พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนความผิดฐานทำร้ายร่างกาย การแจ้งข้อหา และอำนาจฟ้องของโจทก์
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยฐานชกต่อยผู้เสียหายแล้ว แม้ทางสอบสวนจะได้ความว่าจำเลยใช้มีดฟันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายด้วย พนักงานสอบสวนก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาจำเลยอีกว่าจำเลยใช้มีดฟันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเพราะเป็นรายละเอียดในการสอบสวน และเป็นการกระทำในข้อหาฐานทำร้ายร่างกายกระทงเดียวกัน ถือได้ว่าการสอบสวนได้กระทำโดยชอบ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำคุกจำเลย 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกเปลี่ยนเป็นกักขัง จำเลยจะฎีกาขอให้ลงโทษปรับแต่สถานเดียวไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำคุกจำเลย 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกเปลี่ยนเป็นกักขัง จำเลยจะฎีกาขอให้ลงโทษปรับแต่สถานเดียวไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางวินัยข้าราชการ: อำนาจบังคับบัญชา, การสอบสวน, คำสั่งลงโทษชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นหัวหน้าแผนกวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ มีหน้าที่บังคับบัญชากิจการทั้งหลายในแผนกและปฏิบัติตามข้อตกลงของคณะกรรมการประจำคณะและข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้การสอนและหลักสูตรการสอนดำเนินไปโดยเรียบร้อยตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ.2486 มาตรา 24, 25, 26 ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2497 มาตรา 14, 15 เช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 ออกคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้ช่วยหน่วยวิชาพาเชี่ยลเด็นเจอร์และให้โจทก์รายงานการสอนนักศึกษาปีที่ 2 ในวิชานี้เป็นรายละเอียดและจำนวนชั่วโมง ทั้งการบรรยายและปฏิบัติการพร้อมกับผลของการปฏิบัติงานทางด้านคลีดนิคของนิสิตปีที่ 4 มายังจำเลยที่ 1 ภายในวันที่กำหนด จึงเป็นการสั่งเกี่ยวกับกาารบังคับบัญชากิจการทั้งหลายในแผนกของจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นการวางระเบียบการภายในแผนกวิชาหรือการอื่นอันเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการประจำคณะที่จะต้องเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยตามพระราบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ.2486 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2497 มาตรา 14 การที่โจทก์บันทึกโต้แย้งว่าไม่ยอมรับทราบคำสั่ง ไม่มีอะไรให้อีกแล้วและไม่มีผลใด ๆ ทั้งสิ้น แสดงว่าโจทก์จงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497 มาตรา 71 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 รายงานต่อคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์เหนือจำเลยที่ 1 ขึ้นไปเพื่อให้ลงโทษโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ มาตรา 93 ทั้งพยานหลักฐานของโจทก์ก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ออกคำสั่ง (ดังกล่าวตอนต้น) เพื่อแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
บ.รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัย จำเลยที่ 3, ที่ 4, ที่ 5 สอบสวนแล้วเสนอความเห็นว่าโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาสมควรลงโทษตัดเงินเดือน บ. เห็นชอบตามข้อเสนอของปลัดทบวงที่ให้ลงโทษโจทก์ตามที่คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาแล้ว แต่ บ. พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเสียก่อน จำเลยที่ 2 ซึ่งรัฐมนตรีต่อจาก บ.จึงออกคำสั่งลงโทษโจทก์ตามความเห็นของคณะกรรมการ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3, ที่ 4 และ ที่ 5 ก็เป็นการเสนอความเห็นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนเมื่อฟังไม่ได้ว่าเสนอความเห็นเพื่อเจตนาแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ออกคำสั่งให้ตัดเงินเดือนโจทก์ทั้ง ๆ ที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียน เช่นนี้จะมาอุทธรณ์ฎีกาว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยหาได้ไม่ เพราะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
บ.รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัย จำเลยที่ 3, ที่ 4, ที่ 5 สอบสวนแล้วเสนอความเห็นว่าโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาสมควรลงโทษตัดเงินเดือน บ. เห็นชอบตามข้อเสนอของปลัดทบวงที่ให้ลงโทษโจทก์ตามที่คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาแล้ว แต่ บ. พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเสียก่อน จำเลยที่ 2 ซึ่งรัฐมนตรีต่อจาก บ.จึงออกคำสั่งลงโทษโจทก์ตามความเห็นของคณะกรรมการ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3, ที่ 4 และ ที่ 5 ก็เป็นการเสนอความเห็นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนเมื่อฟังไม่ได้ว่าเสนอความเห็นเพื่อเจตนาแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ออกคำสั่งให้ตัดเงินเดือนโจทก์ทั้ง ๆ ที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียน เช่นนี้จะมาอุทธรณ์ฎีกาว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยหาได้ไม่ เพราะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งวินัยข้าราชการ: อำนาจบังคับบัญชา, การสอบสวน, และความชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นหัวหน้าแผนกวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ มีหน้าที่บังคับบัญชากิจการทั้งหลายในแผนกและปฏิบัติตามข้อตกลงของคณะกรรมการประจำคณะและข้อบังคับต่างๆ เพื่อให้การสอนและหลักสูตรการสอนดำเนินไปโดยเรียบร้อยตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2486 มาตรา 24,25,26 ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2497 มาตรา 14,15 เช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 ออกคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้ช่วยหน่วยวิชาพาเชี่ยลเด็นเจอร์และให้โจทก์รายงานการสอนนักศึกษาปีที่ 2 ในวิชานี้เป็นรายละเอียดและจำนวนชั่วโมงทั้งการบรรยายและปฏิบัติการพร้อมกับผลของการปฏิบัติงานทางด้านคลีนิคของนิสิตปีที่ 4 มายังจำเลยที่ 1 ภายในวันที่กำหนด จึงเป็นการสั่งเกี่ยวกับการบังคับบัญชากิจการทั้งหลายในแผนกของจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นการวางระเบียบการภายในแผนกวิชาหรือการอื่นอันเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการประจำคณะที่จะต้องเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ.2486 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2497 มาตรา 14 การที่โจทก์บันทึกโต้แย้งว่าไม่ยอมรับทราบคำสั่ง ไม่มีอะไรให้อีกแล้ว และไม่มีผลใดๆ ทั้งสิ้น แสดงว่าโจทก์จงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497มาตรา 71 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 รายงานต่อคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์เหนือจำเลยที่ 1 ขึ้นไป เพื่อให้ลงโทษโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ มาตรา 93 ทั้งพยานหลักฐานของโจทก์ก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ออกคำสั่ง (ดังกล่าวตอนต้น)เพื่อแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
บ.รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัย จำเลยที่ 3, ที่ 4, ที่ 5 สอบสวนแล้วเสนอความเห็นว่าโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาสมควรลงโทษตัดเงินเดือน บ.เห็นชอบตามข้อเสนอของปลัดทบวงที่ให้ลงโทษโจทก์ตามที่คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาแล้ว แต่ บ.พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเสียก่อน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่อจาก บ.จึงออกคำสั่งลงโทษโจทก์ ตามความเห็นของคณะกรรมการ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 ก็เป็นการเสนอความเห็นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน เมื่อฟังไม่ได้ว่าเสนอความเห็นเพื่อเจตนาแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3, ที่ 4และที่ 5 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ออกคำสั่งให้ตัดเงินเดือนโจทก์ทั้งๆ ที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียน เช่นนี้จะมาอุทธรณ์ฎีกาว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยหาได้ไม่ เพราะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
บ.รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัย จำเลยที่ 3, ที่ 4, ที่ 5 สอบสวนแล้วเสนอความเห็นว่าโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาสมควรลงโทษตัดเงินเดือน บ.เห็นชอบตามข้อเสนอของปลัดทบวงที่ให้ลงโทษโจทก์ตามที่คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาแล้ว แต่ บ.พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเสียก่อน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่อจาก บ.จึงออกคำสั่งลงโทษโจทก์ ตามความเห็นของคณะกรรมการ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 ก็เป็นการเสนอความเห็นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน เมื่อฟังไม่ได้ว่าเสนอความเห็นเพื่อเจตนาแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3, ที่ 4และที่ 5 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ออกคำสั่งให้ตัดเงินเดือนโจทก์ทั้งๆ ที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียน เช่นนี้จะมาอุทธรณ์ฎีกาว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยหาได้ไม่ เพราะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ และการนับอายุความละเมิดจากวันที่ทราบผลสอบสวน
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยยกขึ้นฎีกาโดยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ศาลก็รับวินิจฉัยได้
ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีอำนาจเป็นผู้กระทำการในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก และเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเพื่อการนี้ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะมอบอำนาจให้บุคคลใดๆ ปฏิบัติกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ตามความในมาตรา 30 แห่ง พระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 มิใช่เป็นเรื่องแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิ่งของที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยมีหลายอย่างของที่ขาดหายไปยังไม่อาจทราบได้ว่าอะไรขาดหายไปอย่างไรบ้าง และใครบ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบหรือไม่ โจทก์จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนเพื่อรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คณะกรรมการทำการสอบสวนแล้วรายงานให้โจทก์ทราบ ดังนั้น การนับอายุความละเมิดจึงต้องถือเอาวันที่โจทก์รับทราบผลการสอบสวนเป็นวันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์มีคำสั่งให้พักราชการจำเลย
ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีอำนาจเป็นผู้กระทำการในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก และเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเพื่อการนี้ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะมอบอำนาจให้บุคคลใดๆ ปฏิบัติกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ตามความในมาตรา 30 แห่ง พระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 มิใช่เป็นเรื่องแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิ่งของที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยมีหลายอย่างของที่ขาดหายไปยังไม่อาจทราบได้ว่าอะไรขาดหายไปอย่างไรบ้าง และใครบ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบหรือไม่ โจทก์จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนเพื่อรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คณะกรรมการทำการสอบสวนแล้วรายงานให้โจทก์ทราบ ดังนั้น การนับอายุความละเมิดจึงต้องถือเอาวันที่โจทก์รับทราบผลการสอบสวนเป็นวันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์มีคำสั่งให้พักราชการจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กับการสอบสวนคดีล้มละลาย: ดุลพินิจในการมอบอำนาจร้องทุกข์
แม้พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 160จะบัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย ก็ไม่เป็นการตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนกรณีเดียวกันนี้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะสอบสวนผู้ใด หรือจะมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้ใดเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ดำเนินการสอบสวน ผู้เสียหายก็ชอบที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน หรือฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดได้ด้วยตนเอง จะบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนหรือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้นั้นผู้นี้หาได้ไม่
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะสอบสวนผู้ใด หรือจะมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้ใดเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ดำเนินการสอบสวน ผู้เสียหายก็ชอบที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน หรือฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดได้ด้วยตนเอง จะบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนหรือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้นั้นผู้นี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าอาวาสในการสั่งออกจากวัดและการสอบสวนที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์เป็นพระภิกษุในวัดที่จำเลยเป็นเจ้าอาวาส โจทก์ถูกกล่าวหาว่าได้เสพเมถุนธรรมกับหญิง จำเลยได้ตั้งกรรมการทำการสอบสวนโดยจำเลยเป็นประธานกรรมการ แม้ในการสอบสวนจำเลยจะทำการสอบสวนผู้กล่าวหาซึ่งเป็นพระภิกษุสามเณรพร้อม ๆกันลับหลังโจทก์โดยอนุญาตให้พระภิกษุบางองค์ตอบแทนกัน และไม่เรียกพยานของโจทก์มาทำการสอบสวนอันเป็นการไม่ต้องด้วยพระธรรมวินัย ระเบียบบังคับ และกฎของมหาเถรสมาคมและในที่สุดจำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากวัดโดยที่การสอบสวนไม่ได้ความชัดว่า โจทก์ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นเรื่องผิดระเบียบการสอบสวนเท่านั้น และการที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากวัด โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ก็เพื่อให้มีความสงบสุขในวัด มิใช่จำเลยกลั่นแกล้งโจทก์จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดรถเพื่อสอบสวนคดีโดยสุจริต ไม่เป็นละเมิด
จำเลยที่ 2 ในฐานะพนักงานสอบสวน.ยึดรถยนต์ของโจทก์ซึ่งชนกับรถของกรมตำรวจไว้.เพื่อประกอบการสอบสวนดำเนินคดี.ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย. เมื่อได้กระทำไปโดยสุจริตมิได้เจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์เสียหาย. ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้องคดีอาญา: ข้อจำกัดการเพิ่มข้อหาใหม่ในชั้นพิจารณาเมื่อยังมิได้มีการสอบสวน
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาทำร้ายร่างกายถึงบาดเจ็บตามมาตรา295 ในชั้นพิจารณาปรากฏว่าบาดแผลผู้เสียหายถึงอันตรายสาหัสจึงขอเพิ่มเติมฟ้องในข้อหาทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัสตามมาตรา297 เช่นนี้ หาใช่เป็นแต่การแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องโดยแก้หรือเพิ่มเติมฐานความผิด คือบทมาตราในกฎหมายที่บัญญัติความผิดหรือรายละเอียดซึ่งต้องกล่าวไว้ในฟ้องเท่านั้นไม่จึงมิต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 164 แต่อย่างไรก็ดี เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการสาหัสของบาดแผลนี้เพิ่งมาปรากฏในชั้นพิจารณาของศาลมิได้ปรากฏมาแต่ในชั้นสอบสวน โจทก์จึงฟ้องคดีในความผิดที่ยังไม่มีการสอบสวนไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120(อ้างฎีกาที่750/2494)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยิงผู้เสียชีวิตโดยสำคัญผิดเกินสมควรแก่เหตุ และความผิดของเจ้าพนักงานในการสอบสวน
จำเลยมีปากเสียงกับพวกผู้ตายก่อนเกิดเหตุ. เมื่อผู้ตายเดินมาหาพวก ซึ่งพากันออกมายืนหน้าร้านพร้อมกับจำเลย. ผู้ตายก้มลงเก็บของตกห่างจำเลยประมาณ 2 วา. จำเลยซึ่งมีอาการเมาสุราอยู่ด้วย สำคัญผิดว่าผู้ตายจะทำร้ายตนจึงชักปืนยิงผู้ตาย. เช่นนี้เป็นการเข้าใจโดยไม่มีเหตุอันควร และแม้ความสำคัญผิดจะเกิดจากความประมาทก็เป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ. การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวที่เกินสมควรแก่เหตุ.
