พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,244 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3434/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งคำร้องรื้อฟื้นคดีอาญาเป็นของศาลอุทธรณ์ แม้ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องแต่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาและยกคำร้องได้
พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 10 กำหนดให้อำนาจในการสั่งคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่เป็นของศาลอุทธรณ์ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องดังกล่าวเสียเองจึงไม่ชอบ อย่างไรก็ตามเมื่อคดีได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำความเห็นอีก เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องของผู้ร้องไม่มีมูลจึงพิพากษายกคำร้อง คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 10 วรรคสอง ผู้ร้องไม่มีสิทธิฎีกาได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: ศาลฎีกาชี้ว่าเมื่อศาลอุทธรณ์ตัดสินว่าทรัพย์สินไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ต้องคืนให้เจ้าของ
ตามพระราชบัญญัติมาตราการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บรรดาทรัพย์สินซึ่งพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 27 วรรคหนึ่งนั้น ให้ศาลไต่สวน หากคดีมีมูลว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินนั้นเว้นแต่บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ยื่นคำร้องขอคืนก่อนคดีถึงที่สุดและแสดงให้ศาลเห็นว่า (1) ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริงและทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือ..."
ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยยกคำร้องของโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังเป็นยุติว่า เงินสดของกลางจำนวน 220,200 บาท ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น มิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และจะต้องคืนให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ว่าเงินสดของกลางจำนวนดังกล่าวเป็นของจำเลยและทั้งจำเลยก็ได้ยื่นคำร้องคัดค้านขอคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลยด้วยแล้ว จึงชอบที่จะคืนเงินสดของกลางให้แก่จำเลย จึงทำให้คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของเงินสดของกลางนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังว่าจำเลยมิใช่เจ้าของเงินสดของกลางที่แท้จริง จึงไม่อาจที่จะสั่งคืนให้แก่จำเลยนั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยยกคำร้องของโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังเป็นยุติว่า เงินสดของกลางจำนวน 220,200 บาท ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น มิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และจะต้องคืนให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ว่าเงินสดของกลางจำนวนดังกล่าวเป็นของจำเลยและทั้งจำเลยก็ได้ยื่นคำร้องคัดค้านขอคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลยด้วยแล้ว จึงชอบที่จะคืนเงินสดของกลางให้แก่จำเลย จึงทำให้คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของเงินสดของกลางนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังว่าจำเลยมิใช่เจ้าของเงินสดของกลางที่แท้จริง จึงไม่อาจที่จะสั่งคืนให้แก่จำเลยนั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินสดของกลาง: เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าไม่ใช่ทรัพย์สินเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จึงชอบที่จะคืนให้จำเลย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ริบเงินสดของกลางแล้วคดีย่อมฟังเป็นยุติว่าเงินสดของกลางที่โจทก์ขอให้ริบนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและจะต้องคืนให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ว่าเงินสดของกลางเป็นของจำเลยทั้งจำเลยได้ยื่นคำร้องคัดค้านของคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลยด้วยแล้ว จึงชอบที่จะคืนเงินสดของกลางให้แก่จำเลย เนื่องจากคดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของเงินสดของกลางนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังว่าจำเลยมิใช่เจ้าของเงินสดของกลางที่แท้จริงจึงไม่อาจส่งคืนให้แก่จำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ประเด็นทรัพย์มรดก จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องนำสืบตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ต้องรับวินิจฉัย
จำเลยทั้งห้าขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205(เดิม) หรือ 198 ทวิ (ใหม่) คดีจึงมีประเด็นตามที่โจทก์ตั้งสภาพแห่งข้อหามาในคำฟ้องว่าที่ดินพิพาททั้งสามแปลงเป็นทรัพย์มรดกของ ป. หรือไม่ ดังนี้ ที่จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาททั้งสามแปลงมิใช่ทรัพย์มรดกของ ป. โดยที่ดินแปลงแรกเป็นของจำเลยที่ 2 ส่วนที่ดินแปลงที่ 2และแปลงที่ 3 เป็นของจำเลยทั้งห้านั้น จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตามมาตรา 225 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงและข้อที่มิได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์, อายุความมิใช่สภาพแห่งข้อหา
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ทราบถึงการตายของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2536 เมื่อโจทก์อุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวถูกต้องหรือไม่อย่างไร ปัญหาที่ว่าโจทก์ได้ทราบถึงการตายของจำเลยที่ 1 เมื่อใดจึงเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์เพิ่งทราบถึงการตายของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2540 นอกจากจะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงอันต้องห้ามแล้วยังเป็นฎีกาในข้อที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง อีกด้วย
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์จึงไม่ต้องกล่าวมาในฟ้องว่า คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใด ดังนั้นที่โจทก์ฎีกาว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ไม่ขาดอายุความจึงมิใช่เรื่องฎีกานอกฟ้องนอกประเด็น
