พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินซื้อระหว่างสมรสด้วยเงินสินเดิม ถือเป็นสินสมรส
ที่ดินที่ภริยาซื้อมาระหว่างสมรส ถือว่าเป็นสินสมรสแม้ว่าภริยาจะเอาเงินสินเดิมของตนมาซื้อก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดจากการสมรสหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และหน้าที่การนำสืบ
แม้เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ถ้าจะขาดจากการสมรสภายหลังที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กรณีเรื่องขาดจากการสมรสไม่ใช่ความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดจากการสมรสตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 แต่เป็นกรณีที่จะสิ้นความสัมพันธ์ต่อกัน
การหย่ากันโดยความยินยอม โดยมิได้ทำเป็นหนังสือตามที่กฎหมายบัญญัติไว้นั้น ไม่มีผลทำให้ขาดจากการสมรส
โจทก์เป็นสามีภริยากับผู้ตาย เมื่อจำเลยอ้างว่าโจทก์กับผู้ตายขาดจากกัน จำเลยต้องนำสืบ
การหย่ากันโดยความยินยอม โดยมิได้ทำเป็นหนังสือตามที่กฎหมายบัญญัติไว้นั้น ไม่มีผลทำให้ขาดจากการสมรส
โจทก์เป็นสามีภริยากับผู้ตาย เมื่อจำเลยอ้างว่าโจทก์กับผู้ตายขาดจากกัน จำเลยต้องนำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสและการหย่า: การเพิกถอนทะเบียนสมรสไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ชายหญิงสมัครใจรักใคร่กัน และได้ยินยอมจดทะเบียนสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ต่อมาชายหญิงคู่นี้ผิดใจกัน เมื่อจะให้การสมรสขาดจากกัน จะต้องขอหย่า และให้คู่สมรสลงชื่อในแบบพิมพ์คำร้องขอจดทะเบียนการหย่า จะมาร้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนสมรสที่คู่สมรสได้จดทะเบียนสมรสไว้โดยชอบแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสและการคืนสินสอด กรณีฝ่ายหนึ่งไม่จดทะเบียนสมรส และค่าใช้จ่ายในพิธีแต่งงาน
ในกรณีที่คู่สมรสประสงค์ให้มีการจดทะเบียนสมรสด้วยนั้นหากฝ่ายหญิงไม่ยอมจดทะเบียนทำให้การสมรสไม่สมบูรณ์ชายเรียกสินสอดคืนได้
ค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูแขกที่จ่ายไปในพิธีแต่งงานที่ไม่มีการหมั้นและไม่สมบูรณ์ เพราะไม่จดทะเบียนสมรสนั้น หาอาจเรียกค่าทดแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ไม่ เพราะไม่เป็นการผิดสัญญาหมั้น และไม่เข้าลักษณะอันเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(2)
ค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูแขกที่จ่ายไปในพิธีแต่งงานที่ไม่มีการหมั้นและไม่สมบูรณ์ เพราะไม่จดทะเบียนสมรสนั้น หาอาจเรียกค่าทดแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ไม่ เพราะไม่เป็นการผิดสัญญาหมั้น และไม่เข้าลักษณะอันเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของภรรยาต่อหนี้ที่สามีก่อขึ้นระหว่างสมรส: พิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การที่สามีไปก่อหนี้ขึ้นระหว่างอยู่กินเป็นสามีภรรยาและภรรยาจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแต่ไหน เพียงใดนั้น ไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 มาตรา 4 แต่เป็นปัญหาที่ภรรยาจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกร่วมกับสามีต่างหาก จะเทียบกับเรื่องแบ่งสินสมรสก็ไม่ได้ เพราะนั่นเป็นเรื่องภายใน ไม่ได้เกี่ยวข้องถึงความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
เป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายเก่า สามีไปก่อหนี้ขึ้นเมื่อใช้บรรพ 5 แล้ว การที่ภรรยาจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพียงใดนั้น ต้องวินิจฉัยไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ใช่ตามกฎหมายเก่า
หนี้ซึ่งก่อขึ้นระหว่างสมรสจะถือว่า เป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีภรรยาได้ก็ต้องเป็นกรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1482 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายเก่า สามีไปก่อหนี้ขึ้นเมื่อใช้บรรพ 5 แล้ว การที่ภรรยาจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพียงใดนั้น ต้องวินิจฉัยไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ใช่ตามกฎหมายเก่า
หนี้ซึ่งก่อขึ้นระหว่างสมรสจะถือว่า เป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีภรรยาได้ก็ต้องเป็นกรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1482 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสำคัญให้คู่หมั้นไม่ยอมสมรส: การหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง และข่าวลือความสัมพันธ์ชู้สาวที่ไม่เป็นความจริง
