว้เพียงว่า จำเลยกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าหรือไม่แต่เพียงประการเดียวเท่านั้นโดยโจทก์จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านไว้ถือได้ว่าโจทก์จำเลยต่างสละสิทธิไม่ติดใจในประเด็นเกี่ยวกับเหตุหย่าที่ว่าโจทก์จำเลยแยกกันอยู่อีกต่อไป ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าในคดีดังกล่าวได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นของเหตุหย่าที่ว่าโจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เกินกว่า 3 ปีหรือไม่ โจทก์จึงนำเอาเหตุเพราะสมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี มาฟ้องหย่าจำเลยเป็นคดีนี้ได้อีก ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4308/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องฉ้อโกงแม้พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อหายักยอก ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องได้
โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ พนักงานสอบสวนสอบสวนจำเลยแล้วมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยในข้อหายักยอก แต่โจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนเป็นความผิดฐานฉ้อโกงจึงฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องความเห็นของโจทก์กับพนักงานสอบสวนแตกต่างกันในการปรับบทกฎหมายกับการกระทำของจำเลย ถือว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาฉ้อโกงแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมซ้ำหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนการซ้ำที่กฎหมายห้าม
ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษายกฎีกาของจำเลยที่ 5 ที่ขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลตามคำร้องของจำเลยที่ 5 มาครั้งหนึ่งแล้ว การที่จำเลยที่ 5 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลต่อศาลชั้นต้นใหม่อีกโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่า กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลแก่จำเลยที่ 5 ซึ่งได้มีคำสั่งและคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3764/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหมายจับแทนการแจ้งนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 กรณีจำเลยย้ายที่อยู่หลังศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลฎีกาเพิกถอนคำพิพากษาลับหลัง
ศาลชั้นต้นไม่แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 แก่จำเลยที่ 2 เพราะส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เนื่องจากรื้อบ้านไปแล้ว โดยเห็นว่ามีพฤติการณ์หลบหนี ให้ออกหมายจับจำเลยที่ 2 มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เมื่อปรากฏว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 2 และปรับโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ จำเลยที่ 2 ชำระค่าปรับจึงเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นครบถ้วนไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 2 จะหลบหนีเพื่อไม่ให้ถูกลงโทษตามกฎหมาย ดังนั้นการที่จำเลยที่ 2 ย้ายบ้านไม่น่าจะเป็นเหตุให้สงสัยว่าจำเลยที่ 2 หลบหนี ทั้งจำเลยที่ 2 และครอบครัวจำเป็นต้องออกจากบ้านพักเลขที่ดังกล่าวตามคำสั่งของทางราชการ แต่ยังคงอาศัยอยู่ในบริเวณนั้นโดยเปิดเผยไม่ได้ปกปิดซ่อนเร้นที่จะแสดงให้เห็นว่ามีเจตนาจะหลบหนี ที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยที่ 2 และอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลับหลังจำเลยที่ 2 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนครอบครองและเสพ ศาลฎีกาแก้โทษตามกฎหมายใหม่ และให้รอการลงโทษ
คดีนี้โจทก์มิได้นำสายลับที่อ้างว่าเป็นผู้ซื้อเมทแอมเฟตามีนจำนวน 4 เม็ด จากจำเลยมาเป็นพยาน โจทก์คงมีนายดาบตำรวจ พ. และนายดาบตำรวจ ถ. ซึ่งเป็นผู้จับกุมจำเลยมาเป็นพยาน แต่พยานโจทก์ทั้งสองปากนี้มิได้รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะที่มีการซื้อขายเมทแอมเฟตามีนระหว่างสายลับกับจำเลย เหตุที่ทราบว่าจำเลยเป็นผู้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 4 เม็ด ในราคาเม็ดละ 120 บาท เพราะสายลับเป็นผู้บอก ดังนี้ คำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองดังกล่าวจึงเป็นพยานบอกเล่า มีน้ำหนักน้อย แม้จะพบธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนอยู่ในกระเป๋าที่วางอยู่หน้าตักจำเลยก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่าจำเลยรับธนบัตรดังกล่าวไว้เนื่องจากการซื้อขายเมทแอมเฟตามีนดังที่สายลับอ้าง เพราะสายลับอาจมอบธนบัตรดังกล่าวให้แก่จำเลยด้วยเหตุอื่นก็ได้ ทั้งจำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอดว่า ไม่ได้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ประกอบกับได้ความว่าเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมยังยึดได้อุปกรณ์ที่ใช้ในการเสพเมทแอมเฟตามีนในห้องพักที่เกิดเหตุ เมื่อตรวจปัสสาวะจำเลยก็มีสีม่วง จำเลยจึงอาจมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อเสพดังที่จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาก็ได้ พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมามีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง คงรับฟังได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น แม้เมทแอมเฟตามีนของกลางมีเพียง 12 เม็ด จึงมีจำนวนไม่มากนัก เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุอันสมควรปรานีเพื่อให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีต่อไปโดยการรอลงโทษให้จำเลย แต่ให้ลงโทษปรับและกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติจำเลยไว้ด้วย