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์จึงไม่ต้องกล่าวมาในฟ้องว่า คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใด ดังนั้นที่โจทก์ฎีกาว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ไม่ขาดอายุความจึงมิใช่เรื่องฎีกานอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับพิจารณาเนื่องจากทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท แม้จะอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์แก้ไขจำนวนเงิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยร่วมกันชำระค่าขาดประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อ337,800 บาท กับค่าขาดราคารถยนต์ที่เช่าซื้อ 60,000 บาท รวมเป็น 397,800 บาทให้แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้อุทธรณ์ เท่ากับจำเลยยินยอมที่จะชำระค่าขาดประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อโดยกำหนดให้450,000 บาท ส่วนค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นกำหนดให้เหมาะสมแล้ว จำเลยฎีกา ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงมีเพียงค่าขาดประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งศาลอุทธรณ์กำหนดเพิ่มให้แก่โจทก์ 112,200 บาท จำเลยจะฎีกาโดยถือเอาจำนวนเงินที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจย้อนสำนวนหากศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ครบถ้วนตามข้อหาที่ฟ้อง และการพิพากษาไม่เกินคำขอ
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีว่า ให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิเฉพาะส่วนของโจทก์ เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา คืนแก่โจทก์ กับขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินจำนวน 1 ไร่ กลับคืนเป็นของโจทก์ คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับจำลยให้คืนที่ดินตาม น.ส.3 เนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา แก่โจทก์ทั้งแปลงเพียงแต่เหตุแห่งการเพิกถอนต่างกันเท่านั้น ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และโอนที่ดินทั้งแปลงคืนแก่โจทก์ จึงไม่เกินคำขอ
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้เพิกถอนการให้ได้ตามป.พ.พ มาตรา 531 แต่คดีนี้ปรากฏว่า โจทก์มิได้ยกที่ดินให้จำเลยทั้งแปลง คดีจึงยังมีประเด็นว่า โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเนี้อที่เท่าใดซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยแต่ได้พิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินทั้งแปลง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงมิได้ตัดสินตามข้อหาทุกข้อตาม ป.วิ.พ มาตรา 142 วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นให้พิพากษาใหม่ตามป.วิ.พ มาตรา 243(1) อำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่นี้เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ ศาลอุทธรณ์ก็สามารถวินิจฉัยคดีได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้เพิกถอนการให้ได้ตามป.พ.พ มาตรา 531 แต่คดีนี้ปรากฏว่า โจทก์มิได้ยกที่ดินให้จำเลยทั้งแปลง คดีจึงยังมีประเด็นว่า โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเนี้อที่เท่าใดซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยแต่ได้พิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินทั้งแปลง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงมิได้ตัดสินตามข้อหาทุกข้อตาม ป.วิ.พ มาตรา 142 วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นให้พิพากษาใหม่ตามป.วิ.พ มาตรา 243(1) อำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่นี้เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ ศาลอุทธรณ์ก็สามารถวินิจฉัยคดีได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำน้ำ: ฎีกาไม่ชอบ หากข้อเท็จจริงตามฎีกาไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้คัดค้านได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำลำน้ำไปก่อนแล้ว สิ่งปลูกสร้างที่เหลือจึงไม่ใช่บริเวณที่เจ้าท่าผู้ร้องต้องการให้ผู้คัดค้านรื้อถอนออกไป ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขับไล่ผู้คัดค้านนั้นเป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว่าไม่ถูกต้องแต่อย่างใด ฎีกาของผู้คัดค้านจึงไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมโทษโดยศาลอุทธรณ์เกินกว่าที่โจทก์อุทธรณ์ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนลงโทษจำคุกและปรับ รอการลงโทษและคุมความประพฤติของจำเลยทั้งสอง ยกฟ้องโจทก์ข้อหาร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองแต่เฉพาะข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้อุทธรณ์ในข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีนด้วย ต้องถือว่าโจทก์พอใจคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีนแล้ว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีนเป็นไม่รอการลงโทษและไม่ปรับจำเลยทั้งสอง จึงเป็นการไม่ชอบ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ มาตรา 212 แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ยกความข้อนี้ขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกความขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษคดีเสพยาโดยเพิ่มโทษจากเดิมที่ศาลชั้นต้นให้รอการลงโทษได้ เป็นการเพิ่มเติมโทษเกินกว่าที่โจทก์อุทธรณ์ จึงไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 57,91 ลดโทษ ให้จำเลยที่ 1 หนึ่งในสี่และลดโทษให้จำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 9 เดือน และปรับ 15,000 บาท จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 6 เดือน และปรับ 10,000 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปียกฟ้องโจทก์ข้อหาร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองเฉพาะข้อหาที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยมิได้อุทธรณ์ในข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีนจึงต้องถือว่าโจทก์พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีนแล้ว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษจำเลยทั้งสองในข้อหาดังกล่าวเป็นไม่รอการลงโทษและไม่ลงโทษปรับจำเลยทั้งสอง จึงเป็นการไม่ชอบ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212