ชายคู่หมั้นตั้งรังเกียจหญิงคู่หมั้น โดยหญิงคู่หมั้นนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานซึ่งชายอื่นขี่เพื่อไปดูภาพยนตร์ในเวลากลางคืน มีเพื่อนไปด้วยกันรวม 7 คน แล้วชาวบ้านคิดเดาและลือกันว่าหญิงนั้นมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับชายที่ขี่จักรยานนั้น การที่หญิงคู่หมั้นกระทำเพียงเท่านี้ แล้วต่อมาหญิงนั้นไม่ยอมสมรสกับชายคู่หมั้น ก็จะถือว่าเพราะมีเหตุผลสำคัญอันเกิดแต่หญิงนั้นหาได้ไม่ หญิงนั้นจึงมิต้องคืนของหมั้นเพราะเหตุเช่นนี้
ชายคู่หมั้นหมิ่นประมาทหญิงคู่หมั้นซึ่งเป็นการร้ายแรงตามความหมายในมาตรา 1500(2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ย่อมเป็นเหตุผลอันสำคัญอันเกิดแต่ชายคู่หมั้นซึ่งหญิงคู่หมั้นจะไม่ยอมสมรสกับชายนั้นโดยมิต้องคืนของหมั้นได้
ถ้อยคำที่ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทซึ่งเป็นการร้ายแรงตามความหมายในมาตรา 1500(2)
ชายคู่หมั้นหมิ่นประมาทหญิงคู่หมั้นซึ่งเป็นการร้ายแรงตามความหมายในมาตรา 1500(2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ย่อมเป็นเหตุผลอันสำคัญอันเกิดแต่ชายคู่หมั้นซึ่งหญิงคู่หมั้นจะไม่ยอมสมรสกับชายนั้นโดยมิต้องคืนของหมั้นได้
ถ้อยคำที่ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทซึ่งเป็นการร้ายแรงตามความหมายในมาตรา 1500(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ขัดต่อกฎหมาย: ผลของการสมรสก่อนการเพิกถอนสมรสเดิม
จำเลยจะอ้างในคำให้การต่อสู้คดีว่า การสมรสระหว่างจำเลยกับบุคคลอื่นเป็นโมฆะหรือโมฆียะไม่ได้ นอกจากศาลพิพากษาว่าเป็นเช่นนั้น
การเพิกถอนการสมรสมีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1496 โดยอนุโลมตามมาตรา 1511
การเพิกถอนการสมรสมีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1496 โดยอนุโลมตามมาตรา 1511
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสตามประเพณีไม่ทำให้ได้รับสัญชาติไทย การจดทะเบียนสมรสมีความสำคัญ
หญิงต่างด้าวทำการสมรสกับคนไทยตามประเพณี ถือว่ายังมิใช่เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะยังมิได้มีการจดทะเบียนสมรสกัน หญิงนั้นจะอาศัยสิทธิในฐานะภริยาคนสัญชาติไทย ยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อได้รับสิทธิการเป็นคนสัญชาติไทยตามความในมาตรา 8 แห่งพ.ร.บ. สัญชาติไทย พ.ศ. 2495 มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสตามประเพณีไม่ทำให้ได้สัญชาติไทย การจดทะเบียนสมรสเป็นสำคัญ
หญิงต่างด้าวทำการสมรสกับคนไทยตามประเพณีถือว่ายังมิใช่เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะยังมิได้มีการจดทะเบียนสมรสกันหญิงนั้นจะอาศัยสิทธิในฐานะภริยาคนสัญชาติไทยยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อได้รับสิทธิการเป็นคนสัญชาติไทยตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495 มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะการสมรสและการรับบำนาญ: การสมรสที่จดทะเบียนแล้วย่อมสมบูรณ์จนกว่าศาลพิพากษาเป็นอื่น
ป.พ.พ. มาตรา 1488 หมายความว่าตราบใดที่ศาลยังไม่ได้พิพากษาว่า การสมรสเป็นโมฆะหรือโมฆียะ การสมรสที่จดทะเบียนแล้วย่อมสมบูรณ์อยู่เสมอ ส่วนมาตรา 1445 (3) (4) เป็นแต่เพียงเหตุที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าการสมรสที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นโมฆะ หาใช่เหตุที่แสดงในตัวเองว่า การสมรสเป็นโมฆะไม่
โจทก์เป็นภริยาของนายถนอมอยู่ตั้งแต่ พ.ศ. 2480 โดยจดทะเบียนสมรสกัน แม้ต่อมานายถนอมจะได้ตายไป แล้วโจทก์มาได้เสียกับนายธรรมอีก ภายหลังใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 แล้วการได้เสียกันดังนี้ ไม่ทำให้โจทก์เป็นภริยานายธรรม โจทก์จึงไม่ใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายธรรมในเวลาที่นายธรรมถึงแก่ความตาย
โจทก์เป็นภริยาของนายถนอมอยู่ตั้งแต่ พ.ศ. 2480 โดยจดทะเบียนสมรสกัน แม้ต่อมานายถนอมจะได้ตายไป แล้วโจทก์มาได้เสียกับนายธรรมอีก ภายหลังใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 แล้วการได้เสียกันดังนี้ ไม่ทำให้โจทก์เป็นภริยานายธรรม โจทก์จึงไม่ใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายธรรมในเวลาที่นายธรรมถึงแก่ความตาย