อนึ่ง ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) ฯ มาตรา 8, 19 และ 26 ยกเลิกความในมาตรา 15, 67 และ 91 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทนโดยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ทั้งตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน ดังนั้น กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยในส่วนนี้ ส่วนกำหนดโทษนั้น ตามกฎหมายเดิมมาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท สำหรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่มาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่า แม้ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษจำคุกเท่ากัน และตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น ต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลย สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนนั้น มาตรา 91 ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากมาตรา 91 ตามกฎหมายเดิมซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท จะเห็นได้ว่ากรณีโทษจำคุกขั้นสูงตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เบากว่าโทษจำคุกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 91 เดิม ต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3688/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยที่เกิดจากการซื้อขายสินค้าเดียวกัน ศาลฎีกาพิพากษากลับให้รับฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดนัดไม่ชำระราคาสินค้าแก่โจทก์ ขอให้จำเลยชำระราคา จำเลยฟ้องแย้งว่าก่อนหน้านั้นจำเลยได้สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ โดยโจทก์ตกลงให้จำเลยมีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่โจทก์ส่งมาจำหน่ายให้แก่จำเลยและตกลงให้ค่าตรวจสอบคุณภาพสินค้าแก่จำเลยเป็นรายชิ้น เมื่อคิดหักกลบลบหนี้กันแล้วโจทก์ ยังคงเป็นลูกหนี้จำเลยอยู่ ขอให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลย ดังนี้หนี้ทั้งสองรายที่โจทก์และจำเลยกล่าวอ้างเกิดจากการที่จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์ เมื่อหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงินและทั้งสองฝ่ายต่างอ้างว่าถึงกำหนดชำระแล้ว หากฟังได้ว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยจริง จำเลยย่อมใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ได้เนื่องจากหนี้นั้นมีวัตถุแห่งหนี้เป็นอย่างเดียวกัน จึงถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และ 179 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพคดีอาญา แม้เจ้าของทรัพย์สินไม่ตรงตามฟ้อง แต่มีผู้เสียหายอื่นร้องทุกข์แล้ว ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยประเด็นเจ้าของทรัพย์
ตามฟ้องโจทก์ระบุว่าจำเลยยักยอกเงินของร้าน ท. ซึ่งเป็นของ ส. จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แม้จะปรากฏต่อมาว่าร้าน ท. ไม่ใช่เป็นของ ส. แต่เป็นของ ต. แต่ ต. ได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยแล้ว ฉะนั้นประเด็นที่ว่าร้าน ท. เป็นของ ต. หรือ ส. จึงเป็นข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยมิได้ยกขึ้นโต้แย้งตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3636/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับให้จำเลยชำระเงิน 126,580.79 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 111,596.30 บาท นับถัดจากฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท แม้จำเลยจะเสียค่าขึ้นศาลมาในชั้นฎีกาในจำนวนทุนทรัพย์ในศาลชั้นต้น 277,298.06 บาท ก็ตาม แต่ทุนทรัพย์ที่แท้จริงที่พิพาทในชั้นฎีกาเป็นเงินจำนวน 126,580.79 บาท ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้ชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ซึ่งเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3492/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาตัดสินพิพากษาเกินคำขอและอุทธรณ์นอกประเด็นเดิม โดยยกประเด็นค่าเสื่อมราคาและราคารถยนต์ที่ขายทอดตลาด
โจทก์มิได้ฟ้องและมีคำขอให้จำเลยทั้งสองใช้ราคารถยนต์ที่เช่าซื้อเนื่องจากนำรถยนต์ที่เช่าซื้อออกขาย ทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคาที่เช่าซื้อหรือราคาท้องตลาด หรือให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสื่อมราคาเนื่องจาก รถยนต์ที่เช่าซื้อเสื่อมสภาพ จึงไม่มีประเด็นว่าราคารถยนต์ที่เช่าซื้อขาดจำนวนจากการขายทอดตลาดหรือเสื่อมราคาหรือไม่ เพียงใด แม้โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองใช้ราคารถยนต์ที่เช่าซื้อจำนวน 380,000 บาท ตามฟ้อง โดยอ้าง ข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพทรุดโทรม โจทก์ต้องนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปซ่อม เป็นเงิน 149,410 บาท และขายทอดตลาดได้เงินเพียง 60,747.66 บาท ก็เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้น ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลอุทธรณ์ จะไม่รับวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยและพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระราคาที่ขาดจำนวนจากการขาย ทอดตลาดรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาต่ำเป็นเงิน 109,953 บาท จึงไม่ชอบ ทั้งเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่ไม่ได้ กล่าวมาในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ฎีกาหรือกล่าวไว้ในคำแก้ฎีกา ให้เป็นประเด็นไว้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกา จึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3368/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีไถ่ถอนขายฝาก ศาลฎีกาตัดสินให้ตัดคำสั่งคืนเงินออกจากคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ไปจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดิน โดยอ้างว่าโจทก์ได้ผ่อนชำระค่าไถ่ถอนให้จำเลยจำนวน 74,500 บาท ครบถ้วนตามสัญญาขายฝากแล้วและมีคำขอให้บังคับจำเลยทำการเพิกถอนนิติกรรมสัญญาขายฝากและคืนโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ไปดำเนินการจดทะเบียนไถ่ถอน ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์มิได้ไถ่ถอนที่ดินภายในกำหนด ที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแล้ว ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างหรือตั้งประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดฐานลาภมิควรได้และมีคำขอให้บังคับจำเลยคืนเงินจำนวน 67,500 บาท ที่ชำระไปแก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้ใช้สิทธิไถ่ถอนภายในกำหนด จึงหมดสิทธิไถ่ถอนที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 492 กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลยโดยเด็ดขาด แต่เห็นว่าเงินไถ่ถอนจำนวน 67,500 บาท จำเลยรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ แล้วพิพากคืนเงินจำนวน 67,500 บาท แก่โจทก์ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
of 344