ความผิดฐานลอบฝัง ซ่อนเร้น ย้ายหรือทำลายศพตาม มาตรา199 จะต้องกระทำด้วยความมุ่งหมายเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตาย จึงจะเข้าองค์ประกอบความผิด.
ความผิดตามมาตรา 200ฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำหรือละเว้นกระทำในตำแหน่งอันมิชอบ จะต้องมีความมุ่งหมายเพื่อช่วยบุคคลอื่น จึงจะเป็นความผิดตามมาตรานี้. หากเพื่อช่วยเหลือตัวผู้กระทำผิดเอง และเกิดเสียหายแก่ผู้อื่น ย่อมเป็นความผิดตาม มาตรา 157.
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยฆ่าผู้ตายโดยสำคัญผิดอันเกิดจากความประมาท. โจทก์ฎีกาให้ลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาได้ เพราะเป็นปัญหาเรื่องกรรมเดียวเป็นผิดกฎหมายหลายบท. เมื่อศาลล่างลงโทษจำคุกจำเลย 6 ปีจึงไม่ต้องห้ามฎีกา.
ความผิดฐานลอบฝัง ซ่อนเร้น ย้ายหรือทำลายศพตาม มาตรา199 จะต้องกระทำด้วยความมุ่งหมายเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตาย จึงจะเข้าองค์ประกอบความผิด.
ความผิดตามมาตรา 200ฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำหรือละเว้นกระทำในตำแหน่งอันมิชอบ จะต้องมีความมุ่งหมายเพื่อช่วยบุคคลอื่น จึงจะเป็นความผิดตามมาตรานี้. หากเพื่อช่วยเหลือตัวผู้กระทำผิดเอง และเกิดเสียหายแก่ผู้อื่น ย่อมเป็นความผิดตาม มาตรา 157.
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยฆ่าผู้ตายโดยสำคัญผิดอันเกิดจากความประมาท. โจทก์ฎีกาให้ลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาได้ เพราะเป็นปัญหาเรื่องกรรมเดียวเป็นผิดกฎหมายหลายบท. เมื่อศาลล่างลงโทษจำคุกจำเลย 6 ปีจึงไม่ต้องห้ามฎีกา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจควบคุมตัวบุคคลอันธพาลและการปฏิบัติตามระเบียบการสอบสวนของเจ้าพนักงาน
คำสั่งของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั้น ถือเป็นกฎหมายให้อำนาจจำเลย(พนักงานสอบสวน) จะควบคุมโจทก์ไว้ทำการสอบสวนได้ 30 วัน การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย(ให้พิจารณาร่วมกับนายอำเภอ) เสียก่อนควบคุมนั้นเป็นเรื่องภายในเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการเท่านั้น หาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่อย่างใดไม่ความประพฤติของโจทก์ที่จำเลยนำสืบก็เป็นพฤติการณ์ที่มีอยู่ก่อนโจทก์ถูกจับในข้อหาฐานพยายามฆ่าคนแล้ว ไม่ใช่จำเลยมาสร้างหลักฐานขึ้นภายหลังการกระทำของจำเลยที่ควบคุมโจทก์ในฐานเป็นบุคคลอันธพาลจึงไม่เป็นผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา